คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 222

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 384 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1674/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขาย การปรับรายวัน และค่าเสียหายจากความล่าช้า
สัญญาซื้อขายข้อ 10 ระบุว่า เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้ว ถ้าผู้ขาย (จำเลยที่ 1) ไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ (โจทก์)หรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้อง หรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ และวรรคสองระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 9 เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร และถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นเต็มจำนวนหรือเฉพาะจำนวนที่ขาดส่งแล้วแต่กรณีภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญา โดยให้นับวันที่บอกเลิกสัญญาเป็นวันเริ่มต้น ผู้ขายยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ด้วยและ ข้อ 11 ระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อ (โจทก์) ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 10 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญา จนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน และในวรรคสามระบุว่าในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 9 กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 10วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ การที่โจทก์ทำสัญญาซื้อเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าและเครื่องอบความร้อนคลื่นสั้นจากจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ กำหนดส่งมอบของที่ซื้อขายกันภายในวันที่ 18 สิงหาคม 2530 และวันที่ 29 กันยายน 2530 ตามลำดับ ครั้นเมื่อครบกำหนดส่งมอบของตามสัญญา จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาโดยมิได้มอบส่งมอบของตามสัญญาดังกล่าวให้โจทก์เลย โจทก์จึงมีหนังสือแจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับรายวันนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดส่งมอบจนถึงวันที่จำเลยที่ 1ได้ปฏิบัติการชำระหนี้โดยถูกต้องตามสัญญาดังกล่าว ภายหลังจากนั้นโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 รีบส่งมอบของที่ซื้อขายกันตามสัญญาทั้งสองฉบับให้แก่โจทก์อีก พร้อมแจ้งการปรับไปด้วย มิฉะนั้นโจทก์อาจพิจารณาว่าจำเลยที่ 1ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้และใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ 11 วรรคสามต่อไปแต่จำเลยที่ 1 ยังคงเพิกเฉย โจทก์จึงได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1ดังนี้ ตามพฤติการณ์ของโจทก์เป็นการแสดงว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาโดยไม่ส่งมอบของที่ซื้อขายกันในกำหนดตามสัญญา โจทก์ก็ยังไม่ประสงค์จะเลิกสัญญาทันทีตามสัญญาข้อ 10 โดยโจทก์คงเพียงแต่มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1ส่งมอบของตามสัญญา ต่อเมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถส่งมอบของได้ตามสัญญาแล้วโจทก์จึงได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยที่ 1 เช่นนี้เป็นการที่โจทก์เลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 11 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระค่าปรับรายวันตั้งแต่วันถัดจากวันที่จำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ส่งมอบของจนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาได้ ตามสัญญาซื้อขายข้อ 11 ดังกล่าว
จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบของที่ซื้อขายกันในกำหนดตามสัญญาการที่โจทก์เรียกร้องเกี่ยวกับค่าขาดรายได้จากการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าและเครื่องอบความร้อนคลื่นสั้นในการรักษาผู้ป่วยนั้น เมื่อโจทก์เป็นส่วนราชการมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการค้าหากำไร ค่าเสียหายส่วนนี้เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้คาดเห็นหรือควรจะคาดเห็นว่าจะเกิดค่าเสียหายส่วนนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันอำพราง การผิดสัญญาเดินรถ และอายุความฟ้องร้อง
