คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 222

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 384 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน: การประเมินความเสียหายโดยตรงและผลกระทบต่อรายได้จากการทำเกษตร
ก่อนทำสัญญาจะขายที่ดินให้จำเลยทั้งห้าโจทก์ที่1มีรายได้จากการเลี้ยงสุกรและกรีดยางเมื่อโจทก์ที่1ขายที่ดินให้จำเลยทั้งห้าโจทก์ที่1ต้องหยุดกิจการเลี้ยงสุกรและกรีดยางลงฉะนั้นเมื่อจำเลยทั้งห้าผิดสัญญาไม่ซื้อที่ดินความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการไม่ได้เลี้ยงสุกรและการกรีดยางจึงเป็นความเสียหายโดยตรงจากการผิดสัญญาของจำเลยทั้งห้าการที่โจทก์ที่1ไม่หวนกลับไปเลี้ยงสุกรอีกไม่ทำให้ความเสียหายที่โจทก์ที่1มีอยู่แล้วหมดสิ้นไปแต่อย่างใดและการที่โจทก์ที่1ยกรายได้จากการกรีดยางให้มารดาก็เป็นเรื่องที่โจทก์ที่1มีรายได้แล้วยกให้มารดาเมื่อโจทก์ที่1ไม่มียางให้กรีดโจทก์ที่1ย่อมเสียหายจากการขาดรายได้จำนวนนี้จำเลยทั้งห้าจะโต้แย้งว่าโจทก์ที่1ไม่ได้รับความเสียหายจากการขาดรายได้ของมารดาโจทก์ที่1หาได้ไม่ การปรับปรุงที่ดินของจำเลยทั้งห้าภายหลังทำสัญญาก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยทั้งห้าเองจำเลยทั้งห้าจะนำเรื่องประโยชน์จากการที่จำเลยทั้งห้าเข้าปรับปรุงที่ดินมาคำนวณเพื่อลดค่าเสียหายของโจทก์ทั้งสองหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10225/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: จำเลยผิดสัญญาเนื่องจากเสียสิทธิครอบครองจากคดีแย่งครอบครอง ทำให้ไม่สามารถโอนได้ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ตามข้อ2ของสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องชำระราคาที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยส่วนจำเลยมีหน้าที่ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยปลอดจากภาระผูกพันหากมีผู้บุกรุกที่ดินพิพาทจำเลยก็ต้องฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกให้ออกไปจากที่ดินพิพาทสำหรับสัญญาข้อ3ที่โจทก์ตกลงจะออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการฟ้องร้องให้จำเลยนั้นข้อสัญญาดังกล่าวมิได้เกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินพิพาทมิได้เป็นสาระสำคัญของสัญญาแต่เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยต่างหากจากข้อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกล่าวคือหากโจทก์ไม่ออกค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องให้แก่จำเลยจำเลยก็ยังมีหน้าที่ต้องฟ้องร้องผู้บุกรุกให้ออกไปจากที่ดินพิพาทเพื่อนำที่ดินพิพาทส่งมอบให้โจทก์เช่นเดิมหากจำเลยเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีไปเป็นจำนวนเท่าใดแล้วโจทก์ไม่ชำระจำเลยก็มีสิทธิเรียกร้องเงินจำนวนนี้จากโจทก์ได้ดังนั้นแม้จำเลยยื่นฎีกาในคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่ผู้ร้องสอดโดยโจทก์มิได้ออกค่าใช้จ่ายในชั้นฎีกาให้ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้จำเลยได้ฟ้องขับไล่ผู้ร้องสอดออกจากที่ดินพิพาทผู้ร้องสอดให้การต่อสู้คดีว่าผู้ร้องสอดทั้งสองได้ครอบครองที่ดินพิพาทจนได้สิทธิครอบครองแล้วจำเลยหมดสิทธิเรียกคืนคดีดังกล่าวศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดจากผลของคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจำเลยจึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทอีกต่อไปและไม่อาจโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายได้แม้จำเลยจะยังมีชื่อในที่ดินน.