พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7819/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารมีสิทธิบริหารจัดการเงินฝาก, ความผิด พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์เป็นความผิดรัฐ เอกชนไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 1 ฝากเงินไว้กับธนาคารจำเลยที่ 1 เงินจำนวนดังกล่าวจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์และอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับฝากย่อมมีสิทธิที่จะบริหารจัดการเงินฝากนั้นประการใดก็ได้ คงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินฝากตามจำนวนที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นลูกค้านำเข้าฝากไว้เท่านั้น โดยไม่จำต้องส่งคืนเป็นเงินจำนวนอันเดียวกับที่ฝากไว้ การที่จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ 1 จึงมิใช่เป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ทั้งสองไป ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์
พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 12 (9) บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ กับเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม อันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายในกรณีธนาคารพาณิชย์กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 12 (9) โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 12 (9) บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ กับเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม อันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายในกรณีธนาคารพาณิชย์กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 12 (9) โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถือหุ้นโดยมิชอบ, การกระทำผิดร่วมกันเพื่อเอื้อประโยชน์ตนเอง, และความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ
การที่โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เข้าถือหุ้นในบริษัทอื่น ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ธนาคารโจทก์เจตนาฝ่าฝืน พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์พ.ศ. 2505 โดยธนาคารโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดในบริษัทป.และบริษัทส.โดยโจทก์จัดตั้งและจดทะเบียนบริษัททั้งสองดังกล่าวขึ้นมาแล้วให้พนักงานที่โจทก์ไว้วางใจเป็นผู้ถือหุ้นแทน จึงเป็นการที่ธนาคารโจทก์มีหุ้นในบริษัทจำกัดป. และส.เกินร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัททั้งสอง อันเป็นการต้องห้ามโดยบทกฎหมายดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง การถือหุ้นของธนาคารโจทก์ในบริษัทป. และ บริษัทส.จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113 เดิม ที่ใช้บังคับในขณะโจทก์เข้าถือหุ้น ในบริษัททั้งสองดังกล่าว แม้การที่ธนาคารโจทก์ถือหุ้นทั้งหมดในบริษัทอื่นเป็นการ ถือหุ้นโดยมิชอบและตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่จำเลยซึ่งเป็นพนักงาน ของโจทก์ดำเนินธุรกิจให้โจทก์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงิน และทรัพย์สินของธนาคารโจทก์ไปเป็นประโยชน์ของตน โดยมิชอบอันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยจึงต้อง รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ธนาคารโจทก์ จำเลยร่วมกับพวกดำเนินการทางธุรกิจโดยมิชอบจนมีการขาย ที่ดินให้แก่บริษัทร.เป็นเหตุให้ธนาคารโจทก์ได้รับความเสียหายการที่บริษัทร.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีนำที่ดินดังกล่าวทั้งหมดมาจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดี ที่โจทก์ฟ้องบริษัทป.ที่ธนาคารโจทก์เข้าถือหุ้นเป็นจำเลยเป็นกรณีที่โจทก์ได้รับจำนองที่ดินดังกล่าวไว้เพื่อเป็นประกัน การปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น ไม่ใช่โจทก์ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนมาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถือหุ้นเกินสิบเปอร์เซ็นต์โดยธนาคารพาณิชย์ และความรับผิดของพนักงานต่อความเสียหาย
การที่โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เข้าถือหุ้นในบริษัทอื่นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ 2522 มาตรา 31
