พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายของเจ้าหนี้มีประกัน จำเป็นต้องบรรยายฟ้องวิธีการจัดการทรัพย์หลักประกันตามกฎหมายล้มละลาย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันของจำเลยในฐานะผู้รับจำนอง ทางนำสืบของโจทก์ โจทก์มี จ. ทนายความโจทก์เป็นพยานเบิกความประกอบบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นว่า ทรัพย์จำนองอันเป็นหลักประกัน ได้แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 57826 และ 57827 ตำบลทุ่งครุ อำเภอราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งได้ถูกห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล พี.เอ็น.เทพเจริญ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 4009/2546 ของศาลแพ่งธนบุรีนำยึดไว้แล้ว และกรมบังคับคดีได้มีหนังสือแจ้งให้ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เจ้าหนี้เดิมนำส่งต้นฉบับโฉนดที่ดินและหนังสือสัญญาจำนอง เมื่อโจทก์นำสืบเพียงนี้ แสดงว่าเจ้าพนักงานบังคับคดียังมิได้ขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง เช่นนี้ การจำนองในที่ดินโฉนดเลขที่ 57826 และ 57827 จึงไม่ระงับสิ้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 (เดิม) ดังนั้น ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยในทางจำนอง โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันของจำเลยตามความใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 6 การฟ้องคดีของโจทก์ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2) กล่าวคือ โจทก์ต้องกล่าวมาในฟ้องว่า ถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้ว จะยอมสละหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้องซึ่งเมื่อหักกับจำนวนหนี้ของตนแล้ว เงินยังขาดอยู่สำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับวิธีการจัดการทรัพย์หลักประกันตามมาตรา 10 (2) ดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2) ที่ศาลจะรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14870/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: การตีราคาหลักประกันต้องเหมาะสม เพื่อความเป็นธรรมต่อลูกหนี้ และเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขการฟ้อง
ในการฟ้องคดีล้มละลายของเจ้าหนี้มีประกัน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2) บังคับให้โจทก์ต้องตีราคาหลักประกันมาในฟ้อง ซึ่งเมื่อหักกับจำนวนหนี้ของตนแล้ว เงินยังขาดสำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท เนื่องจากเจ้าหนี้มีประกันย่อมมีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันของลูกหนี้ที่จะบังคับชำระหนี้เอาแก่หลักประกันนั้นได้ก่อนเจ้าหนี้ไม่มีประกัน ซึ่งเมื่อนำราคาหลักประกันมาหักชำระหนี้แล้ว เงินยังขาดอยู่เท่าใด หนี้ส่วนที่เหลือย่อมเป็นหนี้ธรรมดาเฉกเช่นเดียวกันกับเจ้าหนี้ไม่มีประกัน ฉะนั้น การตีราคาหลักประกันจึงต้องถูกต้องเหมาะสมด้วย หากตีราคาหลักประกันต่ำเกินสมควรเพียงเพื่อจะให้จำนวนหนี้อยู่ในหลักเกณฑ์ในการฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็จะไม่เป็นธรรมแก่ลูกหนี้ ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาตรวจสอบการตีราคาหลักประกันของโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10292/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีราคาหลักประกันในคดีล้มละลายต้องถูกต้องเหมาะสม หากต่ำเกินไปเพื่อหลีกเลี่ยงเกณฑ์การฟ้อง ศาลมีอำนาจตรวจสอบได้
ในการฟ้องคดีล้มละลายของเจ้าหนี้มีประกัน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2) บังคับให้โจทก์ต้องตีราคาหลักประกันมาในฟ้อง ซึ่งเมื่อหักกับจำนวนหนี้ของตนแล้ว เงินยังขาดสำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลไม่น้อยกว่าสองล้านบาท เนื่องจากเจ้าหนี้มีประกันย่อมมีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันของลูกหนี้ในอันที่จะบังคับชำระหนี้เอาแก่หลักประกันนั้นได้ก่อนเจ้าหนี้ไม่มีประกัน ซึ่งเมื่อนำราคาหลักประกันมาหักชำระหนี้แล้ว เงินยังขาดอยู่เท่าใด หนี้ส่วนที่เหลือย่อมเป็นหนี้ธรรมดาเฉกเช่นเดียวกับเจ้าหนี้ไม่มีประกัน ฉะนั้น การตีราคาหลักประกันจึงต้องถูกต้องเหมาะสมด้วย หากตีราคาหลักประกันต่ำเกินสมควรเพียงเพื่อจะให้จำนวนหนี้อยู่ในหลักเกณฑ์ในการฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายก็จะไม่เป็นธรรมแก่ลูกหนี้ ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาตรวจสอบการตีราคาหลักประกันของโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาตามยอมฟ้องล้มละลาย: อายุความ, ฐานะเจ้าหนี้, และการบังคับคดี
หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 เป็นคดีล้มละลายนั้น เป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมที่ยังค้างชำระอยู่ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีล้มละลาย มูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงสามารถคำนวณได้ว่าเมื่อถึงวันฟ้องคดีล้มละลายจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ยังคงเป็นหนี้โจทก์อยู่เป็นจำนวนเท่าใด ลักษณะแห่งมูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 เป็นคดีล้มละลาย จึงเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ส่วนที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 อ้างว่าได้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการบังคับคดีนั้น กรณีดังกล่าวหาทำให้หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องซึ่งเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนแล้วกลับเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนอีกแต่อย่างใดไม่
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2) ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่เจ้าหนี้มีประกันได้ยื่นฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลาย โดยการที่จะพิจารณาว่าเจ้าหนี้ดังกล่าวนั้นมีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันหรือไม่ จะต้องพิจารณาฐานะของเจ้าหนี้ในขณะที่เจ้าหนี้ยื่นฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลาย แม้ว่าโจทก์จะเคยมีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ในทางจำนอง แต่ก็ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีล้มละลายโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์ดังกล่าวออกขายทอดตลาดแล้ว ส่วนทรัพย์สินที่เหลือได้มีการไถ่ถอนไปแล้ว ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีล้มละลายนั้น โจทก์มิได้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 อีก จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 กล่าวอ้างลอย ๆ ว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันแต่มิได้ระบุให้เห็นชัดว่ามีสิทธิเหนือทรัพย์หลักประกันของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ชิ้นใด กรณีจึงต้องฟังว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ในฐานะเจ้าหนี้ธรรมดา โจทก์จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2) แต่อย่างใด
การที่โจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมมาฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 เป็นคดีล้มละลายนั้น มิใช่เป็นการบังคับในคดีเดิม กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 271 แต่กรณีดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องอย่างหนึ่ง ซึ่งอยู่ภายใต้บทบัญญัติเรื่องอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 ซึ่งบัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุด หรือโดยสัญญาประนีประนอมยอมความ ให้มีกำหนดอายุความ 10 ปี ทั้งนี้ ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมีกำหนดอายุความเท่าใด และมาตรา 193/12 บัญญัติว่า อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ในคดีแพ่งของศาลจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2538 นั้น ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมส่วนที่ศาลไม่สั่งคืน และค่าทนายความจำนวน 10,000 บาท ให้แก่โจทก์ภายในสิ้นเดือนกันยายน 2538 เมื่อจำเลยทั้งเจ็ดผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมสามารถบังคับคดีได้นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2538 เป็นต้นไป ซึ่งจะครบกำหนดระยะเวลา 10 ปี ในวันที่ 1 ตุลาคม 2548 เมื่อโจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 เป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2548 จึงอยู่ภายในกำหนดอายุความ
