พบผลลัพธ์ทั้งหมด 384 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6434/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายยังไม่สมบูรณ์ จำเลยเข้าครอบครองสถานีบริการโดยไม่มีสิทธิ โจทก์มีสิทธิขับไล่และเรียกค่าเสียหาย
แม้พฤติการณ์ในการประวิงคดีจะสืบเนื่องมาจากการกระทำของทนายความ แต่จำเลยก็ต้องรับรู้และหาหนทางแก้ไขในฐานะที่เป็นผู้แต่งตั้งทนายความให้กระทำการแทนตน เมื่อจำเลยเพิกเฉยปล่อยให้ทนายความของตนที่ยืนยันว่าไม่อาจมาศาลได้ในวันนัดสืบพยานโจทก์ที่ศาลชั้นต้นนัดไว้ล่วงหน้าทั้งสามครั้ง ยังคงรับผิดชอบคดีของตนต่อไปอีก ถือได้ว่าเป็นการประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีนั้นชอบแล้ว
บริษัท ส. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยร่วมและโจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินแล้วสร้างสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน โดยมีบริษัท ส. ร่วมลงทุนและเป็นผู้บริหารสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน ต่อมาจำเลยร่วมเสนอเงื่อนไขขอเป็นผู้บริหารโดยตกลงชำระเงินร่วมลงทุนแก่โจทก์ แต่จำเลยร่วมไม่อาจชำระเงินร่วมลงทุนได้ครบถ้วนจึงเสนอให้จำเลยเป็นผู้ร่วมลงทุนแทน ซึ่งมีเงื่อนไขสำคัญคือ จำเลยต้องเปิดบัญชีกับโจทก์และจัดตั้งเป็นนิติบุคคลรวมทั้งต้องชำระเงินร่วมลงทุนที่จำเลยร่วมค้างชำระจำนวน 1,000,000 บาท ให้แก่โจทก์เสียก่อน แต่จำเลยก็ไม่อาจปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวได้ครบถ้วน ดังนั้น สัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์และจำเลยยังมิได้มีต่อกัน เพราะข้อความแห่งสัญญาอันโจทก์ได้แสดงไว้ว่าเป็นสาระสำคัญซึ่งจะต้องตกลงกันหมดทุกข้อนั้นยังมิได้ตกลงกันได้หมดทุกข้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงอยู่ในที่ดินและเข้าบริหารสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันโดยไม่มีสิทธิ โจทก์ย่อมฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้จนกว่าจำเลยจะออกจากที่ดิน
จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เนื่องจากจำเลยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันแม้มีอยู่จริงตามข้ออ้าง ก็มิใช่เป็นผลโดยตรงและโดยใกล้ชิดจากการกระทำของโจทก์ หากเกิดจากการที่จำเลยยอมตนเข้าเสี่ยงภัยรับภาระแทนจำเลยร่วม โดยรู้อยู่แล้วว่าจำเลยร่วมไม่มีสิทธิที่จะทำข้อตกลงให้จำเลยเข้าบริหารกิจการสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันได้โดยลำพังตนเอง ดังนั้น หากมีความเสียหายใด ๆ เกิดขึ้น จำเลยก็ต้องว่ากล่าวเอาแก่จำเลยร่วมซึ่งเป็นคู่สัญญาของตน หาใช่มาเรียกร้องเอาแก่โจทก์ไม่
บริษัท ส. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยร่วมและโจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินแล้วสร้างสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน โดยมีบริษัท ส. ร่วมลงทุนและเป็นผู้บริหารสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน ต่อมาจำเลยร่วมเสนอเงื่อนไขขอเป็นผู้บริหารโดยตกลงชำระเงินร่วมลงทุนแก่โจทก์ แต่จำเลยร่วมไม่อาจชำระเงินร่วมลงทุนได้ครบถ้วนจึงเสนอให้จำเลยเป็นผู้ร่วมลงทุนแทน ซึ่งมีเงื่อนไขสำคัญคือ จำเลยต้องเปิดบัญชีกับโจทก์และจัดตั้งเป็นนิติบุคคลรวมทั้งต้องชำระเงินร่วมลงทุนที่จำเลยร่วมค้างชำระจำนวน 1,000,000 บาท ให้แก่โจทก์เสียก่อน แต่จำเลยก็ไม่อาจปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวได้ครบถ้วน ดังนั้น สัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์และจำเลยยังมิได้มีต่อกัน เพราะข้อความแห่งสัญญาอันโจทก์ได้แสดงไว้ว่าเป็นสาระสำคัญซึ่งจะต้องตกลงกันหมดทุกข้อนั้นยังมิได้ตกลงกันได้หมดทุกข้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงอยู่ในที่ดินและเข้าบริหารสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันโดยไม่มีสิทธิ โจทก์ย่อมฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้จนกว่าจำเลยจะออกจากที่ดิน
จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เนื่องจากจำเลยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันแม้มีอยู่จริงตามข้ออ้าง ก็มิใช่เป็นผลโดยตรงและโดยใกล้ชิดจากการกระทำของโจทก์ หากเกิดจากการที่จำเลยยอมตนเข้าเสี่ยงภัยรับภาระแทนจำเลยร่วม โดยรู้อยู่แล้วว่าจำเลยร่วมไม่มีสิทธิที่จะทำข้อตกลงให้จำเลยเข้าบริหารกิจการสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันได้โดยลำพังตนเอง ดังนั้น หากมีความเสียหายใด ๆ เกิดขึ้น จำเลยก็ต้องว่ากล่าวเอาแก่จำเลยร่วมซึ่งเป็นคู่สัญญาของตน หาใช่มาเรียกร้องเอาแก่โจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5897/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาจ้างทำเพลทแม่พิมพ์: การยึดหน่วงเพลทแม่พิมพ์โดยผู้รับจ้างถือเป็นการผิดสัญญา
แม้จำเลยจะจ้างโจทก์ทำเพลทแม่พิมพ์หลายครั้ง แต่ในการจ้างแต่ละครั้งสามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อหนี้ ค่าจ้างตามสัญญาจ้างทำเพลทแม่พิมพ์ครั้งที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่เกี่ยวกับการว่าจ้างครั้งที่ 4 และไม่เป็นคุณประโยชน์แก่โจทก์เกี่ยวด้วยเพลทแม่พิมพ์ตามสัญญาจ้างครั้งที่ 4 ที่โจทก์ยึดถือไว้ ทั้งหนี้ค่าจ้างทำเพลทแม่พิมพ์ครั้งที่ 4 ยังไม่ถึงกำหนดชำระ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะยึดหน่วงเพลทแม่พิมพ์ดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 การที่โจทก์ยึดเพลทแม่พิมพ์ไว้ ถือว่าโจทก์ผิดสัญญา ทำให้จำเลยไม่สามารถพิมพ์หนังสือออกจำหน่าย ย่อมทำให้จำเลยเสียหายอยู่ในตัว
ค่าขาดรายได้จากลูกค้าจ้างลงโฆษณา จำเลยมีหลักฐานสัญญาจ้างโฆษณามาแสดง แม้บางฉบับจะคาบเกี่ยวกับสัญญาจ้างโฆษณาในหนังสือฉบับก่อนก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ทั้งในหนังสือที่จำเลยพิมพ์ออกจำหน่ายก็ปรากฏว่า มีการลงโฆษณามากพอสมควร โจทก์เองก็ไม่ได้นำสืบโต้แย้ง แม้จำเลยไม่นำตัวบุคคลในเอกสารดังกล่าวมาเบิกความ ยืนยันก็รับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นได้
ค่าขาดรายได้จากลูกค้าจ้างลงโฆษณา จำเลยมีหลักฐานสัญญาจ้างโฆษณามาแสดง แม้บางฉบับจะคาบเกี่ยวกับสัญญาจ้างโฆษณาในหนังสือฉบับก่อนก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ทั้งในหนังสือที่จำเลยพิมพ์ออกจำหน่ายก็ปรากฏว่า มีการลงโฆษณามากพอสมควร โจทก์เองก็ไม่ได้นำสืบโต้แย้ง แม้จำเลยไม่นำตัวบุคคลในเอกสารดังกล่าวมาเบิกความ ยืนยันก็รับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1108/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาเช่าซื้อ-คืนรถ: ศาลยืนตามเดิม จำเลยต้องคืนรถให้โจทก์
โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อเคยผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อมาแล้วครั้งหนึ่งแต่เมื่อนำค่าเช่าซื้อที่ค้างไปชำระ จำเลยก็รับชำระโดยคิดค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ย ต่อมาโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้ออีก จำเลยไปยึดรถคืนโจทก์นำเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างกับค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยไปชำระจำเลยก็รับชำระเช่นเดิม แสดงว่าจำเลยไม่ได้ถือเอาข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อเรื่องการผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญสัญญาเช่าซื้อจึงยังไม่สิ้นสุด เมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างแล้วจำเลยต้องคืนรถที่เช่าซื้อแก่โจทก์ จำเลยไม่ยอมคืนจึงเป็นผู้ผิดสัญญาเช่าซื้อ
