พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6756/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้มีประกัน, การพิจารณาหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้ร่วม, และการยกข้อเท็จจริงที่ไม่เกี่ยวข้อง
ฎีกาจำเลยที่4ที่ว่าศาลไม่ชอบที่จะรับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาเพราะโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันได้บรรยายฟ้องโดยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา10(2)แม้จำเลยที่4มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค1แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยที่4มีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านี้ได้ในชั้นฎีกา โจทก์บรรยายฟ้องว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยหากจำเลยทั้งสี่ไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้โจทก์ถ้าไม่พอให้ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยทั้งสี่ขายทอดตลาดชำระหนี้จนครบในการบังคับคดีโจทก์ได้นำยึดที่ดินจำนองของจำเลยที่4ขายทอดตลาดได้เงินชำระหนี้บางส่วนเมื่อหักยอดหนี้แล้วจำเลยทั้งสี่ยังค้างชำระหนี้โจทก์จำเลยทั้งสี่ไม่ชำระคำฟ้องของโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยทั้งสี่ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันเพราะในขณะฟ้องคดีโจทก์ไม่ใช่เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยทั้งสี่ในทางจำนองจำนำหรือสิทธิยึดหน่วงหรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา6โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องตามหลักเกณฑ์ของมาตรา10(2) จำเลยที่3และที่4เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่1และที่2ที่จะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์เมื่อโจทก์ได้บังคับยึดที่ดินจำนองของจำเลยที่4ขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้เพียงบางส่วนส่วนที่เหลือจำเลยทั้งสี่ย่อมมีหน้าที่ต้องร่วมกันรับผิดชำระแก่โจทก์จนครบซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนตามแต่จะเลือกก็ได้การที่จะพิจารณาว่าลูกหนี้คนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคนจึงต้องพิจารณาเฉพาะตัวลูกหนี้ร่วมผู้นั้นว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เท่านั้นไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่นเมื่อคดีสำหรับจำเลยที่2ถึงที่สุดไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ฟังว่าที่ดินของจำเลยที่2กับภรรยาไม่อาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ได้และจำเลยที่2ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะพึงยึดมาชำระหนี้จำเลยที่2จึงเป็นบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นนี้จำเลยที่3และที่4ย่อมไม่อาจฎีกายกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่2ซึ่งคดีถึงที่สุดไปแล้วนั้นโต้เถียงเป็นอย่างอื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6756/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหนี้ร่วม และข้อยกเว้นการบรรยายฟ้องเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ฎีกาจำเลยที่ 4 ที่ว่า ศาลไม่ชอบที่จะรับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาเพราะโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันได้บรรยายฟ้องโดยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติใน พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 10 (2) แม้จำเลยที่ 4 มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยที่ 4 มีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านี้ได้ในชั้นฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย หากจำเลยทั้งสี่ไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้โจทก์ ถ้าไม่พอให้ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยทั้งสี่ขายทอดตลาดชำระหนี้จนครบ ในการบังคับคดีโจทก์ได้นำยึดที่ดินจำนองของจำเลยที่ 4ขายทอดตลาดได้เงินชำระหนี้บางส่วน เมื่อหักยอดหนี้แล้วจำเลยทั้งสี่ยังค้างชำระหนี้โจทก์ จำเลยทั้งสี่ไม่ชำระ คำฟ้องของโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยทั้งสี่ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันเพราะในขณะฟ้องคดีโจทก์ไม่ใช่เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยทั้งสี่ในทางจำนอง จำนำหรือสิทธิยึดหน่วงหรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 6 โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องตามหลักเกณฑ์ของมาตรา 10 (2)
จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2ที่จะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ได้บังคับยึดที่ดินจำนองของจำเลยที่ 4 ขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือจำเลยทั้งสี่ย่อมมีหน้าที่ต้องร่วมกันรับผิดชำระแก่โจทก์จนครบ ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนตามแต่จะเลือกก็ได้การที่จะพิจารณาว่าลูกหนี้คนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน จึงต้องพิจารณาเฉพาะตัวลูกหนี้ร่วมผู้นั้นว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่น เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่สุดไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ฟังว่าที่ดินของจำเลยที่ 2 กับภรรยาไม่อาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ได้ และจำเลยที่ 2 ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ จำเลยที่ 2 จึงเป็นบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นนี้ จำเลยที่ 3และที่ 4 ย่อมไม่อาจฎีกายกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ซึ่งคดีถึงที่สุดไปแล้วนั้นโต้เถียงเป็นอย่างอื่นได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย หากจำเลยทั้งสี่ไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้โจทก์ ถ้าไม่พอให้ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยทั้งสี่ขายทอดตลาดชำระหนี้จนครบ ในการบังคับคดีโจทก์ได้นำยึดที่ดินจำนองของจำเลยที่ 4ขายทอดตลาดได้เงินชำระหนี้บางส่วน เมื่อหักยอดหนี้แล้วจำเลยทั้งสี่ยังค้างชำระหนี้โจทก์ จำเลยทั้งสี่ไม่ชำระ คำฟ้องของโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยทั้งสี่ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันเพราะในขณะฟ้องคดีโจทก์ไม่ใช่เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยทั้งสี่ในทางจำนอง จำนำหรือสิทธิยึดหน่วงหรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 6 โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องตามหลักเกณฑ์ของมาตรา 10 (2)
จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2ที่จะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ได้บังคับยึดที่ดินจำนองของจำเลยที่ 4 ขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือจำเลยทั้งสี่ย่อมมีหน้าที่ต้องร่วมกันรับผิดชำระแก่โจทก์จนครบ ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนตามแต่จะเลือกก็ได้การที่จะพิจารณาว่าลูกหนี้คนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน จึงต้องพิจารณาเฉพาะตัวลูกหนี้ร่วมผู้นั้นว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่น เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่สุดไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ฟังว่าที่ดินของจำเลยที่ 2 กับภรรยาไม่อาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ได้ และจำเลยที่ 2 ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ จำเลยที่ 2 จึงเป็นบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นนี้ จำเลยที่ 3และที่ 4 ย่อมไม่อาจฎีกายกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ซึ่งคดีถึงที่สุดไปแล้วนั้นโต้เถียงเป็นอย่างอื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากเจ้าหนี้มีประกันเป็นหนี้ไม่มีประกัน ส่งผลต่อข้อกำหนดการฟ้องคดีล้มละลาย
การฟ้องคดีล้มละลายในกรณีที่โจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกัน ปัญหาว่าโจทก์ต้องปฏิบัติตามมาตรา 10(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกเป็นประเด็นต่อสู้ไว้ เพิ่งมีประเด็นขึ้นในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ โจทก์ออกเงินชำระหนี้ค่าซื้อหุ้นในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยเมื่อจำเลยไม่ชำระเงินค่าซื้อหุ้น โจทก์มีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นดังกล่าวที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ไว้ได้จนกว่าจะได้รับเงินที่ค้างชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 819 ดังนี้โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันเพราะเป็นผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงเหนือใบหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์ของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 6 แต่เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยยอมให้โจทก์มีสิทธิขายใบหุ้นที่โจทก์ยึดหน่วงไว้เพื่อชำระหนี้โจทก์ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้มีประกันเดิมจึงระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงไม่ต้องบอกกล่าวในฟ้องตามที่ระบุไว้ในมาตรา 10(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงหุ้นและการฟ้องล้มละลาย เจ้าหนี้มีประกันต้องปฏิบัติตามมาตรา 10(2) พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายอ้างว่าโจทก์เป็นตัวแทนซื้อหุ้นของบริษัทให้แก่จำเลยผู้เป็นตัวการโจทก์ได้ออกเงินทดรองชำระค่าหุ้นดังกล่าวแทนจำเลยไปก่อนเช่นนี้โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นสำหรับหุ้นที่โจทก์ซื้อแทนจำเลยและยังคงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ได้จนกว่าจำเลยจะชำระเงินที่โจทก์ทดรองออกแทนจำเลยไปก่อนทั้งนี้ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา241,244และ819แม้การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพ.ศ.2517ก็เป็นเรื่องจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์เท่านั้นสิทธิยึดหน่วงของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หาได้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่เมื่อโจทก์มีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลยโจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา6(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1725/2528)ฉะนั้นการที่ฟ้องให้จำเลยล้มละลายโจทก์จึงต้องปฏิบัติตามมาตรา10(2)โดยกล่าวมาในฟ้องว่าถ้าจำเลยล้มละลายแล้วโจทก์ยอมสละหุ้นของจำเลยแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายหรือตีราคาหุ้นดังกล่าวมาในฟ้องด้วยเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงหุ้นและการฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้มีประกันต้องปฏิบัติตามมาตรา 10(2) พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายอ้างว่าโจทก์เป็นตัวแทนซื้อหุ้นของบริษัทให้แก่จำเลยผู้เป็นตัวการ โจทก์ได้ออกเงินทดรองชำระค่าหุ้นดังกล่าวแทนจำเลยไปก่อน เช่นนี้โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นสำหรับหุ้นที่โจทก์ซื้อแทนจำเลยและยังคงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ได้จนกว่าจำเลยจะชำระเงินที่โจทก์ทดรองออกแทนจำเลยไปก่อน ทั้งนี้ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241, 244 และ 819 แม้การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 ก็เป็นเรื่องจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์เท่านั้น สิทธิยึดหน่วงของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หาได้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่ เมื่อโจทก์มีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลย โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 6 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1725/2528) ฉะนั้นการที่ฟ้องให้จำเลยล้มละลายโจทก์จึงต้องปฏิบัติตาม มาตรา 10 (2) โดยกล่าวมาในฟ้องว่าถ้าจำเลยล้มละลายแล้วโจทก์ยอมสละหุ้นของจำเลยแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหุ้นดังกล่าวมาในฟ้องด้วย เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว ฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา