พบผลลัพธ์ทั้งหมด 384 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5795/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ-สถาบันการเงิน-ความรับผิด-ค่าเสียหาย-ดุลพินิจศาล: การบ่ายเบี่ยงหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อของสถาบันการเงินทำให้ผู้เช่าซื้อเสียหาย
สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1(ผู้ให้เช่าซื้อ) กับจำเลยที่ 2(ธนาคารผู้รับจำนองที่ดินที่ให้เช่าซื้อ) มีข้อตกลงว่า จำเลยที่ 1ยอมให้จำเลยที่ 2 รับเงินมัดจำ และเงินค่าเช่าซื้อจากผู้เช่าซื้อทุกงวดแทนจำเลยที่ 1 ได้ และเมื่อผู้เช่าซื้อรายใดชำระเงินตามสัญญาเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว จำเลยที่ 2 ยอมปลดจำนองให้แก่ผู้เช่าซื้อรายนั้นทันที เช่นนี้เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก เมื่อปรากฏว่าสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำขึ้นเป็น3 ฉบับ โดยโจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถือไว้คนละฉบับแสดงว่าจำเลยที่ 2 ได้รู้แล้วว่าโจทก์เป็นผู้เช่าซื้อที่ดินจึงถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 2ที่เป็นลูกหนี้แล้วว่าจะถือเอาประโยชน์จากข้อสัญญาดังกล่าวจำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญานั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 เมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนและแจ้งให้จำเลยที่ 2 ปลดจำนอง เพื่อให้จำเลยที่ 1โอนที่ดินให้โจทก์แล้ว แต่จำเลยที่ 2 เพิกเฉยไม่ดำเนินการให้ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้ แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ใช่คู่สัญญากับโจทก์โดยตรง แต่ก็ยอมผูกพันตนในอันที่จะปลดจำนองและจัดการให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้เช่าซื้อที่ชำระราคาให้แก่จำเลยที่ 2 ครบถ้วนแล้ว ตามสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ดังนี้เมื่อโจทก์เป็นผู้เช่าซื้อที่ชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยที่ 2 ครบถ้วนแล้ว และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ปลดจำนองเพื่อจะได้รับโอนโฉนดที่ดินแปลงที่เช่าซื้อแต่จำเลยที่ 2 บ่ายเบี่ยงและต่อมากลับปลดจำนองให้จำเลยที่ 1โดยไม่จัดการให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญา จึงถือได้ว่า จำเลยที่ 2 ละเลยในการปฏิบัติการเพื่อร่วมชำระหนี้ตามสัญญาต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ไม่ได้รับโอนที่ดินที่เช่าซื้อ จำเลยที่ 2ย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย และเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินที่โจทก์เช่าซื้อให้แก่บุคคลอื่นไปทำให้สภาพแห่งการบังคับชำระหนี้ตามสัญญาไม่อาจบังคับได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1รับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ไม่ได้รับโอนที่ดินตามสัญญา การที่โจทก์ไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาเช่าซื้อเป็นเพราะจำเลยที่ 2 ทำผิดหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกดังกล่าว ความเสียหายของโจทก์ที่เกิดจากการไม่ได้ที่ดินตามที่เช่าซื้อทั้งหมดจึงเป็นความเสียหายที่เกิดจากการผิดสัญญาของจำเลยที่ 2 โดยตรง จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดในความเสียหายทั้งหมดร่วมกับจำเลยที่ 1 มิใช่รับผิดเพียงไม่เกินค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 2 รับไว้เท่านั้น เจตนาของโจทก์ที่เช่าซื้อที่ดินก็ต้องการได้ที่ดินไว้เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเป็นสำคัญ การที่โจทก์ไม่อาจบังคับตามสัญญาเพื่อให้ได้ที่ดินนั้นมาตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ย่อมเห็นได้ว่า