พบผลลัพธ์ทั้งหมด 384 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินและเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้หากเกินความเสียหายที่แท้จริง
ข้อสัญญาที่ว่า จำเลยจะดำเนินการให้ผู้เช่านารื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินพิพาทก่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์นั้นได้แยกออกมาเป็นข้อที่ 5ในสัญญาจะซื้อขายที่ดินโดยเฉพาะ และเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อนี้ โจทก์ย่อมไม่สามารถเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทได้จนกว่าจำเลยจะดำเนินการให้ผู้เช่านารื้อถอนขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดิน ทั้งในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ครั้งแรกโจทก์ได้นำแคชเชียร์เช็คไปชำระราคาที่เหลือครบถ้วน แต่ก็ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้ เนื่องจากผู้เช่านายังไม่ยอมออกไปจากที่ดินพิพาท จนถึงขนาดโจทก์จำเลยต้องทำบันทึกกันใหม่เลื่อนเวลาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ไปเพื่อให้จำเลยดำเนินการให้ผู้เช่านารื้อถอนขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินก่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ได้เลื่อนมา แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์จำเลยว่าสัญญาข้อนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ย่อมเป็นสาระสำคัญของสัญญาและเป็นหน้าที่ของจำเลย เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อนี้ ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดิน จึงต้องรับผิดโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญา
ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ข้อ 10 กำหนดว่า หากจำเลยผิดสัญญายอมให้โจทก์ปรับจำเลยเป็นเงิน 4 เท่า ของเงินมัดจำ คือปรับเป็นเงินจำนวน400,000 บาท ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 380 เมื่อเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
ที่ดินพิพาทโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายกันในราคา 1,000,000 บาทเมื่อถึงกำหนดวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยก็ยอมจดทะเบียนโอนให้โดยดีแม้ผู้เช่านาจะไม่ยอมรื้อถอนขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ แต่ก็ยอมขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกจากที่ดินโดยมีกำหนดเวลาไว้พอสมควร ความเสียหายที่โจทก์ได้รับจึงมีไม่มาก เหตุที่โจทก์กำหนดค่าปรับสูงเพราะกลัวว่าจำเลยจะไม่บอกผู้เช่านาให้ออกจากที่ดินและกลัวว่าที่ดินจะมีราคาสูงขึ้นและโจทก์ไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าได้นำที่ดินพิพาทไปขายต่อให้บุคคลอื่น จำเลยไม่ทราบว่าโจทก์จะนำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่ ก. และไม่ทราบว่าโจทก์อาจถูก ก.เรียกเบี้ยปรับฐานผิดสัญญา ทั้งโจทก์ก็จะได้รับโอนที่ดินตามที่เรียกร้องมาอยู่แล้วหาใช่จะได้รับแต่เพียงเบี้ยปรับแต่เพียงอย่างเดียวไม่ เมื่อเบี้ยปรับเป็นเงิน400,000 บาท สูงเกินส่วน แม้โจทก์จะชำระเบี้ยปรับจำนวน 500,000 บาทให้แก่ ก.ฐานไม่จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้ตามสัญญา ก็เป็นเรื่องที่โจทก์สละข้อต่อสู้ในเรื่องเบี้ยปรับสูงเกินส่วนกับ ก.โดยไม่คำนึงว่า ก.จะได้รับความเสียหายมากน้อยเพียงใด โจทก์จะให้จำเลยรับผิดในเบี้ยปรับที่ชำระให้แก่ ก.จนเต็มจำนวนหาได้ไม่ ชอบที่ศาลจะกำหนดเบี้ยปรับที่จำเลยต้องชำระให้โจทก์เป็นจำนวนพอสมควรเพียง 100,000 บาทได้
ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ข้อ 10 กำหนดว่า หากจำเลยผิดสัญญายอมให้โจทก์ปรับจำเลยเป็นเงิน 4 เท่า ของเงินมัดจำ คือปรับเป็นเงินจำนวน400,000 บาท ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 380 เมื่อเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
ที่ดินพิพาทโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายกันในราคา 1,000,000 บาทเมื่อถึงกำหนดวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยก็ยอมจดทะเบียนโอนให้โดยดีแม้ผู้เช่านาจะไม่ยอมรื้อถอนขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ แต่ก็ยอมขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกจากที่ดินโดยมีกำหนดเวลาไว้พอสมควร ความเสียหายที่โจทก์ได้รับจึงมีไม่มาก เหตุที่โจทก์กำหนดค่าปรับสูงเพราะกลัวว่าจำเลยจะไม่บอกผู้เช่านาให้ออกจากที่ดินและกลัวว่าที่ดินจะมีราคาสูงขึ้นและโจทก์ไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าได้นำที่ดินพิพาทไปขายต่อให้บุคคลอื่น จำเลยไม่ทราบว่าโจทก์จะนำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่ ก. และไม่ทราบว่าโจทก์อาจถูก ก.เรียกเบี้ยปรับฐานผิดสัญญา ทั้งโจทก์ก็จะได้รับโอนที่ดินตามที่เรียกร้องมาอยู่แล้วหาใช่จะได้รับแต่เพียงเบี้ยปรับแต่เพียงอย่างเดียวไม่ เมื่อเบี้ยปรับเป็นเงิน400,000 บาท สูงเกินส่วน แม้โจทก์จะชำระเบี้ยปรับจำนวน 500,000 บาทให้แก่ ก.ฐานไม่จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้ตามสัญญา ก็เป็นเรื่องที่โจทก์สละข้อต่อสู้ในเรื่องเบี้ยปรับสูงเกินส่วนกับ ก.โดยไม่คำนึงว่า ก.จะได้รับความเสียหายมากน้อยเพียงใด โจทก์จะให้จำเลยรับผิดในเบี้ยปรับที่ชำระให้แก่ ก.จนเต็มจำนวนหาได้ไม่ ชอบที่ศาลจะกำหนดเบี้ยปรับที่จำเลยต้องชำระให้โจทก์เป็นจำนวนพอสมควรเพียง 100,000 บาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2930/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าล่าช้าและการประเมินความเสียหายจากราคาตลาดที่ตกต่ำ
ขณะเกิดข้อพิพาทคดีนี้ พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 ยังไม่ได้ประกาศใช้ และไม่ปรากฎจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเลศาลจึงจำต้องวินิจฉัยคดีนี้โดยอาศัยเทียบบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 คดีนี้จำเลยทราบล่วงหน้าก่อนตกลงรับขนว่าโจทก์ประสงค์จะให้ขนส่งสินค้าของโจทก์โดยเร็วจึงมีการเปลี่ยนจากเรืออ.เป็นเรือป. แต่ปรากฎว่าเรือป.แล่นออกจากประเทศไทยล่าช้าถึง 1 สัปดาห์ จึงทำให้เรือแล่นไปถึงท่าเรือปลายทางต้องล่าช้าไปด้วย ดังนี้การส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับสินค้าปลายทางล่าช้าเป็นเพราะจำเลยเริ่มทำการขนส่งสินค้าล่าช้าเอง มิได้เกิดแต่เหตุสุดวิสัยจำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ความเสียหายมิได้เกิดจากตัวสินค้าข้าวโพด หากแต่เกิดจากราคาสินค้าข้าวโพดในตลาดไต้หวันตกต่ำลงในขณะที่มีการส่งมอบชักช้า ผู้ซื้อที่ไต้หวันจึงอาจเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การส่งมอบสินค้าข้าวโพด ชักช้าผิดเวลานั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215 เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ซื้อไปแล้ว จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายนั้นแก่โจทก์ส่วนค่าเสียหายซึ่งเป็นดอกเบี้ยที่โจทก์ชำระให้แก่ธนาคารในประเทศไทยนั้นไม่ใช่ค่าเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดจากการที่จำเลยส่งมอบสินค้าชักช้า และมิใช่ค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษที่จำเลยได้คาดเห็นหรือควรเห็นควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 