พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7506/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีไว้เพื่อขายวัตถุออกฤทธิ์ประเภทต่างกัน ถือเป็นหลายกรรมต่างกัน แม้กระทำพร้อมกัน
ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ฯ ได้บัญญัติให้มาซิลดอลและไดอาซีแพม เป็นวัตถุออกฤทธิ์คนละประเภทกัน โดยมาซิลดอลเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ส่วนไดอาซีแพมเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 97) ฯ เรื่องระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ฯ ทั้งบทกำหนดโทษในความผิดฐานมีไว้เพื่อขายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวก็เป็นคนละมาตรากัน แสดงว่ากฎหมายมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์แต่ละประเภทแยกต่างหากจากกัน ดังนั้น แม้จำเลยจะมีไว้เพื่อขายวัตถุออกฤทธิ์ทั้ง 2 ประเภทในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดในแต่ละกระทงศาลอุทธรร์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยในแต่ละกระทงไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
ความผิดในแต่ละกระทงศาลอุทธรร์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยในแต่ละกระทงไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8548/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองและพยายามส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 และ 4 จำเลยทราบประกาศกระทรวงสาธารณสุขแล้ว
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97ฯ ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 6 (1) และมาตรา 11 (4) แห่ง พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2539 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับดังกล่าวจึงมีผลบังคับใช้
คำฟ้องของโจทก์ในข้อ ก. กล่าวว่า จำเลยมีไว้เพื่อขายซึ่งเฟนเตอมีนอันเป็นวัถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97ฯ ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและจำเลยได้ทราบประกาศนี้แล้ว และจำเลยได้พยายามนำเฟนเตอมีนดังกล่าวออกนอกราชอาณาจักรไทย เพื่อไปยังประเทศสาธารณรัฐเกาหลีโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการบรรยายฟ้องที่ยืนยันว่าจำเลยทราบประกาศดังกล่าวแล้ว แม้ท้ายฟ้องหรือในการพิจารณาโจทก์มิได้นำส่งประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับดังกล่าว ก็หาทำให้การฟ้องและการดำเนินคดีของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด
คำฟ้องของโจทก์ในข้อ ก. กล่าวว่า จำเลยมีไว้เพื่อขายซึ่งเฟนเตอมีนอันเป็นวัถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97ฯ ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและจำเลยได้ทราบประกาศนี้แล้ว และจำเลยได้พยายามนำเฟนเตอมีนดังกล่าวออกนอกราชอาณาจักรไทย เพื่อไปยังประเทศสาธารณรัฐเกาหลีโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการบรรยายฟ้องที่ยืนยันว่าจำเลยทราบประกาศดังกล่าวแล้ว แม้ท้ายฟ้องหรือในการพิจารณาโจทก์มิได้นำส่งประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับดังกล่าว ก็หาทำให้การฟ้องและการดำเนินคดีของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้จำหน่ายและจำหน่ายเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน แม้เหตุการณ์ต่อเนื่อง
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันนั้น เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เมื่อจำเลยทั้งสองยกขึ้นอุทธรณ์แล้ว แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้วินิจฉัยให้ แม้จะมิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองก็ยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 4 ให้นิยามคำว่า "ขาย" หมายความรวมถึง จำหน่าย และมีไว้เพื่อขายด้วย ดังนั้น การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายจำนวนหนึ่ง และขายไปจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นเมทแอมเฟตามีนจำนวนเดียวกันตามพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นความผิดอย่างเดียวกันและเป็นความผิดกรรมเดียว
คำนิยามในมาตรา 4 ของคำว่า "ขาย" ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ไม่อาจนำมาใช้สำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งมีคำนิยามของคำว่า "จำหน่าย" ไว้โดยเฉพาะแล้ว ในมาตรา 4 ให้หมายความว่า ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้ มิได้มีความหมายรวมถึงการมีไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายดังเช่น พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ด้วย และความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 เป็นความผิด ที่แยกเจตนาในการกระทำต่างหากจากกันได้ แม้จะเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องกระชั้นชิดกันก็ตาม การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำนวน 17 เม็ด เป็นความผิดสำเร็จแล้วกรรมหนึ่ง และเมื่อจำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่มีไว้ในครอบครองดังกล่าวแก่สายลับไป 2 เม็ด ก็ย่อมมีความผิดฐานจำหน่ายอีกกรรมหนึ่ง จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 4 ให้นิยามคำว่า "ขาย" หมายความรวมถึง จำหน่าย และมีไว้เพื่อขายด้วย ดังนั้น การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายจำนวนหนึ่ง และขายไปจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นเมทแอมเฟตามีนจำนวนเดียวกันตามพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นความผิดอย่างเดียวกันและเป็นความผิดกรรมเดียว
