พบผลลัพธ์ทั้งหมด 384 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18292/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขาย: การคำนวณค่าขาดกำไรที่คาดว่าจะได้รับ
แม้จำเลยจะทราบว่าโจทก์ประกอบกิจการซื้อสินค้าเพื่อนำไปขายแก่ลูกค้าของโจทก์ต่อไปก็ตาม แต่ก็ไม่แน่ว่าโจทก์จะตกลงขายสินค้าแก่ลูกค้าไว้ก่อน หรือมีข้อผูกพันที่จะต้องชำระค่าปรับแก่ลูกค้าของโจทก์แล้วหรือไม่ การที่จำเลยไม่ส่งสินค้าแก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขาย จนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องชำระค่าปรับแก่ลูกค้าของโจทก์ จึงมิใช่ค่าเสียหายที่คาดหมายไว้ว่าจะต้องเกิดขึ้นเสมอไปอันถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายในพฤติการณ์พิเศษซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดต่อเมื่อได้คาดหมายหรือควรคาดหมายถึงพฤติการณ์เช่นนั้นก่อนแล้ว ทั้งตามพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ทราบหรือคาดคิดหรือควรคาดคิดมาก่อนแล้วว่าหากจำเลยไม่ส่งสินค้าให้โจทก์แล้ว โจทก์ต้องเสียค่าปรับแก่ลูกค้า จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายส่วนนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2423/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารมีหน้าที่คืนเงินฝากตามสัญญา แม้ผู้ฝากเสียชีวิต สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากความล่าช้าในการคืนเงิน
ประเด็นข้อพิพาทมีว่า จำเลยมีสิทธิระงับการเบิกถอนเงินของโจทก์จากบัญชีพิพาทหรือไม่ ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า ผู้ฝากเงินกับธนาคารมีนิติสัมพันธ์กันตามลักษณะฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 บัญชีพิพาทถือมิได้ว่าเป็นบัญชีเงินฝากของ ท. ดังนั้น จำเลยผู้รับฝากเงินจึงไม่มีสิทธิระงับการเบิกถอนเงินของโจทก์ผู้ฝากเงินจากบัญชีพิพาท เมื่อโจทก์ขอเบิกถอนเงินจำเลยต้องคืนเงินฝากให้แก่โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า เมื่อโจทก์ปิดบัญชีพิพาทกับจำเลยย่อมทำให้จำเลยเป็นผู้ทรงสิทธิในการคืนเงินแก่โจทก์ และมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้ได้โดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 เท่ากับวินิจฉัยในประเด็นว่าจำเลยมีสิทธิยึดหน่วงเงินฝากในบัญชีพิพาทหรือไม่ ทั้งเป็นการก้าวล่วงไปวินิจฉัยในเรื่องมรดกว่าจำเลยมีสิทธิยึดหน่วงเงินฝากเพื่อคุณประโยชน์ของทายาทอื่นของ ท. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก อันเป็นการนอกเหนือไปจากที่ ป.พ.พ. มาตรา 241 บัญญัติไว้ว่า ให้ยึดหน่วงได้เฉพาะหนี้อันเป็นคุณประโยชน์กับคู่กรณีเท่านั้นจึงเป็นการผิดไปจากที่กฎหมายกำหนดไว้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่โจทก์และจำเลยโต้แย้งกัน รวมทั้งก้าวล่วงไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงเรื่องเอกสารการเปิดบัญชีเงินฝากประจำของ ท. ที่ตามคำฟ้องของโจทก์และจำเลยไม่ได้โต้เถียงกันให้เห็นเป็นอย่างอื่นอีกด้วยว่ามีลักษณะเป็นการหลอกลวงหรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้จึงเป็นการวินิจฉัยเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องและคำให้การ เป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้แม้โจทก์ไม่ได้ยกขึ้นฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 และเมื่อปรากฏว่าคดีมีพยานหลักฐานเพียงพอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยต่อไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
หลังจากโจทก์เบิกเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของ ท. บิดาโจทก์ไปแล้ว แม้ว่าต่อมาโจทก์นำเงินมาฝากตามบัญชีพิพาทในนามของโจทก์ เท่ากับโจทก์เป็นผู้ฝากเงินตามบัญชีพิพาท ส่วนปัญหาที่ว่าเงินในบัญชีพิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ บรรดาทายาทต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหากไม่เกี่ยวกับคดีนี้ นอกจากนี้ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น มีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ซึ่งตามคำให้การของจำเลย จำเลยรับว่าจะคืนเงินให้แก่ทายาทที่ศาลมีคำสั่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ต่อไป เงื่อนไขอันเป็นข้อต่อสู้เรื่องระงับการเบิกถอนเงินของจำเลยหมดสิ้นไปแล้วส่วนการที่โจทก์เบิกเงินฝากประจำของ ท. ไปก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ท. และจำเลยยินยอมให้โจทก์เบิกเงินดังกล่าวไปได้ ก็ถือเป็นการยอมรับความเสี่ยงภัยของจำเลยเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 วรรคสอง ไม่เกี่ยวกับบัญชีเงินฝากพิพาท ดังนั้น เมื่อโจทก์ประสงค์จะถอนเงินฝากจากบัญชีพิพาท จำเลยก็ต้องคืนให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 วรรคสอง เมื่อโจทก์ไปยื่นคำขอเบิกเงินจากบัญชีพิพาทจากจำเลยครั้งแรก แต่จำเลยระงับการจ่ายเงินให้แก่โจทก์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาจากการที่จำเลยไม่ยินยอมให้โจทก์ถอนเงินฝากโดยอ้างว่าโจทก์ได้รับความเดือดร้อนขอค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 350,000 บาท และโจทก์ไม่สามารถนำเงินจากบัญชีพิพาทไปร่วมลงทุนกับญาติทำการค้าขายเครื่องยนต์เก่าและเครื่องมือช่างได้ ทำให้ขาดกำไรเป็นเงินวันละ 1,000 บาท ถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากพฤติการณ์พิเศษซึ่งคู่กรณีต้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นก่อนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง แต่โจทก์มิได้นำสืบว่าจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นว่าโจทก์จะได้รับความเสียหายดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ให้แก่โจทก์
โจทก์มีคำขอท้ายคำฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง แต่ศาลชั้นต้นกำหนดดอกเบี้ยให้นับแต่วันทำละเมิดซึ่งเกินคำขอจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข ส่วนดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องจำเลยยอมรับมาในคำให้การว่าจำเลยยินยอมชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตลอดเวลาที่ฝากเงินโดยในขณะยื่นคำให้การอัตราร้อยละ 3.25 ต่อปี ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องตามที่จำเลยยอมรับ
หลังจากโจทก์เบิกเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของ ท. บิดาโจทก์ไปแล้ว แม้ว่าต่อมาโจทก์นำเงินมาฝากตามบัญชีพิพาทในนามของโจทก์ เท่ากับโจทก์เป็นผู้ฝากเงินตามบัญชีพิพาท ส่วนปัญหาที่ว่าเงินในบัญชีพิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ บรรดาทายาทต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหากไม่เกี่ยวกับคดีนี้ นอกจากนี้ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น มีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ซึ่งตามคำให้การของจำเลย จำเลยรับว่าจะคืนเงินให้แก่ทายาทที่ศาลมีคำสั่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ต่อไป เงื่อนไขอันเป็นข้อต่อสู้เรื่องระงับการเบิกถอนเงินของจำเลยหมดสิ้นไปแล้วส่วนการที่โจทก์เบิกเงินฝากประจำของ ท. ไปก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ท. และจำเลยยินยอมให้โจทก์เบิกเงินดังกล่าวไปได้ ก็ถือเป็นการยอมรับความเสี่ยงภัยของจำเลยเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 วรรคสอง ไม่เกี่ยวกับบัญชีเงินฝากพิพาท ดังนั้น เมื่อโจทก์ประสงค์จะถอนเงินฝากจากบัญชีพิพาท จำเลยก็ต้องคืนให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 