พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขนส่งสินค้าทางทะเลและทางบก: ความรับผิดของผู้ขนส่งเมื่อเกิดข้อจำกัดในการขนส่ง
สัญญาขนส่งสินค้าระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นสัญญารับขนของโดยมีการขนส่งทางทะเลและทางอื่นรวมอยู่ด้วย อันเข้าเป็นลักษณะของสัญญาจ้างทำของ และลักษณะของสัญญามุ่งเน้นการขนส่งทางทะเลเป็นสาระสำคัญ การที่ใบจองระวางเรือและใบตราส่งสินค้าพิพาทระบุจุดหมายปลายทางของการขนส่งทั้งสองเที่ยวว่าเมืองชิคาโกและเมืองดีทรอยต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา แสดงว่าความรับผิดของจำเลยทั้งสองในฐานะผู้ขนส่งจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อได้ส่งของที่รับขนส่งให้แก่ผู้รับตราส่งที่จุดหมายปลายทางเรียบร้อยแล้ว แม้จำเลยทั้งสองเรียกเก็บค่าระวางจากโจทก์ในลักษณะการขนส่งทางทะเลบวกกับการขนส่งทางบก ก็ไม่อาจถือได้ว่าการขนส่งทางบกโดยรถไฟเป็นสาระสำคัญของสัญญาขนส่งตามฟ้อง เพราะสภาพแห่งสัญญามุ่งถึงผลสำเร็จของงานที่ว่าจ้างโดยการที่สินค้าพิพาทไปถึงมือผู้รับตราส่งที่เมืองปลายทางเท่านั้น การที่สินค้าของโจทก์ไม่อาจขนส่งทางรถไฟจากเมืองแวนคูเวอร์ไปยังเมืองชิคาโกและเมืองดีทรอยต์ได้เพราะมีข้อจำกัดของการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศแคนาดา ก็ไม่อาจถือได้ว่าการขนส่งสินค้าพิพาททั้งสองเที่ยวอันเป็นการชำระหนี้ของจำเลยทั้งสองต่อโจทก์ตามสัญญาขนส่งสินค้าตามฟ้องกลายเป็นพ้นวิสัย เพราะสินค้าตามฟ้องสามารถขนส่งไปยังเมืองปลายทางได้โดยทางรถบรรทุก ทั้งไม่อาจถือได้ว่าการขนส่งทางรถบรรทุกอยู่นอกเหนือจากข้อตกลงขนส่งสินค้า การที่จำเลยทั้งสองไม่ดำเนินการขนส่งสินค้าพิพาทจากเมืองแวนคูเวอร์ไปยังเมืองชิคาโกและเมืองดีทรอยต์อันเป็นสถานที่ปลายทางตามสัญญาขนส่งสินค้าโดยโจทก์ได้บอกกล่าวแก่จำเลยทั้งสองให้ปฏิบัติตามสัญญาภายในระยะเวลาพอสมควรแล้ว ถือว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยทั้งสองได้ การที่โจทก์เกรงว่าหากปล่อยเวลาเนิ่นนานไปจะเกิดความเสียหายเพราะผู้ซื้ออาจปฏิเสธไม่ยอมรับสินค้า จึงได้แจ้งแก่จำเลยที่ 2 ว่าจะขนส่งสินค้าช่วงจากเมืองแวนคูเวอร์ไปยังปลายทางเอง ถือเป็นการบอกเลิกสัญญาขนส่งสินค้าตามฟ้องแก่จำเลยทั้งสองแล้ว ส่วนการที่จำเลยที่ 2 ยินยอมตกลงส่งมอบตู้สินค้าให้แก่บุคคลภายนอกที่โจทก์ติดต่อให้รับขนส่งต่อ โดยจำเลยที่ 2 ตกลงไม่เรียกเก็บค่าเสียเวลาตู้สินค้าที่เมืองแวนคูเวอร์ และจะไปรับตู้สินค้าคืนที่เมืองปลายทาง รวมทั้งยินยอมคืนค่าระวางบางส่วนให้แก่โจทก์ ถือเป็นส่วนที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดชอบและไม่มีสิทธิได้รับค่าระวางในส่วนนั้นอยู่แล้ว ไม่อาจถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยทั้งสองสมัครใจเลิกสัญญาขนส่งสินค้าตามฟ้องต่อกัน เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินค่าจ้างขนส่งสินค้าพิพาททั้งสองรายการจากเมืองแวนคูเวอร์ไปยังเมืองปลายทางโดยทางรถยนต์เป็นเงิน 46,370 ดอลลาร์สหรัฐ จึงถือเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาซึ่งจำเลยทั้งสองต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์ โดยหักเงินค่าระวางส่วนต่างจากท่าเรือเมืองแวนคูเวอร์ไปยังเมืองปลายทางทั้งสองเที่ยวที่จำเลยทั้งสองส่งคืนให้แก่โจทก์แล้วออก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7571/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยผิดสัญญาซื้อขายเนื่องจากผู้ผลิตไม่ได้รับอนุญาตส่งออกสินค้า เหตุสุดวิสัยไม่สำเร็จ
โจทก์ทำสัญญาซื้อเครื่องส่งวิทยุแฝงในแบตเตอรี่โทรศัพท์เคลื่อนที่จากจำเลย จำเลยย่อมมีหน้าที่จัดหาสินค้าดังกล่าวตามสัญญาส่งมอบให้แก่โจทก์ การที่บริษัท ด. ผู้ผลิตสินค้าไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ของประเทศสหรัฐอเมริกาให้ส่งออกสินค้า จึงเป็นความผิดของจำเลย หาใช่เหตุสุดวิสัยไม่ ทั้งมิใช่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ และซึ่งจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบ และทำให้จำเลยเป็นอันหลุดพ้นจากการชำระหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1678/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายผ้า: จำเลยต้องรับผิดชำระราคาผ้าคงเหลือ แม้จะอ้างปัญหาทางการค้าและเหตุสุดวิสัย