เมื่ออ่านเอกสารท้ายฟ้องทั้งหมดประกอบคำฟ้องแล้วพอเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิ์นำรถยนต์โดยสารหมายเลขทะเบียน10-0769กาญจนบุรีเข้าวิ่งในคิวที่41ของจำเลยที่1แทนรถยนต์โดยสารหมายเลขทะเบียน10-0485กาญจนบุรีแต่จำเลยที่1ไม่ยินยอมให้เข้าวิ่งสำหรับเรื่องการซื้อขายและเช่าซื้อรถยนต์ดังกล่าวเช่นทำสัญญากันเมื่อใดราคาเท่าใดมีเงื่อนไขในการในการชำระค่าเช่าซื้ออย่างไรมีสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ล้วนเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในภายหลังส่วนคำว่าคิวนั้นเมื่ออ่านฟ้องแล้วก็พอจะเข้าใจได้ว่าเป็นลำดับของรถยนต์โดยสารที่โจทก์จะนำเข้าวิ่งในเส้นทางของจำเลยที่1คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ส.ให้โจทก์ทำสัญญาซื้อขายคิวรถที่40เพื่อเป็นประกันการเช่าซื้อรถยนต์โดยมิได้ประสงค์ให้ผูกพันเป็นการซื้อขายกันจริงๆสัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นการทำขึ้นโดยเจตนาลวงใช้บังคับระหว่างกันไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา118เดิม โจทก์มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขายดังนั้นการที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลประกอบสัญญาเช่าซื้อว่าโจทก์ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยสารจากส. ราคา352,000บาทส่วนสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยสารจากส. ราคา352,000บาทส่วนสัญญาซื้อขายที่ระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายคิวรถที่41ให้แก่ส.ราคา352,000บาทนั้นความจริงเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อที่โจทก์ทำไว้แก่ส.เนื่องจากโจทก์ไม่มีหลักประกันการเช่าซื้อโจทก์จึงได้ทำสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อไว้ในรูปของสัญญาซื้อขายคิวรถที่41โดยมีเงื่อนไขว่าหากโจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อก็ให้ส. ยึดคิวรถที่41ได้และหากโจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนส.ก็จะคืนคิวรถที่41ให้โจทก์ไม่มีการจ่ายเงินตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวแต่อย่างใดการนำสืบเช่นนี้จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94 แม้โจทก์จะตั้งข้อหาในคำฟ้องว่าละเมิดแต่คำฟ้องของโจทก์ที่แท้จริงอยู่ที่คำบรรยายฟ้องเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาว่าจำเลยที่1ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้เดินรถโดยสารสาธารณะประจำทางในเส้นทางสาย8203และโจทก์เป็นผู้ประกอบการเดินรถผู้หนึ่งที่นำรถยนต์เข้าร่วมกับจำเลยที่1รับส่งคนโดยสารในเส้นทางดังกล่าวในคิวที่41ก็ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าการที่โจทก์มีสิทธินำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารในเส้นทางที่จำเลยที่1ได้รับอนุญาตได้นั้นโจทก์และจำเลยที่1จะต้องมีสัญญาต่อกันกล่าวคือจำเลยที่1จะต้องทำสัญญาให้โจทก์เข้าเดินรถร่วมกับจำเลยที่1และการที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่าต่อมาจำเลยที่1ปฎิเสธไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าวิ่งในคิวที่41แต่กลับให้จำเลยที่2นำรถยนต์เข้าวิ่งแทนโจทก์ก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่1ทำผิดสัญญาดังกล่าวมิใช่ฟ้องเรื่องละเมิดแม้โจทก์จะตั้งข้อหาคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดก็ไม่ทำให้สารัตถะในคำฟ้องเป็นเรื่องละเมิดไปได้และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ฉะนั้นจะนำอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448มาปรับแก่คดีหาไม่ได้และกรณีที่จำเลยที่1ผิดสัญญาไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารนี้กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164(เดิม) เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้ทำสัญญาค้ำประกันโจทก์ไม่ได้ทำสัญญาขายคิวรถที่41ให้แก่ส. คิวรถที่41จึงยังเป็นของโจทก์อยู่แต่เมื่อโจทก์จะขอนำรถยนต์โดยสารเข้าร่วมวิ่งกับจำเลยที่1ตามสัญญาจำเลยที่1กลับปฎิเสธสิทธิของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยที่1ได้อนุญาตให้จำเลยที่2นำรถยนต์โดยสารเข้าวิ่งในคิวของโจทก์แทนการกระทำของจำเลยที่1จึงเป็นการผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางสัญญาค้ำประกัน การผิดสัญญาเดินรถ และอายุความ