ส.3ที่พิพาทและผู้ร้องสอดได้ออกไปจากที่ดินพิพาทแล้วก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแก่จำเลยแต่อย่างใดและเมื่อจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายและกรณีเช่นนี้ก็มิได้เกิดขึ้นเพราะความผิดของโจทก์แต่เป็นความผิดของจำเลยเองจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดสัญญาจะซื้อจะขายโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยโดยรู้อยู่แล้วว่าขณะนั้นผู้ร้องสอดได้แย่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยอยู่แสดงว่าโจทก์เข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายโดยเสี่ยงภัยเองเพราะรู้อยู่ว่าหากจำเลยแพ้คดีจำเลยก็ไม่อาจโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้เมื่อค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาสูงเกินไปและโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฎว่าโจทก์เสียหายเป็นจำนวนเท่าใดศาลย่อมกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ตามจำนวนที่เหมาะสมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6659/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย: หน้าที่ของผู้ขายในการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อเดิม & การประเมินค่าเสียหายจากการผิดสัญญา
คดีก่อนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ยึดที่ดินทั้ง 83 แปลงที่บริษัท ศ.และส. ผู้ล้มละลายโอนให้โจทก์ไว้และอยู่ในระหว่างการยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการโอนการที่จะวินิจฉัยว่าการโอนที่ดินดังกล่าวเป็นโมฆะหรือไม่และจะเพิกถอนการโอนได้หรือไม่ เพียงใด เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีดังกล่าวเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าต่อมาในภายหลัง ส.และบริษัทศ. ได้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว จึงไม่เป็นประเด็นที่จะวินิจฉัยถึงในคดีนี้การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การโอนที่ดินดังกล่าวเป็นโมฆะจึงไม่ชอบ ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ข้อ 3 มีข้อความระบุชัดแจ้งว่าทั้งผู้จะซื้อและผู้จะขายมีความประสงค์จะจัดการให้คดีทั้งหมดสิ้นสุดลงและจะจัดการให้ผู้ซื้อที่ดินจากผู้ขายคนเดิมได้รับที่ดินไปตามสัญญาซื้อขาย ผู้จะซื้อจึงรับว่าจะเป็นผู้ดำเนินการทางคดีโดยชอบเพื่อให้ที่ดินดังกล่าวหลุดพ้นจากภาระทั้งหมดนั้น ก็คือให้ผู้จะซื้อเข้ามารับภาระที่ผู้จะขายมีอยู่แทน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือรับชำระหนี้แทนผู้จะขายนั่นเอง เงื่อนไขดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินการทางคดีโดยชอบหาใช่เป็นสัญญาจะโอนสิทธิในการดำเนินคดีหรือซื้อขายความที่วัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันจะตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ไม่ ที่ดินทั้ง 83 แปลง มีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดจำเลยมิได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นเจ้าของโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์ถูก ว.และพ. ฟ้องให้โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 30041 และที่ 30042 ก่อนที่จะทำสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวกับจำเลย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจัดการให้ว.และพ. ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินเดิมได้รับที่ดินไปตามสัญญา การที่จำเลยดำเนินการให้โจทก์จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลง ให้แก่บริษัท ท. ทั้งที่โจทก์ได้สอบถามจำเลยกับเจ้าพนักงานที่ดินแล้วว่าที่ดินทั้ง 2 แปลงดังกล่าวติดอายัดตามคำสั่งศาลหรือไม่ ก็ได้รับแจ้งว่าไม่ติดอายัด โจทก์หลงเชื่อจึงโอนที่ดินไปการดำเนินการดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการประพฤติผิดสัญญา โจทก์ยอมจ่ายเงินค่าเสียหายจำนวน 800,000 บาทเศษให้แก่ ว.และพ. ก็เพราะถูกบุคคลทั้งสองฟ้องคดีอาญาฐานโกงเจ้าหนี้อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการผิดสัญญาของจำเลยและทางศาลประทับฟ้องโจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการจะได้รับความเสียหายต่อตำแหน่งหน้าที่และเกียรติยศชื่อเสียงประกอบกับจำเลยรับว่าที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลงมีราคารวมกัน1,000,000 บาทเศษ ค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวจึงไม่ใช่ค่าเสียหายอันไกลกว่าเหตุ จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุที่จำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายเป็นเหตุให้โจทก์ต้องใช้ค่าที่ดินจำนวนดังกล่าวแก่ ว.และพ. เป็นกรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6630-6631/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางสาธารณะ: การอุทิศที่ดินให้เป็นทางเดินสาธารณะโดยปริยาย และขอบเขตการใช้สิทธิของเจ้าของที่ดิน
ได้มีการทำถนนซอยพิพาทมาแล้วถึงประมาณ30ถึง40ปีและอนุญาตให้ประชาชนใช้เดินเข้าออกมาโดยตลอดแม้เคยมีการห้ามมิให้ฮ. และบุตรของฮ. เดินเพราะบุตรของฮ. ทำเสียงดังและได้เคยห้ามบุคคลที่นำรถไถนาไปวิ่งในทางพิพาทดังกล่าวนั้นก็เป็นเรื่องที่ผู้นั้นทำเสียงดังก่อกวนความสงบสุขและเป็นเรื่องที่จะมาทำให้ถนนเสียหายเท่านั้นมิใช่เป็นเรื่องมีเจตนาที่จะหวงห้ามมิให้ประชาชนทั่วไปเดินในทางพิพาทและการที่เจ้าของที่ดินเดิมช่วยออกเงินกันเองและเรี่ยไรเงินกับผู้ใช้ถนนในซอยมาทำการซ่อมแซมทางพิพาทซื้อเสาไฟฟ้ามาปักก็เป็นเรื่องการปรับปรุงทางพิพาทให้ดีขึ้นและให้ทางพิพาทมีแสงสว่างสะดวกในการใช้ทางพิพาทในเวลากลางคืนมิใช่เป็นเรื่องที่แสดงถึงการสงวนสิทธิไว้ในฐานะเป็นถนนส่วนบุคคลแต่อย่างใดอีกทั้งขณะที่ส.เจ้าของที่ดินเดิมขายที่ดินให้สิบเอกบ.สามีของจำเลยที่1ในแผนที่ของหนังสือรับรองการทำประโยชน์ก็ยังได้ระบุไว้ว่าถนนพิพาทเป็นถนนสาธารณประโยชน์อยู่แล้วและร้อยตรีช.ก็ได้ซื้อที่ดินจากส.ในวันเดือนปีเดียวกันกับสามีจำเลยที่1เช่นกันก็แสดงอยู่ว่าขณะที่ซื้อมีทางสาธารณะอยู่ก่อนแล้วดังนั้นแม้ร้อยตรีช.จะได้ทำป้ายแสดงว่าถนนดังกล่าวเป็นถนนส่วนบุคคลก็ตามก็ไม่ทำให้ทางสาธารณประโยชน์ดังกล่าวกลับไม่เป็นทางสาธารณะไปได้ถือได้ว่าจำเลยที่1กับพวกเจ้าของที่ดินเดิมยินยอมให้ที่ดินที่นำมาทำเป็นทางพิพาทเป็นทางเดินของบุคคลทั่วไปใช้เป็นทางสัญจรไปมาเป็นเวลาหลายสิบปีดังกล่าวข้างต้นย่อมถือได้ว่าจำเลยที่1กับพวกได้อุทิศที่ดินถนนซอยพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายแล้วทางพิพาทจึงเป็นทางสาธารณะ จำเลยปิดกั้นทางพิพาทซึ่งเป็นทางสาธารณะเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่อาจใช้รถบรรทุกดินผ่านทางพิพาทโจทก์ต้องเพิ่มค่าแรงให้แก่ผู้รับเหมานั้นโจทก์เรียกค่าเสียหายส่วนนี้ได้แต่ดอกเบี้ยจากค่าแรงที่โจทก์อ้างว่าต้องเสียให้แก่ธนาคารวันละ100บาทนั้นเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา222วรรคสองโจทก์จะต้องนำสืบให้เชื่อได้ว่าจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้วว่าโจทก์จะต้องได้รับความเสียหายดังกล่าวเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยรู้ล่วงหน้ามาก่อนค่าเสียหายส่วนนี้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ คดีทั้งสองสำนวนนี้จำเลยที่1และโจทก์ที่2ต่างฟ้องเรียกค่าเสียหายเกี่ยวกับการใช้ทางพิพาทเดียวกันซึ่งก่อนที่จะพิจารณากำหนดว่าฝ่ายใดจะต้องเป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่กันจำเป็นที่จะต้องพิจารณาในประเด็นอย่างเดียวกันทั้งสองสำนวนว่าทางพิพาทที่จำเลยที่1อ้างว่าเป็นของตนนั้นตกเป็นทางสาธารณะแล้วหรือไม่ก่อนมูลคดีนี้จึงเกี่ยวกับการชำระหนี้มาจากเหตุการวินิจฉัยในข้อเท็จจริงเดียวกันคดีจึงมีลักษณะเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้และถือว่าคำพิพากษาอันเป็นที่สุดของศาลสองศาลขัดกันจึงต้องถือตามคำพิพากษาของศาลที่สูงกว่าคือคำพิพากษาของศาลฎีกาในสำนวนแรกนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา146วรรคหนึ่งจึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามสำนวนหลังใหม่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะฉะนั้นในสำนวนหลังโจทก์ที่2จึงไม่ได้กระทำละเมิดต่อจำเลยที่1และไม่ต้องชำระค่าเสียหายแก่จำเลยที่1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6524/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาแจ้งงดบังคับคดีและการเรียกร้องค่าเสียหายจากการขายทอดตลาด
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 281 และมาตรา 292 แสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิที่จะให้งดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวได้โดยจะต้องแจ้งแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้งดการบังคับคดีไว้ชั่วคราว แต่โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาแม้จะอยู่ด้วยในเวลาบังคับคดี โจทก์ก็ไม่มีสิทธิป้องกันหรือขัดขวางแก่การบังคับคดีได้ การบังคับคดีจะต้องดำเนินการต่อไป ดังนั้นแม้โจทก์จะไม่ได้ไปอยู่ด้วยในเวลาบังคับคดีก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นความผิดของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนผิดด้วยในการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์ของโจทก์ไป
ราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดแก่ผู้ซื้อไปเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าใกล้เคียงกับราคาประเมินของทางราชการจึงเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่คดีนี้เป็นเรื่องความเสียหายที่ทรัพย์ของโจทก์ถูกขายทอดตลาดไปโดยจำเลยไม่ไปแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการขายทอดตลาดไว้ชั่วคราวตามที่ตกลงไว้กับโจทก์จึงเป็นคนละเรื่องกัน ไม่อาจพิจารณาเป็นเรื่องเดียวกันได้
การที่จะวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เป็นเรื่องละเมิดหรือผิดสัญญานั้น ต้องพิเคราะห์รายละเอียดคำฟ้องทั้งฉบับ มิใช่พิเคราะห์เฉพาะถ้อยคำบางคำในฟ้องเท่านั้น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์โจทก์เพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษา ก่อนถึงกำหนดวันขายทอดตลาดโจทก์ตกลงกับจำเลยว่าโจทก์ยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยชำระให้แก่โจทก์ในวันที่ตกลงกันบางส่วน ที่เหลือผ่อนชำระเป็นงวดโดยโจทก์สั่งจ่ายเช็คเป็นงวด ๆให้แก่จำเลยไว้ จำเลยตกลงว่าจะไปดำเนินการแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการขายทอดตลาดไว้ ครั้นถึงกำหนดวันนัดขายทอดตลาด จำเลยไม่ดำเนินการตามที่ตกลง เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ไป การกระทำของจำเลยเป็นการผิดข้อตกลงและเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายดังนี้ ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องกล่าวหาว่าจำเลยผิดสัญญา แม้ในข้อหาหรือฐานความผิดจะระบุว่าละเมิดและในคำฟ้องจะมีคำว่าเป็นละเมิดต่อโจทก์นั้นก็เป็นการกล่าวเกินเลยไปเท่านั้น หาทำให้ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องละเมิดไปด้วยไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความโดยเห็นว่าเป็นเรื่องละเมิดนั้น ก็เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้น แต่เมื่อโจทก์เห็นว่าไม่ขาดอายุความเพราะเป็นเรื่องผิดสัญญาย่อมมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ จึงเป็นเรื่องที่ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์โจทก์ไว้พิจารณาและพิพากษาจึงชอบแล้ว
