คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1476

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6889/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองสินสมรส: สิทธิเจ้าหนี้จำนอง vs. การเพิกถอนนิติกรรม
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นสินสมรสของจำเลยกับนาง ท. ซึ่งการนำไปจำนองแก่ผู้ร้องเป็นการจัดการสินสมรสที่นาง ท. กับจำเลยต้องจัดการร่วมกัน หรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476(1) แม้จะฟังว่านาง ท. จำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่ผู้ร้องโดยมิได้รับความยินยอมจากจำเลยผู้เป็นสามีก็ตาม แต่ผลก็คือจำเลยอาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 แต่ตราบใดที่ศาลยังมิได้เพิกถอนสัญญาจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างนาง ท.กับผู้ร้องย่อมมีผลผูกพันกันตามกฎหมาย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ฟ้องคดีต่อศาลขอให้เพิกถอนการจำนอง ผู้ร้องจึงชอบที่จะได้เงินจากการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในส่วนที่เป็นของจำเลยด้วย โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ตาม ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มิได้แก้ไขในเรื่องนี้ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6889/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองสินสมรส: สิทธิของเจ้าหนี้จำนองเมื่อสามีไม่ได้ยินยอม แต่ยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรม
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นสินสมรสของจำเลยกับนาง ท. ซึ่งการนำไปจำนองแก่ผู้ร้องเป็นการจัดการสินสมรสที่นาง ท. กับจำเลยต้องจัดการร่วมกัน หรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476(1) แม้จะฟังว่านาง ท. จำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่ผู้ร้องโดยมิได้รับความยินยอมจากจำเลยผู้เป็นสามีก็ตาม แต่ผลก็คือจำเลยอาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 แต่ตราบใดที่ศาลยังมิได้เพิกถอนสัญญาจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างนาง ท.กับผู้ร้องย่อมมีผลผูกพันกันตามกฎหมาย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ฟ้องคดีต่อศาลขอให้เพิกถอนการจำนอง ผู้ร้องจึงชอบที่จะได้เงินจากการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในส่วนที่เป็นของจำเลยด้วย โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ตาม ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มิได้แก้ไขในเรื่องนี้ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินบริคณห์ของสามีภายใต้กฎหมายที่ใช้บังคับก่อนและหลังการตรวจชำระ
โจทก์กับ ป.อยู่กินฉันสามีภริยามาก่อน ป.พ.พ.บรรพ 5 พ.ศ.2477 ใช้บังคับ จึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมียที่ดินพิพาทโจทก์กับ ป.ได้มาเมื่อปี 2491 เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ป. การจัดการสินสมรสดังกล่าวต้องบังคับตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.พ.ศ.2477มาตรา 1468, 1473 และมาตรา 1462 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่ได้ที่ดินพิพาทมา ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินบริคณห์ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ป.ย่อมมีอำนาจจัดการสินบริคณห์เองได้ แม้ ป.พ.พ.บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 1476 จะบัญญัติว่า นอกจากสัญญาก่อนสมรสจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น สามีและภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน และมาตรา1480 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปโดยปราศจากความยินยอมตามวรรคหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ก็ตาม แต่การใช้บทบัญญัติในบรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติในมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 ป.สามีโจทก์ จึงยังคงมีอำนาจจัดการสินบริคณห์รายนี้ได้ต่อไปตามที่มาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 บัญญัติไว้ และอำนาจจัดการนั้น มาตรา 1477 ที่ได้ตรวจชำระใหม่บัญญัติไว้ว่า ให้รวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วย
ป.สามีโจทก์มีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ป.กับจำเลยจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะมาฟ้องขอเพิกถอน
การสมรสระหว่างโจทก์กับ ป.ชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมียแล้ว แม้ต่อมาโจทก์กับ ป.ได้จดทะเบียนสมรสกันตาม ป.พ.พ.ในปี 2522 ย่อมไม่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ ป.ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9105/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้กู้ยืมเงินโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส และอำนาจในการทวงหนี้: ศาลฎีกาพิพากษายืน
จำเลยทั้งสองให้การเพียงว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะการที่โจทก์ให้กู้ยืมเงินต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสเสียก่อน การที่สามีโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอมนิติกรรมดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ โดยมิได้ให้การต่อสู้ว่าเงินที่โจทก์ให้กู้ยืมไปเป็นสินสมรสที่โจทก์กับสามีจะต้องจัดการร่วมกันตามกฎหมายจึงไม่มีประเด็นโต้เถียงว่าเงินดังกล่าวเป็นสินสมรสหรือไม่โจทก์ยอมให้จำเลยทั้งสองกู้ยืมเงินได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากสามีก่อน จำเลยทั้งสองให้การไว้เพียงลอย ๆ ว่า ช. ทนายโจทก์ไม่มีอำนาจทวงถามจำเลยทั้งสอง แต่ไม่ได้อ้างเหตุว่าเพราะเหตุใด จึงไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธ ไม่มีประเด็นที่ต้อง วินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 730/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส หากไม่ได้พิสูจน์ว่าเป็นสินสมรส ศาลต้องสืบพยาน
