คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 222

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 384 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9318/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับจ้างดำเนินคดีจากการยื่นฟ้องคดีเกินกำหนดเวลาตามกฎหมายเวนคืน
ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลนับเป็นข้อสาระสำคัญในการฟ้องเรียกคดีเรียกเงินค่าทดแทนการเวนคืน เพราะหากล่วงพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวไปแล้ว ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนย่อมไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จำเลยทั้งสามในฐานะผู้ร่วมกันประกอบวิชาชีพทางกฎหมายและรับจ้างโจทก์ดำเนินคดีฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนควรจะต้องรู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาดังกล่าวเป็นอย่างดี ทำนองเดียวกับต้องรู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการยื่นคำให้การต่อสู้คดีหรือกำหนดเวลาในการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา จำเลยทั้งสามมีความสำคัญผิดในข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทน และไม่ได้คำนึงว่าจะต้องยื่นคำฟ้องต่อศาลให้ทันกำหนดเวลาที่มีสิทธิฟ้องคดี การที่จำเลยที่ 3 ยื่นฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่มีสิทธิฟ้องคดีแล้ว ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ และศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้รับจ้างดำเนินคดีก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เป็นการผิดสัญญา จำเลยทั้งสามจึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7943/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาเช่าเรือ ผู้รับเช่ามีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามปกติและค่าใช้จ่ายที่สมควร ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหาย
เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าเรือที่ไม่นำเรือที่โจทก์เช่าไปบรรทุกสินค้าตามวันเวลาที่ตกลงกับโจทก์ตามสัญญาเช่าเรือทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยได้เพียงใดหรือไม่ ย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบพิสูจน์ เว้นแต่หากโจทก์พิสูจน์ความเสียหายไม่ได้ตามที่เรียกร้องมาแล้ว ศาลก็มีอำนาจที่จะกำหนดค่าเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นจากการที่จำเลยผิดสัญญาเช่าเรือได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 แต่ค่าเสียหายที่โจทก์จะได้รับก็ต้องอยู่ในเงื่อนไขสัญญาเช่าเรือด้วย หากโจทก์พิสูจน์ได้ว่าเสียหายไปจริง โจทก์ก็มีสิทธิได้รับค่าเสียหายไปตามจำนวนที่เรียกร้อง แต่ต้องไม่เกินกว่าค่าระวางโดยประมาณ
ความรับผิดในค่าเสียหายคงมีแต่เฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นตามปกติในการผิดสัญญาเท่านั้น การที่ผู้ว่าจ้างโจทก์ซึ่งไม่ได้เป็นคู่สัญญาเช่าเรือได้ทำสัญญากับบริษัทผู้ซื้อสินค้าว่า หากผิดสัญญาจะต้องถูกปรับในอัตราร้อยละ 30 ของราคาซื้อขายกันหรือไม่นั้น ย่อมเป็นพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งจำเลยมิอาจคาดเห็นได้ว่ามีข้อตกลงเช่นนั้น โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดค่าเสียหายที่เกิดจากพฤติการณ์พิเศษส่วนนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง การที่โจทก์ได้ทำสัญญาเช่าเรือจากจำเลยย่อมก่อให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือ ในการที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้กักเรือไว้ไม่ให้เดินทางออกจากท่าได้ด้วยเหตุที่จำเลยผิดสัญญาเช่าเรือตาม พ.ร.บ.