แม้ไม่มีข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายไว้ แต่การที่มีข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยว่าจำเลยต้องไปแจ้งของดการบังคับคดีต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องกระทำการคือไปแจ้งของดการบังคับคดีอันถือว่าจำเลยมีหนี้ที่จะต้องชำระแก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงซึ่งเป็นการผิดสัญญาเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายทอดตลาดทรัพย์ของโจทก์แก่ผู้ซื้อไปโจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย และมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แทนการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ได้ตามหลักกฎหมายเรื่องค่าเสียหายตาม ป.พ.พ.มาตรา 222 อันเป็นคนละเรื่องกับค่าเสียหายที่กำหนดไว้ในข้อสัญญา
การที่จำเลยไม่ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้งดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวไม่ทันตามที่ตกลงไว้กับโจทก์ มิใช่กรณีกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายตามมาตรา 420 แต่เป็นการผิดสัญญาจึงไม่อาจใช้อายุความ 1 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าช่วงพื้นที่ - การแสดงเจตนาขอรับโอนสิทธิ - ค่าเสียหายจากการละเมิด - เงินมัดจำ
สัญญาเช่าระบุว่าเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่า1ปีแรกผู้ให้เช่าให้สิทธิแก่ผู้เช่าพิจารณารับโอนสิทธิการเช่าสถานที่เช่าได้โดยผู้ให้เช่ายินดีโอนสิทธิการเช่าที่ผู้ให้เช่ามีอยู่กับบริษัทม. และให้ผู้เช่าผ่อนชำระกับบริษัทม. ต่อไปข้อสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยโจทก์ผู้ให้เช่าให้คำมั่นว่าเมื่อครบกำหนด1ปีแรกหากจำเลยประสงค์จะรับโอนสิทธิการเช่าก็ทำได้แม้ในสัญญาดังกล่าวจะไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยแสดงเจตนารับโอนสิทธิการเช่าไว้ก็ตามแต่ตามเจตนารมณ์ของการทำสัญญาโจทก์จำเลยก็พึงคาดหมายได้ว่าจำเลยจะต้องแสดงเจตนารับโอนสิทธิการเช่าในระยะเวลาพอสมควรนับแต่เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่า1ปีแรกเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสัญญาเช่าครบกำหนด1ปีแรกวันที่20พฤศจิกายน2531และครบกำหนดระยะเวลาเช่า3ปีวันที่20พฤศจิกายน2533จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์โอนสิทธิการเช่าเมื่อวันที่7มิถุนายน2533ซึ่งแม้จะเป็นเวลาก่อนครบกำหนดอายุสัญญาเช่าประมาณ5เดือนแต่ก็เป็นเวลาภายหลังครบกำหนดสัญญาเช่า1ปีแรกล่วงพ้นไปแล้วถึง1ปี6เดือนจะพึงเห็นได้ว่าจำเลยแสดงเจตนาที่จะรับโอนสิทธิการเช่าเป็นระยะเวลาเนิ่นนานเกินสมควรที่จะคาดหมายได้ว่าจำเลยยังคงประสงค์ที่จะขอรับโอนสิทธิการเช่าอยู่อีกทั้งโจทก์ก็ยืนยันว่าเมื่อครบสัญญา1ปีแรกแล้วโจทก์ได้ถามส. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยว่าจะตกลงรับโอนสิทธิการเช่าหรือไม่ก็ตอบว่าขณะนั้นพื้นที่บริษัทม.