222 เนื่องจากไม่ปรากฎว่าขณะโจทก์และจำเลยทำสัญญารับขนสินค้า และขณะที่จำเลยส่งมอบสินค้าดังกล่าวชักช้า จำเลยได้ทราบอยู่แล้วว่าหากธนาคารในไต้หวันยังไม่จ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแก่ธนาคารในประเทศไทยโจทก์จำเป็นต้องขอเบิกเงินค่าสินค้าจากธนาคารในประเทศไทยไปก่อนโดย โจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยแก่ธนาคารดังกล่าวด้วยจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2930/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าล่าช้าและการชดใช้ค่าเสียหายจากความเสียหายของสินค้าอันเกิดจากราคาตลาด
ขณะเกิดข้อพิพาทคดีนี้ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังไม่ได้ประกาศใช้ และไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเล ศาลจึงจำต้องวินิจฉัยคดีนี้โดยอาศัยเทียบบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 616 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 4 คดีนี้จำเลยทราบล่วงหน้าก่อนตกลงรับขนว่าโจทก์ประสงค์จะให้ขนส่งสินค้าของโจทก์โดยเร็ว จึงมีการเปลี่ยนจากเรือ อ.เป็นเรือ ป. แต่ปรากฏว่าเรือ ป.แล่นออกจากประเทศไทยล่าช้าถึง 1 สัปดาห์ จึงทำให้เรือแล่นไปถึงท่าเรือปลายทางต้องล่าช้าไปด้วย ดังนี้ การส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับสินค้าปลายทางล่าช้าเป็นเพราะจำเลยเริ่มทำการขนส่งสินค้าล่าช้าเอง มิได้เกิดแต่เหตุสุดวิสัย จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
ความเสียหายมิได้เกิดจากตัวสินค้าข้าวโพด หากแต่เกิดจากราคาสินค้าข้าวโพดในตลาดไต้หวันตกต่ำลงในขณะที่มีการส่งมอบชักช้า ผู้ซื้อที่ไต้หวันจึงอาจเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การส่งมอบสินค้าข้าวโพดชักช้าผิดเวลานั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 215 เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ซื้อไปแล้ว จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายนั้นแก่โจทก์ ส่วนค่าเสียหายซึ่งเป็นดอกเบี้ยที่โจทก์ชำระให้แก่ธนาคารในประเทศไทยนั้นไม่ใช่ค่าเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดจากการที่จำเลยส่งมอบสินค้าชักช้า และมิใช่ค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษที่จำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 เนื่องจากไม่ปรากฏว่าขณะโจทก์และจำเลยทำสัญญารับขนสินค้า และขณะที่จำเลยส่งมอบสินค้าดังกล่าวชักช้า จำเลยได้ทราบอยู่แล้วว่าหากธนาคารในไต้หวันยังไม่จ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแก่ธนาคารในประเทศไทย โจทก์จำเป็นต้องขอเบิกเงินค่าสินค้าจากธนาคารในประเทศไทยไปก่อนโดยโจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยแก่ธนาคารดังกล่าวด้วย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์
ความเสียหายมิได้เกิดจากตัวสินค้าข้าวโพด หากแต่เกิดจากราคาสินค้าข้าวโพดในตลาดไต้หวันตกต่ำลงในขณะที่มีการส่งมอบชักช้า ผู้ซื้อที่ไต้หวันจึงอาจเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การส่งมอบสินค้าข้าวโพดชักช้าผิดเวลานั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 215 เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ซื้อไปแล้ว จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายนั้นแก่โจทก์ ส่วนค่าเสียหายซึ่งเป็นดอกเบี้ยที่โจทก์ชำระให้แก่ธนาคารในประเทศไทยนั้นไม่ใช่ค่าเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดจากการที่จำเลยส่งมอบสินค้าชักช้า