วรรคสอง เมื่อโจทก์ไปยื่นคำขอเบิกเงินจากบัญชีพิพาทจากจำเลยครั้งแรก แต่จำเลยระงับการจ่ายเงินให้แก่โจทก์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาจากการที่จำเลยไม่ยินยอมให้โจทก์ถอนเงินฝากโดยอ้างว่าโจทก์ได้รับความเดือดร้อนขอค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 350,000 บาท และโจทก์ไม่สามารถนำเงินจากบัญชีพิพาทไปร่วมลงทุนกับญาติทำการค้าขายเครื่องยนต์เก่าและเครื่องมือช่างได้ ทำให้ขาดกำไรเป็นเงินวันละ 1,000 บาท ถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากพฤติการณ์พิเศษซึ่งคู่กรณีต้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นก่อนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง แต่โจทก์มิได้นำสืบว่าจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นว่าโจทก์จะได้รับความเสียหายดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ให้แก่โจทก์
โจทก์มีคำขอท้ายคำฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง แต่ศาลชั้นต้นกำหนดดอกเบี้ยให้นับแต่วันทำละเมิดซึ่งเกินคำขอจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข ส่วนดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องจำเลยยอมรับมาในคำให้การว่าจำเลยยินยอมชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตลอดเวลาที่ฝากเงินโดยในขณะยื่นคำให้การอัตราร้อยละ 3.25 ต่อปี ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องตามที่จำเลยยอมรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2147/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจำกัดเฉพาะผลโดยตรง การทวงหนี้และดำเนินคดีไม่ใช่ค่าเสียหายโดยตรง
ค่าเสียหายเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นจากการไม่ชำระหนี้ซึ่งลูกหนี้ต้องรับผิดนั้นเป็นค่าเสียหายซึ่งเป็นผลธรรมดาหรือผลโดยตรงจากการไม่ชำระหนี้ แต่ค่าใช้จ่ายในการทวงถามหนี้และฟ้องคดี รวมถึงค่าใช้จ่ายในการฟ้องอุทธรณ์ฎีกาและบังคับคดีมิใช่ผลเกิดขึ้นโดยตรงจากการผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ และไม่ใช่ความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษอันลูกหนี้อาจคาดเห็นหรือควรได้คาดเห็น ทั้งไม่มีกฎหมายบังคับให้ฝ่ายผิดนัดผิดสัญญาต้องรับผิดในค่าใช้จ่ายดังกล่าวด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายดังกล่าว
ป.วิ.พ. มาตรา 161 บัญญัติให้ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี แต่อย่างไรก็ดีให้เป็นดุลพินิจของศาลโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง โจทก์เป็นผู้อุทธรณ์และเป็นฝ่ายแพ้คดีในชั้นอุทธรณ์การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์เป็นพับจึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว
ป.วิ.พ. มาตรา 161 บัญญัติให้ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี แต่อย่างไรก็ดีให้เป็นดุลพินิจของศาลโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง โจทก์เป็นผู้อุทธรณ์และเป็นฝ่ายแพ้คดีในชั้นอุทธรณ์การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์เป็นพับจึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2561/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับในสัญญาซื้อขาย: ศาลใช้ดุลพินิจลดค่าปรับหากสูงเกินส่วน และต้องพิสูจน์ความเสียหายจริง