ธนาคารโจทก์เจตนาฝ่าฝืน พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์พ.ศ.2505 โดยธนาคารโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดในบริษัท ป.และบริษัท ส.โดยโจทก์จัดตั้งและจดทะเบียนบริษัททั้งสองดังกล่าวขึ้นมาแล้วให้พนักงานที่โจทก์ไว้วางใจเป็นผู้ถือหุ้นแทน จึงเป็นการที่ธนาคารโจทก์มีหุ้นในบริษัทจำกัด ป.และส.เกินร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัททั้งสอง อันเป็นการต้องห้ามโดยบทกฎหมายดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง การถือหุ้นของธนาคารโจทก์ในบริษัท ป.และบริษัท ส.จึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม ที่ใช้บังคับในขณะโจทก์เข้าถือหุ้นในบริษัททั้งสองดังกล่าว
แม้การที่ธนาคารโจทก์ถือหุ้นทั้งหมดในบริษัทอื่นเป็นการถือหุ้นโดยมิชอบและตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานของโจทก์ดำเนินธุรกิจให้โจทก์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินและทรัพย์สินของธนาคารโจทก์ไปเป็นประโยชน์ของตนโดยมิชอบอันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ธนาคารโจทก์
จำเลยร่วมกับพวกดำเนินการทางธุรกิจโดยมิชอบจนมีการขายที่ดินให้แก่บริษัท ร.เป็นเหตุให้ธนาคารโจทก์ได้รับความเสียหาย การที่บริษัทร.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีนำที่ดินดังกล่าวทั้งหมดมาจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีที่โจทก์ฟ้องบริษัท ป.ที่ธนาคารโจทก์เข้าถือหุ้นเป็นจำเลย เป็นกรณีที่โจทก์ได้รับจำนองที่ดินดังกล่าวไว้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น ไม่ใช่โจทก์ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนมาแล้ว
ธนาคารโจทก์เจตนาฝ่าฝืน พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์พ.ศ.2505 โดยธนาคารโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดในบริษัท ป.และบริษัท ส.โดยโจทก์จัดตั้งและจดทะเบียนบริษัททั้งสองดังกล่าวขึ้นมาแล้วให้พนักงานที่โจทก์ไว้วางใจเป็นผู้ถือหุ้นแทน จึงเป็นการที่ธนาคารโจทก์มีหุ้นในบริษัทจำกัด ป.และส.เกินร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัททั้งสอง อันเป็นการต้องห้ามโดยบทกฎหมายดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง การถือหุ้นของธนาคารโจทก์ในบริษัท ป.และบริษัท ส.จึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม ที่ใช้บังคับในขณะโจทก์เข้าถือหุ้นในบริษัททั้งสองดังกล่าว
แม้การที่ธนาคารโจทก์ถือหุ้นทั้งหมดในบริษัทอื่นเป็นการถือหุ้นโดยมิชอบและตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานของโจทก์ดำเนินธุรกิจให้โจทก์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินและทรัพย์สินของธนาคารโจทก์ไปเป็นประโยชน์ของตนโดยมิชอบอันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ธนาคารโจทก์
จำเลยร่วมกับพวกดำเนินการทางธุรกิจโดยมิชอบจนมีการขายที่ดินให้แก่บริษัท ร.เป็นเหตุให้ธนาคารโจทก์ได้รับความเสียหาย การที่บริษัทร.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีนำที่ดินดังกล่าวทั้งหมดมาจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีที่โจทก์ฟ้องบริษัท ป.ที่ธนาคารโจทก์เข้าถือหุ้นเป็นจำเลย เป็นกรณีที่โจทก์ได้รับจำนองที่ดินดังกล่าวไว้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น ไม่ใช่โจทก์ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนมาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4388/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดบังคับคดี: การคัดค้านการรวมขายและการซื้อโดยธนาคาร
ในวันขายทอดตลาดจำเลยได้มาดูแลการขายและได้คัดค้าน การรวมขายที่ดินแล้ว แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่บันทึกไว้และบอกให้ไปร้องขอต่อศาลเอง เท่ากับว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยอมปฏิบัติตามคำคัดค้านของจำเลย จำเลยจะต้องไปยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งชี้ขาดเสียภายใน 2 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิเสธคำคัดค้านของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 วรรคท้ายเมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยจะยกเป็นเหตุคัดค้านภายหลังไม่ได้ โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ย่อมมีสิทธิซื้อที่ดินซึ่ง จำนองเป็นประกันหนี้ไว้ต่อโจทก์จากการขายทอดตลาดโดย คำสั่งศาลเพื่อชำระหนี้โจทก์ได้ ตามพระราชบัญญัติ การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 12(4)(ข) การที่โจทก์ ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดเป็นการซื้อทรัพย์จำนองเป็นประกัน หนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์ และเป็นการขายทอดตลาดโดยคำสั่งศาลจึงเป็นการซื้อโดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทยและการเสียภาษีเงินได้ของธนาคารที่มีสาขาต่างประเทศ
ธนาคารโจทก์กับสาขาต่างประเทศและสาขากรุงเทพฯ ย่อมเป็นนิติบุคคลเดียวกัน เงินที่สาขาต่างประเทศส่งมาใช้เป็นเงินกองทุนและเป็นเงินทุนหมุนเวียนของสาขากรุงเทพฯ ต้องถือเป็นเงินทุนและเงินสำรองของโจทก์ เพราะพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 10, 12 ประกอบด้วยมาตรา 6 วรรคสองมีเจตนารมณ์ให้ธนาคารพาณิชย์ มีฐานะมั่นคงปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้เป็นลูกค้าหรื่อผู้ติดต่อทำธุรกิจ ไม่ประสงค์และไม่ได้บัญญัติให้ธนาคารสาขามีเงินทุน เงินสำรองต่าง ๆ หรือเงินกองทุนของตนเองแยกต่างหากจากสำนักงานใหญ่และสาขาอื่น ๆ
สาขาธนาคารโจทก์ที่ต่างประเทศส่งเงินมาให้สาขากรุงเทพฯ ใช้เป็นเงินกองทุน และเป็นเงินทุนหมุนเวียนของสาขากรุงเทพฯ แม้เงินที่ส่งมานั้นจะเคยเป็นเงินฝากของลูกค้าของสาขาต่างประเทศที่มีความผูกพันจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ฝากก็ตาม การที่สาขากรุงเทพฯ ส่งดอกเบี้ยสำหรับเงินจำนวนนี้ไปให้สาขาต่างประเทศ ก็เป็นเพียงการจ่ายเพื่อผ่อนภาระของสาขาต่างประเทศเท่านั้น มิใช่รายจ่ายโดยตรงของสาขากรุงเทพฯ ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง และเป็นค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งนิติบุคคลเป็นเจ้าของเองและใช้เอง ทั้งเป็นดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุนเงินสำรองต่าง ๆ หรือเงินกองทุนของตนเอง ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9) (10) (11) ซึ่งมิให้ถือเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรสุทธิในการเสียภาษีเงินได้
บริษัท ป. กู้เงินจากสาขาธนาคารโจทก์ที่ต่างประเทศ ดอกเบี้ยที่บริษัท ป. ขอให้สาขากรุงเทพฯ หักจากบัญชีเงินฝากของบริษัท ป. ส่งไปให้สาขาต่างประเทศนั้น ถือว่าเป็นรายได้ของโจทก์ที่จะต้องนำไปรวมคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้เช่นเดียวกับเงินดอกเบี้ยที่สาขากรุงเทพฯ ส่งออกไปจากประเทศไทยดังกล่าวมาแล้ว และการที่ธนาคารโจทก์สาขากรุงเทพฯ ส่งเงินดอกเบี้ยทั้งสองรายนี้ออกไปให้สาขาต่างประเทศ ย่อมเป็นการจำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทย ต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ
สาขาธนาคารโจทก์ที่ต่างประเทศส่งเงินมาให้สาขากรุงเทพฯ ใช้เป็นเงินกองทุน และเป็นเงินทุนหมุนเวียนของสาขากรุงเทพฯ แม้เงินที่ส่งมานั้นจะเคยเป็นเงินฝากของลูกค้าของสาขาต่างประเทศที่มีความผูกพันจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ฝากก็ตาม การที่สาขากรุงเทพฯ ส่งดอกเบี้ยสำหรับเงินจำนวนนี้ไปให้สาขาต่างประเทศ ก็เป็นเพียงการจ่ายเพื่อผ่อนภาระของสาขาต่างประเทศเท่านั้น มิใช่รายจ่ายโดยตรงของสาขากรุงเทพฯ ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง และเป็นค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งนิติบุคคลเป็นเจ้าของเองและใช้เอง ทั้งเป็นดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุนเงินสำรองต่าง ๆ หรือเงินกองทุนของตนเอง ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9) (10) (11) ซึ่งมิให้ถือเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรสุทธิในการเสียภาษีเงินได้
บริษัท ป. กู้เงินจากสาขาธนาคารโจทก์ที่ต่างประเทศ ดอกเบี้ยที่บริษัท ป. ขอให้สาขากรุงเทพฯ หักจากบัญชีเงินฝากของบริษัท ป. ส่งไปให้สาขาต่างประเทศนั้น ถือว่าเป็นรายได้ของโจทก์ที่จะต้องนำไปรวมคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้เช่นเดียวกับเงินดอกเบี้ยที่สาขากรุงเทพฯ ส่งออกไปจากประเทศไทยดังกล่าวมาแล้ว และการที่ธนาคารโจทก์สาขากรุงเทพฯ ส่งเงินดอกเบี้ยทั้งสองรายนี้ออกไปให้สาขาต่างประเทศ ย่อมเป็นการจำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทย ต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