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2) ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่เจ้าหนี้มีประกันได้ยื่นฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลาย โดยการที่จะพิจารณาว่าเจ้าหนี้ดังกล่าวนั้นมีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันหรือไม่ จะต้องพิจารณาฐานะของเจ้าหนี้ในขณะที่เจ้าหนี้ยื่นฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลาย แม้ว่าโจทก์จะเคยมีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ในทางจำนอง แต่ก็ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีล้มละลายโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์ดังกล่าวออกขายทอดตลาดแล้ว ส่วนทรัพย์สินที่เหลือได้มีการไถ่ถอนไปแล้ว ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีล้มละลายนั้น โจทก์มิได้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 อีก จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 กล่าวอ้างลอย ๆ ว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันแต่มิได้ระบุให้เห็นชัดว่ามีสิทธิเหนือทรัพย์หลักประกันของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ชิ้นใด กรณีจึงต้องฟังว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ในฐานะเจ้าหนี้ธรรมดา โจทก์จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2) แต่อย่างใด
การที่โจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมมาฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 เป็นคดีล้มละลายนั้น มิใช่เป็นการบังคับในคดีเดิม กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 271 แต่กรณีดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องอย่างหนึ่ง ซึ่งอยู่ภายใต้บทบัญญัติเรื่องอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 ซึ่งบัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุด หรือโดยสัญญาประนีประนอมยอมความ ให้มีกำหนดอายุความ 10 ปี ทั้งนี้ ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมีกำหนดอายุความเท่าใด และมาตรา 193/12 บัญญัติว่า อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ในคดีแพ่งของศาลจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2538 นั้น ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมส่วนที่ศาลไม่สั่งคืน และค่าทนายความจำนวน 10,000 บาท ให้แก่โจทก์ภายในสิ้นเดือนกันยายน 2538 เมื่อจำเลยทั้งเจ็ดผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมสามารถบังคับคดีได้นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2538 เป็นต้นไป ซึ่งจะครบกำหนดระยะเวลา 10 ปี ในวันที่ 1 ตุลาคม 2548 เมื่อโจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 เป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2548 จึงอยู่ภายในกำหนดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8325/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน, คดีล้มละลาย, การหักกลบลบหนี้, สิทธิเจ้าหนี้, เงินฝากประกัน
การที่จำเลยทั้งสามในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกันรับผิดชำระหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้เพื่อปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ระบุจำนวนเงินพร้อมอัตราดอกเบี้ยไว้แน่นอน สามารถคำนวณยอดหนี้ถึงวันฟ้องได้ หนี้ตามฟ้องจึงเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ส่วนการที่โจทก์อาจได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของ อ. ในภายหลังนั้น หาเป็นเหตุให้หนี้ตามฟ้องกลับกลายเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่
ความปรากฏเพียงว่าในการทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้มอบบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์และบัญชีเงินฝากประจำไว้ให้แก่โจทก์เป็นประกันเท่านั้น แต่มิได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับการให้สิทธิโจทก์นำเงินฝากดังกล่าวมาหักชำระหนี้ไว้อย่างไร สิทธิเรียกร้องในเงินฝากจึงยังเป็นของจำเลยที่ 1 ดังนั้นแม้โจทก์มิได้นำเงินฝากในบัญชีที่วางประกันไว้มาหักจากยอดหนี้ดังที่จำเลยทั้งสามอ้าง กรณีก็ต้องถือว่าจำเลยทั้งสามมียอดหนี้ค้างชำระอยู่ตามฟ้อง ซึ่งจำเลยที่ 1 คงมีสิทธิเพียงขอให้โจทก์นำเงินฝากมาหักกลบลบหนี้ได้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกัน โจทก์จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2)