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่งซึ่งในส่วนของการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสามให้ทำได้ด้วยการใช้เงิน เมื่อค่าใช้ทรัพย์ของโจทก์เป็นเงินน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ต้องคืน ศาลจึงสามารถนำเงินค่าใช้ทรัพย์สินมาหักออกจากค่าเช่าซื้อที่ต้องคืนได้โดยจำเลยไม่จำต้องฟ้องแย้งไว้
เมื่อโจทก์ไม่มีรถพอใช้งาน โจทก์สามารถหารถอื่นมาทดแทนได้หากต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่น ต้องเสียค่าเช่า ค่าเช่าที่โจทก์ต้องเสียไปถือเป็นค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยผิดสัญญา โจทก์เรียกให้จำเลยชดใช้ได้ การที่โจทก์ไม่ดำเนินการดังกล่าวจนงานล่าช้าและถูกปรับค่าปรับไม่ใช่ความเสียหายอันเกิดจากจำเลยผิดสัญญาโจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยชดใช้ได้
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่งซึ่งในส่วนของการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสามให้ทำได้ด้วยการใช้เงิน เมื่อค่าใช้ทรัพย์ของโจทก์เป็นเงินน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ต้องคืน ศาลจึงสามารถนำเงินค่าใช้ทรัพย์สินมาหักออกจากค่าเช่าซื้อที่ต้องคืนได้โดยจำเลยไม่จำต้องฟ้องแย้งไว้
เมื่อโจทก์ไม่มีรถพอใช้งาน โจทก์สามารถหารถอื่นมาทดแทนได้หากต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่น ต้องเสียค่าเช่า ค่าเช่าที่โจทก์ต้องเสียไปถือเป็นค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยผิดสัญญา โจทก์เรียกให้จำเลยชดใช้ได้ การที่โจทก์ไม่ดำเนินการดังกล่าวจนงานล่าช้าและถูกปรับค่าปรับไม่ใช่ความเสียหายอันเกิดจากจำเลยผิดสัญญาโจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยชดใช้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3757/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาซื้อขายและสภาพหนี้ ผู้รับสภาพหนี้มีหน้าที่ชำระหนี้ตามสัญญา ไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ต่อมาจำเลยได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้เงินกู้ของเจ้ามรดกที่ได้กู้เงินไปจากโจทก์ โดยจำเลยตกลงว่าหากจำเลยได้รับมรดกมาเป็นจำนวนเท่าใดจำเลยจะชำระหนี้ดังกล่าวทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์จนครบ ถ้าทรัพย์มรดกที่จำเลยได้รับมาไม่พอแก่การชำระหนี้จำเลยจะยกทรัพย์มรดกที่รับมาทั้งหมดให้โจทก์ ดังนั้น การที่จำเลยไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ก็ดีหรือจำเลยไม่โอนทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ ล้วนแต่เป็นการผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้ที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์เท่านั้น โจทก์ชอบที่จะฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้หรือเรียกเอาค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนอันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้นั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 , 215 , 222 หรือมาตรา 224 แล้วแต่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3757/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้และการผิดสัญญา ไม่ถือเป็นการละเมิด โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับตามสัญญา
จำเลยเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้เงินกู้ของเจ้ามรดกที่ได้กู้เงินไปจากโจทก์ โดยจำเลยตกลงว่าหากจำเลยได้รับมรดกมาเป็นจำนวนเท่าใด จำเลยจะชำระหนี้ดังกล่าวทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์จนครบ ถ้าทรัพย์มรดกที่จำเลยได้รับมาไม่พอแก่การชำระหนี้ จำเลยจะยกทรัพย์มรดกที่รับมาทั้งหมดให้โจทก์การที่จำเลยไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ก็ดี หรือจำเลยไม่โอนทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ ล้วนแต่เป็นการผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้เท่านั้น โจทก์ชอบที่จะฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้หรือเรียกเอา ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนอันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้นั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213,215,222 หรือมาตรา 224 แล้วแต่กรณี การกระทำของจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3010/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การเลิกสัญญากับผู้ขายเนื่องจากรถยนต์ชำรุด และสิทธิในการไม่ชดใช้ค่าเสียหาย
ระบบไฟฟ้าเป็นส่วนประกอบอันเป็นสาระสำคัญของรถยนต์ หากระบบไฟฟ้าใช้การไม่ได้ย่อมส่งผลให้เครื่องยนต์ ระบบทำความเย็นและอื่น ๆ ใช้การไม่ได้ไปด้วย การที่ระบบไฟฟ้าของรถยนต์คันที่จำเลยเช่าซื้อไป จากโจทก์เสียทั้งระบบ 3 ครั้ง ภายในระยะเวลา 3 เดือน นับแต่รับมอบรถยนต์ ถือได้ว่าความชำรุดบกพร่องนั้นถึงขนาดเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อม ความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งหมายจะใช้เป็นปกติ อันผู้ขายต้องรับผิด จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อจัดการแก้ไขหรือเปลี่ยนรถยนต์คันใหม่ แต่โจทก์ไม่ดำเนินการ จำเลยจึงไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดต่อมาและใช้สิทธิ เลิกสัญญาเสียได้ และคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม
โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อและจำเลยผู้เช่าซื้อต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันผลแห่งการเลิกสัญญาดังกล่าว คู่สัญญาจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม เมื่อจำเลยมิได้ผิดสัญญาก็ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายใด ๆ ให้แก่โจทก์
โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อและจำเลยผู้เช่าซื้อต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันผลแห่งการเลิกสัญญาดังกล่าว คู่สัญญาจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม เมื่อจำเลยมิได้ผิดสัญญาก็ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายใด ๆ ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3010/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รถยนต์ชำรุดบ่อยจนเสื่อมค่า ผู้เช่าซื้อมีสิทธิเลิกสัญญาและไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย
ระบบไฟฟ้าเป็นส่วนประกอบอันเป็นสาระสำคัญของรถยนต์ หากระบบไฟฟ้าใช้การไม่ได้ย่อมส่งผลให้เครื่องยนต์ ระบบทำความเย็นและอื่น ๆ ใช้การไม่ได้ไปด้วย การที่ระบบไฟฟ้าของรถยนต์คันที่จำเลยเช่าซื้อไปจากโจทก์เสียทั้งระบบ3 ครั้ง ภายในระยะเวลา 3 เดือน นับแต่รับมอบรถยนต์ ถือได้ว่าความชำรุดบกพร่องนั้นถึงขนาดเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งหมายจะใช้เป็นปกติ อันผู้ขายต้องรับผิด จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อจัดการแก้ไขหรือเปลี่ยนรถยนต์คันใหม่ แต่โจทก์ไม่ดำเนินการ จำเลยจึงไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดต่อมาและใช้สิทธิเลิกสัญญาเสียได้ และคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม
โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อและจำเลยผู้เช่าซื้อต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันผลแห่งการเลิกสัญญาดังกล่าว คู่สัญญาจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม เมื่อจำเลยมิได้ผิดสัญญาก็ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายใด ๆ ให้แก่โจทก์
โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อและจำเลยผู้เช่าซื้อต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันผลแห่งการเลิกสัญญาดังกล่าว คู่สัญญาจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม เมื่อจำเลยมิได้ผิดสัญญาก็ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายใด ๆ ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาให้สิทธิใช้เครื่องหมายการค้าที่ตนเองไม่มีสิทธิ และการฟ้องร้องเรียกค่าสินค้าที่ไม่สุจริต ไม่เป็นละเมิด
++ เรื่อง เครื่องหมายการค้า ละเมิด ++
++ ทดสอบทำงานใด้วยระบบ CW เพื่อค้นหาจข้อมูลทาง online เท่านั้น ++
++ ต้นฉบับต้องแปะภาพ ++
++
++ การที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ย่อมต้องพิจารณาให้ได้ความว่าจำเลยได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สินหรือชื่อเสียงตามที่โจทก์ฟ้อง
++ขณะที่จำเลยที่ 1 ลงชื่อและประทับตราบริษัทจำเลยที่ 2ลงในหนังสือสัญญา จำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าบริษัทจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้ารูปมดอีกต่อไปแล้ว เพราะเป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทโสภณพัฒนา จำกัด ที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว การนำเครื่องหมายการค้ารูปมดดังกล่าวไปใช้กับสินค้าใด ๆ ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของบริษัทโสภณพัฒนา จำกัด ได้ การที่จำเลยทั้งสองทำหนังสือสัญญาให้โจทก์ที่ 2 ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวโดยอ้างว่าเป็นของจำเลยที่ 2 จึงเป็นกรณีที่อาจเล็งเห็นได้ว่าหากโจทก์ทั้งสองนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปใช้กับสินค้าใดและนำสินค้านั้นออกจำหน่าย ย่อมอาจถูกจับในข้อหาเลียนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรและจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนดังกล่าวได้ การออกหนังสือให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยจงใจต่อโจทก์ทั้งสองโดยผิดกฎหมายแล้ว แต่การที่จะวินิจฉัยว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองก็ต้องได้ความว่าโจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองด้วย
++การที่บริษัทจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องเรียกค่าสินค้าที่ค้างชำระจากโจทก์ทั้งสองนั้นโดยทั่วไปถือว่าเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย แต่ก็อาจจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองได้หากจำเลยทั้งสองใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริต โดยมุ่งประสงค์ให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองแต่เพียงอย่างเดียว
++ คดีดังกล่าวศาลฎีกาพิพากษายืนให้ยกฟ้องตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2542 โดยวินิจฉัยว่า "เมื่อพิจารณาข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งสองในคดีดังกล่าว (โจทก์ทั้งสอง)ประกอบกับกรณีที่โจทก์ในคดีดังกล่าว (จำเลยที่ 2) ไม่มีหลักฐานใดมาแสดงว่าจำเลยทั้งสองรับสินค้าไปจากโจทก์และไม่ส่งมอบเงินค่าสินค้าแก่โจทก์ ข้อนำสืบของจำเลยทั้งสองมีน้ำหนักดีกว่าของโจทก์ ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ดังฟ้อง" ดังนี้ คำวินิจฉัยของศาลฎีกาในคดีดังกล่าวเป็นการใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของคู่ความ การที่ศาลฎีกาเชื่อพยานหลักฐานของฝ่ายจำเลยก็มิได้หมายความว่าพยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์เป็นพยานหลักฐานเท็จหรือเป็นการนำความเท็จมาฟ้อง