และมิใช่ค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษที่จำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 เนื่องจากไม่ปรากฏว่าขณะโจทก์และจำเลยทำสัญญารับขนสินค้า และขณะที่จำเลยส่งมอบสินค้าดังกล่าวชักช้า จำเลยได้ทราบอยู่แล้วว่าหากธนาคารในไต้หวันยังไม่จ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแก่ธนาคารในประเทศไทย โจทก์จำเป็นต้องขอเบิกเงินค่าสินค้าจากธนาคารในประเทศไทยไปก่อนโดยโจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยแก่ธนาคารดังกล่าวด้วย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2026/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับ, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา, การลดค่าปรับ, สิทธิริบผลงาน, สัญญาจ้างเหมา
ค่าปรับที่โจทก์และจำเลยตกลงกำหนดกันไว้นั้น ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับเพื่อการที่จะชดใช้หรือบรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า ถ้าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 และข้อตกลงให้โจทก์ริบเอาผลงานที่จำเลยได้ทำไปแล้วโดยจำเลยจะเรียกร้องค่าตอบแทนและค่าเสียหายใด ๆ ไม่ได้ ก็เป็นข้อตกลงที่มีลักษณะเป็นการที่จำเลยให้สัญญาว่าจะทำการชำระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่จำนวนเงินให้เป็นเบี้ยปรับแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 382 ถ้าเบี้ยปรับนี้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงให้เหลือเป็นจำนวนพอสมควรตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 เช่นกันแม้สิทธิริบผลงานที่จำเลยทำไปแล้วเป็นสิทธิของโจทก์หลังจากโจทก์ บอกเลิกสัญญาแต่เมื่อถือว่าเป็นเบี้ยปรับเช่นเดียวกับค่าปรับ ศาลจึงนำมาเป็นข้อวินิจฉัยลดค่าปรับได้หากเห็นว่าโจทก์ จะได้รับเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ตาม สัญญา จ้าง เหมา มี สาระ สำคัญ ว่า ถ้า จำเลย ทำ ผิด สัญญา ข้อหนึ่ง ข้อใด โจทก์ มี สิทธิ บอกเลิก สัญญา นี้ ได้ และ มี อำนาจจ้าง ผู้อื่น ทำงาน ต่อ จาก จำเลย ได้ ด้วย โดย จำเลย ยอม จ่าย เงินค่าจ้าง และ ค่าใช้จ่าย อื่นใด ตาม จำนวน ที่ โจทก์ ต้อง เสีย ไปโดย สิ้นเชิง และ ถ้า ผู้ว่าจ้าง บอกเลิก สัญญา แล้ว ผู้รับจ้าง ยอม ให้ เรียก ค่าเสียหาย อัน พึง มี ได้ อีก ด้วย ดังนั้น แม้ ยัง ไม่ ปรากฏ ว่า ผู้รับจ้าง ราย ใหม่ หลังจาก โจทก์ บอกเลิก สัญญา ได้ ทำการ ก่อสร้าง งาน ตาม สัญญา ต่อ จาก จำเลย จน งาน แล้ว เสร็จบริบูรณ์หรือไม่ แต่ ตาม ข้อความ ใน สัญญา จ้างเหมา นั้นเอง เห็นเจตนารมณ์ ได้ ว่า ถ้า หาก จำเลย ผิดสัญญา โจทก์ ย่อม มี สิทธิ ที่จะ จ้าง บุคคลอื่น ทำการ ก่อสร้าง งาน แทน จำเลย โดย จำเลย ต้องเสีย ค่าใช้จ่าย และ โจทก์ มีสิทธิ เรียก ค่าเสียหาย จาก การ ที่ ต้องเสีย ค่าจ้าง แพง กว่า เดิม โดย มิพัก ต้อง รอ ให้งาน ก่อสร้าง ที่กระทำ ภายหลัง ต้อง สำเร็จ เสียก่อน เพราะ เป็น ที่ เห็น ได้ชัดว่า เป็น ความเสียหาย อันเกิด จากการ ผิดสัญญา ของ จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2026/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาจ้างเหมาสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดได้ แม้รวมสิทธิริบผลงาน