ความปรากฏเพียงว่าในการทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้มอบบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์และบัญชีเงินฝากประจำไว้ให้แก่โจทก์เป็นประกันเท่านั้น แต่มิได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับการให้สิทธิโจทก์นำเงินฝากดังกล่าวมาหักชำระหนี้ไว้อย่างไร สิทธิเรียกร้องในเงินฝากจึงยังเป็นของจำเลยที่ 1 ดังนั้นแม้โจทก์มิได้นำเงินฝากในบัญชีที่วางประกันไว้มาหักจากยอดหนี้ดังที่จำเลยทั้งสามอ้าง กรณีก็ต้องถือว่าจำเลยทั้งสามมียอดหนี้ค้างชำระอยู่ตามฟ้อง ซึ่งจำเลยที่ 1 คงมีสิทธิเพียงขอให้โจทก์นำเงินฝากมาหักกลบลบหนี้ได้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกัน โจทก์จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากโจทก์ประเมินราคาทรัพย์สินหลักประกันไม่ครบถ้วน
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้เป็นบุคคลล้มละลายโดยนำมูลหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้อง และหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ หากไม่ชำระหนี้ให้ยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 ออกขายทอดตลาดชำระหนี้ ดังนั้น แม้ว่าจำเลยที่ 3 จะอุทธรณ์แต่เพียงผู้เดียว แต่เมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามรับผิดนั้นเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ตลอดจนโจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 เด็ดขาด ก็โดยสาเหตุที่จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ด้วยนั้น กรณีจึงมีความเกี่ยวพันกัน และศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยคำฟ้องโจทก์ในส่วนจำเลยที่ 1 ก่อน
การที่โจทก์ฟ้องโดยตีราคาทรัพย์หลักประกันของจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 1,806,000 บาท ตามสำเนาบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินซึ่งในการประเมินราคาทรัพย์จำนองที่มีที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อนำมาพิจารณาว่าเมื่อหักกับหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องแล้วจำเลยยังคงเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท หรือ 2,000,000 บาท ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2) หรือไม่นั้น โจทก์ต้องตีราคาทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การที่ทรัพย์จำนองเป็นที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น แต่โจทก์ประเมินมาเฉพาะราคาที่ดินอย่างเดียว กรณีจึงถือว่าโจทก์ปกปิดทรัพย์หลักประกันซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้างอันอยู่บนที่ดิน เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ประเมินทรัพย์จำนองให้ครบถ้วน คำฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2) และเมื่อกรณีไม่อาจพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้ เนื่องจากฟ้องโจทก์ไม่ชอบแล้ว กรณีจึงไม่อาจมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 89 ได้
โจทก์ตีราคาทรัพย์หลักประกันเฉพาะที่ดินโดยปกปิดไม่ได้ตีราคาสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น ทรัพย์จำนองมาด้วย และจำเลยทั้งสามก็โต้แย้งว่าทรัพย์จำนองดังกล่าวนั้นมีราคาประเมินรวมประมาณ 13,000,000 บาท ประกอบกับคดีแพ่งที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีล้มละลาย ศาลก็เพิ่งพิพากษาคดีแพ่งก่อนฟ้องคดีล้มละลายเป็นเวลาเพียง 8 เดือนเศษ โจทก์ยังสามารถที่จะนำคำพิพากษาคดีแพ่งไปบังคับแก่จำเลยที่ 2 ได้อยู่ และจำเลยที่ 2 ก็ยังประกอบธุรกิจต่างๆ มีรายได้ที่จะมาชำระหนี้แก่โจทก์ กรณียังมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย
การที่โจทก์ฟ้องโดยตีราคาทรัพย์หลักประกันของจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 1,806,000 บาท ตามสำเนาบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินซึ่งในการประเมินราคาทรัพย์จำนองที่มีที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อนำมาพิจารณาว่าเมื่อหักกับหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องแล้วจำเลยยังคงเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท หรือ 2,000,000 บาท ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2) หรือไม่นั้น โจทก์ต้องตีราคาทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การที่ทรัพย์จำนองเป็นที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น แต่โจทก์ประเมินมาเฉพาะราคาที่ดินอย่างเดียว กรณีจึงถือว่าโจทก์ปกปิดทรัพย์หลักประกันซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้างอันอยู่บนที่ดิน เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ประเมินทรัพย์จำนองให้ครบถ้วน คำฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2) และเมื่อกรณีไม่อาจพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้ เนื่องจากฟ้องโจทก์ไม่ชอบแล้ว กรณีจึงไม่อาจมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 89 ได้