การกักเรือ พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่งถือเป็นการดำเนินการเพื่อให้เป็นประกันในการที่จะบังคับให้จำเลยชำระหนี้ค่าเสียหายอันเกิดจากการที่จำเลยผิดสัญญาเช่าเรือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7206/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินค่าเสียหายจากการละเมิดลิขสิทธิ์: พิจารณาผลกำไรที่สูญเสียไป ไม่ใช่ราคาขายรวมต้นทุน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยการทำซ้ำ โฆษณาและนำออกจำหน่ายเพื่อการค้าซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ และขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายทางการค้า จึงเท่ากับโจทก์อ้างว่า การกระทำของจำเลยซึ่งทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายนั้นประกอบด้วยการทำซ้ำและการนำออกจำหน่ายเพื่อการค้าดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแต่เพียงในปัญหาว่าการกระทำซ้ำของจำเลยต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายหรือไม่ จึงยังไม่ถูกต้อง ต้องวินิจฉัยด้วยว่าการที่จำเลยนำออกจำหน่ายเพื่อการค้าซึ่งเทปเพลงของกลางทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายทางการค้าหรือไม่
ความเสียหายจากการขาดรายได้ที่โจทก์จะได้รับเมื่อจำเลยกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์โดยการนำเทปเพลงที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์ออกจำหน่าย ย่อมเป็นความเสียหายที่เกิดจากการสูญเสียโอกาสที่จะได้รับผลกำไรจากการนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนออกจำหน่ายเท่านั้น หาใช่ความเสียหายที่คิดคำนวณจากราคาจำหน่ายเทปเพลงแต่ละม้วนซึ่งได้รวมต้นทุนการผลิตเอาไว้ด้วยแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4710/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวสัญญาซื้อขายที่ดินไม่ชอบตามสัญญาและจำเลยผิดสัญญา
หนังสือบอกกล่าวแต่ละฉบับที่จำเลยมีไปถึงโจทก์ได้กำหนดให้โจทก์ไปจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและชำระเงินที่ค้างชำระแก่จำเลยที่ 1 ตามวันแห่งปฏิทิน การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดโดยไม่ต้องเตือนให้ชำระอีก แต่การที่จำเลยมีหนังสือบอกกล่าวอีกครั้ง แจ้งให้โจทก์ไปจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและชำระเงินในส่วนที่ค้างชำระทั้งหมดให้แก่จำเลยภายใน 7 วัน นับจากวันที่ออกหนังสือหากเกินกำหนดนี้โจทก์ไม่ไป จำเลยจะถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอีกต่อไป แสดงให้เห็นว่า จำเลยไม่ได้ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อหนังสือบอกกล่าวฉบับ ดังกล่าวให้เวลาปฏิบัติตามภายใน 7 วัน ซึ่งขัดต่อข้อกำหนดในสัญญาซึ่งกำหนดไว้ไม่น้อยกว่า 30 วัน ก่อนวันจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ การบอกกล่าวของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบและสัญญาดังกล่าวยังมีผลบังคับอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ, ค่าเสียหายจากการใช้ทรัพย์โดยมิชอบ, การกำหนดค่าเสียหายโดยศาล
เมื่อปัญหาในเรื่องการทำสัญญาเช่าซื้อฟังได้เป็นยุติตามที่จำเลยให้การรับว่า จำเลยได้ทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์จริง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยเห็นว่า ล. ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ล. กระทำการแทนโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อโจทก์ติดตามยึดรถที่ให้จำเลยเช่าซื้อคืนมาแล้วปรากฏว่าเครื่องยนต์และสีได้รับความเสียหายต้องทำสีใหม่ทั้งคันและจำเลยนำรถของโจทก์ไปใช้ประโยชน์โดยมิชอบในระหว่างผิดสัญญาเช่าซื้อ โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว ขอให้จำเลยชำระค่าขาดประโยชน์พร้อมด้วยดอกเบี้ย แต่โจทก์ไม่ได้เรียกค่าเสียหายในการที่เครื่องยนต์และสีรถเสียหายมาด้วยการที่โจทก์นำสืบถึงค่าเสียหายในเรื่องดังกล่าว เป็นการนอกคำขอของโจทก์ ศาลจึงไม่อาจพิพากษาค่าเสียหายส่วนนี้ให้ได้ ประเด็นที่ว่าค่าเสียหายในการขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ระหว่างผิดนัดมีเพียงใดนั้น แม้ศาลล่างทั้งสองไม่ได้วินิจฉัยไว้ แต่โจทก์ได้ยกประเด็นนี้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ทั้งได้สืบพยานไว้แล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้เสร็จสิ้นไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาเช่าซื้อ, นอกคำขอ, ค่าขาดประโยชน์จากทรัพย์สิน
เมื่อปัญหาในเรื่องการทำสัญญาเช่าซื้อฟังได้เป็นยุติตามที่จำเลยให้การรับว่า จำเลยได้ทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์จริง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยเห็นว่า ล.ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ล.กระทำการแทนโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อโจทก์ติดตามยึดรถที่ให้จำเลยเช่าซื้อคืนมาแล้วปรากฏว่าเครื่องยนต์และสีได้รับความเสียหายต้องทำสีใหม่ทั้งคัน และจำเลยนำรถของโจทก์ไปใช้ประโยชน์โดยมิชอบในระหว่างผิดสัญญาเช่าซื้อ โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว ขอให้จำเลยชำระค่าขาดประโยชน์พร้อมด้วยดอกเบี้ย แต่โจทก์ไม่ได้เรียกค่าเสียหายในการที่เครื่องยนต์และสีรถเสียหายมาด้วย การที่โจทก์นำสืบถึงค่าเสียหายในเรื่องดังกล่าว เป็นการนอกคำขอของโจทก์ ศาลจึงไม่อาจพิพากษาค่าเสียหายส่วนนี้ให้ได้
ประเด็นที่ว่าค่าเสียหายในการขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ระหว่างผิดนัดมีเพียงใดนั้น แม้ศาลล่างทั้งสองไม่ได้วินิจฉัยไว้ แต่โจทก์ได้ยกประเด็นนี้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ทั้งได้สืบพยานไว้แล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้เสร็จสิ้นไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1524/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน ทางออกสู่ถนนสาธารณะสำคัญ จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดได้หากรู้เห็น
ข้อตกลงรับรองว่าที่ดินที่ซื้อขายมีทางออกสู่ถนนสาธารณะได้ สามารถแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายที่ดินได้ และไม่มีกฎหมาย บัญญัติให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะใช้บังคับกันได้ ดังนั้นแม้ ในสัญญาจะซื้อขายและสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจะไม่ได้ระบุข้อตกลง เรื่องทางออกสู่ถนนสาธารณะไว้ ก็หาทำให้จำเลยที่ 1 พ้นจาก ความรับผิดตามข้อตกลงดังกล่าว เมื่อปรากฏภายหลังว่า ที่ดินพิพาทไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะตามข้อตกลงเป็นผลให้ ที่ดินพิพาทมีราคาต่ำลง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1แม้จำเลยที่ 2 ไม่มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่จำเลยที่ 2 ก็รับว่าที่ดินพิพาทได้มาหลังจากจำเลยทั้งสองแต่งงานกัน อันถือได้ว่าเป็นสินสมรส ซึ่งในวันทำสัญญาจะซื้อขายและวันจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2ได้ร่วมไปด้วย แสดงว่าจำเลยที่ 2 รู้เห็นให้ความยินยอมในการ ที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย แม้โจทก์จะนำสืบไม่ได้แน่ชัดว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นเงินเท่าใดแน่แต่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทอย่างที่ดินที่มีทางออกสู่ ถนนสาธารณะ เมื่อปรากฏว่าที่ดินพิพาทไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ ย่อมทำให้คุณค่าหรือราคาที่ดินพิพาทตกต่ำลง ศาลย่อมกำหนดค่าเสียหาย ในส่วนนี้ให้ตามความเหมาะสม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 907/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินทอดตลาด: การกลฉ้อฉลต้องระบุรายละเอียดชัดเจน และการขัดขวางการใช้ประโยชน์เป็นเหตุให้เกิดค่าเสียหาย
