พบผลลัพธ์ทั้งหมด 718 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาขยายอุทธรณ์: เริ่มจากวันครบกำหนดเดิม แม้โจทก์เข้าใจผิด
คดีนี้ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 9 มิถุนายน 2539 แต่โจทก์ระบุในคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ว่าครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 11 มิถุนายน2539 อันเป็นความเข้าใจผิดของโจทก์เอง ดังนี้เมื่อโจทก์ขอขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ จึงต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาเดิม คือเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน2539 จึงครบกำหนด 30 วัน ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2539 โจทก์ยื่นอุทธรณ์ในวันที่11 กรกฎาคม 2539 เป็นการยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่ขอขยาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์โจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7335/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิฟ้องคดีขาดอายุตามกฎหมายเมื่อฟ้องพ้นกำหนด 1 ปี หลังรัฐมนตรีฯ วินิจฉัยอุทธรณ์
โจทก์เห็นว่าราคาค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนกำหนดให้แก่โจทก์ไม่เป็นธรรม จึงอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับอุทธรณ์ของโจทก์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2536 ดังนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคสองคือ ภายในวันที่ 18 มกราคม 2537 เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 18 มกราคม 2537 โจทก์จึงต้องฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา 60 วัน คือต้องฟ้องคดีภายในวันที่ 18 มกราคม 2538 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2538 ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลาแล้ว โจทก์จึงสิ้นสิทธิฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่งแม้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เมื่อพ้น 60 วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ก็หาทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปีนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวได้ไม่ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องร้อง เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องจึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องร้อง เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องจึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2972/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาฎีกา, การขยายเวลา, และการยื่นคำร้องอนุญาตฎีกาหลังหมดกำหนด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา216บัญญัติให้คู่ความมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ฎีกาฟังทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/5บัญญัติว่าถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นเดือนให้คำนวณตามปีปฏิทินถ้าระยะเวลามิได้กำหนดนับแต่วันต้นแห่งเดือนระยะเวลาย่อมสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้นและคดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่27กันยายน2539หากจำเลยจะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำเลยจะต้องฎีกาภายในวันที่17ตุลาคม2539แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่16ตุลาคม2539ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปอีก15วันซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตเมื่อนับระยะเวลาเป็นวันตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/3วรรคสองบัญญัติมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยแล้วจึงเป็นผลให้ระยะเวลาที่จำเลยจะยื่นฎีกาได้นั้นยืนออกไปอีกโดยจำเลยสามารถยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ภายในวันที่31ตุลาคม2539จำเลยยื่นคำร้องพร้อมฎีกาต่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นในวันที่29ตุลาคม2539ขอให้อนุญาตให้จำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา221ยังอยู่ในกำหนดระยะเวลาที่จำเลยจะฎีกาได้จึงเป็นคำร้องที่ยื่นโดยชอบด้วยกฎหมายส่วนคำร้องของจำเลยพร้อมฎีกาที่ขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา221ซึ่งยื่นเมื่อวันที่18พฤศจิกายน2539นั้นแม้จะเป็นการยื่นก่อนเวลาที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาก็ตามแต่ก็เป็นการยื่นเพื่อปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา221เมื่อล่วงพ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้วการยื่นคำร้องดังกล่าวของจำเลยต่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลอุทธรณ์จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2972/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาการยื่นฎีกาและการปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายที่ถูกต้อง
ป.วิ.อ.มาตรา 216 บัญญัติให้คู่ความมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ฎีกาฟัง ทั้ง ป.พ.พ.มาตรา 193/5 บัญญัติว่า ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นเดือนให้คำนวณตามปีปฏิทิน ถ้าระยะเวลามิได้กำหนดนับแต่วันต้นแห่งเดือนระยะเวลาย่อมสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น และคดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2539 หากจำเลยจะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำเลยจะต้องฎีกาภายในวันที่ 17 ตุลาคม 2539 แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่16 ตุลาคม 2539 ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปอีก 15 วัน ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต เมื่อนับระยะเวลาเป็นวันตามที่ ป.พ.พ.มาตรา 193/3 วรรคสอง บัญญัติมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยแล้ว จึงเป็นผลให้ระยะเวลาที่จำเลยจะยื่นฎีกาได้นั้นยืดออกไปอีกโดยจำเลยสามารถยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2539 จำเลยยื่นคำร้องพร้อมฎีกาต่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นในวันที่ 29 ตุลาคม 2539 ขอให้อนุญาตให้จำเลยฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 ยังอยู่ในกำหนดระยะเวลาที่จำเลยจะฎีกาได้จึงเป็นคำร้องที่ยื่นโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนคำร้องของจำเลยพร้อมฎีกาที่ขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 ซึ่งยื่นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2539 นั้น แม้จะเป็นการยื่นก่อนเวลาที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาก็ตาม แต่ก็เป็นการยื่นเพื่อปฏิบัติตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221เมื่อล่วงพ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้วการยื่นคำร้องดังกล่าวของจำเลยต่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลอุทธรณ์จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2972/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาข้ามกำหนดระยะเวลา และการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายในการขออนุญาตฎีกา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 บัญญัติให้คู่ความมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ฎีกาฟัง ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/5บัญญัติว่า ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นเดือนให้คำนวณตามปีปฏิทินถ้าระยะเวลามิได้กำหนดนับแต่วันต้นแห่งเดือนระยะเวลาย่อมสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น และคดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2539หากจำเลยจะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำเลยจะต้องฎีกาภายในวันที่ 17 ตุลาคม 2539 แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่ 16 ตุลาคม 2539 ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปอีก 15 วัน ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต เมื่อนับระยะเวลาเป็นวันตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา193/3 วรรคสอง บัญญัติมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยแล้ว จึงเป็นผลให้ระยะเวลาที่จำเลยจะยื่นฎีกาได้นั้นยืนออกไปอีกโดยจำเลยสามารถยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2539 จำเลยยื่นคำร้องพร้อมฎีกาต่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นในวันที่ 29 ตุลาคม 2539 ขอให้อนุญาตให้จำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221ยังอยู่ในกำหนดระยะเวลาที่จำเลยจะฎีกาได้จึงเป็นคำร้องที่ยื่นโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนคำร้องของจำเลยพร้อมฎีกาที่ขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 221 ซึ่งยื่นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2539 นั้นแม้จะเป็นการยื่นก่อนเวลาที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาก็ตาม แต่ก็เป็นการยื่นเพื่อปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 เมื่อล่วงพ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้วการยื่นคำร้องดังกล่าวของจำเลยต่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลอุทธรณ์จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณดอกเบี้ยในคดีล้มละลาย: การใช้จำนวนวันในปีที่มีกุมภาพันธ์ 366 วัน
การคำนวณระยะเวลาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/5 บัญญัติให้คำนวณตามปีปฏิทิน ปรากฏว่าในปี พ.ศ. 2531 เดือนกุมภาพันธ์ มี 29 วัน ดังนั้น ปีพ.ศ. 2531 จึงมี 366 วัน การคิดคำนวณดอกเบี้ยเฉพาะในปี พ.ศ. 2531 จึงต้อง ใช้ระยะเวลา 366 วัน