ค่าปรับที่โจทก์และจำเลยตกลงกำหนดกันไว้นั้น ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับเพื่อการที่จะชดใช้หรือบรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า ถ้าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตามป.พ.พ. มาตรา 383 และข้อตกลงให้โจทก์ริบเอาผลงานที่จำเลยได้ทำไปแล้วโดยจำเลยจะเรียกร้องค่าตอบแทนและค่าเสียหายใด ๆ ไม่ได้ ก็เป็นข้อตกลงที่มีลักษณะเป็นการที่จำเลยให้สัญญาว่าจะทำการชำระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่จำนวนเงินให้เป็นเบี้ยปรับแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 382 ถ้าเบี้ยปรับนี้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงให้เหลือเป็นจำนวนพอสมควรตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 เช่นกันแม้สิทธิริบผลงานที่จำเลยทำไปแล้วเป็นสิทธิของโจทก์หลังจากโจทก์บอกเลิกสัญญาแต่เมื่อถือว่าเป็นเบี้ยปรับเช่นเดียวกับค่าปรับ ศาลจึงนำมาเป็นข้อวินิจฉัยลดค่าปรับได้หากเห็นว่าโจทก์จะได้รับเบี้ยปรับสูงเกินส่วน
ตามสัญญาจ้างเหมามีสาระสำคัญว่า ถ้าจำเลยทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้ และมีอำนาจจ้างผู้อื่นทำงานต่อจากจำเลยได้ด้วย โดยจำเลยยอมจ่ายเงินค่าจ้าง และค่าใช้จ่ายอื่นใดตามจำนวนที่โจทก์ต้องเสียไปโดยสิ้นเชิง และถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้เรียกค่าเสียหายอันพึงมีได้อีกด้วย ดังนั้น แม้ยังไม่ปรากฏว่าผู้รับจ้างรายใหม่หลังจากโจทก์บอกเลิกสัญญาได้ทำการก่อสร้างงานตามสัญญาต่อจากจำเลยจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์หรือไม่ แต่ตามข้อความในสัญญาจ้างเหมานั้นเองเห็นเจตนารมณ์ได้ว่าถ้าหากจำเลยผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างงานแทนจำเลย โดยจำเลยต้องเสียค่าใช้จ่ายและโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการที่ต้องเสียค่าจ้างแพงกว่าเดิม โดยมิพักต้องรอให้งานก่อสร้างที่กระทำภายหลังต้องสำเร็จเสียก่อน เพราะเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาของจำเลย
ตามสัญญาจ้างเหมามีสาระสำคัญว่า ถ้าจำเลยทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้ และมีอำนาจจ้างผู้อื่นทำงานต่อจากจำเลยได้ด้วย โดยจำเลยยอมจ่ายเงินค่าจ้าง และค่าใช้จ่ายอื่นใดตามจำนวนที่โจทก์ต้องเสียไปโดยสิ้นเชิง และถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้เรียกค่าเสียหายอันพึงมีได้อีกด้วย ดังนั้น แม้ยังไม่ปรากฏว่าผู้รับจ้างรายใหม่หลังจากโจทก์บอกเลิกสัญญาได้ทำการก่อสร้างงานตามสัญญาต่อจากจำเลยจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์หรือไม่ แต่ตามข้อความในสัญญาจ้างเหมานั้นเองเห็นเจตนารมณ์ได้ว่าถ้าหากจำเลยผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างงานแทนจำเลย โดยจำเลยต้องเสียค่าใช้จ่ายและโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการที่ต้องเสียค่าจ้างแพงกว่าเดิม โดยมิพักต้องรอให้งานก่อสร้างที่กระทำภายหลังต้องสำเร็จเสียก่อน เพราะเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจมอบอำนาจสัญญาเช่าซื้อ, สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากรถชน, และฎีกาที่ไม่ชัดเจน
บริษัทโจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ จ.และอ.ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อในฐานะผู้ให้เช่าซื้อแทนโจทก์ จ.และอ.ย่อมมีอำนาจลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้โดยไม่ต้องระบุในสัญญาเช่าซื้ออีกว่าโจทก์มอบอำนาจให้ จ.และอ.กระทำการแทน เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าซ่อมรถยนต์ดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องมีการซ่อมรถยนต์ดังกล่าวเสียก่อน จำเลยที่ 2 กล่าวในฎีกาว่า โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ18ต่อปี เกินกว่าดอกเบี้ยที่กฎหมายบัญญัติไว้ ฉะนั้นดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องทั้งหมดจึงตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลใช้บังคับตามกฎหมายแต่มิได้กล่าวว่าดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวเกินกว่าดอกเบี้ยตามกฎหมายใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการไม่ชำระงานก่อสร้างตามสัญญา ศาลกำหนดตามสมควรเมื่อโจทก์พิสูจน์จำนวนค่าเสียหายไม่ได้