โอนสิทธิการเช่ากันตารางเมตรละ60,000บาทจำเลยจะต้องรับโอนสิทธิการเช่าจากโจทก์ตารางเมตรละ65,000บาทจึงไม่ต้องการรับโอนดังนั้นการที่จำเลยปล่อยระยะเวลาให้ล่วงพ้นกำหนดการเช่า1ปีแรกออกไปถึง1ปี6เดือนประกอบกับจำเลยเคยบอกโจทก์ว่าไม่ต้องการรับโอนสิทธิการเช่าจึงฟังได้ว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะรับโอนสิทธิการเช่าพื้นที่ตามสัญญาแล้วคำมั่นของโจทก์ที่จะต้องให้จำเลยรับโอนสิทธิการเช่าจึงสิ้นผลผูกพันเมื่อการเช่าพื้นที่พิพาทครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้วจำเลยจึงต้องส่งมอบพื้นที่เช่าคืนโจทก์ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดแล้วจำเลยอยู่ในสถานที่เช่าเป็นการอยู่โดยละเมิดต่อโจทก์และพื้นที่พิพาทก็ดีขึ้นกว่าระยะแรกที่เปิดศูนย์การค้าสมควรกำหนดค่าเสียหายเดือนละ300,000บาทจำเลยอุทธรณ์ว่ายังไม่ตรงกับความจริงและสูงเกินไปอันเป็นการกล่าวอ้างเพื่อให้จำเลยต้องรับผิดค่าเสียหายน้อยลงแต่จำเลยไม่ได้กล่าวโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายไม่ตรงความจริงอย่างไรและเป็นจำนวนสูงเกินไปเพียงใดหรือที่ถูกต้องเหมาะสมควรเป็นอย่างไรเพราะเหตุผลใดจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้วแม้ในชั้นฎีกาจำเลยจะฎีกาในปัญหาเดียวกับในชั้นอุทธรณ์โดยเพิ่มเติมข้อโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเข้ามาก็ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เงินมัดจำและเงินที่วางต่อสำนักงานวางทรัพย์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าเช่าค่าไฟฟ้าค่าน้ำประปาและค่าโทรศัพท์ที่จำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญาเช่าไม่ใช่เป็นเงินค่าทดแทนความเสียหายที่เกิดจากการทำละเมิดของจำเลยต่อโจทก์จึงนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักจากค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดที่จำเลยจะต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาไม่รับโอนสิทธิเช่า และการคิดค่าเสียหายจากการอยู่อาศัยเกินสัญญา
สัญญาเช่าระบุว่า เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่า 1 ปีแรกผู้ให้เช่าให้สิทธิแก่ผู้เช่าพิจารณารับโอนสิทธิการเช่าสถานที่เช่าได้ โดยผู้ให้เช่ายินดีโอนสิทธิการเช่าที่ผู้ให้เช่ามีอยู่กับบริษัท ม.และให้ผู้เช่าผ่อนชำระกับบริษัทม.ต่อไป ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยโจทก์ผู้ให้เช่าให้คำมั่นว่าเมื่อครบกำหนด 1 ปีแรก หากจำเลยประสงค์จะรับโอนสิทธิการเช่าก็ทำได้แม้ในสัญญาดังกล่าวจะไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยแสดงเจตนารับโอนสิทธิการเช่าไว้ก็ตาม แต่ตามเจตนารมณ์ของการทำสัญญา โจทก์จำเลยก็พึงคาดหมายได้ว่าจำเลยจะต้องแสดงเจตนารับโอนสิทธิการเช่าในระยะเวลาพอสมควรนับแต่เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่า 1 ปีแรก เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า สัญญาเช่าครบกำหนด 1 ปีแรกวันที่ 20 พฤศจิกายน 2531 และครบกำหนดระยะเวลาเช่า3 ปีวันที่ 20 พฤศจิกายน 2533 จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์โอนสิทธิการเช่าเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2533 ซึ่งแม้จะเป็นเวลาก่อนครบกำหนดอายุสัญญาเช่าประมาณ 5 เดือน แต่ก็เป็นเวลาภายหลังครบกำหนดสัญญาเช่า 1 ปีแรก ล่วงพ้นไปแล้วถึง 1 ปี 6 เดือน จะพึงเห็นได้ว่าจำเลยแสดงเจตนาที่จะรับโอนสิทธิการเช่าเป็นระยะเวลาเนิ่นนานเกินสมควรที่จะคาดหมายได้ว่าจำเลยยังคงประสงค์ที่จะขอรับโอนสิทธิการเช่าอยู่อีก ทั้งโจทก์ก็ยืนยันว่าเมื่อครบสัญญา1 ปีแรกแล้ว โจทก์ได้ถาม ส.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยว่าจะตกลงรับโอนสิทธิการเช่าหรือไม่ ก็ตอบว่าขณะนั้นพื้นที่บริษัท ม.โอนสิทธิการเช่ากันตารางเมตรละ 60,000 บาท จำเลยจะต้องรับโอนสิทธิการเช่าจากโจทก์ตารางเมตรละ 65,000 บาท จึงไม่ต้องการรับโอน ดังนั้นการที่จำเลยปล่อยระยะเวลาให้ล่วงพ้นกำหนดการเช่า 1 ปีแรก ออกไปถึง1 ปี 6 เดือน ประกอบกับจำเลยเคยบอกโจทก์ว่าไม่ต้องการรับโอนสิทธิการเช่าจึงฟังได้ว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะรับโอนสิทธิการเช่าพื้นที่ตามสัญญาแล้ว คำมั่นของโจทก์ที่จะต้องให้จำเลยรับโอนสิทธิการเช่าจึงสิ้นผลผูกพัน เมื่อการเช่าพื้นที่พิพาทครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้ว จำเลยจึงต้องส่งมอบพื้นที่เช่าคืนโจทก์