จำเลยผู้ซื้อได้มีหนังสือแจ้งไปยังโจทก์ผู้ขายขอคืนผ้าแต่โจทก์ไม่ได้ทำคำสนองรับเพียงแต่โจทก์ให้จำเลยช่วยขายผ้าให้บุคคลอื่น โจทก์จะรับผ้าคืนก็ต่อเมื่อมีบุคคลหรือลูกค้าอื่นรับซื้อผ้าไว้เท่านั้น ซึ่งเมื่อโจทก์ขายผ้าได้บางส่วนจึงให้พนักงานของโจทก์มารับผ้าไปจากจำเลย ก็ไม่ได้หมายความว่า โจทก์รับคืนผ้าทั้งหมดเพียงแต่ตกลงกันว่าโจทก์จะรับผ้าไปเมื่อขายผ้าได้บางส่วนเท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องโจทก์ช่วยจำเลยขายผ้าส่วนที่เหลือ ไม่ได้ตกลงยินยอมรับคืนผ้า จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าผ้าที่เหลือให้แก่โจทก์
การที่จำเลยไม่สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้เนื่องจากบริษัท ธ. ผู้ซื้อผ้าจากจำเลยมีปัญหาทางการเงินไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่จำเลย ก็เป็นเรื่องการประกอบธุรกิจการค้าประสบปัญหากำไรหรือขาดทุนอันเป็นปกติทางการค้าย่อมเกิดขึ้นได้เสมอไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยไม่สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้เนื่องจากบริษัท ธ. ผู้ซื้อผ้าจากจำเลยมีปัญหาทางการเงินไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่จำเลย ก็เป็นเรื่องการประกอบธุรกิจการค้าประสบปัญหากำไรหรือขาดทุนอันเป็นปกติทางการค้าย่อมเกิดขึ้นได้เสมอไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1718/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินเป็นพ้นวิสัยเนื่องจากข้อจำกัดการโอนที่ดิน
ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินโจทก์และจำเลยตกลงกันว่า จำเลยจะจดทะเบียนโอนขายที่ดินแก่โจทก์เมื่อได้ออก น.ส.3 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อมามีการออก น.ส.3 แต่มีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 219 วรรคหนึ่ง คือการจดทะเบียนโอนขายที่ดินแก่โจทก์กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะมีข้อกำหนดห้ามโอนอันเป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังที่ได้ทำสัญญาจะซื้อขายจำเลยจึงหลุดพ้นจากการชำระหนี้โดยไม่ต้องจดทะเบียนโอนขายที่ดินแก่โจทก์อีกต่อไปเพราะไม่มีข้อตกลงว่าต้องรอจนพ้นกำหนดห้ามโอนแล้วจึงจะจดทะเบียนโอนขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1718/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินมีข้อกำหนดห้ามโอน สัญญาเป็นพ้นวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219
ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินโจทก์และจำเลยตกลงกันว่าจำเลยจะจดทะเบียนโอนขายที่ดินแก่โจทก์เมื่อได้ออกน.ส.3เสร็จเรียบร้อยแล้วต่อมามีการออกน.ส.3แต่มีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน10ปีกรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา219วรรคหนึ่งคือการจดทะเบียนโอนขายที่ดินแก่โจทก์กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะมีข้อกำหนดห้ามโอนอันเป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังที่ได้ทำสัญญาจะซื้อขายจำเลยจึงหลุดพ้นจากการชำระหนี้โดยไม่ต้องจดทะเบียนโอนขายที่ดินแก่โจทก์อีกต่อไปเพราะไม่มีข้อตกลงว่าต้องรอจนพ้นกำหนดห้ามโอนแล้วจึงจะจดทะเบียนโอนขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7246/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาโอนสิทธิทำไม้สมบูรณ์ แม้สัมปทานสิ้นสุดก่อนเงื่อนเวลา ชำระเงินแล้วต้องคืน