โจทก์ตีราคาทรัพย์หลักประกันเฉพาะที่ดินโดยปกปิดไม่ได้ตีราคาสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น ทรัพย์จำนองมาด้วย และจำเลยทั้งสามก็โต้แย้งว่าทรัพย์จำนองดังกล่าวนั้นมีราคาประเมินรวมประมาณ 13,000,000 บาท ประกอบกับคดีแพ่งที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีล้มละลาย ศาลก็เพิ่งพิพากษาคดีแพ่งก่อนฟ้องคดีล้มละลายเป็นเวลาเพียง 8 เดือนเศษ โจทก์ยังสามารถที่จะนำคำพิพากษาคดีแพ่งไปบังคับแก่จำเลยที่ 2 ได้อยู่ และจำเลยที่ 2 ก็ยังประกอบธุรกิจต่างๆ มีรายได้ที่จะมาชำระหนี้แก่โจทก์ กรณียังมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2104/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีล้มละลายของเจ้าหนี้มีประกัน ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10(2) โดยแสดงการสละหลักประกัน หรือจำนวนหนี้ที่ยังขาดอยู่
ปัญหาที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันได้บรรยายฟ้องถูกต้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10 (2) หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 247 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 28
จำเลยที่ 1 จำนองที่ดินไว้แก่โจทก์รวม 4 แปลง ขณะโจทก์ยื่นฟ้องสัญญาจำนองยังไม่ระงับ โจทก์จึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในทางจำนองเป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 6 การฟ้องคดีจึงต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10 (2) คือต้องกล่าวมาในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ล้มละลายแล้วโจทก์จะยอมสละหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้องซึ่งเมื่อหักกับจำนวนหนี้ของตนแล้วเงินยังขาดอยู่สำหรับจำเลยที่ 1 เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท แต่ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏข้อความตามมาตรา 10 (2) ดังกล่าวแต่อย่างใด ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณา
จำเลยที่ 1 จำนองที่ดินไว้แก่โจทก์รวม 4 แปลง ขณะโจทก์ยื่นฟ้องสัญญาจำนองยังไม่ระงับ โจทก์จึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในทางจำนองเป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 6 การฟ้องคดีจึงต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10 (2) คือต้องกล่าวมาในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ล้มละลายแล้วโจทก์จะยอมสละหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้องซึ่งเมื่อหักกับจำนวนหนี้ของตนแล้วเงินยังขาดอยู่สำหรับจำเลยที่ 1 เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท แต่ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏข้อความตามมาตรา 10 (2) ดังกล่าวแต่อย่างใด ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7539/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: เจ้าหนี้มีประกันสูญเสียสิทธิจำนองก่อนฟ้อง ทำให้สถานะเจ้าหนี้เปลี่ยนไป
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ผู้รับจำนองที่ดินจำนวน 10 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่ง เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ดังกล่าวโจทก์ได้ขอศาลออกหมายบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของจำเลยออกขายทอดตลาดไปแล้ว จำนวน 8 แปลง และมีการไถ่ถอนที่ดินทรัพย์จำนองของจำเลยอีกจำนวน 2 แปลง สัญญาจำนองจึงเป็นอันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 เมื่อโจทก์นำหนี้ดังกล่าวที่ยังค้างชำระมายื่นฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายภายหลังจากสิทธิตามสัญญาจำนองของโจทก์ระงับสิ้นไปแล้ว โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนองในขณะยื่นฟ้องคดีล้มละลายที่จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 10 (2) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6517/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขเจ้าหนี้มีประกัน ทำให้ศาลไม่รับฟ้องและไม่อุทธรณ์ได้
