คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 587

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 604 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4450/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายและจ้างติดตั้ง: การประเมินภาษีถูกต้องตามประเภทสัญญา
ในการตีความในสัญญานั้น จะต้องพิจารณาถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญา ประกอบกับถ้อยคำสำนวนในสัญญาด้วย
ตามสัญญาระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์ประกอบพร้อมทั้งการติดตั้ง แม้ว่าในตัวสัญญาจะมิได้ระบุราคาค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์ประกอบแยกออกต่างหากจากราคาค่าแรงงานติดตั้ง แต่ตามภาคผนวกแนบท้ายสัญญาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาได้ระบุราคาของเครื่องชุมสายโทรศัพท์ทั้งแปดชุมสายว่าแต่ละชุมสายมีราคาเท่าใด อุปกรณ์ประกอบมีราคาเท่าใด ค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรมคิดเป็นจำนวนเท่าใด โดยแยกออกจากกันชัดเจน และการขอรับเงินค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์กับค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรม ก็จะต้องกระทำแยกออกต่างหากจากกัน แสดงว่าคู่สัญญาซื้อขายมีเจตนาที่จะแยกค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์ออก ต่างหากจากค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรมตั้งแต่การกำหนดราคาและการชำระราคา
ตามข้อสัญญาเครื่องชุมสายโทรศัพท์ที่ซื้อขายกันนี้มีการประกอบแล้วเสร็จและทำการทดสอบได้ตั้งแต่อยู่ที่โรงงานของผู้ขายในต่างประเทศก่อนส่งมาประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้แยกมาเป็นส่วน ๆ เพื่อขนส่งมายังประเทศไทย เมื่อมาถึงประเทศไทย โจทก์ได้ประกอบเข้าเป็นตู้แล้วนำอุปกรณ์เครื่องชุมสายโทรศัพท์เข้าสอดใส่แล้วปิดฝาพร้อมทั้งต่อสายเชื่อมระหว่างตู้ชุมสายแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้วจึงทดลองใช้ระบบโทรศัพท์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าโจทก์ไม่ได้ทำการผลิตหรือทำวัตถุสิ่งใดขึ้นมาใหม่เลย แต่เป็นการติดตั้งให้เครื่องชุมสายโทรศัพท์ ที่กองทัพเรือซื้อจากโจทก์สามารถใช้งานได้เท่านั้น แม้ว่าในการประกอบติดตั้งระบบชุมสายโทรศัพท์ต้องใช้ เทคนิคเฉพาะ โจทก์เท่านั้นที่สามารถติดตั้งได้ ก็น่าจะเป็นเรื่องทางเทคนิคซึ่งผู้ขายมีความรู้ในระบบของตนเองดีกว่า ผู้อื่นและต้องการเก็บรักษาเทคนิคของระบบเครื่องชุมสายโทรศัพท์ของตนเองไว้มิให้ล่วงรู้ไปถึงผู้ประกอบการรายอื่น ดังจะเห็นได้ว่ามีการกำหนดการรักษาความลับและสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาไว้ในสัญญาว่า บรรดาสิทธิใน ปัญญาสมบัติ (Intellectual Property Right) ทั้งหมดในซอฟแวร์ซึ่งผู้ขายได้จัดหาให้แก่ผู้ซื้อภายใต้สัญญานี้ ยังคงเป็นทรัพย์สินของผู้ขายตลอดเวลา ก็มิได้หมายความว่าคู่สัญญามิได้มุ่งถึงการโอนกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินเพื่อตอบแทนการชำระราคา เพราะสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับซอฟแวร์นั้นเป็นคนละประเภทกับกรรมสิทธิ์ใน เครื่องชุมสายโทรศัพท์ กรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์เป็นทรัพยสิทธิซึ่งมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นตัวทรัพย์ ส่วนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาวัตถุแห่งสิทธิเป็นสิทธิเด็ดขาดของผู้สร้างสรรค์ที่จะหวงกันมิให้ผู้อื่นเข้าใช้สิทธิที่เจ้าของงานสร้างสรรค์หรือเจ้าของสิทธิมีอยู่แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์กับซอฟแวร์ซึ่งเป็นชุดคำสั่งที่ใช้กับเครื่องชุมสายโทรศัพท์เพื่อให้เครื่องชุมสายโทรศัพท์สามารถทำงานได้ตามโปรแกรมที่กำหนดไว้อาจเป็นคนละคนกันก็ได้ การที่ผู้ขายขายเครื่องชุมสายโทรศัพท์ให้แก่ผู้ซื้อโดยมีข้อยกเว้นไม่โอนสิทธิใน ซอฟแวร์ให้แก่ผู้ซื้อนั้น ไม่อาจตีความว่าคู่สัญญามิได้มุ่งถึงการโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์แต่อย่างใด การที่คู่สัญญาได้แยกราคาค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์ออกจากราคาค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรมอย่างชัดเจนประกอบกับเหตุผลอื่น ๆ ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์และกองทัพเรือเจตนาทำสัญญาซื้อขายเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์ประกอบกับสัญญาจ้างทำของคือติดตั้งเครื่องชุมสายโทรศัพท์รวม 8 ชุมสาย แยกต่างหากจากกันเป็น สองลักษณะสัญญาในสัญญาฉบับเดียวกัน หาใช่คู่สัญญาเจตนาทำสัญญาจ้างทำของโดยตกลงให้โจทก์เป็นผู้จัดหาสัมภาระไม่