คู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องคดีต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก็เฉพาะการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองฝ่ายต้องจัดการร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1476 จำเลยให้การแต่เพียงว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยาโดยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องเกี่ยวกับสินสมรสที่โจทก์กับภริยาต้องจัดการร่วมกันจึงไม่มีประเด็นว่าทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องเป็นสินสมรสอันจะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย คดีมี ประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. หรือไม่และถ้าเป็นสินสมรสแล้ว ป. ได้ให้ความยินยอมในการทำ สัญญาจะซื้อจะขายหรือไม่ซึ่งโจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทเมื่อวันที่8ธันวาคม2532จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480ก่อนแก้ไขในปี2533การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง งดชี้สองสถานและ งดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาคดีไปนั้นเป็นการวินิจฉัยคดีโดยยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดและเป็นการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480ที่แก้ไขแล้วในปี2533จึงยังไม่ถูกต้องศาลชั้นต้นต้องฟังข้อเท็จจริงให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อนว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. หรือไม่และ ป. ได้ให้ความยินยอมด้วยหรือไม่แล้วจึงพิพากษาตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 730/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์สิน และความยินยอมของคู่สมรสในสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480
กฎหมายมิได้บัญญัติว่า ถ้าสามีฟ้องคดีจะต้องได้รับความยินยอมจากภริยาเสียก่อนทุกกรณี คู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องคดีต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก็เฉพาะการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองฝ่ายต้องจัดการร่วมกันตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1476 สำหรับคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยาโดยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องเกี่ยวกับสินสมรสที่โจทก์กับภริยาต้องจัดการร่วมกันตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าว จึงไม่มีประเด็นข้อโต้เถียงว่าทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องเป็นสินสมรสอันจะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย ดังนั้นโจทก์ย่อมฟ้องคดีนี้ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาเสียก่อน
โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม2532 จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 ก่อนแก้ไขในปี 2533 ซึ่งบัญญัติว่า"ในการจัดการสินสมรส ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปโดยปราศจากความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่ง นิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน" ดังนั้นหากที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. และ ป.มิได้ให้ความยินยอมในการทำสัญญาจะซื้อจะขาย นิติกรรมดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์ โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญามิได้ คดีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อนว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป.หรือไม่ ถ้าเป็นสินสมรสแล้ว ป.ได้ให้ความยินยอมด้วยหรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาย่อมเป็นการวินิจฉัยคดีโดยยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดดังกล่าวข้างต้น ทั้งยังเป็นการวินิจฉัยตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1480 ที่แก้ไขแล้วในปี 2533 จึงยังไม่ถูกต้อง กรณีมีเหตุสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 730/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรส และผลของการไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสในการทำนิติกรรม
กฎหมายมิได้บัญญัติว่าถ้าสามีฟ้องคดีจะต้องได้รับความยินยอมจากภริยาเสียก่อนทุกกรณีคู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องคดีต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก็เฉพาะการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองฝ่ายต้องจัดการร่วมกันตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1476สำหรับคดีนี้ปรากฎว่าจำเลยให้การแต่เพียงว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยาโดยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องเกี่ยวกับสินสมรสที่โจทก์กับภริยาต้องจัดการร่วมกันตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวจึงไม่มีประเด็นข้อโต้เถียงว่าทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องเป็นสินสมรสอันจะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายดังนั้นโจทก์ย่อมฟ้องคดีนี้ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาเสียก่อน โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทเมื่อวันที่8ธันวาคม2532จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480ก่อนแก้ไขในปี2533ซึ่งบัญญัติว่า"ในการจัดการสินสมรสถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปโดยปราศจากความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งนิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน"ดังนั้นหากที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับป. และป. มิได้ให้ความยินยอมในการทำสัญญาจะซื้อจะชายนิติกรรมดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญามิได้คดีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อนว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับป.หรือไม่ถ้าเป็นสินสมรสแล้วป.ได้ให้ความยินยอมด้วยหรือไม่ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาย่อมเป็นการวินิจฉัยคดีโดยยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดดังกล่าวข้างต้นทั้งยังเป็นการวินิจฉัยตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480ที่แก้ไขแล้วในปี2533จึงยังไม่ถูกต้องกรณีมีเหตุสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8264/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์โดยเจ้าของรวม และความยินยอมของภริยา
จำเลยซึ่งเป็นสามีทำสัญญาจะขายที่พิพาทอันเป็นอสังหาริมทรัพย์และการขายต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยร่วมผู้เป็นภริยาจึงต้องให้ความยินยอมเป็นหนังสือ โจทก์จะอ้างว่าการนั้นได้รับความยินยอมแล้วโดยไม่มีหลักฐานการให้ความยินยอมเป็นหนังสืออันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายเช่นนี้ย่อมฟังไม่ได้
โจทก์นำสืบเพียงว่าพบจำเลยร่วมหลังจากทำสัญญาในขณะไปรังวัดที่ดิน โดยไม่มีพฤติการณ์อื่นใดที่พอจะฟังว่าจำเลยร่วมได้ให้สัตยาบัน ทั้งการพบครั้งสุดท้ายจำเลยร่วมยังบอกให้จำเลยคืนมัดจำโดยจะไม่มีการขาย ซึ่งจำเลยร่วมก็นำสืบหักล้างว่า ไม่ทราบเรื่องจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับโจทก์และไม่เคยเห็นโจทก์ไปรังวัดที่พิพาทแต่อย่างใด ดังนี้ ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยร่วมให้สัตยาบันแล้ว
จำเลยและจำเลยร่วมร่วมกันครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทในระหว่างอยู่กินกันตั้งแต่ปี 2500 แต่เพิ่งจดทะเบียนสมรสเมื่อปี 2519 การถือครองที่พิพาทในขณะนั้นจึงเป็นลักษณะเจ้าของรวม ที่พิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยและจำเลยร่วมฝ่ายละครึ่งหนึ่ง หาใช่สินสมรสไม่ การที่จำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทแก่โจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยร่วมผู้เป็นเจ้าของรวม สัญญาดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ผูกพันที่พิพาทเฉพาะส่วนที่เป็นของจำเลย โจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่พิพาทส่วนที่เป็นของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8264/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสที่เป็นเจ้าของรวม หากไม่ได้รับความยินยอม สัญญาจะมีผลผูกพันเฉพาะส่วนของเจ้าของ
จำเลยซึ่งเป็นสามีทำสัญญาจะขายที่พิพาทอันเป็นอสังหาริมทรัพย์และการขายต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยร่วมผู้เป็นภริยาจึงต้องให้ความยินยอมเป็นหนังสือ โจทก์จะอ้างว่าการนั้นได้รับความยินยอมแล้วโดยไม่มีหลักฐานการให้ความยินยอมเป็นหนังสืออันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายเช่นนี้ย่อมฟังไม่ได้ โจทก์นำสืบเพียงว่าพบจำเลยร่วมหลังจากทำสัญญาในขณะไปรังวัดที่ดิน โดยไม่มีพฤติการณ์อื่นใดที่พอจะฟังว่าจำเลยร่วมยังบอกให้จำเลยคืนมัดจำโดยจะไม่มีการขาย ซึ่งจำเลยร่วมก็นำสืบหักล้างว่า ไม่ทราบเรื่องจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับโจทก์และไม่เคยเห็นโจทก์ไปรังวัดที่พิพาทแต่อย่างใด ดังนี้ ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยร่วมให้สัตยาบันแล้ว จำเลยและจำเลยร่วมร่วมกันครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทในระหว่างอยู่กินกันตั้งแต่ปี 2500 แต่เพิ่งจดทะเบียนสมรสเมื่อปี 2519 การถือครองที่พิพาทในขณะนั้นจึงเป็นลักษณะเจ้าของรวม ที่พิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยและจำเลยร่วมฝ่ายละครึ่งหนึ่ง หาใช่สินสมรสไม่ การที่จำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทแก่โจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยร่วมผู้เป็นเจ้าของรวม สัญญาดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ผูกพันที่พิพาทเฉพาะส่วนที่เป็นของจำเลย โจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่พิพาทส่วนที่เป็นของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมในการทำนิติกรรมของคู่สมรส: ขอบเขตและผลผูกพันของหนังสือยินยอมที่ให้ความยินยอมตลอดไป
ความยินยอมให้ทำนิติกรรมของสามีภริยาไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องให้ความยินยอมเฉพาะเรื่องเฉพาะรายจะให้ความยินยอมเป็นการล่วงหน้าและตลอดไปไม่ได้และโดยสภาพแล้วความยินยอมให้ทำนิติกรรมผู้ให้ความยินยอมสามารถให้ความยินยอมเฉพาะเรื่องเฉพาะรายหรือตลอดไปได้ หนังสือให้ความยินยอมมีข้อความว่าจำเลยยินยอมให้จ.สามีทำนิติกรรมในการกู้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีค้ำประกันและมีข้อความต่อไปอีกว่าหรือทำนิติกรรมอื่นใดที่เกี่ยวข้องได้โดยจำเลยตกลงให้ความยินยอมในการกระทำนั้นตลอดไปสัญญาค้ำประกันที่จ. ทำกับโจทก์จึงมีผลใช้บังคับโดยชอบจำเลยไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอน
of 13