เมื่ออ่านเอกสารท้ายฟ้องทั้งหมดประกอบคำฟ้องแล้วพอเข้าใจได้ว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธินำรถยนต์โดยสารหมายเลขทะเบียน 10 - 0769 กาญจนบุรีเข้าวิ่งในคิวที่ 41 ของจำเลยที่ 1 แทนรถยนต์โดยสารหมายเลขทะเบียน 10 - 0485กาญจนบุรี แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอมให้เข้าวิ่ง สำหรับเรื่องการซื้อขายและเช่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าว เช่น ทำสัญญากันเมื่อใด ราคาเท่าใด มีเงื่อนไขในการชำระค่าเช่าซื้ออย่างไร มีสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ ล้วนเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในภายหลัง ส่วนคำว่าคิวนั้น เมื่ออ่านฟ้องแล้วก็พอจะเข้าใจได้ว่าเป็นลำดับของรถยนต์โดยสารที่โจทก์จะนำเข้าวิ่งในเส้นทางของจำเลยที่ 1 คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ส.ให้โจทก์ทำสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 เพื่อเป็นประกันการเช่าซื้อรถยนต์โดยมิได้ประสงค์ให้ผูกพันเป็นการซื้อขายกันจริง ๆ สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นการทำขึ้นโดยเจตนาลวงใช้ บังคับระหว่างกันไม่ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 118 เดิม
โจทก์มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขาย ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลประกอบสัญญาเช่าซื้อว่า โจทก์ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยสารจาก ส. ราคา 352,000 บาท ส่วนสัญญาซื้อขายที่ระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 ให้แก่ ส.ราคา 352,000 บาท นั้น ความจริงเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อที่โจทก์ทำไว้แก่ ส.เนื่องจากโจทก์ไม่มีหลักประกันการเช่าซื้อ โจทก์จึงได้ทำสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อไว้ในรูปของสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 โดยมีเงื่อนไขว่า หากโจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อก็ให้ ส.ยึดคิวรถที่ 41ได้ และหากโจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน ส.ก็จะคืนคิวรถที่ 41 ให้โจทก์ไม่มีการจ่ายเงินตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวแต่อย่างใด การนำสืบเช่นนี้จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
แม้โจทก์จะตั้งข้อหาในคำฟ้องว่าละเมิด แต่คำฟ้องของโจทก์ที่แท้จริงอยู่ที่คำบรรยายฟ้อง เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาว่า จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้เดินรถโดยสารสาธารณะประจำทางในเส้นทางสาย 8203 และโจทก์เป็นผู้ประกอบการเดินรถผู้หนึ่งที่นำรถยนต์เข้าร่วมกับจำเลยที่ 1 รับส่งคนโดยสารในเส้นทางดังกล่าวในคิวที่ 41 ก็ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าการที่โจทก์มีสิทธินำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารในเส้นทางที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตได้นั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 จะต้องมีสัญญาต่อกัน กล่าวคือ จำเลยที่ 1 จะต้องทำสัญญาให้โจทก์เข้าเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 1 และการที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่า ต่อมาจำเลยที่ 1 ปฏิเสธไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าวิ่งในคิวที่ 41 แต่กลับให้จำเลยที่ 2นำรถยนต์เข้าวิ่งแทนโจทก์ก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1ทำผิดสัญญาดังกล่าว มิใช่ฟ้องเรื่องละเมิด แม้โจทก์จะตั้งข้อหาคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดก็ไม่ทำให้สารัตถะในคำฟ้องเป็นเรื่องละเมิดไปได้ และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ ฉะนั้นจะนำอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 มาปรับแก่คดีหาไม่ได้ และกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารนี้ กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 (เดิม)
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้ทำสัญญาค้ำประกัน โจทก์ไม่ได้ทำสัญญาขายคิวรถที่ 41 ให้แก่ ส. คิวรถที่ 41 จึงยังเป็นของโจทก์อยู่ แต่เมื่อโจทก์จะขอนำรถยนต์โดยสารเข้าร่วมวิ่งกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญา จำเลยที่ 1กลับปฏิเสธสิทธิของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้อนุญาตให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์โดยสารเข้าวิ่งในคิวของโจทก์แทน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาซื้อขายทราย: การกำหนดค่าเสียหายที่สมเหตุสมผล
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาทำให้โจทก์ไม่สามารถดูดทรายจากในที่ดินของจำเลยได้ จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำค่าทรายพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันรับเงินมัดจำจากโจทก์รวมทั้งค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาด้วย