แต่เป็นเรื่องโจทก์ในคดีดังกล่าวนำสืบไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองรับสินค้าไปแล้วไม่ชำระค่าสินค้าดังที่บรรยายไว้ในคำฟ้อง ทั้งข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ในระยะแรก ๆ ที่โจทก์ทั้งสองรับสินค้าจากจำเลยทั้งสองมาจำหน่าย จำเลยที่ 1 ก็ได้ส่งนายนิรันดร์ ทศพรทรงไชย ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 มาช่วยโจทก์ทั้งสองขายด้วย โจทก์ที่ 1 เบิกความยอมรับว่าจำเลยที่ 1มาติดพันโจทก์ที่ 1 ซึ่งหมายความว่าจำเลยที่ 1 รักใคร่ชอบพอโจทก์ที่ 1ฉันชู้สาว ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ลูกค้ากับผู้ค้าตามปกติ โจทก์ที่ 1 เองก็มาเบิกความแต่เพียงว่าโจทก์ที่ 1ซื้อกาวลาเท็กซ์จากจำเลยที่ 2 มาขาย แต่ไม่เคยเป็นตัวแทน และไม่เคยค้างชำระค่าสินค้าแก่จำเลยที่ 2 แต่โจทก์ทั้งสองก็ไม่มีหลักฐานการชำระเงินค่าสินค้ามาแสดงเช่นกัน พยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองที่นำสืบมาจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาไม่สุจริตโดยนำเอาความเท็จไปฟ้องโจทก์ทั้งสองเพื่อให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย การที่บริษัทจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ทั้งสองเป็นคดีแพ่งจึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง
++ ทดสอบทำงานใด้วยระบบ CW เพื่อค้นหาจข้อมูลทาง online เท่านั้น ++
++ ต้นฉบับต้องแปะภาพ ++
++
++ การที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ย่อมต้องพิจารณาให้ได้ความว่าจำเลยได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สินหรือชื่อเสียงตามที่โจทก์ฟ้อง
++ขณะที่จำเลยที่ 1 ลงชื่อและประทับตราบริษัทจำเลยที่ 2ลงในหนังสือสัญญา จำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าบริษัทจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้ารูปมดอีกต่อไปแล้ว เพราะเป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทโสภณพัฒนา จำกัด ที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว การนำเครื่องหมายการค้ารูปมดดังกล่าวไปใช้กับสินค้าใด ๆ ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของบริษัทโสภณพัฒนา จำกัด ได้ การที่จำเลยทั้งสองทำหนังสือสัญญาให้โจทก์ที่ 2 ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวโดยอ้างว่าเป็นของจำเลยที่ 2 จึงเป็นกรณีที่อาจเล็งเห็นได้ว่าหากโจทก์ทั้งสองนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปใช้กับสินค้าใดและนำสินค้านั้นออกจำหน่าย ย่อมอาจถูกจับในข้อหาเลียนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรและจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนดังกล่าวได้ การออกหนังสือให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยจงใจต่อโจทก์ทั้งสองโดยผิดกฎหมายแล้ว แต่การที่จะวินิจฉัยว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองก็ต้องได้ความว่าโจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองด้วย
++การที่บริษัทจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องเรียกค่าสินค้าที่ค้างชำระจากโจทก์ทั้งสองนั้นโดยทั่วไปถือว่าเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย แต่ก็อาจจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองได้หากจำเลยทั้งสองใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริต โดยมุ่งประสงค์ให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองแต่เพียงอย่างเดียว
