คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7506/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีไว้เพื่อขายวัตถุออกฤทธิ์ประเภทต่างกัน ถือเป็นหลายกรรมต่างกัน แม้กระทำพร้อมกัน
ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ฯ ได้บัญญัติให้มาซิลดอลและไดอาซีแพม เป็นวัตถุออกฤทธิ์คนละประเภทกัน โดยมาซิลดอลเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ส่วนไดอาซีแพมเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 97) ฯ เรื่องระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ฯ ทั้งบทกำหนดโทษในความผิดฐานมีไว้เพื่อขายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวก็เป็นคนละมาตรากัน แสดงว่ากฎหมายมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์แต่ละประเภทแยกต่างหากจากกัน ดังนั้น แม้จำเลยจะมีไว้เพื่อขายวัตถุออกฤทธิ์ทั้ง 2 ประเภทในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดในแต่ละกระทงศาลอุทธรร์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยในแต่ละกระทงไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องคดียาเสพติด และการพิจารณาบทมาตราเกี่ยวกับการลงโทษหลายกรรม
ฟ้องโจทก์ระบุชัดว่า "จำเลยได้บังอาจมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 มาตรา 4 และตามประกาศกระทรวง สาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ข้อ 2 และบัญชีท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับดังกล่าว ชื่อยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ลำดับที่ 20 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และจำเลยได้ทราบประกาศนี้แล้ว จำนวน 8 เม็ด น้ำหนักรวม 0.71 กรัม ไว้ในครอบครองของจำเลยเพื่อจำหน่ายอันเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 " และ "จำเลยได้บังอาจจำหน่าย โดยการขายเมทแอมเฟตามีน จำนวน 1 เม็ด น้ำหนักไม่ปรากฏชัด อันเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีน ที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายดังกล่าวในฟ้อง ข้อ 1 ก. ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อไปในราคา 100 บาท อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 " จึงเป็นการฟ้องตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 หาใช่ฟ้องตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ไม่ ทั้งนี้ โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องระบุข้อความที่ว่า "ซึ่งไม่ใช่กรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอนุญาตเป็นหนังสือ " ไว้ในฟ้อง หรือคำนวณน้ำหนักสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายไว้ในฟ้อง ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว นอกจากนี้ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ยังได้ระบุความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในมาตรา 66 เช่นเดียวกับความผิดฐานจำหน่าย ดังนั้น ฟ้องโจทก์ ทั้งสองฐานความผิดจึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ระบุในฟ้องว่า เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2541 เวลากลางคืน หลังเที่ยงจำเลยได้กระทำผิดต่อกฎหมาย หลายบทหลายกรรมต่างกัน ซึ่งตรงกับมาตรา 91 แห่ง ป.อ. แม้โจทก์มิได้ระบุมาตราดังกล่าวไว้ในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็หยิบยกขึ้นพิจารณาได้ เพราะเป็นบทมาตราที่ยกขึ้นปรับเกี่ยวกับการลงโทษหลายกรรม ซึ่งมิใช่บทมาตรา ในกฎหมายซึ่งบทบัญญัติถึงฐานความผิดหรือองค์ประกอบแห่งการกระทำความผิดที่จะลงโทษจำเลยตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) บัญญัติให้โจทก์ต้องอ้างถึง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 375/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงประเภทของวัตถุจากวัตถุออกฤทธิ์เป็นยาเสพติดกระทบต่อความผิดตามกฎหมายจราจร และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
การที่ศาลมีคำสั่งพักการใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยเกิดขึ้นได้ในกรณีที่จำเลยกระทำความผิดต่อ พระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพหรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีนหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่นทีอธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งนอกจากต้องถูกลงโทษตามมาตรา 157 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว ยังมีบทบัญญัติในวรรคนี้เองบัญญัติให้ศาลสั่งพักการใช้ใบอนุญาตขับขี่มีกำหนดไม่น้อยกว่า6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีการยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศกฎกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ.2539) เรื่องระบุชื่อและประสาทของยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศ ลำดับที่ 20 ระบุชื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 การที่พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่งห้ามผู้ขับขี่เสพหรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ เฉพาะวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีน หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่นที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเท่านั้น เมื่อต่อมาภายหลังเมทแอมเฟตามีนเปลี่ยนจากวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 มาเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ ซึ่งมีผลนับแต่วันที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับคือวันที่ 16 ตุลาคม 2539ดังนั้น จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯมาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง อีกต่อไป ปัญหานี้แม้คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185,195 วรรคสอง,215 และ 225 และมีผลให้การเสพเมทแอมเฟตามีนเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 57 