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดแล้วจำเลยอยู่ในสถานที่เช่าเป็นการอยู่โดยละเมิดต่อโจทก์ และพื้นที่พิพาทก็ดีขึ้นกว่าระยะแรกที่เปิดศูนย์การค้า สมควรกำหนดค่าเสียหายเดือนละ 300,000 บาท จำเลยอุทธรณ์ว่ายังไม่ตรงกับความจริงและสูงเกินไป อันเป็นการกล่าวอ้างเพื่อให้จำเลยต้องรับผิดค่าเสียหายน้อยลง แต่จำเลยไม่ได้กล่าวโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายไม่ตรงความจริงอย่างไรและเป็นจำนวนสูงเกินไปเพียงใด หรือที่ถูกต้องเหมาะสมควรเป็นอย่างไรเพราะเหตุผลใดจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว แม้ในชั้นฎีกาจำเลยจะฎีกาในปัญหาเดียวกับในชั้นอุทธรณ์โดยเพิ่มเติมข้อโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเข้ามา ก็ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เงินมัดจำและเงินที่วางต่อสำนักงานวางทรัพย์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าเช่า ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าโทรศัพท์ที่จำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญาเช่า ไม่ใช่เป็นเงินค่าทดแทนความเสียหายที่เกิดจากการทำละเมิดของจำเลยต่อโจทก์ จึงนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักจากค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดที่จำเลยจะต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากพฤติการณ์พิเศษ – โจทก์ต้องพิสูจน์ความเสียหายเฉพาะเจาะจง
โจทก์อ้างในคำฟ้องว่า การที่จำเลยไม่ชำระเงินค่าไม้สักแปรรูปแก่โจทก์ ทำให้โจทก์ขาดประโยชน์อันจะพึงได้รับอีกวันละ 10,000 บาทเป็นกรณีที่โจทก์เรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งจำเลยต้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นถึงพฤติการณ์พิเศษที่เป็นเหตุให้โจทก์ต้องขาดประโยชน์ดังกล่าวแต่อย่างใด คงนำสืบแต่เพียงว่าเหตุที่โจทก์เรียกค่าเสียหายวันละ 10,000 บาทเพราะไม้สักแปรรูปเป็นไม้ราคาแพง จำเลยนำออกขายตามท้องตลาดได้ถึงคิวปิกเมตรละ30,000 บาทเศษ เท่านั้น ซึ่งหาใช่ความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายไม้สักแปรรูป: ความรับผิดจากผิดสัญญาและการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์อ้างในคำฟ้องว่าการที่จำเลยไม่ชำระเงินค่าไม้สักแปรรูปแก่โจทก์ทำให้โจทก์ขาดประโยชน์อันจะพึงได้รับอีกวันละ10,000บาทเป็นกรณีที่โจทก์เรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษซึ่งจำเลยต้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้วโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นถึงพฤติการณ์พิเศษที่เป็นเหตุให้โจทก์ต้องขาดประโยชน์ดังกล่าวแต่อย่างใดคงนำสืบแต่เพียงว่าเหตุที่โจทก์เรียกค่าเสียหายวันละ10,000บาทเพราะไม้สักแปรรูปเป็นไม้ราคาแพงจำเลยนำออกขายตามท้องตลาดได้ถึงคิวบิกเมตรละ30,000บาทเศษเท่านั้นซึ่งหาใช่ความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษไม่โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1674/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขาย การปรับรายวัน และค่าเสียหายจากความล่าช้า
