พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสินสมรส ไม่ต้องมียินยอมจากสามี หากมิใช่การจัดการทรัพย์สินตามที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยที่1ลูกจ้างจำเลยที่2ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถยนต์ซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับส. สามีโจทก์จากจำเลยที่2ซึ่งไม่เข้ากรณีใดในอนุมาตรา1ถึงอนุมาตรา8ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1476วรรคหนึ่งโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากสามีตามวรรคสองของบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากสินสมรส: ภริยาฟ้องได้โดยไม่จำเป็นต้องมีหนังสือยินยอมจากสามี
คำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยที่1ลูกจ้างจำเลยที่2ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินสมรสของโจทก์จากจำเลยที่2จึงไม่เข้ากรณีหนึ่งกรณีใดตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1476วรรคหนึ่งระบุไว้ในอนุมาตรา1ถึงอนุมาตรา8แต่ประการใดและในวรรคสองได้ระบุว่าการจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งสามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายฉะนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากสามี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2220/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขาย: การผิดนัดชำระหนี้, สิทธิเลิกสัญญา, อายุความการฟ้องเรียกคืนเงินมัดจำ
ภรรยาฟ้องเรียกเงินมัดจำค่าซื้อที่ดินจากผู้จะขายตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินไม่ใช่การ จัดการสินสมรส ไม่อยู่ในข้อจำกัดที่ต้องได้รับ ความยินยอมจากสามีก่อน สัญญากำหนดวันชำระหนี้ไว้แน่นอนเมื่อฝ่ายหนึ่ง ผิดนัดอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิ เลิกสัญญาได้โดย ไม่ต้อง บอกกล่าว การ ฟ้องเรียกเงินมัดจำคืน กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่อง อายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีสิทธิฟ้องได้ภายในกำหนด อายุความ10ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดิน: ครอบครองปรปักษ์, การซื้อขายที่ดิน, และความสุจริตของผู้ซื้อ
การที่โจทก์ฟ้องคดีโดยยังไม่มีหลักฐานให้ความยินยอมจากภริยาเป็นเพียงข้อบกพร่องเกี่ยวกับความสามารถซึ่งศาลจะพึงสั่งให้โจทก์ดำเนินการแก้ไขเสียก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 ได้ แต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้โจทก์แก้ไข ก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาได้มี พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 ใช้บังคับซึ่งมาตรา 1476 ประกอบด้วยมาตรา 1477 ที่แก้ไขเพิ่มเติมได้บัญญัติให้มีผลว่า สำหรับการจัดการทรัพย์สินดังเช่นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ สามีหรือภริยามีอำนาจจัดการหรือฟ้องคดีได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้นเท่ากับมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับความสามารถของโจทก์แล้ว โจทก์จึงฟ้องคดีได้เองโดยหาจำต้องได้รับความยินยอมของภริยาเสียก่อนไม่
การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับ พ. แม้จะยอมให้มีการผ่อนชำระราคาที่ดินกันก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏมีข้อสัญญาว่าหากชำระราคาครบถ้วนแล้วจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทกันภายหลัง จึงเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดมิใช่เป็นสัญญาจะซื้อขาย เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 หลังจากจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก พ. แล้วได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาโดยการสร้างรั้วมีลักษณะเป็นการถาวรล้อมรอบที่พิพาทและปลูกสร้างโรงเก็บของและโรงเก็บรถ ซึ่ง พ. ก็รู้เห็นตลอดมา แต่มิได้แสดงเจตนาหวงแหนที่ดินพิพาทหรือห้ามปรามจำเลยแต่อย่างใด กลับยอมให้จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบตลอดมาติดต่อกันเป็นเวลากว่า 10 ปี จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
ก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทโจทก์เห็นอยู่ก่อนแล้วว่า ที่ดินพิพาทมีการล้อมรั้วและมีบ้านหลังเล็ก ๆ ปลูกอยู่ ซึ่ง พ. บอกโจทก์ว่าเป็นบ้านของจำเลยลูกพี่ลูกน้องโจทก์ ถ้าโจทก์ต้องการก็จะให้รื้อไป แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้สอบถามจำเลยให้แน่ชัดเสียก่อนที่จะซื้อที่ดินพิพาทจาก พ. ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะอะไร อาศัย พ. อยู่ในที่ดินพิพาทหรือไม่ ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้ขอโฉนดที่ดินพิพาทจาก พ. มาดูเพื่อตรวจสอบว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่มากน้อยเพียงใด การที่โจทก์ตัดสินใจซื้อที่ดินพิพาทซึ่งมีราคาถึง 770,000 บาทโดยอาศัยการมองจากหน้าต่างบ้าน พ. เพียงอย่างเดียวมิได้เข้าไปดูที่ดินพิพาทด้วยตนเองผิดวิสัยวิญญูชนโดยทั่วไปที่จะพึงกระทำจึงเป็นพิรุธอย่างยิ่ง ถือได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต จำเลยย่อมยกการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ จำเลยจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์
การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับ พ. แม้จะยอมให้มีการผ่อนชำระราคาที่ดินกันก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏมีข้อสัญญาว่าหากชำระราคาครบถ้วนแล้วจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทกันภายหลัง จึงเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดมิใช่เป็นสัญญาจะซื้อขาย เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 หลังจากจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก พ. แล้วได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาโดยการสร้างรั้วมีลักษณะเป็นการถาวรล้อมรอบที่พิพาทและปลูกสร้างโรงเก็บของและโรงเก็บรถ ซึ่ง พ. ก็รู้เห็นตลอดมา แต่มิได้แสดงเจตนาหวงแหนที่ดินพิพาทหรือห้ามปรามจำเลยแต่อย่างใด กลับยอมให้จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบตลอดมาติดต่อกันเป็นเวลากว่า 10 ปี จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
ก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทโจทก์เห็นอยู่ก่อนแล้วว่า ที่ดินพิพาทมีการล้อมรั้วและมีบ้านหลังเล็ก ๆ ปลูกอยู่ ซึ่ง พ. บอกโจทก์ว่าเป็นบ้านของจำเลยลูกพี่ลูกน้องโจทก์ ถ้าโจทก์ต้องการก็จะให้รื้อไป แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้สอบถามจำเลยให้แน่ชัดเสียก่อนที่จะซื้อที่ดินพิพาทจาก พ. ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะอะไร อาศัย พ. อยู่ในที่ดินพิพาทหรือไม่ ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้ขอโฉนดที่ดินพิพาทจาก พ. มาดูเพื่อตรวจสอบว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่มากน้อยเพียงใด การที่โจทก์ตัดสินใจซื้อที่ดินพิพาทซึ่งมีราคาถึง 770,000 บาทโดยอาศัยการมองจากหน้าต่างบ้าน พ. เพียงอย่างเดียวมิได้เข้าไปดูที่ดินพิพาทด้วยตนเองผิดวิสัยวิญญูชนโดยทั่วไปที่จะพึงกระทำจึงเป็นพิรุธอย่างยิ่ง ถือได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต จำเลยย่อมยกการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ จำเลยจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ และผลของการซื้อขายที่ตกเป็นโมฆะ
การที่โจทก์ฟ้องคดีโดยยังไม่มีหลักฐานให้ความยินยอมจากภริยาเป็นเพียงข้อบกพร่องเกี่ยวกับความสามารถซึ่งศาลจะพึงสั่งให้โจทก์ดำเนินการแก้ไขเสียก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา56ได้แต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้โจทก์แก้ไขก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ฉบับที่10)พ.ศ.2533ใช้บังคับซึ่งมาตรา1476ประกอบด้วยมาตรา1477ที่แก้ไขเพิ่มเติมได้บัญญัติให้มีผลว่าสำหรับการจัดการทรัพย์สินดังเช่นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีนี้สามีหรือภริยามีอำนาจจัดการหรือฟ้องคดีได้โดยมิได้ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งดังนั้นเท่ากับมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับความสามารถของโจทก์แล้วโจทก์จึงฟ้องคดีได้เองโดยหาจำต้องได้รับความยินยอมของภริยาเสียก่อนไม่ การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับพ. แม้จะยอมให้มีการผ่อนชำระราคาที่ดินกันก็ตามแต่เมื่อไม่ปรากฏมีข้อสัญญาว่าหากชำระราคาครบถ้วนแล้วจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทกันภายหลังจึงเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดมิใช่เป็นสัญญาจะซื้อขายเมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456หลังจากจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากพ. แล้วได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาโดยการสร้างรั้วมีลักษณะเป็นการถาวรล้อมรอบที่พิพาทและปลูกสร้างโรงเก็บของและโรงเก็บรถซึ่งพ. ก็รู้เห็นตลอดมาแต่มิได้แสดงเจตนาหวงแหนที่ดินพิพาทหรือห้ามปรามจำเลยแต่อย่างใดกลับยอมให้จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบตลอดมาติดต่อกันเป็นเวลากว่า10ปีจำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382 ก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทโจทก์เห็นอยู่ก่อนแล้วว่าที่ดินพิพาทมีการล้อมรั้วและมีบ้านหลังเล็กๆปลูกอยู่ซึ่งพง บอกโจทก์ว่าเป็นบ้านของจำเลยลูกพี่ลูกน้องโจทก์ถ้าโจทก์ต้องการก็จะให้รื้อไปแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้สอบถามจำเลยให้แน่ชัดเสียก่อนที่จะซื้อที่ดินพิพาทจากพ.ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะอะไรอาศัยพ.อยู่ในที่ดินพิพาทหรือไม่ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้ขอโฉนดที่ดินพิพาทจากพ. มาดูเพื่อตรวจสอบว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่มากน้อยเพียงใดการที่โจทก์ตัดสินใจซื้อที่ดินพิพาทซึ่งมีราคาถึง770,000บาทโดยอาศัยการมองจากหน้าต่างบ้านพ.เพียงอย่างเดียวมิได้เข้าไปดูที่ดินพิพาทด้วยตนเองผิดวิสัยวิญญูชนโดยทั่วไปที่จะพึงกระทำจึงเป็นพิรุธอย่างยิ่งถือได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตจำเลยย่อมยกการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้จำเลยจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการและจำหน่ายสินสมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส หากไม่ได้รับความยินยอม นิติกรรมไม่สมบูรณ์