คำนิยามในมาตรา 4 ของคำว่า "ขาย" ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ไม่อาจนำมาใช้สำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งมีคำนิยามของคำว่า "จำหน่าย" ไว้โดยเฉพาะแล้ว ในมาตรา 4 ให้หมายความว่า ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้ มิได้มีความหมายรวมถึงการมีไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายดังเช่น พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ด้วย และความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 เป็นความผิด ที่แยกเจตนาในการกระทำต่างหากจากกันได้ แม้จะเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องกระชั้นชิดกันก็ตาม การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำนวน 17 เม็ด เป็นความผิดสำเร็จแล้วกรรมหนึ่ง และเมื่อจำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่มีไว้ในครอบครองดังกล่าวแก่สายลับไป 2 เม็ด ก็ย่อมมีความผิดฐานจำหน่ายอีกกรรมหนึ่ง จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสถานะเมทแอมเฟตามีนจากวัตถุออกฤทธิ์เป็นยาเสพติดโทษ และการใช้กฎหมายอาญามาตรา 3
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในความครอบครองและโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 เมื่อประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97 (พ.ศ. 2539) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มีผลเป็นเพียงให้เมทแอมเฟตามีนถูกเพิกถอนจากการเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 มาเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เท่านั้น โดยไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติยกเลิกความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง ฉะนั้นจำเลยจึงยังมีความผิดและต้องรับโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอยู่ส่วนจะต้องรับโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ย่อมเป็นเรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิด ซึ่งต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย คือตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67 ทั้งนี้ตาม ป.อ.มาตรา 3 การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
วัตถุออกฤทธิ์ที่จะริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 116 ต้องเป็นกรณีมีการลงโทษตามมาตรา 89 มาตรา 90 มาตรา 98 มาตรา 99 มาตรา 100 หรือมาตรา 101 เมื่อคดีนี้มิได้ลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าว จึงไม่อาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่กระทรวงสาธารณสุขได้ แต่ริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 32
วัตถุออกฤทธิ์ที่จะริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 116 ต้องเป็นกรณีมีการลงโทษตามมาตรา 89 มาตรา 90 มาตรา 98 มาตรา 99 มาตรา 100 หรือมาตรา 101 เมื่อคดีนี้มิได้ลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าว จึงไม่อาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่กระทรวงสาธารณสุขได้ แต่ริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงประเภทของเมทแอมเฟตามีนจากวัตถุออกฤทธิ์เป็นยาเสพติดโทษ และการใช้กฎหมายที่เอื้อประโยชน์แก่จำเลย
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในความครอบครองและโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 เมื่อประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 97(พ.ศ. 2539) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539)ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มีผลเป็นเพียงให้เมทแอมเฟตามีนถูกเพิกถอนจากการเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 มาเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1เท่านั้น โดยไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติยกเลิกความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง ฉะนั้นจำเลยจึงยังมีความผิดและต้องรับโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอยู่ส่วนจะต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ย่อมเป็นเรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิด ซึ่งต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยคือตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67ทั้งนี้ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ วัตถุออกฤทธิ์ที่จะริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 116 ต้องเป็นกรณีมีการลงโทษตามมาตรา 89 มาตรา 90มาตรา 98 มาตรา 99 มาตรา 100 หรือมาตรา 101 เมื่อคดีนี้มิได้ลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าว จึงไม่อาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่กระทรวงสาธารณสุขได้ แต่ริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4983/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความความผิด พ.ร.บ.จราจรทางบก กรณีเสพเมทแอมเฟตามีนและขอบเขตการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ (ผู้ขับรถ) เสพเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ขณะขับขี่รถยนต์บรรทุก เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้องว่า จำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไม่ใช่เสพวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ บัญญัติห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพหรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีนหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่นที่อธิบดีกำหนดซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 157 ทวิ นั้น เมื่อตามข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่องกำหนดชื่อและประเภทของวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม2537 กำหนดให้ห้ามเสพแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน แสดงว่า บทบัญญัติดังกล่าวประสงค์ที่จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับวัตถุออกฤทธิ์เข้าร่างกายเท่านั้น มิได้ประสงค์ที่จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้าร่างกายด้วย ประกอบกับ ป.อ.มาตรา 2 วรรคแรก บัญญัติให้บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า ขณะที่จำเลยขับรถโดยเสพเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97(พ.ศ.2539) และฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) ออกมาใช้บังคับอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งมีผลทำให้เมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกต่อไป และระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนจึงเป็นการกระทำที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 43 ทวิวรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว และไม่อาจลงโทษจำเลยหรือมีคำสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลยตามมาตรา 157 ทวิ วรรคหนึ่งได้ ทั้งกรณีมิได้เป็นเรื่องที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับยกเลิกความผิดตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง เนื่องจากความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวยังคงมีอยู่ กล่าวคือ ผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับเข้าร่างกายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์กลุ่มแอมเฟตามีนหรือวัตถุออกฤทธิ์อย่างอื่นที่อธิบดีกรมตำรวจกำหนดนอกจากแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีนยังคงต้องมีความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว อีกทั้งการเสพเมทแอมเฟตามีนก็ยังคงเป็นความผิดตามกฎหมายอื่นอยู่ และมิได้ถูกยกเลิกไปโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับดังกล่าว
การพักใช้ใบอบุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ไม่ใช่โทษตามกฎหมาย เมื่อการเสพเมทแอมเฟตามีนของผู้ขับรถในขณะขับรถไม่อาจถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิวรรคหนึ่ง ศาลจึงไม่อาจสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ได้อยู่ในตัว
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ บัญญัติห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพหรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีนหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่นที่อธิบดีกำหนดซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 157 ทวิ นั้น เมื่อตามข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่องกำหนดชื่อและประเภทของวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม2537 กำหนดให้ห้ามเสพแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน แสดงว่า บทบัญญัติดังกล่าวประสงค์ที่จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับวัตถุออกฤทธิ์เข้าร่างกายเท่านั้น มิได้ประสงค์ที่จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้าร่างกายด้วย ประกอบกับ ป.อ.มาตรา 2 วรรคแรก บัญญัติให้บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า ขณะที่จำเลยขับรถโดยเสพเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97(พ.ศ.2539) และฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) ออกมาใช้บังคับอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งมีผลทำให้เมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกต่อไป และระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนจึงเป็นการกระทำที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 43 ทวิวรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว และไม่อาจลงโทษจำเลยหรือมีคำสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลยตามมาตรา 157 ทวิ วรรคหนึ่งได้ ทั้งกรณีมิได้เป็นเรื่องที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับยกเลิกความผิดตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง เนื่องจากความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวยังคงมีอยู่ กล่าวคือ ผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับเข้าร่างกายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์กลุ่มแอมเฟตามีนหรือวัตถุออกฤทธิ์อย่างอื่นที่อธิบดีกรมตำรวจกำหนดนอกจากแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีนยังคงต้องมีความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว อีกทั้งการเสพเมทแอมเฟตามีนก็ยังคงเป็นความผิดตามกฎหมายอื่นอยู่ และมิได้ถูกยกเลิกไปโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับดังกล่าว
การพักใช้ใบอบุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ไม่ใช่โทษตามกฎหมาย เมื่อการเสพเมทแอมเฟตามีนของผู้ขับรถในขณะขับรถไม่อาจถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิวรรคหนึ่ง ศาลจึงไม่อาจสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ได้อยู่ในตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4173/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสพเมทแอมเฟตามีนขณะขับรถ: ผลกระทบต่อความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงประเภทของสารเสพติด
ขณะที่จำเลยเป็นผู้ขับรถที่เสพเมทแอมเฟตามีนมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 97(พ.ศ. 2539) และฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) ออกมาใช้บังคับอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งมีผลทำให้ เมทแอมเฟตามีนมิได้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกต่อไปและเปลี่ยนมาเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 การกระทำ ของจำเลยจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง ศาลย่อมไม่อาจพิพากษา ว่าจำเลยมีความผิดและลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวและไม่อาจมีคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยตาม มาตรา 157 ทวิ วรรคหนึ่งได้ กรณีนี้มิใช่เป็นเรื่องที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับยกเลิกความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง,153 วรรคหนึ่งเนื่องจากความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวยังคงมีอยู่มิได้ถูกยกเลิกไป กล่าวคือ ผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับเข้าร่างกายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์กลุ่มแอมเฟตามีนอื่นนอกจากเมทแอมเฟตามีน หรือวัตถุออกฤทธิ์อย่างอื่นที่อธิบดีกำหนด ยังคงต้องมีความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว ส่วนการเสพเมทแอมเฟตามีนขณะขับรถก็ยังคงเป็นความผิดตามกฎหมายเพียงแต่การกระทำของจำเลย ตามฟ้องไม่เป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง แต่เป็น ความผิดตามพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 57,91 ซึ่งมีระวางโทษ สูงกว่าเท่านั้นและการเสพเมทแอมเฟตามีนขณะขับรถยังคงเป็น ความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 102(3ทวิ) อีกด้วย ประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวจึงมิได้มีผลทำให้ การเสพเมทแอมเฟตามีนขณะขับรถไม่เป็นความผิดแต่ประการใด การที่จำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนขณะปฏิบัติหน้าที่ขับรถยนต์บรรทุกอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ชีวิต และทรัพย์สินของบุคคลอื่นได้โดยง่ายถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง ดังนั้นเพื่อให้จำเลยเข็ดหลาบและมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่น อันจะเป็นการปกป้องประชาชนทั่วไปจากภัยอันตรายบนท้องถนน ที่มักเกิดขึ้นจากผู้ขับรถที่มีอากรมึนเมาเมทแอมเฟตามีน จึงสมควร ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4084/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสพเมทแอมเฟตามีนของผู้ขับขี่หลังประกาศกระทรวงสาธารณสุขเปลี่ยนสถานะยาเสพติด ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก
ขณะที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับรถเสพเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97 และฉบับที่ 135ใช้บังคับอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งมีผลทำให้เมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกต่อไป และระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน จึงเป็นการกระทำที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามบทบัญญัติมาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ศาลย่อมไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว เมื่อการเสพเมทแอมเฟตามีนของผู้ขับรถในขณะขับรถไม่อาจ ถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯมาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง จึงไม่อาจสั่งให้พักหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ได้อยู่ในตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6987/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสถานะวัตถุออกฤทธิ์เป็นยาเสพติดโทษ ไม่ยกเลิกความผิดฐานครอบครอง ต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
จำเลยได้กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนปริมาณ 0.589 กรัม เกินปริมาณรัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ในครอบครอง และเมื่อประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97(พ.ศ. 2539) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มีผลเป็นเพียงให้เมทแอมเฟตามีนถูกเพิกถอนจากการเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 มาเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เท่านั้น โดยไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติยกเลิกความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองแต่อย่างใด ฉะนั้นจำเลยจึงยังมีความผิดและต้องรับโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอยู่ ส่วนจะต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ย่อมเป็นเรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิด ซึ่งต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย คือตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6987/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสถานะจากวัตถุออกฤทธิ์เป็นยาเสพติดให้โทษ ไม่ยกเลิกความผิดฐานครอบครอง และการใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
จำเลยได้กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนปริมาณ 0.589 กรัม เกินปริมาณรัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ในครอบครอง และเมื่อประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97(พ.ศ. 2539) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มีผลเป็นเพียงให้เมทแอมเฟตามีนถูกเพิกถอนจากการเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 มาเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เท่านั้น โดยไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติยกเลิกความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองแต่อย่างใด ฉะนั้นจำเลยจึงยังมีความผิดและต้องรับโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอยู่ ส่วนจะต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ย่อมเป็นเรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิด ซึ่งต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย คือตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3