++ คดีดังกล่าวศาลฎีกาพิพากษายืนให้ยกฟ้องตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2542 โดยวินิจฉัยว่า "เมื่อพิจารณาข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งสองในคดีดังกล่าว (โจทก์ทั้งสอง)ประกอบกับกรณีที่โจทก์ในคดีดังกล่าว (จำเลยที่ 2) ไม่มีหลักฐานใดมาแสดงว่าจำเลยทั้งสองรับสินค้าไปจากโจทก์และไม่ส่งมอบเงินค่าสินค้าแก่โจทก์ ข้อนำสืบของจำเลยทั้งสองมีน้ำหนักดีกว่าของโจทก์ ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ดังฟ้อง" ดังนี้ คำวินิจฉัยของศาลฎีกาในคดีดังกล่าวเป็นการใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของคู่ความ การที่ศาลฎีกาเชื่อพยานหลักฐานของฝ่ายจำเลยก็มิได้หมายความว่าพยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์เป็นพยานหลักฐานเท็จหรือเป็นการนำความเท็จมาฟ้อง แต่เป็นเรื่องโจทก์ในคดีดังกล่าวนำสืบไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองรับสินค้าไปแล้วไม่ชำระค่าสินค้าดังที่บรรยายไว้ในคำฟ้อง ทั้งข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ในระยะแรก ๆ ที่โจทก์ทั้งสองรับสินค้าจากจำเลยทั้งสองมาจำหน่าย จำเลยที่ 1 ก็ได้ส่งนายนิรันดร์ ทศพรทรงไชย ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 มาช่วยโจทก์ทั้งสองขายด้วย โจทก์ที่ 1 เบิกความยอมรับว่าจำเลยที่ 1มาติดพันโจทก์ที่ 1 ซึ่งหมายความว่าจำเลยที่ 1 รักใคร่ชอบพอโจทก์ที่ 1ฉันชู้สาว ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ลูกค้ากับผู้ค้าตามปกติ โจทก์ที่ 1 เองก็มาเบิกความแต่เพียงว่าโจทก์ที่ 1ซื้อกาวลาเท็กซ์จากจำเลยที่ 2 มาขาย แต่ไม่เคยเป็นตัวแทน และไม่เคยค้างชำระค่าสินค้าแก่จำเลยที่ 2 แต่โจทก์ทั้งสองก็ไม่มีหลักฐานการชำระเงินค่าสินค้ามาแสดงเช่นกัน พยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองที่นำสืบมาจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาไม่สุจริตโดยนำเอาความเท็จไปฟ้องโจทก์ทั้งสองเพื่อให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย การที่บริษัทจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ทั้งสองเป็นคดีแพ่งจึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9334/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา, การกำหนดราคาที่ดิน, ค่าปรับ, สิทธิเรียกร้อง
หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินตามเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับ พ. น้องโจทก์ในฐานะผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัท บ. แสดงว่าในขณะทำสัญญาบริษัท บ. ยังมิได้จดทะเบียนตั้งเป็นบริษัทจำกัด และบริษัท บ. ตั้งขึ้นเพื่อทำโครงการเลี้ยงสุกร โดยรวบรวมบรรดาญาติพี่น้องโจทก์เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้น โจทก์และภริยาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และโจทก์แต่ผู้เดียวเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท บ. เห็นได้ว่าหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน คู่สัญญาที่แท้จริงเป็นบุคคลคนเดียวกัน โดยโจทก์และญาติพี่น้องโจทก์ซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกัน
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเพื่อโจทก์จะได้ใช้สิทธิเรียกร้องค่าปรับจากจำเลยตามสัญญาเท่านั้น คู่สัญญาไม่มีเจตนาที่จะผูกพันตามสัญญา นอกจากนี้การเรียกร้องค่าปรับซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่ พฤติการณ์พิเศษ โจทก์จะเรียกร้องได้ต่อเมื่อจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็น แม้ตามสัญญาจะซื้อจะขายระบุให้โจทก์นำที่ดินไปขายต่อได้ และหากจำเลยผิดสัญญาให้โจทก์เรียกค่าปรับเป็น 2 เท่าของเงินที่โจทก์จะได้รับจากการนำที่ดินไปขายต่อก็ตาม แต่จำเลยไม่อาจคาดเห็นได้ว่า ค่าปรับ 2 เท่า ของเงินที่โจทก์จะได้รับจากการนำที่ดินไปขายต่อเป็นจำนวนเท่าใดและโจทก์มิได้แจ้งเรื่องนำที่ดินไปขายต่อและค่าเสียหายที่โจทก์จะต้องชดใช้ให้จำเลยทราบโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลย แต่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
กรณีของโจทก์และจำเลยเป็นเรื่องสัญญาต่างตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 เมื่อศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินแก่โจทก์ จึงต้องบังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือแก่จำเลย และการกำหนดเวลาให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือก็เพื่อให้เกิดสภาพบังคับแก่โจทก์ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องทั้งไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเพื่อโจทก์จะได้ใช้สิทธิเรียกร้องค่าปรับจากจำเลยตามสัญญาเท่านั้น คู่สัญญาไม่มีเจตนาที่จะผูกพันตามสัญญา นอกจากนี้การเรียกร้องค่าปรับซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่ พฤติการณ์พิเศษ โจทก์จะเรียกร้องได้ต่อเมื่อจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็น แม้ตามสัญญาจะซื้อจะขายระบุให้โจทก์นำที่ดินไปขายต่อได้ และหากจำเลยผิดสัญญาให้โจทก์เรียกค่าปรับเป็น 2 เท่าของเงินที่โจทก์จะได้รับจากการนำที่ดินไปขายต่อก็ตาม แต่จำเลยไม่อาจคาดเห็นได้ว่า ค่าปรับ 2 เท่า ของเงินที่โจทก์จะได้รับจากการนำที่ดินไปขายต่อเป็นจำนวนเท่าใดและโจทก์มิได้แจ้งเรื่องนำที่ดินไปขายต่อและค่าเสียหายที่โจทก์จะต้องชดใช้ให้จำเลยทราบโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลย แต่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
กรณีของโจทก์และจำเลยเป็นเรื่องสัญญาต่างตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 เมื่อศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินแก่โจทก์ จึงต้องบังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือแก่จำเลย และการกำหนดเวลาให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือก็เพื่อให้เกิดสภาพบังคับแก่โจทก์ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องทั้งไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9318/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับจ้างดำเนินคดีจากการยื่นฟ้องคดีเกินกำหนดเวลาตามกฎหมายเวนคืน
ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลนับเป็นข้อสาระสำคัญในการฟ้องเรียกคดีเรียกเงินค่าทดแทนการเวนคืน เพราะหากล่วงพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวไปแล้ว ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนย่อมไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จำเลยทั้งสามในฐานะผู้ร่วมกันประกอบวิชาชีพทางกฎหมายและรับจ้างโจทก์ดำเนินคดีฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนควรจะต้องรู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาดังกล่าวเป็นอย่างดี ทำนองเดียวกับต้องรู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการยื่นคำให้การต่อสู้คดีหรือกำหนดเวลาในการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา จำเลยทั้งสามมีความสำคัญผิดในข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทน และไม่ได้คำนึงว่าจะต้องยื่นคำฟ้องต่อศาลให้ทันกำหนดเวลาที่มีสิทธิฟ้องคดี การที่จำเลยที่ 3 ยื่นฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่มีสิทธิฟ้องคดีแล้ว ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ และศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้รับจ้างดำเนินคดีก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เป็นการผิดสัญญา จำเลยทั้งสามจึงต้องรับผิดต่อโจทก์