การชำระหนี้ของจำเลยตามสัญญาตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษจำเลยหรือนาย ป. ไม่ได้ ทำให้จำเลยเป็นอันหลุดพ้นจากการต้องชำระหนี้ของจำเลยที่จะต้องให้นาย ป.ได้รับสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้ตามสัญญาที่ทำไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตอบแทนจากนาย ป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 372 วรรคหนึ่ง แม้สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงมีเงื่อนเวลาเริ่มต้นเป็นประโยชน์แก่จำเลยโดยนาย ป. จะทวงถามให้จำเลยโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้ให้นาย ป. ได้หลังจากวันที่ 31 พฤษภาคม 2535ก็ตาม แต่เมื่อมีการออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ และรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้สิ้นสุดลงก่อนถึงเวลาที่กำหนดไว้เป็นเงื่อนเวลาเริ่มต้น ทำให้การชำระหนี้ของจำเลยซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนเป็นอันพ้นวิสัย โดยจะโทษจำเลยหรือนาย ป. ไม่ได้ จำเลยก็ไม่อาจถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเริ่มต้นที่ได้กำหนดไว้เดิมนั้นมาเป็นประโยชน์แก่ตนได้ต่อไป เมื่อนาย ป. ชำระเงิน 8,000,000 บาท อันเป็นการชำระหนี้ของนาย ป. ตามสัญญาให้จำเลยรับไปครบถ้วนแล้ว นาย ป.จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวได้ เมื่อนาย ป.ตาย สิทธิดังกล่าวเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของนาย ป. จึงเป็นมรดกของนาย ป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของนาย ป. จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้จะเป็นโมฆะเพราะวัตถุประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 63 ก็ต่อเมื่อบทบัญญัติดังกล่าว ห้ามมิให้มีการโอนสัมปทานทำไม้ แต่ปรากฏว่าบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ห้ามมิให้ผู้รับสัมปทานโอนสิทธิตามสัมปทานให้แก่ผู้อื่น ทั้งไม่มีบทบัญญัติอื่นในพระราชบัญญัติป่าไม้ฯบัญญัติห้ามเด็ดขาดเช่นนั้นด้วย สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้จึงไม่ได้มีวัตถุประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ อันจะทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113เดิม (มาตรา 150 ใหม่) นาย ป. ชำระเงินให้แก่จำเลยตามสัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้เป็นสัญญาที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมายและเป็นการชำระหนี้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ เงินที่จำเลยได้รับจึงไม่เป็นลาภมิควรได้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 406 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยจึงไม่อยู่ในบังคับอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา 406 ดังกล่าวที่จะต้องฟ้องเรียกร้องภายใน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7246/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาโอนสิทธิทำไม้พ้นวิสัยจาก พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ และการคืนเงินจากสัญญาที่สมบูรณ์
การชำระหนี้ของจำเลยตามสัญญาตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษจำเลยหรือนาย ป. ไม่ได้ ทำให้จำเลยเป็นอันหลุดพ้นจากการต้องชำระหนี้ของจำเลยที่จะต้องให้นาย ป. ได้รับสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้ตามสัญญาที่ทำไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตอบแทนจากนาย ป. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 372วรรคหนึ่ง
แม้สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงมีเงื่อนเวลาเริ่มต้นเป็นประโยชน์แก่จำเลยโดยนาย ป. จะทวงถามให้จำเลยโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้ให้นาย ป. ได้หลังจากวันที่ 31 พฤษภาคม 2535 ก็ตาม แต่เมื่อมีการออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ ฯ และรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้สิ้นสุดลงก่อนถึงเวลาที่กำหนดไว้เป็นเงื่อนเวลาเริ่มต้น ทำให้การชำระหนี้ของจำเลยซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนเป็นอันพ้นวิสัย โดยจะโทษจำเลยหรือนาย ป. ไม่ได้ จำเลยก็ไม่อาจถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเริ่มต้นที่ได้กำหนดไว้เดิมนั้นมาเป็นประโยชน์แก่ตนได้ต่อไป