ต้องรับโทษตามมาตรา 91อันเป็นกรณีที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคหนึ่ง คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 1วางโทษจำคุก 1 ปีลดโทษกึ่งหนึ่งคงจำคุก 6 เดือน ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ อันเป็นกฎหมายขณะกระทำความผิดซึ่งมีโทษเบากว่าเป็นคุณแก่จำเลยจึงชอบแล้วเมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่งศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งพักการใช้ใบอนุญาตขับขี่ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 157 ทวิ วรรคหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองยาเสพติดจำนวนมากเพื่อจำหน่ายเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมเมทแอมเฟตามีน จำนวน5,989 เม็ด ซึ่งเป็นจำนวนมากเกินกว่าที่จำเลยจะมีไว้เพื่อเสพเอง ทั้งจำเลยนำสืบว่าไปรับยาเม็ดของกลางจากจังหวัดนครราชสีมาเพื่อนำไปมอบให้ ต. ที่จังหวัดขอนแก่น จึงเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อขายและเป็นการขายตามค่านิยามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ครอบครองยาเสพติดปริมาณมากเพื่อจำหน่าย แม้จะอ้างว่านำไปส่งต่อก็ถือเป็นความผิด
เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนจำนวน5,989 เม็ด ซึ่งเป็นจำนวนมากเกินกว่าที่จำเลยจะมีไว้เพื่อเสพเอง ทั้งจำเลยนำสืบว่าไปรับยาเม็ดของกลางจากจังหวัดนครราชสีมาเพื่อนำไปมอบให้ ต.ที่จังหวัดขอนแก่น จึงเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อขายและเป็นการขายตามคำนิยามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายยาเสพติด การตีความคำว่า 'ขาย' ตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ และความชอบด้วยกฎหมายของการฟ้อง
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 13 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย นำ เข้า หรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์" มีโทษตาม มาตรา 89 นั้น ไม่มีข้อความใดบัญญัติถึงโทษฐานมีไว้เพื่อขายก็ตาม แต่มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัตินี้ได้นิยามว่า "ขาย" ไว้ว่า หมายความรวมถึง จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยนส่งมอบ หรือมีไว้เพื่อขาย ดังนั้น เมื่อจำเลยมีเมทแอมเฟตามีน ซึ่งออกฤทธิ์ไว้ในครอบครองเพื่อขาย จึงเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13และพิพากษาลงโทษตาม มาตรา 89 ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายก็โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 4 ซึ่งให้คำนิยามของคำว่า "ขาย" ให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายอันอันถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 13 ซึ่งมีบทบัญญัติลงโทษไว้ในมาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 และขณะเดียวกันก็ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขายเมทแอมเฟตามีนของกลางจำนวนหนึ่ง ดังนี้ ไม่ถือว่าเป็นฟ้องที่ขัดแย้งหรือฟ้องที่ไม่มีบทบัญญติของกฎหมายให้ลงโทษและไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการลดโทษทางอาญา: ลดโทษตามอายุเยาว์ก่อนแล้วค่อยลดโทษตามเหตุบรรเทา
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยโดยลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 หนึ่งในสาม หากแต่ได้ลดมาตราส่วนโทษแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 ก่อนแล้วจึงกำหนดโทษฐานพยายามตามมาตรา 80 เป็นการไม่ถูกต้องศาลอุทธรณ์จึงพิพากษาแก้ไขให้กำหนดโทษสำหรับความผิดฐานพยายามตามมาตรา 80 ก่อน แล้วจึงลดมาตราส่วนโทษตามมาตรา 75 ในเมื่อจำเลยอุทธรณ์แต่ฝ่ายเดียว การที่ศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นอย่างอื่นอีกย่อมต้องถือว่าศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลดโทษแก่จำเลยในเหตุบรรเทาโทษตามมาตรา 78 หนึ่งในสามด้วย เพราะเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์มิอาจพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: การขายยาเสพติดจำนวนที่จำเลยมีอยู่ทั้งหมด
เมื่อแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์ที่จำเลยขายไปเป็นจำนวนเดียวกับที่จำเลยมีอยู่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3324/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำฟ้องอาญา: การพิจารณาโทษจำเลยต้องอ้างอิงตามข้อเท็จจริงที่ระบุในคำฟ้องเท่านั้น แม้จะมีข้อเท็จจริงใหม่จากการพิจารณา
ฟ้องว่าจำเลยมีแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์ไว้ในครอบครอง6 เม็ด และขายแก่ผู้มีชื่อไป หมายความชัดเจนว่าจำเลยขายไปหมด เป็นความผิดกรรมเดียว ข้อที่ว่าจำเลยจำหน่าย 1 เม็ด เหลือ 5 เม็ด ไม่ได้กล่าวในฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2632/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับก่อนหลังของกฎหมาย: ผลของการใช้กฎหมายใหม่ก่อนวันเกิดเหตุ และความผิดตามกฎหมายเดิมที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าว
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2520 เรื่องระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุที่ออกฤทธิ์ ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ลงวันที่ 18 มกราคม 2520 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่14 มิถุนายน 2520 เป็นต้นไป เมื่อเหตุคดีนี้เกิดในวันที่ 19 เมษายน 2520 ซึ่งเป็นวันก่อนประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 แต่ในระหว่างที่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2520 ยังไม่มีผลใช้บังคับ การกระทำของจำเลยก็ยังคงเป็นความผิดอยู่ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2465 ที่แก้ไขแล้ว มาตรา 20ทวิ แต่ความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษดังกล่าวโจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์และฎีกาจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น