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ลักษณะ 4 ผู้รับจ้างเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียอากร 1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้างที่กำหนด แม้ว่าตาม ป. รัษฎากร มาตรา 107 วรรคหนึ่ง ผู้มีหน้าที่เสียอากรสามารถตกลงกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งไม่มีหน้าที่เสียอากรให้เสียอากรแทนตนได้ และตามสัญญาพอแปลความได้ว่า ผู้ซื้อคือกองทัพเรือรับภาระที่จะเสียอากรแทนผู้ขายคือโจทก์ก็ตามแต่ในกรณีที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งรับที่จะเสียอากรตามสัญญาไม่ยอมเสียอากรโดยปิดแสตมป์ในตราสารหรือในสัญญา กรมสรรพากรก็ยังคงมีอำนาจประเมินเรียกเก็บ ค่าอากรและค่าเพิ่มอากรจากผู้มีหน้าที่ต้องเสียอากรตาม ป. รัษฎากรอยู่นั่นเอง ส่วนข้อตกลงให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็น ผู้เสียอากรเป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3614/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของ vs. สัญญาตัวแทน: การบังคับชำระค่าจ้างตามข้อตกลงและหลักฐาน
หนังสือเสนอราคาที่โจทก์มีไปถึงจำเลยถือเป็นคำเสนอตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 355 ส่วนหนังสือแต่งตั้งและว่าจ้างโจทก์ให้ดำเนินการพิธีการทางศุลกากรและนำเครื่องจักรไปส่งให้จำเลยที่จำเลยมีไปถึงโจทก์หลังได้รับคำเสนอแล้ว แม้จะไม่ได้อ้างถึงหนังสือเสนอราคาแต่ก็มิได้มีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัด หรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วยแต่อย่างใดจึงย่อมเป็นคำสนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 359 วรรคสอง และเมื่อคำบอกกล่าวสนองของจำเลยไปถึงโจทก์ผู้เสนอแล้วย่อมเป็นสัญญาขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 361 วรรคแรก ในสัญญาตัวแทน ตัวการและตัวแทนมักมีความเกี่ยวพันกันเป็นส่วนตัวหรือหน้าที่การงานประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 803 จึงวางหลักไว้ว่าตัวแทนไม่มีสิทธิจะได้รับบำเหน็จจากกิจการที่ตนทำไปแทนตัวการ แต่สำหรับสัญญาจ้างทำของนั้น มีอยู่เสมอที่ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างมิได้รู้จักผูกพันกันมาก่อนเหตุที่ทำสัญญากันก็เนื่องมาจากผู้ว่าจ้างต้องการผลสำเร็จของงานซึ่งผู้รับจ้างมีความถนัดและมักประกอบเป็นอาชีพโดยหวังสินจ้างเป็นสำคัญอันเป็นเรื่องของธุรกิจการค้าการบริการ โจทก์และจำเลยไม่รู้จักเกี่ยวพันกันมาก่อนต่างเป็นนิติบุคคลประกอบธุรกิจการค้าการให้บริการโดยมุ่งหวังผลกำไร สัญญาที่เกิดขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นสัญญาจ้างทำของ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2036/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาดูแลความปลอดภัยมีผลผูกพัน แม้จะยังมิได้ทำเป็นหนังสือ หากมีการปฏิบัติการตามสัญญาแล้ว
จำเลยเสนอราคาค่าจ้างเหมาดูแลรักษาความปลอดภัยตัวทรัพย์สินบริเวณอาคารที่พักข้าราชการกระทรวงยุติธรรม และโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยตอบตกลงสนองรับราคาตามรายละเอียด และเงื่อนไขการจ้างที่จำเลยเสนอและให้จำเลยไปลงนามใน สัญญากับโจทก์พร้อมทั้งให้หาหลักประกันเป็นหนังสือมา ค้ำประกันด้วย แสดงว่าโจทก์และจำเลยมีเจตนาว่าสัญญา อันมุ่งจะทำต่อกันนั้นต้องทำเป็นหนังสือ แต่ก่อนที่ทั้งสองฝ่าย จะทำสัญญาเป็นหนังสือ มีเหตุการณ์จำเป็นโจทก์จำเลย จึงตกลงให้จำเลยส่งพนักงานของจำเลยเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ ดูแลรักษาความปลอดภัยในอาคารที่พักข้าราชการกระทรวงยุติธรรม