โจทก์ทำสัญญาซื้อยางแอสฟัลต์ซีเมนต์จากจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบสินค้าดังกล่าวให้ถูกต้องตามสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาริบหลักประกันและในระหว่างที่ยังไม่บอกเลิกสัญญาจำเลยที่ 1 ยินยอมให้โจทก์ปรับเป็นรายวันอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสินค้าที่ยังไม่ส่งมอบนับแต่วันครบกำหนดส่งมอบถึงวันบอกเลิกสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ตามกำหนดในสัญญา โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาในทันที แต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 ส่งสินค้าและแจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับ จำเลยที่ 1 มีหนังสือตอบรับยินยอมชำระค่าปรับตามสัญญา พฤติการณ์ถือได้ว่าความเสียหายพิเศษของโจทก์ในส่วนนี้ จำเลยที่ 1 ได้คาดเห็นแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 จำเลยที่ 1 จึงมีความผูกพันต้องชำระค่าปรับตามสัญญาเป็นรายวัน
โจทก์เป็นส่วนราชการจะได้รับความเสียหายจากงานของราชการไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการซึ่งเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษนั้น จะต้องเป็นเรื่องที่คู่ความได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง และคู่กรณีจะต้องรับข้อเท็จจริงกันหรือนำพยานหลักฐานมาสืบให้ปรากฏ แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบให้ศาลเห็นว่าโจทก์เสียหายเป็นพิเศษอย่างไร จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องในส่วนนี้
โจทก์เป็นส่วนราชการจะได้รับความเสียหายจากงานของราชการไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการซึ่งเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษนั้น จะต้องเป็นเรื่องที่คู่ความได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง และคู่กรณีจะต้องรับข้อเท็จจริงกันหรือนำพยานหลักฐานมาสืบให้ปรากฏ แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบให้ศาลเห็นว่าโจทก์เสียหายเป็นพิเศษอย่างไร จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6288/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาสำเร็จรูป, ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม, ค่าติดตามทวงถาม, ค่าบริการระหว่างระงับบริการ, สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา
สัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมอันเป็นสัญญาสำเร็จรูปซึ่งโจทก์ทำกับจำเลยที่กำหนดว่า ผู้ใช้บริการยินยอมชำระค่าติดตามทวงถาม ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย และค่าทนายความ ฯ ที่บริษัทต้องเสียไปในการติดตามทวงถามหรือเรียกร้องค่าใช้บริการที่ค้างชำระและฟ้องร้องเกี่ยวกับการผิดสัญญาให้แก่บริษัท ฯ จนครบถ้วน มีลักษณะเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 215 ซึ่งการเรียกเอาค่าเสียหายนั้น ย่อมได้แก่เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคแรก เช่นค่าติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามปกติย่อมกระทำโดยมีหนังสือทวงถามส่งไปโดยพนักงานเป็นผู้ส่งหรือส่งไปทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือโดยวิธีอื่น ซึ่งหากจำเลยจ่ายไปจริงย่อมเป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้ ดังนั้นข้อตกลงที่กำหนดให้โจทก์ต้องชำระค่าติดตามทวงถามดังกล่าว จึงไม่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ อันถือได้ว่าเป็นข้อตกลงที่ทำให้จำเลยได้เปรียบโจทก์และเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 จำเลยมีสิทธิเรียกเอาค่าติดตามทวงถามจากโจทก์ได้ แต่ค่าติดตามทวงถามที่จำเลยคิดในอัตราร้อยละ 15 ของจำนวนหนี้ที่ค้างชำระทั้งหมดเป็นการแน่นอน จะเป็นความเสียหายตามสมควรเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้หรือไม่ เป็นข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์ขออนุญาตอุทธรณ์เฉพาะข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ไม่ได้