โจทก์เสียหายมากกว่าจำนวนเงินค่าเช่าซื้อที่ชำระไปแล้วศาลย่อมมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์มากกว่าจำนวนเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระไปแล้วดังกล่าวได้ ค่าฤชาธรรมเนียมนั้น ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 วรรคแรกเมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 2 หวังว่าจะได้รับค่าเช่าซื้อ แต่ไม่ยอมรับรู้หน้าที่ตามสัญญาที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้องทั้ง ๆ ที่การที่โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อเพราะความเชื่อถือจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่อยู่ในความไว้วางใจของประชาชน แต่จำเลยที่ 2 กลับบ่ายเบี่ยงเลี่ยงละหน้าที่จนเกิดความเสียหายแก่โจทก์เช่นนี้ เมื่อปรากฏว่าคดีมีทุนทรัพย์ถึง 513,300 บาท การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้ใช้ค่าทนายความเป็นเงิน 20,000 บาท ย่อมเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5581/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขายสินค้าชำรุด การชดใช้ค่าเสียหายพิเศษจากการส่งมอบสินค้าไปยังต่างประเทศ
โจทก์ซื้อกระป๋องสำหรับบรรจุปลากับน้ำซอส มะเขือเทศ จากจำเลยเมื่อกระป๋องดังกล่าวเป็นสนิมและมีความชำรุดบกพร่องอย่างอื่น ซึ่งเป็นผลมาจากการผลิตของจำเลย อันเป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472 แม้โจทก์จะรับของจากจำเลยโดยไม่อิดเอื้อน แต่ขณะที่มีการส่งมอบของนั้นความชำรุดบกพร่องยังไม่เป็นอันเห็นประจักษ์ จำเลยก็หาพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 473(2) ไม่
จำเลยทราบดีว่าโจทก์ซื้อกระป๋องดังกล่าวเพื่อนำไปขายต่อให้แก่ผู้ซื้อในประเทศพม่า การที่โจทก์ต้องเสียค่าขนส่งกระป๋องทดแทนส่วนที่ชำรุดบกพร่องไปให้ผู้ซื้อเพิ่มเติมจึงเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว แม้โจทก์จะนำสืบจำนวนค่าเสียหายส่วนนี้ไม่ได้ความแน่ชัด ศาลก็กำหนดให้โจทก์ตามควรแก่พฤติการณ์.
จำเลยทราบดีว่าโจทก์ซื้อกระป๋องดังกล่าวเพื่อนำไปขายต่อให้แก่ผู้ซื้อในประเทศพม่า การที่โจทก์ต้องเสียค่าขนส่งกระป๋องทดแทนส่วนที่ชำรุดบกพร่องไปให้ผู้ซื้อเพิ่มเติมจึงเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว แม้โจทก์จะนำสืบจำนวนค่าเสียหายส่วนนี้ไม่ได้ความแน่ชัด ศาลก็กำหนดให้โจทก์ตามควรแก่พฤติการณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5581/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขายต่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า และค่าเสียหายจากการขนส่งทดแทน
โจทก์ซื้อกระป๋องสำหรับบรรจุปลากับน้ำซอส มะเขือเทศ จากจำเลยเมื่อกระป๋องดังกล่าวเป็นสนิมและมีความชำรุดบกพร่องอย่างอื่น ซึ่งเป็นผลมาจากการผลิตของจำเลย อันเป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472 แม้โจทก์จะรับของจากจำเลยโดยไม่อิดเอื้อน แต่ขณะที่มีการส่งมอบของนั้นความชำรุดบกพร่องยังไม่เป็นอันเห็นประจักษ์ จำเลยก็หาพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 473(2) ไม่ จำเลยทราบดีว่าโจทก์ซื้อกระป๋องดังกล่าวเพื่อนำไปขายต่อให้แก่ผู้ซื้อในประเทศพม่า การที่โจทก์ต้องเสียค่าขนส่งกระป๋องทดแทนส่วนที่ชำรุดบกพร่องไปให้ผู้ซื้อเพิ่มเติมจึงเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว แม้โจทก์จะนำสืบจำนวนค่าเสียหายส่วนนี้ไม่ได้ความแน่ชัด ศาลก็กำหนดให้โจทก์ตามควรแก่พฤติการณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4826/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาซื้อขายขวด, เบี้ยปรับ, ความเสียหายจากการส่งมอบขวดชำรุด, และการหักกลบลบหนี้