เมื่อนาย ป. ชำระเงิน 8,000,000 บาท อันเป็นการชำระหนี้ของนาย ป. ตามสัญญาให้จำเลยรับไปครบถ้วนแล้ว นาย ป. จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวได้ เมื่อนาย ป. ตาย สิทธิดังกล่าวเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของนาย ป. จึงเป็นมรดกของนาย ป. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของนาย ป. จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้จะเป็นโมฆะเพราะวัตถุประสงค์ขัดต่อ พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ มาตรา 63 ก็ต่อเมื่อบทบัญญัติดังกล่าว ห้ามมิให้มีการโอนสัมปทานทำไม้ แต่ปรากฏว่าบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ห้ามมิให้ผู้รับสัมปทานโอนสิทธิตามสัมปทานให้แก่ผู้อื่น ทั้งไม่มีบทบัญญัติอื่นใน พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ บัญญัติห้ามเด็ดขาดเช่นนั้นด้วย สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้จึงไม่ได้มีวัตถุประสงค์ขัดต่อ พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ อันจะทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 113เดิม (มาตรา 150 ใหม่)
นาย ป. ชำระเงินให้แก่จำเลยตามสัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้เป็นสัญญาที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย และเป็นการชำระหนี้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้เงินที่จำเลยได้รับจึงไม่เป็นลาภมิควรได้แก่จำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยจึงไม่อยู่ในบังคับอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา 406 ดังกล่าวที่จะต้องฟ้องเรียกร้องภายใน 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419
แม้สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงมีเงื่อนเวลาเริ่มต้นเป็นประโยชน์แก่จำเลยโดยนาย ป. จะทวงถามให้จำเลยโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้ให้นาย ป. ได้หลังจากวันที่ 31 พฤษภาคม 2535 ก็ตาม แต่เมื่อมีการออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ ฯ และรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้สิ้นสุดลงก่อนถึงเวลาที่กำหนดไว้เป็นเงื่อนเวลาเริ่มต้น ทำให้การชำระหนี้ของจำเลยซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนเป็นอันพ้นวิสัย โดยจะโทษจำเลยหรือนาย ป. ไม่ได้ จำเลยก็ไม่อาจถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเริ่มต้นที่ได้กำหนดไว้เดิมนั้นมาเป็นประโยชน์แก่ตนได้ต่อไป
เมื่อนาย ป. ชำระเงิน 8,000,000 บาท อันเป็นการชำระหนี้ของนาย ป. ตามสัญญาให้จำเลยรับไปครบถ้วนแล้ว นาย ป. จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวได้ เมื่อนาย ป. ตาย สิทธิดังกล่าวเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของนาย ป. จึงเป็นมรดกของนาย ป. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของนาย ป. จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้จะเป็นโมฆะเพราะวัตถุประสงค์ขัดต่อ พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ มาตรา 63 ก็ต่อเมื่อบทบัญญัติดังกล่าว ห้ามมิให้มีการโอนสัมปทานทำไม้ แต่ปรากฏว่าบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ห้ามมิให้ผู้รับสัมปทานโอนสิทธิตามสัมปทานให้แก่ผู้อื่น ทั้งไม่มีบทบัญญัติอื่นใน พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ บัญญัติห้ามเด็ดขาดเช่นนั้นด้วย สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้จึงไม่ได้มีวัตถุประสงค์ขัดต่อ พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ อันจะทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 113เดิม (มาตรา 150 ใหม่)
นาย ป. ชำระเงินให้แก่จำเลยตามสัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้เป็นสัญญาที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย และเป็นการชำระหนี้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้เงินที่จำเลยได้รับจึงไม่เป็นลาภมิควรได้แก่จำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยจึงไม่อยู่ในบังคับอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา 406 ดังกล่าวที่จะต้องฟ้องเรียกร้องภายใน 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7246/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาโอนสิทธิทำไม้ สิทธิเรียกร้องเงินคืนจากผู้รับชำระล่วงหน้า ไม่ขาดอายุความลาภมิควรได้
การชำระหนี้ของจำเลยตามสัญญาตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษจำเลยหรือนายป. ไม่ได้ทำให้จำเลยเป็นอันหลุดพ้นจากการต้องชำระหนี้ของจำเลยที่จะต้องให้นายป.ได้รับสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้ตามสัญญาที่ทำไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา219วรรคหนึ่งก็ตามแต่จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตอบแทนจากนายป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา372วรรคหนึ่ง แม้สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงมีเงื่อนเวลาเริ่มต้นเป็นประโยชน์แก่จำเลยโดยนายป. จะทวงถามให้จำเลยโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้ให้นายป. ได้หลังจากวันที่31พฤษภาคม2535ก็ตามแต่เมื่อมีการออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ฯและรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้สิ้นสุดลงก่อนถึงเวลาที่กำหนดไว้เป็นเงื่อนเวลาเริ่มต้นทำให้การชำระหนี้ของจำเลยซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนเป็นอันพ้นวิสัยโดยจะโทษจำเลยหรือนายป. ไม่ได้จำเลยก็ไม่อาจถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเริ่มต้นที่ได้กำหนดไว้เดิมนั้นมาเป็นประโยชน์แก่ตนได้ต่อไป เมื่อนายป. ชำระเงิน8,000,000บาทอันเป็นการชำระหนี้ของนายป. ตามสัญญาให้จำเลยรับไปครบถ้วนแล้วนายป.จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวได้เมื่อนายป.ตายสิทธิดังกล่าวเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของนายป. จึงเป็นมรดกของนายป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1600โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของนายป. จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้จะเป็นโมฆะเพราะวัตถุประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯมาตรา63ก็ต่อเมื่อบทบัญญัติดังกล่าวห้ามมิให้มีการโอนสัมปทานทำไม้แต่ปรากฏว่าบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ห้ามมิให้ผู้รับสัมปทานโอนสิทธิตามสัมปทานให้แก่ผู้อื่นทั้งไม่มีบทบัญญัติอื่นในพระราชบัญญัติป่าไม้ฯบัญญัติห้ามเด็ดขาดเช่นนั้นด้วยสัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้จึงไม่ได้มีวัตถุประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯอันจะทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิม(มาตรา150ใหม่) นายป. ชำระเงินให้แก่จำเลยตามสัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้เป็นสัญญาที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมายและเป็นการชำระหนี้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้เงินที่จำเลยได้รับจึงไม่เป็นลาภมิควรได้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา406วรรคหนึ่งการที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยจึงไม่อยู่ในบังคับอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา406ดังกล่าวที่จะต้องฟ้องเรียกร้องภายใน1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา419