โจทก์นำสืบในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหายว่า โจทก์ได้ใช้จ่ายเป็นค่าจ้างบรรทุกเรือขุด ค่าคนงาน ค่าเช่าเรือดูดทราย ค่าเช่ารถขุด และค่าน้ำมันรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 539,360 บาท แม้จำเลยจะมิได้นำสืบหักล้างเป็นประการอื่นก็ตาม แต่นอกจากโจทก์มิได้นำหลักฐานการจ่ายเงินมาแสดงยืนยันให้เห็นได้แล้วยังนำสืบขัดกับหลักฐานหนังสือทวงถามที่เรียกจากจำเลยเป็นเงินเพียง 461,600 บาทอีกทั้งยังได้ความว่า แม้โจทก์จะดูดทรายจากในที่ดินจำเลยไม่ได้ แต่โจทก์ก็สามารถนำเครื่องอุปกรณ์การดูดทรายไปดูดทรายจากที่ดินข้างเคียงจำเลยได้อยู่ ทำให้เห็นได้ว่า โจทก์ไม่ถึงกับเสียหายไปทั้งหมดเสียทีเดียว ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกมาจึงสูงเกินไป สมควรกำหนดให้เพียง 300,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาซื้อขายทราย จำเลยต้องคืนเงินมัดจำและค่าเสียหายที่สมควร
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาทำให้โจทก์ไม่สามารถดูดทรายจากในที่ดินของจำเลยได้จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำค่าทรายพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันรับเงินมัดจำจากโจทก์รวมทั้งค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาด้วย โจทก์นำสืบในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหายว่าโจทก์ได้ใช้จ่ายเป็นค่าจ้างบรรทุกเรือขุดค่าคนงานค่าเช่าเรือดูดทรายค่าเช่ารถขุดและค่าน้ำมันรวมเป็นเงินทั้งสิ้น839,360บาทแม้จำเลยจะมิได้นำสืบหักล้างเป็นประการอื่นก็ตามแต่นอกจากโจทก์มิได้นำหลักฐานการจ่ายเงินมาแสดงยืนยันให้เห็นได้แล้วยังนำสืบขัดกับหลักฐานหนังสือทวงถามที่เรียกจากจำเลยเป็นเงินเพียง461,600บาทอีกทั้งยังได้ความว่าแม้โจทก์จะดูดทรายจากในที่ดินจำเลยไม่ได้แต่โจทก์ก็สามารถนำเครื่องอุปกรณ์การดูดทรายไปดูดทรายจากที่ดินข้างเคียงจำเลยได้อยู่ทำให้เห็นได้ว่าโจทก์ไม่ถึงกับเสียหายไปทั้งหมดเสียทีเดียวค่าเสียหายที่โจทก์เรียกมาจึงสูงเกินไปสมควรกำหนดให้เพียง300,000บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7633/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายพิเศษจากสัญญาซื้อขาย: หลักการคาดการณ์ได้และภาระการรับผิด
เมื่อโจทก์ทั้งสองผิดสัญญาไม่ยอมรับซื้อที่ดินพิพาทตามสัญญาความเสียหายตามปกติที่เกิดขึ้นก็คือจำเลยทั้งสองไม่ได้รับชำระราคาที่เหลือหรือค่าเสียหายใด ๆ อันได้ตกลงไว้ในสัญญาชัดแจ้ง แต่ถ้าหากเป็นความเสียหายอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวมาแล้วก็ได้แก่ความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ
ค่าเสียหายที่จำเลยทั้งสองถูกริบมัดจำก็ดี หรือการที่จะได้รับกำไร หากโจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินพิพาทตามสัญญาตามที่คาดหวังล่วงหน้าไว้ก่อนก็ดี ล้วนเป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองได้กระทำไปส่วนตัวหรือคาดหวังไปเอง จึงถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ หากโจทก์ทั้งสองจะต้องรับผิดก็ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้า เมื่อโจทก์ทั้งสองมิได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้ามาก่อน โจทก์ทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5904/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาจ้างเหมา: โจทก์ต้องพิสูจน์ความเสียหายที่แท้จริง
คดีที่จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทเป็นคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายการ วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน
ตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างข้อหนึ่ง ถ้าจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างมิได้ลงมือทำงานภายในกำหนดเวลา โจทก์ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและจ้างผู้อื่นทำงานจ้างเหมาก่อสร้างต่อจากจำเลยได้ และอีกข้อหนึ่งแห่งสัญญาดังกล่าวกำหนดว่า ถ้าโจทก์ผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญา จำเลยผู้รับจ้างยอมให้โจทก์เรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการต่อไปจนงานจ้างเหมาก่อสร้างแล้วเสร็จบริบูรณ์ ดังนี้ ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวเป็นค่าเสียหายที่เกิดจากการที่จำเลยที่ 1ปฏิบัติผิดสัญญาและโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญา แม้จะมิใช่เบี้ยปรับที่จำเลยที่ 1 สัญญาแก่โจทก์ว่าจะใช้ให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ก็ตาม แต่โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเสียหายดังกล่าวต่อเมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายที่แท้จริงเท่านั้น ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ไปตามความเสียหายที่แท้จริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2015/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเพิ่มจากอัตราที่ตกลงกันในสัญญากู้ยืม ศาลไม่อนุมัติหากโจทก์ไม่แจ้งพฤติการณ์พิเศษและจำเลยไม่ยินยอม