ในคำให้การของจำเลยบรรยายเพียงว่า ที่ดินพิพาทยังเป็น ของจำเลยซึ่งถูกโจทก์ร่วมกับธนาคาร ก.ทำกลฉ้อฉลเท่านั้นมิได้บรรยายว่าโจทก์ร่วมกับธนาคาร ก.กระทำการอย่างใดอันเป็นเหตุแห่งกลฉ้อฉลไว้โดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองจึงต้องห้ามมิให้นำสืบข้ออ้างดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นจะให้จำเลยนำสืบถึงรายละเอียดเหล่านี้ ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมกับธนาคาร ก. ทำกลฉ้อฉลจำเลยเมื่อโจทก์มีหลักฐานเอกสารมาแสดงว่าได้ซื้อที่ดินพิพาทจากธนาคาร ก. โจทก์จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบให้เห็นว่า ที่ดินพิพาทสามารถนำไปใช้เพาะปลูกหรือทำประโยชน์ใด แต่การที่จำเลยเข้าขัดขวาง มิให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย อยู่ในตัว ซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ตามความเหมาะสมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6776/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาซื้อขายและการริบเงินค่าที่ดิน: ข้อตกลงริบเงินไม่ใช่เบี้ยปรับ
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกันตามสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งในสัญญาดังกล่าวข้อ 2 ระบุว่า คู่สัญญาได้ตกลงราคาที่จะซื้อขายกันคิดเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 1,750,000 บาท โดยในวันทำสัญญานี้ (วันที่ 9 ธันวาคม 2537) ผู้ซื้อได้วางมัดจำไว้จำนวน 250,000 บาท ซึ่งผู้ขายจะได้รับเงินจำนวนดังกล่าวไว้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว และผู้ซื้อตกลงจะชำระเงินอีก800,000 บาท ภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2538 และสัญญาข้อ 3 ระบุว่า เงินส่วนที่เหลือจำนวน 700,000 บาท คู่สัญญาตกลงจะชำระกันในวันที่ 1 ธันวาคม 2538และผู้ขายตกลงจะไปทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญานี้ให้แก่ผู้ซื้อในวันเดียวกับที่ผู้ซื้อชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือดังกล่าว ต่อมาปรากฏว่าโจทก์ผิดสัญญาโดยชำระเงินงวดที่ 2 ให้จำเลยเพียง 100,000 บาท รวมเป็นเงินที่โจทก์ชำระให้จำเลยไปทั้งสิ้น 350,000 บาท นอกจากนี้สัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวมีข้อตกลงด้วยว่า หากโจทก์ผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งให้จำเลยริบเงินค่าที่ดินที่ชำระไว้แล้วทั้งหมดด้วย จึงเห็นได้ว่าตามสัญญาจะซื้อขายข้อ 2 และ ข้อ 3 ดังกล่าวโจทก์กับจำเลยตกลงแบ่งชำระราคาที่ดินเป็น 3 งวด งวดแรกกำหนดชำระในวันทำสัญญาจำนวน 250,000 บาท โดยให้ถือเป็นมัดจำด้วย ส่วนงวดที่ 2 จำนวน800,000 บาท และงวดที่ 3 จำนวน 700,000 บาท จะชำระในภายหลัง ดังนี้จึงถือว่ามีการวางเงินมัดจำตามสัญญาดังกล่าวเพียง 250,000 บาท เท่านั้น
ข้อตกลงในสัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาทมีลักษณะเป็นเพียงข้อสัญญากำหนดจำนวนเงินค่าที่ดินที่เหลือที่โจทก์จะต้องชำระให้แก่จำเลยเป็นงวด ๆ ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าเท่านั้น ไม่แน่ว่าเมื่อถึงกำหนดเวลาชำระเงินแต่ละงวดโจทก์จะชำระเงินให้จำเลยครบถ้วนหรือชำระมากน้อยเพียงใด ดังนี้แม้จะมีข้อสัญญาว่าหากโจทก์ผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งให้จำเลยริบเงินค่าที่ดินที่ชำระไว้แล้วทั้งหมดได้ แต่ก็หาได้มีลักษณะเป็นการกำหนดจำนวนเงินค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันจะถือเป็นเบี้ยปรับได้ไม่ ดังนี้ เงินตามข้อตกลงในสัญญาจำนวนดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเบี้ยปรับที่ศาลจะมีอำนาจลดลงได้ หากแต่เป็นเงินค่าที่ดินส่วนหนึ่งที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยตามสัญญา ซึ่งเมื่อข้อสัญญาให้สิทธิจำเลยริบเงินค่าที่ดินที่โจทก์ชำระไว้แล้วได้หากโจทก์ผิดสัญญาและปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยย่อมชอบที่จะริบเงินจำนวน 100,000 บาท ได้ทั้งหมดตามข้อสัญญาที่โจทก์ตกลงกับจำเลยไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6776/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินค่าที่ดินเมื่อผิดสัญญา: ข้อตกลงริบเงินไม่ถือเป็นเบี้ยปรับ
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกันตามสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งในสัญญาดังกล่าวข้อ 2 ระบุว่า คู่สัญญาได้ตกลงราคาที่จะซื้อขายกันคิดเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 1,750,000 บาท โดยในวันทำสัญญานี้(วันที่ 9 ธันวาคม 2537) ผู้ซื้อได้วางมัดจำไว้จำนวน250,000 บาท ซึ่งผู้ขายจะได้รับเงินจำนวนดังกล่าวไว้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว และผู้ซื้อตกลงจะชำระเงินอีก800,000 บาท ภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2538 และสัญญาข้อ 3ระบุว่า เงินส่วนที่เหลือจำนวน 700,000 บาท คู่สัญญาตกลง จะชำระกันในวันที่ 1 ธันวาคม 2538 และผู้ขายตกลงจะไปทำการ จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญานี้ให้แก่ผู้ซื้อ ในวันเดียวกับที่ผู้ซื้อชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือดังกล่าว ต่อมาปรากฏว่าโจทก์ผิดสัญญาโดยชำระเงินงวดที่ 2 ให้จำเลย เพียง 100,000 บาท รวมเป็นเงินที่โจทก์ชำระให้จำเลย ไปทั้งสิ้น 350,000 บาท นอกจากนี้สัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์ กับจำเลยดังกล่าวมีข้อตกลงด้วยว่า หากโจทก์ผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งให้จำเลยริบเงินค่าที่ดินที่ชำระไว้แล้วทั้งหมดด้วย จึงเห็นได้ว่าตามสัญญาจะซื้อขายข้อ 2 และข้อ 3ดังกล่าว โจทก์กับจำเลยตกลงแบ่งชำระราคาที่ดินเป็น 3 งวดงวดแรกกำหนดชำระในวันทำสัญญาจำนวน 250,000 บาทโดยให้ถือเป็นมัดจำด้วย ส่วนงวดที่ 2 จำนวน 800,000 บาทและงวดที่ 3 จำนวน 700,000 บาท จะชำระในภายหลัง ดังนี้ จึงถือว่ามีการวางเงินมัดจำตามสัญญาดังกล่าวเพียง250,000 บาท เท่านั้น ข้อตกลงในสัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาทมีลักษณะเป็นเพียงข้อสัญญากำหนดจำนวนเงินค่าที่ดินที่เหลือที่โจทก์จะต้องชำระให้แก่จำเลยเป็นงวด ๆ ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า เท่านั้น ไม่แน่ว่าเมื่อถึงกำหนดเวลาชำระเงินแต่ละงวดโจทก์จะชำระเงินให้จำเลยครบถ้วนหรือชำระมากน้อยเพียงใดดังนี้แม้จะมีข้อสัญญาว่าหากโจทก์ผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งให้จำเลยริบเงินค่าที่ดินที่ชำระไว้แล้วทั้งหมดได้แต่ก็หาได้มีลักษณะเป็นการกำหนดจำนวนเงินค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันจะถือเป็นเบี้ยปรับได้ไม่ ดังนี้เงินตามข้อตกลงในสัญญาจำนวนดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเบี้ยปรับที่ศาลจะมีอำนาจลดลงได้ หากแต่เป็นเงินค่าที่ดินส่วนหนึ่งที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยตามสัญญา ซึ่งเมื่อข้อสัญญาให้สิทธิจำเลยริบเงินค่าที่ดินที่โจทก์ชำระไว้แล้วได้หากโจทก์ผิดสัญญาและปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยย่อมชอบที่จะริบเงินจำนวน 100,000 บาท ได้ทั้งหมดตามข้อสัญญาที่โจทก์ตกลงกับจำเลยไว้
of 39