การที่โจทก์มีหนี้ที่จะต้องผลิตและส่งมอบขวดแก่จำเลย ทุกเดือนนั้นโจทก์ได้ชำระหนี้บางส่วน และผิดสัญญาไม่ชำระหนี้บางส่วน สำหรับส่วนที่โจทก์ชำระให้จำเลยรับไปแล้วนั้น จำเลยต้องชำระหนี้ตอบแทนคิดเป็นเงินตามจำนวนขวดที่รับไว้นั้นแก่โจทก์ จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ ส่งมอบขวดไม่ครบ จึงไม่ต้องชำระเงินแก่โจทก์หาได้ไม่ส่วนข้อกำหนดในสัญญาที่ว่าถ้าโจทก์ไม่สามารถส่งมอบขวดได้ตามสัญญาให้ โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยเท่าราคาขวดทั้งหมด ที่ยังค้างส่งอยู่ในงวดนั้น ๆ เป็นเพียงการกำหนดเบี้ยปรับ สำหรับบังคับเอาแก่จำเลยในกรณีที่โจทก์ไม่ชำระหนี้เท่านั้น จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ยังไม่ชำระเบี้ยปรับ จำเลยจึงไม่ต้อง ชำระค่าขวดหาได้ไม่เช่นกัน ดังนั้น เมื่อจำเลยยอมรับมอบ ขวดบางส่วนจากโจทก์แล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้ค่าขวดดังกล่าว จึงเป็นการผิดสัญญา ชอบที่โจทก์จะฟ้องบังคับจำเลยชำระหนี้นั้นได้
เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ส่งมอบขวดบางส่วน โจทก์ก็ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายอันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้นั้นแก่จำเลยและในเมื่อสัญญาได้กำหนดค่าเสียหาย ไว้ล่วงหน้าในลักษณะที่ เป็นเบี้ยปรับแล้ว เช่นนี้ จำเลยย่อมเรียกเอาเบี้ยปรับนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสองซึ่งหากเป็นจำนวนสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตามมาตรา 373 วรรคแรก
ค่าน้ำมันพืชรั่วซึม เสียหายนั้น ปรากฏว่าอย่างช้าในวันสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2524 การรั่วซึม ของขวดที่ชำรุดบกพร่องจำนวนประมาณ 30,000 ใบได้ปรากฏแก่จำเลยจนหมดสิ้นแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายส่วนนี้เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2526 จึงพ้นกำหนดเวลา 1 ปีนับแต่วันที่ความชำรุดบกพร่องปรากฏขึ้น ฟ้องแย้งของจำเลยข้อนี้จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 601 แล้ว
ค่าใช้จ่ายและค่าจ้างคนงานในการตรวจสอบคุณภาพขวดของจำเลยเป็นค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์สินค้าว่าชำรุดบกพร่องหรือไม่ หากชำรุดบกพร่องจำเลยก็จะไม่รับมอบและคืนแก่โจทก์ ย่อมเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าตามปกติทั่วไปและเป็นประโยชน์แก่จำเลยฝ่ายเดียว และไม่ว่า โจทก์จะส่งมอบขวดที่ชำรุดบกพร่องหรือไม่ จำเลยก็คงต้องจ้าง คนงานตรวจคุณภาพขวดอยู่นั่นเอง หาใช่เป็นค่าเสียหาย เพราะโจทก์ส่งมอบขวดที่ชำรุดบกพร่องเป็นกรณีพิเศษไม่ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่จำเลย
จำเลยมิได้เพียงแต่นำน้ำมันพืชบรรจุขวดอย่างใหม่ออกจำหน่ายแก่ลูกค้าตามปกติ แต่ได้ดำเนินกิจการขยายตลาดด้วยการลงทุนโฆษณาเป็นพิเศษควบคู่ไปด้วยโดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบ การลงทุนโฆษณาสินค้านี้เป็นพฤติการณ์พิเศษอย่างหนึ่งในการดำเนินกิจการค้าของจำเลย เมื่อโจทก์ส่งมอบขวดไม่ครบ ทำให้จำเลยขยายตลาดไม่ได้ และต้องสูญเสียเงินค่าโฆษณาสินค้า ไปโดยไม่มีสินค้าจำหน่าย ความเสียหายของจำเลยในค่าโฆษณาสินค้า จึงไม่ใช่ความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การที่ โจทก์ไม่ชำระหนี้ แต่เป็นความเสียหายที่เกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งโจทก์มิได้คาดเห็นหรือควรได้คาดเห็นล่วงหน้า จำเลย จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาจากโจทก์ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง
การที่จำเลยคาดหวังว่าจะใช้ขวดบรรจุน้ำมันพืชแล้วนำไปขายได้กำไรขวดละ 3.80 บาท นั้น เป็นเรื่องของอนาคตที่ไม่แน่นอนว่าจำเลยจะขายมีกำไรตามที่คาดหมายหรือไม่ทั้งเป็นพฤติการณ์พิเศษซึ่งจำเลยไม่เคยแจ้งให้โจทก์ทราบมาก่อน และโจทก์ไม่อาจคาดเห็นหรือควรคาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้น ได้ล่วงหน้า จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดกำไรส่วน นี้จาก โจทก์เช่นกัน
เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ส่งมอบขวดบางส่วน โจทก์ก็ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายอันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้นั้นแก่จำเลยและในเมื่อสัญญาได้กำหนดค่าเสียหาย ไว้ล่วงหน้าในลักษณะที่ เป็นเบี้ยปรับแล้ว เช่นนี้ จำเลยย่อมเรียกเอาเบี้ยปรับนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสองซึ่งหากเป็นจำนวนสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตามมาตรา 373 วรรคแรก
ค่าน้ำมันพืชรั่วซึม เสียหายนั้น ปรากฏว่าอย่างช้าในวันสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2524 การรั่วซึม ของขวดที่ชำรุดบกพร่องจำนวนประมาณ 30,000 ใบได้ปรากฏแก่จำเลยจนหมดสิ้นแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายส่วนนี้เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2526 จึงพ้นกำหนดเวลา 1 ปีนับแต่วันที่ความชำรุดบกพร่องปรากฏขึ้น ฟ้องแย้งของจำเลยข้อนี้จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 601 แล้ว
ค่าใช้จ่ายและค่าจ้างคนงานในการตรวจสอบคุณภาพขวดของจำเลยเป็นค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์สินค้าว่าชำรุดบกพร่องหรือไม่ หากชำรุดบกพร่องจำเลยก็จะไม่รับมอบและคืนแก่โจทก์ ย่อมเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าตามปกติทั่วไปและเป็นประโยชน์แก่จำเลยฝ่ายเดียว และไม่ว่า โจทก์จะส่งมอบขวดที่ชำรุดบกพร่องหรือไม่ จำเลยก็คงต้องจ้าง คนงานตรวจคุณภาพขวดอยู่นั่นเอง หาใช่เป็นค่าเสียหาย เพราะโจทก์ส่งมอบขวดที่ชำรุดบกพร่องเป็นกรณีพิเศษไม่ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่จำเลย
จำเลยมิได้เพียงแต่นำน้ำมันพืชบรรจุขวดอย่างใหม่ออกจำหน่ายแก่ลูกค้าตามปกติ แต่ได้ดำเนินกิจการขยายตลาดด้วยการลงทุนโฆษณาเป็นพิเศษควบคู่ไปด้วยโดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบ การลงทุนโฆษณาสินค้านี้เป็นพฤติการณ์พิเศษอย่างหนึ่งในการดำเนินกิจการค้าของจำเลย เมื่อโจทก์ส่งมอบขวดไม่ครบ ทำให้จำเลยขยายตลาดไม่ได้ และต้องสูญเสียเงินค่าโฆษณาสินค้า ไปโดยไม่มีสินค้าจำหน่าย ความเสียหายของจำเลยในค่าโฆษณาสินค้า จึงไม่ใช่ความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การที่ โจทก์ไม่ชำระหนี้ แต่เป็นความเสียหายที่เกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งโจทก์มิได้คาดเห็นหรือควรได้คาดเห็นล่วงหน้า จำเลย จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาจากโจทก์ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง
การที่จำเลยคาดหวังว่าจะใช้ขวดบรรจุน้ำมันพืชแล้วนำไปขายได้กำไรขวดละ 3.80 บาท นั้น เป็นเรื่องของอนาคตที่ไม่แน่นอนว่าจำเลยจะขายมีกำไรตามที่คาดหมายหรือไม่ทั้งเป็นพฤติการณ์พิเศษซึ่งจำเลยไม่เคยแจ้งให้โจทก์ทราบมาก่อน และโจทก์ไม่อาจคาดเห็นหรือควรคาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้น ได้ล่วงหน้า จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดกำไรส่วน นี้จาก โจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4826/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายขวดกับน้ำมันพืช: เบี้ยปรับ, การลดจำนวน, และความรับผิด
การที่โจทก์มีหนี้ที่จะต้องผลิตและส่งมอบขวดแก่จำเลย ทุกเดือนนั้นโจทก์ได้ชำระหนี้บางส่วน และผิดสัญญาไม่ชำระหนี้บางส่วน สำหรับส่วนที่โจทก์ชำระให้จำเลยรับไปแล้วนั้น จำเลยต้องชำระหนี้ตอบแทนคิดเป็นเงินตามจำนวนขวดที่รับไว้นั้นแก่โจทก์ จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ ส่งมอบขวดไม่ครบ จึงไม่ต้องชำระเงินแก่โจทก์หาได้ไม่ส่วนข้อกำหนดในสัญญาที่ว่าถ้าโจทก์ไม่สามารถส่งมอบขวดได้ตามสัญญาให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยเท่าราคาขวดทั้งหมด ที่ยังค้างส่งอยู่ในงวดนั้น ๆ เป็นเพียงการกำหนดเบี้ยปรับ สำหรับบังคับเอาแก่จำเลยในกรณีที่โจทก์ไม่ชำระหนี้เท่านั้น จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ยังไม่ชำระเบี้ยปรับ จำเลยจึงไม่ต้อง ชำระค่าขวดหาได้ไม่เช่นกัน ดังนั้น เมื่อจำเลยยอมรับมอบ ขวดบางส่วนจากโจทก์แล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้ค่าขวดดังกล่าว จึงเป็นการผิดสัญญา ชอบที่โจทก์จะฟ้องบังคับจำเลยชำระหนี้นั้นได้ เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ส่งมอบขวดบางส่วน โจทก์ก็ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายอันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้นั้นแก่จำเลยและในเมื่อสัญญาได้กำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในลักษณะที่ เป็นเบี้ยปรับแล้ว เช่นนี้ จำเลยย่อมเรียกเอาเบี้ยปรับนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสองซึ่งหากเป็นจำนวนสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตามมาตรา 373 วรรคแรก ค่าน้ำมันพืชรั่วซึม เสียหายนั้น ปรากฏว่าอย่างช้าในวันสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2524 การรั่วซึม ของขวดที่ชำรุดบกพร่องจำนวนประมาณ 30,000 ใบได้ปรากฏแก่จำเลยจนหมดสิ้นแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายส่วนนี้เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2526 จึงพ้นกำหนดเวลา 1 ปีนับแต่วันที่ความชำรุดบกพร่องปรากฏขึ้น ฟ้องแย้งของจำเลยข้อนี้จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 601 แล้ว ค่าใช้จ่ายและค่าจ้างคนงานในการตรวจสอบคุณภาพขวดของจำเลยเป็นค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์สินค้าว่าชำรุดบกพร่องหรือไม่ หากชำรุดบกพร่องจำเลยก็จะไม่รับมอบและคืนแก่โจทก์ ย่อมเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าตามปกติทั่วไปและเป็นประโยชน์แก่จำเลยฝ่ายเดียว และไม่ว่า โจทก์จะส่งมอบขวดที่ชำรุดบกพร่องหรือไม่ จำเลยก็คงต้องจ้าง คนงานตรวจคุณภาพขวดอยู่นั่นเอง หาใช่เป็นค่าเสียหาย เพราะโจทก์ส่งมอบขวดที่ชำรุดบกพร่องเป็นกรณีพิเศษไม่ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่จำเลย จำเลยมิได้เพียงแต่นำน้ำมันพืชบรรจุขวดอย่างใหม่ออกจำหน่ายแก่ลูกค้าตามปกติ แต่ได้ดำเนินกิจการขยายตลาดด้วยการลงทุนโฆษณาเป็นพิเศษควบคู่ไปด้วยโดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบ การลงทุนโฆษณาสินค้านี้เป็นพฤติการณ์พิเศษอย่างหนึ่งในการดำเนินกิจการค้าของจำเลย เมื่อโจทก์ส่งมอบขวดไม่ครบ ทำให้จำเลยขยายตลาดไม่ได้ และต้องสูญเสียเงินค่าโฆษณาสินค้า ไปโดยไม่มีสินค้าจำหน่าย ความเสียหายของจำเลยในค่าโฆษณาสินค้า จึงไม่ใช่ความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การที่ โจทก์ไม่ชำระหนี้ แต่เป็นความเสียหายที่เกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งโจทก์มิได้คาดเห็นหรือควรได้คาดเห็นล่วงหน้า จำเลย จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาจากโจทก์ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง การที่จำเลยคาดหวังว่าจะใช้ขวดบรรจุน้ำมันพืชแล้วนำไปขายได้กำไรขวดละ 3.80 บาท นั้น เป็นเรื่องของอนาคตที่ไม่แน่นอนว่าจำเลยจะขายมีกำไรตามที่คาดหมายหรือไม่ทั้งเป็นพฤติการณ์พิเศษซึ่งจำเลยไม่เคยแจ้งให้โจทก์ทราบมาก่อน และโจทก์ไม่อาจคาดเห็นหรือควรคาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้น ได้ล่วงหน้า จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดกำไรส่วน นี้จาก โจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3350/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกจ้างต่อความเสียหายจากการอนุมัติสินเชื่อโดยมิชอบ และการประเมินค่าเสียหายจากหลักประกัน
เมื่อฟัง ว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์ได้ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงาน คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงานกลาง และมีอายุความ 10 ปี จำเลยเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่อนุมัติสินเชื่อของบริษัทโจทก์ได้อนุมัติให้ลูกค้าของโจทก์กู้เงินไปจากโจทก์โดยผิดขั้นตอนหลักเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติจำนวน 16,300,000 บาท โดยมีที่ดินจำนองไว้เป็นประกันตามราคาประเมินเพียง 4,618,500 บาท โจทก์ติดตามขอรับชำระหนี้จากลูกค้าของโจทก์ได้เพียง 31,041.09 บาทเท่านั้นเช่นนี้ จำเลยต้องรับผิดใช้คืน เงินต้น ที่เรียกเก็บจากลูกค้าไม่ได้จำนวน 16,268,958.91 บาท ให้แก่โจทก์ ส่วนที่ดิน 9 แปลงที่ลูกค้าจำนองไว้เป็นประกันนั้นโจทก์สามารถบังคับมาชำระหนี้ได้ส่วนหนึ่งจึงต้องนำมาหักออกจากจำนวนเงินที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วยแต่เนื่องจากที่ดินทั้ง 9 แปลงนี้อาจจะมีราคาสูงขึ้นเมื่อมีการบังคับจำนอง ราคาประเมิน 4,618,500 บาท จึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริงในการประเมินค่าเสียหาย จะนำมาหักออกจากความรับผิดของจำเลยเพียงเท่าราคาประเมินไม่ได้ ถ้า มีการบังคับจำนองที่ดินทั้ง 9 แปลงนั้นได้มากกว่าราคาประเมิน จะต้องนำราคาส่วนที่เกินนี้มาหักออกจากค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ด้วย ดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากลูกค้าในอัตราร้อยละ 18ต่อปีนั้น เป็นอัตราที่กำหนดไว้ตามสัญญากู้ระหว่างโจทก์กับลูกค้าแต่คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกดอกเบี้ยตามสัญญากู้จากจำเลย คงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามกฎหมายในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3024/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าสำนักโรงแรมต่อความเสียหายของทรัพย์สินแขก และการคำนวณค่าเสียหายที่เหมาะสม
ในการฟ้องให้จำเลยให้รับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าสำนักโรงแรมที่โจทก์พักและนำรถยนต์ที่โจทก์เช่าซื้อมาจอดไว้ที่ลานจอดรถบริเวณโรงแรมโดยสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ท้ายฟ้องไม่มีลายมือของผู้ให้เช่าซื้อก็ไม่ทำให้ฟ้องเสียไป สัญญาเช่าซื้อทำขึ้นโดยชอบหรือไม่เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องนำไปสืบในชั้นพิจารณา บริษัท ส. ได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการโรงแรมโดยมีจำเลยเป็นเจ้าสำนักโรงแรม จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของสำนักโรงแรมต้องรับผิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 674,675 จำเลยจะอ้างไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวเพราะเป็นตัวแทนของบริษัท ส. ไม่ได้ ค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องรับผิดในการที่รถยนต์ของโจทก์สูญหายคือราคารถยนต์ ซึ่งต้องถือเอาราคาที่อาจซื้อขายกันได้ตามปกติในเวลาที่สูญหาย โจทก์เช่าซื้อรถยนต์ผู้ให้เช่าซื้อบวกดอกเบี้ยไว้ในราคาด้วยทำให้ราคารถยนต์สูงกว่าราคาปกติที่ซื้อขายกัน การเสียดอกเบี้ยนั้นถือว่าเป็นภาระส่วนตัวเป็นพิเศษของผู้เช่าซื้อจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินส่วนที่เป็นดอกเบี้ย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยผิดสัญญาขายฝาก ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามสมควร แม้โจทก์พิสูจน์ความเสียหายไม่ได้ทั้งหมด