ตามมาตรา 1476, 1477 และ 1480 แห่ง ป.พ.พ. บรรพ 5ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้บัญญัติไว้มีใจความว่า นอกจากสัญญาก่อนสมรสจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น สามีและภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน อำนาจจัดการสินสมรสรวมถึงอำนาจจำหน่ายสินสมรสด้วยในการจัดการสินสมรส ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปโดยปราศจากความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่ง นิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งให้สัตยาบัน เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีทำสัญญาจะขายที่ดินสินสมรสให้แก่โจทก์ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยา นิติกรรมย่อมไม่สมบูรณ์ โจทก์จึงไม่อาจจะบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6939/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้อนุบาล: สามี/ภริยาเป็นผู้มีสิทธิก่อน เว้นแต่มีเหตุสำคัญจึงตั้งผู้อื่นได้
กรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถจะต้องตั้งคู่สมรสเป็นผู้อนุบาลก่อนเพียงคนเดียว หากมีผู้อื่นร้องขอและมีเหตุสำคัญ ศาลจะตั้งผู้อื่นเป็นผู้อนุบาลก็ได้ การจะตั้งทั้งคู่สมรสและบุคคลอื่นเป็นผู้อนุบาลร่วมกันจะไม่สอดคล้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1463
การจัดการสินสมรสของคนไร้ความสามารถ ผู้อนุบาลต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/16 คือถ้าเป็นการจัดการตามมาตรา 1476 วรรคหนึ่ง ก็จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลร่วมกับผู้คัดค้าน
การจัดการสินสมรสของคนไร้ความสามารถ ผู้อนุบาลต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/16 คือถ้าเป็นการจัดการตามมาตรา 1476 วรรคหนึ่ง ก็จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลร่วมกับผู้คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6939/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้อนุบาล: ต้องแต่งตั้งคู่สมรสก่อน หากมีเหตุสำคัญศาลจึงจะตั้งผู้อื่นได้ การตั้งผู้อนุบาลร่วมไม่เป็นไปตามกฎหมาย
กรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถจะต้องตั้งคู่สมรสเป็นผู้อนุบาลก่อนเพียงคนเดียวหากมีผู้อื่นร้องขอและมีเหตุสำคัญศาลจะตั้งผู้อื่นเป็นผู้อนุบาลก็ได้การจะตั้งทั้งคู่สมรสและบุคคลอื่นเป็นผู้อนุบาลร่วมกันจะไม่สอดคล้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1463 การจัดการสินสมรสของคนไร้ความสามารถผู้อนุบาลต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1598/16คือถ้าเป็นการจัดการตามมาตรา1476วรรคหนึ่งก็จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลร่วมกับผู้คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6939/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้อนุบาล: คู่สมรสมีสิทธิก่อน เว้นแต่มีเหตุสำคัญจึงจะตั้งผู้อื่นได้
กรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถจะต้องตั้งคู่สมรสเป็นผู้อนุบาลก่อนเพียงคนเดียว หากมีผู้อื่นร้องขอและมีเหตุสำคัญ ศาลจะตั้งผู้อื่นเป็นผู้อนุบาลก็ได้ การจะตั้งทั้งคู่สมรสและบุคคลอื่นเป็นผู้อนุบาลร่วมกัน จะไม่สอดคล้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1463 การจัดการสินสมรสของคนไร้ความสามารถ ผู้อนุบาลต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/16 คือถ้าเป็นการจัดการตามมาตรา 1476 วรรคหนึ่ง ก็จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลร่วมกับผู้คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4912/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เพื่อหลักประกันการส่งไปทำงานต่างประเทศ ไม่ใช่การจัดการสินสมรส โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์มอบเงินให้จำเลยเพื่อให้จำเลยจัดส่งโจทก์ไปทำงานต่างประเทศ จำเลยจึงทำสัญญากู้ให้โจทก์โดยไม่มีการมอบเงินตามสัญญากู้การทำสัญญากู้ดังกล่าวเป็นการทำนิติกรรมเพื่อเป็นหลักประกันการที่จำเลยจะส่งโจทก์ไปทำงานต่างประเทศ มิได้ทำขึ้นเพื่อผูกพันสินสมรสของโจทก์โดยเฉพาะสัญญากู้ตามฟ้องจึงมิใช่การจัดการสินสมรสการที่โจทก์นำสัญญากู้มาฟ้องจึงมิใช่การจัดการสินสมรสอันจะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส