คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 16

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเกษียณอายุพนักงานรัฐวิสาหกิจ การเปลี่ยนแปลงวิธีการนับอายุตามกฎหมาย และผลต่อสภาพการจ้าง
ป.พ.พ. บรรพ 1 (เดิม) ไม่ได้บัญญัติวิธีการนับอายุของบุคคลไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องนับอายุตามเกณฑ์ในมาตรา 158 (เดิม) คือไม่นับวันแรกที่เป็นวันเกิดรวมเข้าด้วย ซึ่งคณะรัฐมนตรีก็มีมติเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2509 กำหนดวิธีนับอายุบุคคลเป็นไปตาม ป.พ.พ. ที่บังคับใช้ในขณะนั้นและจำเลยที่ 1 ปฏิบัติตาม ต่อมา พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 มาตรา 3 ให้แก้ไขเพิ่มเติม ป.พ.พ. บรรพ 1 และบรรพ 3 โดย (3) ให้ใช้บทบัญญัติท้าย พ.ร.บ.นี้เป็นบรรพ 1 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2535 ซึ่งมาตรา 16 (ใหม่) บัญญัติวิธีการนับอายุของบุคคลไว้เป็นการเฉพาะว่า "การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด" คือต้องนับวันเกิดเป็น 1 วัน เต็ม มติคณะรัฐมนตรีตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ นร 0025/ว 42 ลงวันที่ 13 มีนาคม 2538 ให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2509 แล้วให้นับอายุของบุคคลตาม ป.พ.พ. มาตรา 16 (ใหม่) ซึ่งใช้บังคับในปัจจุบันกล่าวคือให้นับอายุของบุคคลนับแต่วันเกิด
เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 16 (ใหม่) บัญญัติการนับอายุบุคคลไว้โดยเฉพาะแล้วจึงต้องใช้บังคับตามมาตรา 16 (ใหม่) การเปลี่ยนแปลงการนับวิธีการนับอายุของบุคคลเกิดขึ้นจากกฏหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมตามข้างต้นซึ่งนำมาใช้ในการวินิจฉัยตีความคุณสมบัติและการพ้นตำแหน่งของจำเลยที่ 1 ด้วย วิธีการนับอายุของบุคคลที่ปลี่ยนไปด้วยผลของกฏหมาย แม้จะมีผลกระทบต่อระยะเวลาการพ้นจากตำแหน่งและออกจากงานก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสมพันธ์ พ.ศ.2543
โจทก์เกิดวันที่ 1 ตุลาคม 2493 ต้องนับอายุโจทก์นับแต่วันเกิดคือวันที่ 1 ตุลาคม 2493 เป็น 1 วัน เต็ม โจทก์จึงมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2553 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/5 (ใหม่) อันมีผลให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งและออกจากงานด้วยเหตุเกษียณอายุในวันที่ 1 ตุลาคม 2553 ตาม พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตราฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 มาตรา 9 (3), 11 และข้อบังคับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ฉบับที่ 4 ข้อ 19 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2553 กรณีไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7841/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุผู้เสียหายสำคัญต่อการพิจารณาความผิดฐานพรากผู้เยาว์และกระทำชู้
ป.พ.พ. มาตรา 16 บัญญัติว่า การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด ผู้เสียหายที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2532 จึงต้องนับอายุแต่วันเกิดคือนับแต่วันที่ 5 มีนาคม 2532 เป็นหนึ่งวันเต็ม ผู้เสียหายที่ 1 จึงมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2547 ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/5 คดีได้ความว่า เหตุเกิดวันที่ 5 มีนาคม 2547 เวลาประมาณ 2 นาฬิกา ดังนั้นขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 จึงมีอายุเกินกว่า 15 ปีบริบูรณ์แล้ว กรณีจึงไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 และ 317

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7841/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุผู้เสียหายสำคัญต่อความผิดฐานข่มขืน/กระทำชำเรา และพรากผู้เยาว์ การยินยอมมีผลต่อความผิด
มาตรา 16 ป.พ.พ. บัญญัติว่า การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด ผู้เสียหายที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2532 จึงต้องนับอายุตั้งแต่วันเกิด คือนับตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2532 เป็นหนึ่งวันเต็ม ผู้เสียหายที่ 1 จึงมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2547 ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 193/5 คดีได้ความว่าเหตุเกิดวันที่ 5 มีนาคม 2547 เวลาประมาณ 2 นาฬิกา ดังนั้น ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 จึงมีอายุเกินกว่า 15 ปีบริบูรณ์แล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 227 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีความผิดตามบทบัญญัติมาตรานี้และแม้จะมีบทบัญญัติความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราในมาตรา 276 แต่เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ยินยอมการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 276 เช่นกัน ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 นั้นไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 แต่ก็เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย ตาม ป.อ. มาตรา 319

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องผู้เยาว์ & การขาดไร้อุปการะจากละเมิดของผู้อื่น: ศาลแก้ไขความสามารถ/พิจารณาค่าเสียหายได้
โจทก์ที่ 4 เกิดเมื่อ พ.ศ. 2495 เมื่อไม่ปรากฏว่าเกิดวันใด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 16 บัญญัติให้นับอายุตั้งแต่วันต้นแห่งปีปฏิทินหลวงซึ่งเป็นปีที่เกิด จึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 4 เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2495 เมื่อนับถึงวันเกิดเหตุโจทก์ที่ 4 ยังเป็นผู้เยาว์ จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนที่ต้องขาดไร้อุปการะ ขณะฟ้องคดีโจทก์ทั้ง 4 เป็นผู้เยาว์ ก็เป็นเพียงบกพร่องในเรื่องความสามารถ ซึ่งศาลมีอำนาจไต่สวนและแก้ไขให้บริบูรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 มิใช่ไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ที่ 4 ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถอีก และถือได้ว่าโจทก์ที่ 4 มีอำนาจฟ้องมาแต่ต้น (อ้างฎีกาที่ 1638/2511)
เรื่องอำนาจปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1537 วรรค 2 นั้นเป็นเรื่องหนึ่ง และเรื่องการอุปการะเลี้ยงดูก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 ไม่ใช่แต่เพียงบิดาเท่านั้นที่มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตร มารดาก็มีหน้าที่เช่นเดียวกัน
การขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรค 3 หมายถึงการขาดสิทธิในอันที่จะได้รับการอุปการะ จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดในทางการที่จ้าง ทำให้มารดาโจทก์ตาย โจทก์ที่ 4 และที่ 5 ขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย จึงชอบที่เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นจากจำเลยทั้งสองได้โดยไม่ต้องพิจารณาว่า บิดาโจทก์จะได้อุปการะเลี้ยงดูโจทก์อยู่หรือไม่ (อ้างฎีกาที่ 1742/2499)
การจะให้มีการวินิจฉัยปัญหาใดในคดีเรื่องใดโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา เป็นอำนาจหน้าที่ของประธานศาลฎีกา คู่ความจะร้องขึ้นมาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าขาดอุปการะของบุตรเมื่อบิดามารดาเสียชีวิต และอำนาจฟ้องของผู้เยาว์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เกิด พ.ศ.2495 ไม่ระบุวันเดือนเกิดต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา16 ว่าเกิดวันที่ 1 มกราคม2495 นับถึงวันเกิดเหตุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงมีสิทธิเรียกค่าขาดอุปการะเลี้ยงดูเพราะจำเลยทำละเมิดให้มารดาโจทก์ตายได้ แม้มีบิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองมารดาก็ยังต้องอุปการะบุตร ข้อที่ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นแต่บกพร่องเรื่องความสามารถที่แก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 ไม่ใช่ไม่มีอำนาจฟ้องแต่ในชั้นฎีกาโจทก์บรรลุนิติภาวะแล้ว ก็ไม่ต้องแก้ไข
การประชุมใหญ่เป็นอำนาจหน้าที่ของประธานศาลฎีกาจะสั่งให้มีหรือไม่ คู่ความจะร้องขึ้นมาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับอายุผู้กระทำผิดในคดีอาญา: เกณฑ์อายุ 16 ปีบริบูรณ์ตามฎีกา 1738/2492
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงต้องกันมาว่าจำเลยเป็นเด็กอายุยังไม่เต็ม 16 ปีบริบูรณ์
โจทก์ฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสองใช้วิธีนับอายุจำเลยยังไม่ถูก ต้องนำมาตรา 16 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้จึงจะถูก ดังนี้ถือว่า โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลล่างว่าจำเลยมีอายุยังไม่เต็ม 16 ปี
การที่จะลงโทษจำเลยในคดีอาญา ซึ่งมีอายุ 16 ปีศาลฎีกาได้วินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานมาแล้วว่า ต้องนับอายุ16 ปีบริบูรณ์ตามนัยฎีกาที่ 1738/2492 จะนับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 16 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุเด็กในคดีอาญา: การนับอายุ 16 ปีบริบูรณ์ตามกฎหมายลักษณะอาญา
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงต้องกันมาว่าจำเลยเป็นเด็กอายุยังไม่เต็ม 16 ปีบริบูรณ์
โจทก์ฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสองใช้วิธีนับอายุจำเลยยังไม่ถูก ต้องนำมาตรา 16 แห่งป.ม.แพ่งฯ มาใช้จึงจะถูก ดังนี้ถือว่าโจทก์ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลล่างจำเลยมีอายุไม่เต็ม 16 ปี
การที่จะลงโทษจำเลยในคดีอาญาซึ่งมีอายุ 16 ปี ศาลฎีกาได้วินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานมาแล้วว่า ต้องนับอายุ 16 ปีบริบูรณ์ตามนัยฎีกาที่ 1738/2492 จะนับตามป.ม.แพ่งฯมาตรา 16 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2489

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมแบบเขียนเอง: การแต่งตั้งผู้ปกครองบุตรและการจัดการเงินเดือนหลังเสียชีวิต
สำเนาหนังสือของ สิบตรี ว. ผู้ตาย มีข้อความว่าสิบตรีว. ได้ไปราชการทหารได้ทำใบมอบฉันทะให้ย.และ ถ. เป็นผู้ปกครองบุตรและขอให้ช่วยจัดการให้ได้เข้าเรียนจนกว่าจะกลับจากราชการ และในระหว่างรับราชการนั้นหากเขาถึงแก่กรรมก็มอบให้คนทั้งสองรับเงินเดือนแทน ถ้ามีชีวิตอยู่จะรับเองขอให้คนทั้งสองนั้นช่วยปกครองบุตรแทนด้วยและว่าส่วนเงินเดือนนั้นหากว่าเขาถึงแก่กรรมจึงไปรับแทนสุดแต่ทางการจะมอบแก่คนใดคนหนึ่งก็ได้เพราะเป็นที่ไว้ใจ ถือว่าข้อความตามหนังสือดังกล่าวมีลักษณะเป็นพินัยกรรมและเป็นพินัยกรรมแบบเขียนเอง
ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งให้ผู้แพ้คดีใช้ค่าธรรมเนียม ค่าทนาย 2 ศาลแทนผู้อุทธรณ์ได้แม้ผู้อุทธรณ์ไม่ได้ขอมาในฟ้องอุทธรณ์ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมแบบเขียนเอง: อำนาจศาลสั่งค่าธรรมเนียม-ทนายความเกินคำขอ
กรณีที่ว่าเป็นพินัยกรรมเขียนเอง
ข้อความในหนังสือที่ถือว่ามีลักษณะเป็นพินัยกรรม์
ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งให้ผู้แพ้คดีใช้ค่าธรรมเนียม,ค่าทนาย 2 ศาลแทนผู้อุทธรณ์ได้ แม้ผู้อุทธรณ์มิได้ขอมาในฟ้องอุทธรณ์ก็ตาม