ตามสัญญาว่าจ้างให้จำเลยทำการก่อสร้างหลักไพ นำพร้อมอุปกรณ์และหลักกิโลเมตร จำเลยไม่สามารถก่อสร้างได้แล้วเสร็จตามกำหนดสัญญา โจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญานอกจากโจทก์จะมีสิทธิริบหลักประกันแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ด้วย ความเสียหายที่โจทก์ได้รับคือไม่สามารถใช้สอยหลักกิโลเมตรร่องน้ำที่จำเลยรับจ้างก่อสร้างให้โจทก์ไม่ใช่ค่าเสียหายเท่ากับค่าจ้างก่อสร้างที่ได้จ้างให้แก่จำเลย และเมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบถึงจำนวนค่าเสียหายได้ ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหาย ให้โจทก์ได้รับตามจำนวนสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญา แม้มีการริบหลักประกันแล้ว ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามสมควร
ตามสัญญาว่าจ้างให้จำเลยทำการก่อสร้างหลักไฟนำพร้อมอุปกรณ์และหลักกิโลเมตร จำเลยไม่สามารถก่อสร้างได้แล้วเสร็จตามกำหนดสัญญา โจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญา นอกจากโจทก์จะมีสิทธิริบหลักประกันแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ด้วย ความเสียหายที่โจทก์ได้รับคือไม่สามารถใช้สอยหลักกิโลเมตรร่องน้ำที่จำเลยรับจ้างก่อสร้างให้โจทก์ไม่ใช่ค่าเสียหายเท่ากับค่าจ้างก่อสร้างที่ได้จ้างให้แก่จำเลย และเมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบถึงจำนวนค่าเสียหายได้ ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ได้รับตามจำนวนสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4957/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเหมาค่าก่อสร้าง: ความล่าช้าการจ่ายเงิน, ความเสียหายพิเศษ, และการคาดเห็นเหตุการณ์
จำเลยจ้างโจทก์ก่อสร้างปรับปรุงขยายการประปาตามมาตรฐานงานก่อสร้างฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างระบุว่า"ก่อนทำการก่อสร้างอาคาร ผู้รับจ้างจะต้องดำเนินการทดสอบหาความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของพื้นดินด้วยวิธีหนึ่งวิธีใดตามหลักวิชา จำนวนจุดและตำแหน่งที่จะทำการทดสอบให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของวิศวกรของผู้ว่าจ้าง" จากข้อความที่ว่าจำนวนจุดและตำแหน่งที่จะทำการทดสอบให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของวิศวกรผู้ว่าจ้าง แสดงว่าจำเลยต้องส่งช่างไปกำหนดจุดเจาะและตำแหน่งให้โจทก์ก่อน โจทก์ยังไม่สามารถลงมือทำงานได้ทันทีภายหลังจากได้ทำสัญญา การที่จำเลยส่งช่างไปล่าช้าจึงเป็นการผิดเงื่อนไขของสัญญา ข้อฎีกาในเรื่องค่าเสียหายที่จำเลยอ้างว่าหนี้ระงับไปแล้วแต่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ และมิได้รวมอยู่ในประเด็นที่ว่าโจทก์เสียหายเพียงใดหรือไม่ แม้จำเลยจะนำสืบไว้ในศาลชั้นต้นและกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ก็เป็นเรื่องนอกประเด็น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ตามสัญญาจ้างก่อสร้างกำหนดให้โจทก์ผู้รับจ้างต้องให้ธนาคารทำหนังสือค้ำประกันจำนวนร้อยละ 5 ของราคาค่าจ้างเหมานำมามอบให้จำเลยและให้โจทก์ต้องนำหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกัน ของธนาคารในประเทศมามอบให้จำเลยเพื่อเป็นประกันการเบิกเงินล่วงหน้าจำนวนร้อยละ 