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และผลของการส่งมอบเอกสารไม่ครบถ้วน/พ้นวิสัย
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองคดีนี้มีใจความเพียงว่า จำเลยทั้งสองยอมโอนใบอนุญาตโรงเรียนและเอกสารเกี่ยวกับกิจการโรงเรียนให้แก่โจทก์กับยอมออกจากทรัพย์มรดกภายใน 15 วัน หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตาม ยอมให้บังคับคดีได้ทันที และหากไม่ยอมโอนใบอนุญาตและเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับกิจการโรงเรียน ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง หรือให้ศาลมีคำสั่งบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง หาได้มีข้อความว่า ถ้าจำเลยทั้งสองส่งมอบเอกสารให้โจทก์ไม่ครบถ้วนจำเลยทั้งสองต้องชำระเงินจำนวน 3,000,000 บาท แก่โจทก์ เป็นการชดใช้ค่าเสียหายด้วยเลยเช่นนี้ หากโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสองส่งมอบเอกสารให้แก่โจทก์ไม่ครบถ้วนอันเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้บังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองเพื่อให้จำเลยทั้งสองส่งมอบเอกสารให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น หามีสิทธิขอให้บังคับจำเลยทั้งสองนำเงินจำนวน 3,000,000 บาท มาวางศาลเพื่อชดใช้เป็นค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วยไม่ เพราะเพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะขอให้บังคับคดีนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำพิพากษาหรือคำสั่งหาได้ไม่
เอกสารเกี่ยวกับกิจการโรงเรียนที่จำเลยทั้งสองจะต้องส่งมอบให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความสูญหายไป การส่งมอบเอกสารพิพาทจึงกลายเป็นพ้นวิสัย ศาลย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้ส่งเอกสารพิพาทนั้นได้
เอกสารเกี่ยวกับกิจการโรงเรียนที่จำเลยทั้งสองจะต้องส่งมอบให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความสูญหายไป การส่งมอบเอกสารพิพาทจึงกลายเป็นพ้นวิสัย ศาลย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้ส่งเอกสารพิพาทนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และผลของการส่งมอบเอกสารไม่ครบถ้วน
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองคดีนี้มีใจความเพียงว่าจำเลยทั้งสองยอมโอนใบอนุญาตโรงเรียนและเอกสารเกี่ยวกับกิจการโรงเรียนให้แก่โจทก์กับยอมออกจากทรัพย์มรดกภายใน15วันหากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามยอมให้บังคับคดีได้ทันทีและหายไม่ยอมโอนใบอนุญาตและเอกสารต่างๆเกี่ยวกับกิจการโรงเรียนให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองหรือให้ศาลมีคำสั่งบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงหาได้มีข้อความว่าถ้าจำเลยทั้งสองส่งมอบเอกสารให้โจทก์ไม่ครบถ้วนจำเลยทั้งสองต้องชำระเงินจำนวน3,000,000บาทแก่โจทก์เป็นการชดใช้ค่าเสียหายด้วยเลยเช่นนี้หากโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสองส่งมอบเอกสารให้แก่โจทก์ไม่ครบถ้วนอันเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้บังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองเพื่อให้จำเลยทั้งสองส่งมอบเอกสารให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้นหามีสิทธิขอให้บังคับจำเลยทั้งสองนำเงินจำนวน3,000,000บาทมาวางศาลเพื่อชดใช้เงินค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วยไม่เพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะขอให้บังคับคดีนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำพิพากษาหรือคำสั่งหาได้ไม่ เอกสารเกี่ยวกับกิจการโรงเรียนที่จำเลยทั้งสองจะต้องส่งมอบให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความสูญหายไปการส่งมอบเอกสารพิพาทจึงกลายเป็นพ้นวิสัยศาลย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้ส่งเอกสารพิพาทนั้นได้