ค่าเสียหายที่ว่าถ้าจำเลยไม่ผิดนัดโจทก์จะได้ประโยชน์จากการเอาเงินที่จำเลยชำระไปให้ลูกค้ารายอื่นของโจทก์กู้ยืมโจทก์จะได้ดอกเบี้ยตามอัตราที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราที่โจทก์เรียกเก็บได้จากจำเลยนั้นเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ และโจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบล่วงหน้า ทั้งจำเลยยังไม่ได้รับทราบหรือยินยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวแต่อย่างใด กรณีจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้คาดเห็นล่วงหน้าก่อนว่าการผิดนัดของจำเลยทำให้โจทก์เสียหายมากกว่าดอกเบี้ยในอัตราที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยขณะผิดนัด โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเพิ่มจากร้อยละ 15.5 ต่อปีเป็นร้อยละ 16.5 ต่อปี ร้อยละ 17 ต่อปีร้อยละ 18.5 ต่อปี หลังจากครบกำหนดชำระเงินคืนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2015/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายพิเศษจากการผิดนัดชำระหนี้ ผู้เสียหายต้องพิสูจน์การคาดเห็นถึงความเสียหายที่เพิ่มขึ้น
ค่าเสียหายที่ว่าถ้าจำเลยไม่ผิดนัดโจทก์จะได้ประโยชน์จากการเอาเงินที่จำเลยชำระไปให้ลูกค้ารายอื่นของโจทก์กู้ยืม โจทก์จะได้ดอกเบี้ยตามอัตราที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราที่โจทก์เรียกเก็บได้จากจำเลยนั้น เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ และโจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบล่วงหน้า ทั้งจำเลยยังไม่ได้รับทราบหรือยินยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวแต่อย่างใด กรณีจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้คาดเห็นล่วงหน้าก่อนว่าการผิดนัดของจำเลยทำให้โจทก์เสียหายมากกว่าดอกเบี้ยในอัตราที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยขณะผิดนัด โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเพิ่มจากร้อยละ 15.5 ต่อปีเป็นร้อยละ 16.5 ต่อปี ร้อยละ 17 ต่อปี ร้อยละ 18.5 ต่อปี หลังจากครบกำหนดชำระเงินคืนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1954/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยผูกพันตามสัญญาจะซื้อขายแม้ไม่ได้เป็นผู้ลงนามโดยตรง หากมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการและลงนามแทน
จำเลยได้มอบหมายให้ จ. เป็นผู้ดำเนินการทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ โดยจำเลยลงลายมือชื่อเป็นคู่สัญญา ฉะนั้นจำเลยจึงต้องผูกพันตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยฎีกาว่า สัญญาจะซื้อขายไม่ผูกพันจำเลย เพราะไม่มีกรณีตั้งตัวแทนหรือยินยอมให้ผู้ได้เชิดตนเองกระทำการเป็นตัวแทนจำเลย และที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องตัวแทนเชิดเป็นเรื่องนอกฟ้องนั้น คดีนี้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจากพฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยได้มอบหมายให้ จ. และ ป. ภริยาเป็นผู้ติดต่อขายที่ดินของจำเลยแทนจำเลยและจำเลยเป็นผู้ลงชื่อในสัญญาด้วยตนเอง ดังนี้ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยเรื่องตัวแทนเชิดดังที่จำเลยฎีกาแต่อย่างใด โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้โจทก์และโจทก์ได้ว่าจ้างบริษัท ม. ปลูกสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก3 ชั้น ลงบนที่ดินดังกล่าวขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ หากไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทให้ได้ให้ใช้ราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยโอนสิ่งปลูกสร้างด้วย จึงไม่เกินคำขอ และโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ว่าจ้างบริษัท ม. ปลูกสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก3 ชั้น บนที่ดินพิพาท การก่อสร้างดังกล่าวย่อมทำให้ที่ดินพิพาทราคาสูงขึ้น เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในส่วนที่เกี่ยวกับราคาที่ดินที่สูงขึ้นเพราะการก่อสร้างด้วยและราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์ขอให้ชดใช้ย่อมหมายถึงราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในขณะฟ้อง ฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยต้องรับผิดสำหรับค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่สูงขึ้นในขณะฟ้องตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง จึงไม่เป็นการนอกฟ้อง
of 39