15 ของค่าจ้างเมื่อวงเงินตามสัญญาจ้างทั้งสองฉบับมีจำนวนถึง 33,900,000 บาท และ 35,350,000 บาท ตามลำดับโจทก์จึงต้องขอเครดิตจากธนาคาร โดยโจทก์ต้องนำเงินร้อยละ50 ที่โจทก์ได้รับล่วงหน้าจากจำเลยมาฝากประจำไว้เป็นประกันและโจทก์ต้องมอบอำนาจให้ธนาคารรับเงินค่าจ้างตามสัญญาจากจำเลยแทนโจทก์การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ล่าช้าทำให้โจทก์ต้องขายลดตั๋วแลกเงินแก่ธนาคารเป็นจำนวนร้อยละ 80 ของจำนวนที่โจทก์ได้รับค่าจ้างแต่ละงวดเพื่อนำมาใช้จ่ายในการก่อสร้างซึ่งโจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยแก่ธนาคารอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีโจทก์จึงได้รับความเสียหายในจำนวนเงินดังกล่าวตามดอกเบี้ยและระยะเวลาที่ล่าช้า ซึ่งโจทก์เคยมีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้โดยแจ้งให้ทราบแล้วว่าโจทก์มีเงินหมุนเวียนไม่เพียงพอ จำเป็นต้องกู้เงินธนาคารและเสียดอกเบี้ยจำนวนมาก กรณีดังกล่าวย่อมถือได้ว่าจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์ที่โจทก์ต้องขอสินเชื่อและหลักประกันทางการเงินจากธนาคารและต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารล่วงหน้าก่อนแล้ว การที่จำเลยจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่โจทก์ล่าช้าทำให้โจทก์เสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษที่จำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายนั้นต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3450/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยไม่สุจริตและเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ ศาลเพิกถอนการโอนและให้ชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยที่ 2 มีอาชีพค้าขายที่ดินและบ้านจัดสรรมาหลายปีแล้วทั้งจำเลยที่ 2 เห็นรั้วอิฐบล็อกที่กั้นที่ดินพิพาทจากทางทิศใต้ไปทางทิศเหนือรวม 2 แนวซึ่งไปจดรั้วของบ้านจำเลยที่ 2 และเห็นการถมดินและอาคารซึ่งเทพื้นคอนกรีตโดยมีโครงหลังคาเหล็กก่อสร้างในที่ดินพิพาทเช่นนี้ จำเลยที่ 2 น่าจะรู้ราคาจริงของที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างว่าเป็นเงินเท่าใด และราคาซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยที่ 2 รับซื้อไว้จากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 900,000 กว่าบาทนั้น ต่ำกว่าราคาซื้อขายที่แท้จริงเพียงใดหรือไม่เพราะตามปกติราคาซื้อขายที่แท้จริงของที่ดินจะสูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานที่ดินประเมินเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม แต่ได้ความตามคำเบิกความของจำเลยที่ 2 เองว่าราคาซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นเงิน 900,000 กว่าบาท ส่วนราคาที่ดินพิพาทซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินประเมินไว้เป็นเงินถึง 1,480,000 บาทดังนั้นถ้าถือตามราคาที่ดินพิพาทที่ซื้อขายกันดังคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาประเมินมากเมื่อพิเคราะห์ประกอบกับการที่จำเลยที่ 2 รู้จักกับจำเลยที่ 1 มาเป็นเวลาหลายปีและจำเลยที่ 2 มีที่ดินติดต่อกันด้วยแล้ว จึงฟังได้ว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นไปโดยไม่สุจริตโดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท ให้จำเลยทั้งสองโอนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ หากโอนไม่ได้จึงให้ชำระค่าเสียหายนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ จึงถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาเป็นต้นไป