คำสั่งศาลล้มละลายกลางที่ไม่รับคำฟ้องโจทก์เนื่องจากเห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 10 (2) ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 24 วรรคสอง เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องเพื่อขออนุญาตอุทธรณ์ต่อศาลฎีกามาพร้อมกับอุทธรณ์ ศาลล้มละลายกลางจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง โดยต้องส่งอุทธรณ์และคำร้องดังกล่าวไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณา การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์และรับอุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว อย่างไรก็ตามศาลฎีกาพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ที่ต้องห้ามอุทธรณ์ดังกล่าวแล้ว ไม่มีเหตุสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดที่จะรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาตามมาตรา 26 วรรคสี่ แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายของผู้ค้ำประกัน การพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัว และการตีราคาหลักประกัน
พ.และย. ร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์มอบอำนาจให้ น. มีอำนาจกระทำการต่าง ๆตามที่ระบุไว้ รวมทั้งมีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีล้มละลายทุกศาลแทนโจทก์ได้ ขณะ พ. ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจนั้น พ. ยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงมีผลให้ น. มีอำนาจฟ้องคดีล้มละลายแทนโจทก์ได้ทั้งหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 30 บาท อันแสดงว่าโจทก์มอบอำนาจให้กระทำการแทนโจทก์ได้มากกว่าครั้งเดียวดังนี้ ตราบใดโจทก์ยังมิได้ยกเลิกหรือเพิกถอนหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว น. ย่อมมีอำนาจกระทำการต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ทั้งหมดแทนโจทก์ได้ตลอดไป แม้ต่อมาภายหลังขณะยื่นฟ้องนั้นพ. จะมิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์อีกต่อไปก็ตามเพราะการที่ พ.และย. ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์นั้นเป็นการมอบอำนาจในนามโจทก์ น. จึงมีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีนี้แทนโจทก์ มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1เบิกเงินเกินบัญชีและหนี้ที่เกิดจากการที่จำเลยที่ 1ขายลดเช็คตามสัญญาขายลดเช็คพร้อมดอกเบี้ย หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ส่วนที่โจทก์ตีราคาหลักประกันมาในฟ้องเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 10(2) ที่ให้กระทำเช่นนั้น เพียงแต่เมื่อหักกับจำนวนหนี้ของตนแล้ว เงินยังขาดอยู่สำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 500,000 บาทก็ฟ้องเป็นคดีล้มละลายได้โดยไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีแพ่งและนำยึดหลักประกันออกขายทอดตลาดก่อน ที่จำเลยที่ 2ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งที่มีอยู่แล้วขณะค้ำประกันและที่จะมีขึ้นต่อไปในภายหน้า โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 เป็นจำนวนเงิน 5,000,000 บาทเมื่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ถึงวันฟ้องเป็นเงิน 8,423,598.91บาท โจทก์ตีราคาหลักประกันเป็นเงิน 3,856,300 บาทเมื่อหักกันจำนวนหนี้ดังกล่าวเงินยังขาดอยู่ 4,567,298.91บาท อันเป็นจำนวนเงินที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนซึ่งจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยที่ 2 ล้มละลายได้ จำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว 2 ครั้ง แต่ละครั้งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน และจำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ที่จำเลยที่ 2นำสืบว่า มีรถยนต์บรรทุกหลายคันคงมีแต่จำเลยที่ 2คนเดียวเบิกความลอย ๆ ไม่มีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุนข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ให้เห็นว่าเป็นความจริง ส่วนจำเลยที่ 2นำสืบว่าจำเลยที่ 2 ประกอบการขนส่งเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วมีรายได้เดือนละ 30,000 บาท ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนหนี้ของจำเลยที่ 1 ดังวินิจฉัยมาข้างต้นหาใช่ไม่มีหน้าที่ต้องรับชำระหนี้แก่โจทก์ดังที่จำเลยที่ 2ฎีกาไม่ พยานหลักฐานของจำเลยที่ 2 ไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้ล้นพ้นตัว