และจำเลยได้ส่งพนักงานของจำเลยเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ ในอาคารดังกล่าวตามข้อตกลงแล้ว ดังนี้ เท่ากับว่าโจทก์ และจำเลยได้ตกลงกันใหม่โดยผ่อนผันไม่ต้องทำสัญญาเป็น หนังสือต่อกันเป็นการชั่วคราว และสัญญาดังกล่าวไม่มีกฎหมาย บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือมิฉะนั้นเป็นโมฆะจึงถือได้ว่า โจทก์และจำเลยมีสัญญาต่อกันแล้ว โดยมีข้อตกลงตามคำเสนอ และเงื่อนไขการจ้างเดิม ดังนั้น เมื่อพนักงานของจำเลย ไม่สามารถรักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินภายในอาคารที่พัก ได้ตามสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามเงื่อนไขการจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากสัญญาจ้างกำจัดปลวก: พิจารณาจากลักษณะการผิดสัญญาและขอบเขตความรับผิด
ความชำรุดบกพร่องตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601 หมายถึง ความชำรุดบกพร่องอันเกิดขึ้นตามที่บัญญัติ ไว้ในมาตราก่อน ๆ คือ มาตรา 598,599 และ 600 ซึ่งเป็นความ ชำรุดบกพร่องในตัวทรัพย์ที่ผู้รับจ้างส่งมอบให้แก่ผู้ว่าจ้าง ตามสัญญาจ้างครบถ้วนแล้ว แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาจ้างกำจัดและป้องกันปลวกขณะปลวกกัดกินผ้าดิบยังอยู่ในอายุสัญญาจ้าง ดังนั้น ตามคำฟ้อง ของโจทก์จึงเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิด ที่ไม่ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามสัญญา กรณีไม่ต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601 แต่เป็นเรื่องฟ้อง ให้จำเลยที่ 1 รับผิดใช้ค่าเสียหายตามสัญญา กรณีดังกล่าวนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30นับตั้งแต่พบปลวกกัดกินผ้าดิบเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สละสิทธิข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ: โจทก์-จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อ 19 แล้วไม่อ้างสิทธิอีก
ระหว่างโจทก์ดำเนินการก่อสร้างทำนบดินอ่างเก็บน้ำตามข้อตกลงในสัญญาจำเลยที่ 1 อ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาและมีหนังสือบอกเลิกสัญญา โดยมิได้เสนอข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยก่อนตาม สัญญาจ้างเหมาข้อ 19 ส่วนโจทก์เมื่อเห็นว่าตนเองทำงานเสร็จตามสัญญา แต่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ตรวจรับงาน และไม่ชำระเงินค่าจ้าง ก็นำคดีมาฟ้องโดยไม่ปฏิบัติตามสัญญา ข้อ 19 ก่อนเช่นกันและเมื่อถูกฟ้องแล้วจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้ ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นก่อนวันสืบพยานให้มีคำสั่งจำหน่ายคดี เพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนตาม พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 สละผลบังคับ ตามสัญญาข้อ 19 โดยปริยายแล้ว จำเลยที่ 1 จะนำ ข้อสัญญาดังกล่าวมาบังคับให้โจทก์ปฏิบัติอีกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมให้ก่อสร้างถือเป็นการว่าจ้างโดยปริยาย แม้จะไม่มีสัญญาจ้างโดยตรง และการรับผิดชอบงานจนแล้วเสร็จ
จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างโรงงานและอาคารสำนักงาน เท่านั้น การที่โจทก์ให้ก่อสร้างถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก ด้วย ไม่ว่าโจทก์จะอาสาขอทดลองทำถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กให้แก่ จำเลยตามที่จำเลยอ้างโดยจำเลยมิได้ว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยยอมให้โจทก์เข้าก่อสร้างทำงานนี้ ก็ต้องถือว่าจำเลยตกลงว่าจ้างโจทก์โดยปริยายแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผล แห่งการงานที่ได้กระทำไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง: การยอมให้เริ่มงานถือเป็นการตกลงว่าจ้างโดยปริยาย แม้จะมีการโต้แย้งเรื่องความชำรุด
จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างโรงงานและอาคารสำนักงานมีปัญหาว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยหรือไม่ ไม่ว่าโจทก์จะอาสาขอทดลองทำถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กให้แก่จำเลยตามที่จำเลยอ้างหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยยอมให้โจทก์เข้าก่อสร้างทำงานนี้ ก็ต้องถือว่าจำเลยตกลงว่าจ้างโจทก์โดยปริยายแล้วโจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้างโดยปริยาย: การก่อสร้างและการรับค่าจ้าง
จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างโรงงานและอาคารสำนักงานมีปัญหาว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยหรือไม่ ไม่ว่าโจทก์จะอาสาขอทดลองทำถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กให้แก่จำเลยตามที่จำเลยอ้างหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยยอมให้โจทก์เข้าก่อสร้างทำงานนี้ ก็ต้องถือว่าจำเลยตกลงว่าจ้างโจทก์โดยปริยายแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าวิชาชีพทนายความ: คดีต่อเนื่องกับการฟ้องขับไล่ และคดีฟ้องเรียกค่าเสียหายแยกต่างหาก
โจทก์ซึ่งเป็นทนายความรับว่าความให้แก่จำเลยเพื่อฟ้องขับไล่ ช. กับพวกผู้เช่าออกไปจากตึกแถวและแผงลอยทั้งหมดโดยตกลงค่าวิชาชีพกันไว้เป็นจำนวนแน่นอน เมื่อโจทก์ดำเนินการให้จำเลยจนบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว คือฟ้องขับไล่และดำเนินการให้ผู้เช่าขนย้ายออกจากที่ดินที่เช่า เพื่อให้จำเลยซึ่งเป็นตัวความเข้าครอบครองที่ดินและ รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าวิชาชีพเต็มตามจำนวน แม้จำเลยจะมีส่วนในการทำความตกลงกับผู้เช่าบางรายจนมีการประนีประนอมยอมความกันก็ตาม
ในระหว่างที่โจทก์ดำเนินการขับไล่ผู้เช่า ช. กับพวกซึ่งเป็นผู้เช่าได้ยื่นฟ้องจำเลยกับพวกเป็นคดีแพ่ง หมายเลขดำที่ 10425/2534 กล่าวหาว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำสัญญาเช่าที่ดินโดยทุจริต ขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าและชดใช้ค่าเสียหาย ต่อมาจำเลยได้ยื่นฟ้อง ช. กับพวกเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 16093/2534 ฐานละเมิด ให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย คดีทั้งสองเรื่องดังกล่าวจำเลยได้มอบให้โจทก์เป็นทนายความแก้ต่างและยื่นฟ้อง เมื่อคดีทั้งสองไม่มี ความสัมพันธ์กับคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่ ช. กับพวก จึงไม่ใช่คดีที่ต่อเนื่องกัน จำเลยจึงต้องชำระค่าวิชาชีพในคดีแพ่งทั้งสองแยกต่างหากจากค่าวิชาชีพในคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่ ช. กับพวก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าวิชาชีพทนายความ: การกำหนดอัตรา, คดีต่อเนื่อง, และการพิสูจน์ข้อเท็จจริง
โจทก์ซึ่งเป็นทนายความรับว่าความให้กับจำเลยเพื่อฟ้อง ขับไล่ผู้เช่าออกไปจากตึกแถวและแผงลอยทั้งหมดโดยตกลง ค่าวิชาชีพกันไว้เป็นจำนวนแน่นอน เมื่อโจทก์ดำเนินการให้ จำเลยบรรลุวัตถุประสงค์คือดำเนินคดีฟ้องขับไล่และดำเนินการ ให้ผู้เช่าขนย้ายออกจากที่ดินที่เช่า เพื่อให้จำเลยซึ่งเป็น ตัวความเข้าครอบครองที่ดินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง โจทก์ชอบ ที่จะได้รับค่าวิชาชีพเต็มตามจำนวน แม้จำเลยจะมีส่วนในการ ทำความตกลงกับผู้เช่าบางรายจนมีการประนีประนอมยอมความกันก็ตาม ในระหว่างที่โจทก์ดำเนินการฟ้องขับไล่ผู้เช่า ช.กับพวกซึ่งเป็นผู้เช่าได้ยื่นฟ้องจำเลยกับพวกเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 10425/2534 กล่าวหาว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำสัญญาเช่าที่ดินโดยทุจริต ขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าและชดใช้ ค่าเสียหาย ต่อมาจำเลยได้ยื่นฟ้อง ช. กับพวกเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 16093/2534 ฐานละเมิด ให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายคดีทั้งสองเรื่องดังกล่าวจำเลยได้มอบให้โจทก์เป็นทนายความ แก้ต่างและยื่นฟ้อง เมื่อคดีทั้งสองไม่มีความสัมพันธ์กับคดี ที่จำเลยฟ้องขับไล่ ช. กับพวก จึงไม่ใช่คดีที่ต่อเนื่องกันจำเลยจึงต้องชำระค่าวิชาชีพในคดีแพ่งทั้งสองคดีรวมกัน โดยแยกต่างหากจากค่าวิชาชีพในคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่ ช. กับพวก
of 61