สัญญาซื้อขายข้อ 10 ระบุว่า เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้ว ถ้าผู้ขาย (จำเลยที่ 1) ไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ (โจทก์)หรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้อง หรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ และวรรคสองระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 9 เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร และถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นเต็มจำนวนหรือเฉพาะจำนวนที่ขาดส่งแล้วแต่กรณีภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญา โดยให้นับวันที่บอกเลิกสัญญาเป็นวันเริ่มต้น ผู้ขายยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ด้วยและ ข้อ 11 ระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อ (โจทก์) ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 10 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญา จนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน และในวรรคสามระบุว่าในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 9 กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 10วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ การที่โจทก์ทำสัญญาซื้อเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าและเครื่องอบความร้อนคลื่นสั้นจากจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ กำหนดส่งมอบของที่ซื้อขายกันภายในวันที่ 18 สิงหาคม 2530 และวันที่ 29 กันยายน 2530 ตามลำดับ ครั้นเมื่อครบกำหนดส่งมอบของตามสัญญา จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาโดยมิได้มอบส่งมอบของตามสัญญาดังกล่าวให้โจทก์เลย โจทก์จึงมีหนังสือแจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับรายวันนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดส่งมอบจนถึงวันที่จำเลยที่ 1ได้ปฏิบัติการชำระหนี้โดยถูกต้องตามสัญญาดังกล่าว ภายหลังจากนั้นโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 รีบส่งมอบของที่ซื้อขายกันตามสัญญาทั้งสองฉบับให้แก่โจทก์อีก พร้อมแจ้งการปรับไปด้วย มิฉะนั้นโจทก์อาจพิจารณาว่าจำเลยที่ 1ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้และใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ 11 วรรคสามต่อไปแต่จำเลยที่ 1 ยังคงเพิกเฉย โจทก์จึงได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1ดังนี้ ตามพฤติการณ์ของโจทก์เป็นการแสดงว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาโดยไม่ส่งมอบของที่ซื้อขายกันในกำหนดตามสัญญา โจทก์ก็ยังไม่ประสงค์จะเลิกสัญญาทันทีตามสัญญาข้อ 10 โดยโจทก์คงเพียงแต่มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1ส่งมอบของตามสัญญา ต่อเมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถส่งมอบของได้ตามสัญญาแล้วโจทก์จึงได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยที่ 1 เช่นนี้เป็นการที่โจทก์เลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 11 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระค่าปรับรายวันตั้งแต่วันถัดจากวันที่จำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ส่งมอบของจนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาได้ ตามสัญญาซื้อขายข้อ 11 ดังกล่าว
จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบของที่ซื้อขายกันในกำหนดตามสัญญาการที่โจทก์เรียกร้องเกี่ยวกับค่าขาดรายได้จากการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าและเครื่องอบความร้อนคลื่นสั้นในการรักษาผู้ป่วยนั้น เมื่อโจทก์เป็นส่วนราชการมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการค้าหากำไร ค่าเสียหายส่วนนี้เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้คาดเห็นหรือควรจะคาดเห็นว่าจะเกิดค่าเสียหายส่วนนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายส่วนนี้
of 39