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แม้โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าได้รับความเสียหายตามจำนวนที่ฟ้อง ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายได้ตามสมควร
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรับเงิน 600,000 บาทและจดทะเบียนไถ่ถอนขายฝากที่ดินแก่โจทก์ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับการไถ่ถอนการขายฝากจากโจทก์ในจำนวนเงิน 600,000 บาท โดยกำหนดให้โจทก์วางเงินสินไถ่จำนวนดังกล่าวต่อศาลภายใน 30 วัน หาได้ไม่เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรับเงิน 600,000 บาทและจดทะเบียนไถ่ถอนขายฝากที่ดินแก่โจทก์ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับการไถ่ถอนการขายฝากจากโจทก์ในจำนวนเงิน 600,000 บาท โดยกำหนดให้โจทก์วางเงินสินไถ่จำนวนดังกล่าวต่อศาลภายใน 30 วัน หาได้ไม่เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยผิดสัญญาขายฝาก ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามสมควร แม้โจทก์มิได้พิสูจน์ความเสียหายตามฟ้อง
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้อง รับผิดใช้ ค่าเสียหายแก่โจทก์แม้โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าได้ รับความเสียหายตาม จำนวนที่ฟ้อง ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายได้ตาม สมควร โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรับเงิน 600,000 บาทและจดทะเบียนไถ่ถอนขายฝากที่ดินแก่โจทก์ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับการไถ่ถอนการขายฝากจากโจทก์ในจำนวนเงิน 600,000 บาท โดย กำหนดให้โจทก์วางเงินสินไถ่จำนวนดังกล่าวต่อ ศาลภายใน 30 วันหาได้ไม่เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2307/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา: ฝ่ายผิดสัญญา, การบอกเลิกสัญญา, ค่าเสียหาย, และการกลั่นแกล้งของเจ้าหน้าที่
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ฉ. ไม่มีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ แต่คำให้การของจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้ คงมีจำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธไว้เพียงว่า ฉ. จะมีอำนาจฟ้องแทนโจทก์หรือไม่อย่างไร จำเลยที่ 2ไม่ทราบและไม่รับรอง คำให้การดังกล่าวมิได้แสดงโดยแจ้งชัดว่าปฏิเสธอำนาจฟ้องของโจทก์ข้อใดและมิได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธดังนี้ คดีไม่มีประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง สัญญาก่อสร้างมีกำหนดแล้วเสร็จภายใน 360 วัน โจทก์ได้ต่ออายุสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 ออกไปอีก 120 วัน ครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 ก่อสร้างไม่เสร็จ จำเลยที่ 1 มีหนังสือบอกเลิกสัญญากับโจทก์ต่อมาโจทก์ก็มีหนังสือบอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถทำการก่อสร้างให้เสร็จได้ภายในกำหนดสัญญาทั้ง ๆ ที่โจทก์ก็ได้ต่ออายุสัญญาให้ครั้งหนึ่งแล้วจำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนี้ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 ได้ โจทก์จ้าง จ. ก่อสร้างอาคารโรงเรียนบ้านเตาไท และโรงเรียนบ้านนารายณ์ เพิ่มเติมต่อจากที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างค้างไว้ กับก่อสร้างอาคารโรงเรียนบ้านดอนจันทร์ รวมเป็นเงิน1,350,000 บาท เท่ากับจำนวนเงินที่เหลือตามสัญญาจ้างกับจำเลยที่ 1 พอดี โจทก์ดำเนินการก่อสร้างโดยชอบด้วยระเบียบของทางราชการจึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงที่โจทก์ได้รับเนื่องจากจำเลยที่ 1ผิดสัญญาจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าก่อสร้างส่วนนี้.