โจทก์ทำสัญญากับจำเลยใช้บริการแบบเหมาจ่ายอัตรา 750 ต่อเดือน ซึ่งการเหมาจ่ายค่าใช้บริการเช่นนี้โจทก์จะได้ประโยชน์จากการใช้บริการตามระยะเวลาการใช้บริการโดยมีจำนวนเวลาการใช้นานกว่าการใช้บริการตามปกติ ทั้งได้รับสิทธิพิเศษในการเสียค่าบริการต่อนาทีที่ถูกกว่าโดยไม่จำกัดระยะทางทั่วประเทศ ลักษณะของสัญญาประเภทนี้มีส่วนที่เป็นประโยชน์แก่โจทก์ผู้ใช้บริการมากกว่าสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมตามปกติอยู่ด้วย แต่โจทก์ก็มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการใช้บริการที่ทำสัญญากับจำเลยเช่นกัน การที่โจทก์ไม่ชำระค่าบริการตามที่ตกลงกัน โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิระงับการใช้บริการได้ก่อนครบกำหนดระยะเวลาและเรียกค่าใช้บริการตามระเบียบการใช้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าข้อ 4.1 ข้อตกลงในสัญญาสำเร็จรูปดังกล่าวหาใช่ข้อตกลงที่ทำให้จำเลยซึ่งเป็นผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูปได้เปรียบโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควรไม่ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 4
โจทก์ทำสัญญากับจำเลยใช้บริการแบบเหมาจ่ายอัตรา 750 ต่อเดือน ซึ่งการเหมาจ่ายค่าใช้บริการเช่นนี้โจทก์จะได้ประโยชน์จากการใช้บริการตามระยะเวลาการใช้บริการโดยมีจำนวนเวลาการใช้นานกว่าการใช้บริการตามปกติ ทั้งได้รับสิทธิพิเศษในการเสียค่าบริการต่อนาทีที่ถูกกว่าโดยไม่จำกัดระยะทางทั่วประเทศ ลักษณะของสัญญาประเภทนี้มีส่วนที่เป็นประโยชน์แก่โจทก์ผู้ใช้บริการมากกว่าสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมตามปกติอยู่ด้วย แต่โจทก์ก็มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการใช้บริการที่ทำสัญญากับจำเลยเช่นกัน การที่โจทก์ไม่ชำระค่าบริการตามที่ตกลงกัน โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิระงับการใช้บริการได้ก่อนครบกำหนดระยะเวลาและเรียกค่าใช้บริการตามระเบียบการใช้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าข้อ 4.1 ข้อตกลงในสัญญาสำเร็จรูปดังกล่าวหาใช่ข้อตกลงที่ทำให้จำเลยซึ่งเป็นผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูปได้เปรียบโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควรไม่ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12523/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันนิติกรรมนอกอำนาจตัวแทน & ความรับผิดค่าเสียหายจากสัญญาซื้อขาย
หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์มอบอำนาจให้ ด. ฟ้องคดีระบุว่า ให้เป็นผู้มีอำนาจฟ้องร้องและดำเนินคดีแพ่งกับจำเลย รวมทั้งแต่งทนายความถอนฟ้อง ประนีประนอมยอมความ ใช้สิทธิหรือสละสิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา ผู้รับมอบอำนาจจึงเป็นตัวแทนโจทก์ในการดำเนินคดีฟ้องจำเลยในคดีเกี่ยวกับทางจำเป็นเท่านั้น การที่ผู้รับมอบอำนาจได้แถลงต่อศาลตกลงจะขายที่ดินของโจทก์ให้แก่จำเลย จึงเป็นการกระทำนอกเหนือขอบอำนาจของโจทก์ ย่อมไม่ผูกพันตัวการ แต่หลังจากผู้รับมอบอำนาจกับจำเลยได้ตกลงจะซื้อที่ดินกันแล้ว โจทก์ได้ดำเนินการให้ผู้อาศัยในที่ดินของโจทก์ออกจากที่ดินหมดสิ้นตามเงื่อนไขที่ผู้รับมอบอำนาจและจำเลยตกลงกัน ถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมที่ผู้รับมอบอำนาจได้กระทำนอกเหนือขอบอำนาจแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 โจทก์จึงต้องผูกพันตามนิติกรรมนั้นด้วย
การที่โจทก์ยินยอมจ่ายค่ารื้อถอนให้ผู้อาศัยในที่ดินเป็นการกระทำเพื่อมิให้โจทก์ผิดข้อตกลงกับจำเลย ค่ารื้อถอนที่โจทก์จ่ายไปจึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงที่โจทก์ได้รับจากการที่จำเลยผิดข้อตกลงไม่มาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์
การที่โจทก์ยินยอมจ่ายค่ารื้อถอนให้ผู้อาศัยในที่ดินเป็นการกระทำเพื่อมิให้โจทก์ผิดข้อตกลงกับจำเลย ค่ารื้อถอนที่โจทก์จ่ายไปจึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงที่โจทก์ได้รับจากการที่จำเลยผิดข้อตกลงไม่มาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8346/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ส่งของต่อความเสียหายจากการแจ้งน้ำหนักสินค้าไม่ถูกต้อง และการประมาทเลินเล่อของผู้ขนส่ง
ความเสียหายที่ผู้ส่งของจะต้องรับผิดต่อผู้ขนส่งตามมาตรา 32 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 เป็นกรณีที่ผู้ส่งของเป็นผู้แจ้งหรือจัดให้ซึ่งข้อความในใบตราส่งเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปแห่งของ เครื่องหมายที่จำเป็นเพื่อบ่งตัวของ จำนวนหน่วยการขนส่ง น้ำหนักของหรือปริมาณอย่างอื่นเพื่อให้ผู้ขนส่งบันทึกข้อความนั้นไว้ในใบตราส่ง และเมื่อผู้ขนส่งได้บันทึกตามที่ผู้ส่งของได้แจ้งหรือจัดให้ซึ่งข้อความนั้นแล้ว จึงจะถือว่าผู้ส่งของได้รับรองกับผู้ขนส่งว่าข้อความที่แจ้งหรือจัดให้นั้นถูกต้องตรงกับความเป็นจริงเกี่ยวกับของนั้นทุกประการ หากมีความเสียหายเกิดขึ้นเนื่องจากความไม่ถูกต้องแท้จริงของข้อความดังกล่าว มาตรา 32 วรรคสอง กำหนดให้ผู้ส่งของรับผิดชดใช้ ความเสียหายแก่ผู้ขนส่งแม้ผู้ส่งของจะได้โอนใบตราส่งนั้นให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว แต่ทั้งนี้ผู้ขนส่งยังคงต้องรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเลต่อบุคคลภายนอกผู้ทรงใบตราส่ง เนื่องจากผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าที่ขนส่งไม่ถูกต้องตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งอันเป็นผลมาจากผู้ส่งของยืนยันให้ผู้ขนส่งบันทึกข้อความที่ไม่ถูกต้องนั้น
จำเลยซึ่งเป็นผู้ส่งของได้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่ขนส่งแก่โจทก์ที่ 1 ผู้ขนส่งว่าเป็นไม้เนื้อแข็งแปรรูปจำนวน 5 รายการ รวมทั้งสิ้น 173 มัด รวมน้ำหนักประมาณ 167.244 เมตริกตัน โจทก์ที่ 1 ได้ออกใบตราส่งให้แก่จำเลยโดยโจทก์ที่ 1 บันทึกรายละเอียดของสินค้าตามที่จำเลยได้แจ้งไว้ มิใช่กรณีที่จำเลยแจ้งน้ำหนักของสินค้าเพื่อให้โจทก์ทั้งสองผู้ขนส่งบันทึกข้อความนั้นไว้ในใบตราส่ง แต่เป็นกรณีที่จำเลยผู้ส่งของแจ้งน้ำหนักของสินค้าน้อยกว่าความจริง และความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เรือของโจทก์ที่ 2 และสินค้าอื่นซึ่งไม่ใช่สินค้าตามใบตราส่ง จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 32 มาใช้บังคับได้ เมื่อความเสียหายนั้นเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เรือของโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งโดยตรง กรณีนี้จึงต้องบังคับตามมาตรา 31 ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ส่งของไม่ต้องรับผิดเพื่อการที่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นได้รับความเสียหายหรือการที่เรือเสียหาย เว้นแต่จะเป็นเหตุมาจากความผิดหรือประมาทเลินเล่อของผู้ส่งของหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ส่งของหรือจากสภาพแห่งของนั้นเอง โดยผู้ส่งของมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือประเพณีทางการค้าเกี่ยวกับการส่งของนั้น" เมื่อฟังได้ว่าการแจ้งน้ำหนักสินค้าของจำเลยไม่ถูกต้องเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลย แต่ความเสียหายที่ฝาระวางบนเรือของผู้ขนส่งหักพังลงมากระแทกกับสินค้าอื่นเสียหายก็มาจากโจทก์ที่ 1 เป็นฝ่ายมีส่วนประมาทอยู่ด้วย ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้ตามพฤติการณ์
จำเลยซึ่งเป็นผู้ส่งของได้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่ขนส่งแก่โจทก์ที่ 1 ผู้ขนส่งว่าเป็นไม้เนื้อแข็งแปรรูปจำนวน 5 รายการ รวมทั้งสิ้น 173 มัด รวมน้ำหนักประมาณ 167.244 เมตริกตัน โจทก์ที่ 1 ได้ออกใบตราส่งให้แก่จำเลยโดยโจทก์ที่ 1 บันทึกรายละเอียดของสินค้าตามที่จำเลยได้แจ้งไว้ มิใช่กรณีที่จำเลยแจ้งน้ำหนักของสินค้าเพื่อให้โจทก์ทั้งสองผู้ขนส่งบันทึกข้อความนั้นไว้ในใบตราส่ง แต่เป็นกรณีที่จำเลยผู้ส่งของแจ้งน้ำหนักของสินค้าน้อยกว่าความจริง และความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เรือของโจทก์ที่ 2 และสินค้าอื่นซึ่งไม่ใช่สินค้าตามใบตราส่ง จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 32 มาใช้บังคับได้ เมื่อความเสียหายนั้นเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เรือของโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งโดยตรง กรณีนี้จึงต้องบังคับตามมาตรา 31 ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ส่งของไม่ต้องรับผิดเพื่อการที่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นได้รับความเสียหายหรือการที่เรือเสียหาย เว้นแต่จะเป็นเหตุมาจากความผิดหรือประมาทเลินเล่อของผู้ส่งของหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ส่งของหรือจากสภาพแห่งของนั้นเอง โดยผู้ส่งของมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือประเพณีทางการค้าเกี่ยวกับการส่งของนั้น" เมื่อฟังได้ว่าการแจ้งน้ำหนักสินค้าของจำเลยไม่ถูกต้องเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลย แต่ความเสียหายที่ฝาระวางบนเรือของผู้ขนส่งหักพังลงมากระแทกกับสินค้าอื่นเสียหายก็มาจากโจทก์ที่ 1 เป็นฝ่ายมีส่วนประมาทอยู่ด้วย ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้ตามพฤติการณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7104/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้ไม่ได้ระบุรายละเอียดค่าเสียหายทั้งหมด การระบุค่าซ่อมโดยรวมเพียงพอแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องในส่วนค่าเสียหายว่า เหตุที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยประมาทเฉี่ยวชนรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน ผ-9034 เชียงราย แล้ว รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน ผ-9034 เชียงราย กระเด็นมาเฉี่ยวชนกับรถยนต์คันหมายเลขเครื่อง เจ.ที 172 เอส.ซี 1100066869 หมายเลขเครื่องยนต์ 3 เอส-1996985 ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ เป็นเหตุให้รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย โจทก์ได้ซ่อมแซมรถยนต์คันที่โจทก์ได้รับประกันภัยไว้จนอยู่ในสภาพใช้การได้ดีดังเดิมโดยเสียค่าซ่อมแซมและค่าอะไหล่เป็นเงิน 116,343 บาท คำบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและอ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วว่า จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเฉี่ยวชนรถยนต์บุคคลอื่นแล้วทำให้กระเด็นมาเฉี่ยวชนกับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 แล้วทำให้รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย โจทก์ดำเนินการซ่อมแซมรถยนต์คันที่ได้รับประกันภัยไว้จนใช้การได้ดังเดิม โดยเสียค่าซ่อมแซมและค่าอะไหล่เป็นเงิน 116,343 บาท ส่วนการที่รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันไว้จะได้รับความเสียหายในส่วนไหน เสียหายอย่างไร โจทก์ต้องเสียค่าซ่อมรายการใดบ้างนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้หาใช่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาซึ่งจะต้องบรรยายมาในคำฟ้องไม่ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6988/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการรุกล้ำที่ดินและดอกเบี้ย: การคำนวณค่าเสียหายและการจ่ายดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
เมื่อกำหนดค่าเสียหายรายเดือนหลังจากวันฟ้อง อันเป็นค่าเสียหายในอนาคตให้แก่โจทก์ครบถ้วนตามจำนวนที่ควรจะได้รับแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าดอกเบี้ยในค่าเสียหายรายเดือนนับแต่วันฟ้องอีก เพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3974/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายกรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แม้มิได้แจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ศาลมีอำนาจพิจารณาได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่างถูกเลิกจ้างจนรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม โจทก์ได้บรรยายฟ้องมาโดยชัดแจ้งว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยจ่ายค่าจ้างในระหว่างถูกเลิกจ้างจนกว่าจำเลยจะรับโจทก์กลับเข้าทำงาน ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์ตั้งประเด็นข้อพิพาทมาโดยตรงว่าจำเลยเป็นนายจ้างได้ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างเลิกจ้างโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ได้รับค่าจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน จึงเป็นการขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาจ้างแรงงาน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 ซึ่งบัญญัติให้นายจ้างมีหน้าที่จ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้ เมื่อปรากฏว่า โจทก์สามารถทำงานให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างตลอดมาแต่จำเลยกระทำผิดสัญญาโดยเลิกจ้างโจทก์อย่างไม่เป็นธรรม เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากจำเลย แม้โจทก์ไม่ได้ทำงานให้จำเลยก็ตาม
แม้คำฟ้องโจทก์ได้กล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพื่อต้องการทำลายและกำจัดกรรมการลูกจ้างและคณะกรรมการสหภาพแรงงานหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ รวมทั้งโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานด้วยคนหนึ่ง อีกทั้งได้เลิกจ้างโจทก์ในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121 (2) และมาตรา 123 วรรคหนึ่ง เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องไว้ด้วยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้ประสบภาวะการขาดทุน ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้มีหลักเกณฑ์และไม่ได้มีการประเมินผลตัวโจทก์ อันเป็นการกล่าวหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ด้วย ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างใดก่อนที่จะดำเนินการฟ้องร้อง ดังนั้น โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางได้โดยไม่ต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก่อน
แม้คำฟ้องโจทก์ได้กล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพื่อต้องการทำลายและกำจัดกรรมการลูกจ้างและคณะกรรมการสหภาพแรงงานหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ รวมทั้งโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานด้วยคนหนึ่ง อีกทั้งได้เลิกจ้างโจทก์ในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121 (2) และมาตรา 123 วรรคหนึ่ง เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องไว้ด้วยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้ประสบภาวะการขาดทุน ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้มีหลักเกณฑ์และไม่ได้มีการประเมินผลตัวโจทก์ อันเป็นการกล่าวหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ด้วย ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างใดก่อนที่จะดำเนินการฟ้องร้อง ดังนั้น โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางได้โดยไม่ต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก่อน