พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4912/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เพื่อหลักประกันการส่งไปทำงานต่างประเทศ ไม่ใช่การจัดการสินสมรส โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์มอบเงินให้จำเลยเพื่อให้จำเลยจัดส่งโจทก์ไปทำงานต่างประเทศ จำเลยจึงทำสัญญากู้ให้โจทก์โดยไม่มีการมอบเงินตามสัญญากู้การทำสัญญากู้ดังกล่าวเป็นการทำนิติกรรมเพื่อเป็นหลักประกันการที่จำเลยจะส่งโจทก์ไปทำงานต่างประเทศ มิได้ทำขึ้นเพื่อผูกพันสินสมรสของโจทก์โดยเฉพาะสัญญากู้ตามฟ้องจึงมิใช่การจัดการสินสมรสการที่โจทก์นำสัญญากู้มาฟ้องจึงมิใช่การจัดการสินสมรสอันจะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4433/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินสินสมรสให้บุตรหลานต้องได้รับความยินยอมจากภริยา การแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
การที่ ง. ยกที่ดินสินสมรสให้จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นบุตรและหลานโดยเสน่หามิใช่การให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยา เมื่อไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์การให้ดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกที่ดินอันเป็นสินสมรสส่วนของตนคืนได้ โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ง. ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ. 2477 ซึ่งตาม พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่ง พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 ดังนั้นการแบ่งสินสมรสของโจทก์กับ ง. จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 68 หาใช่แบ่งคนละส่วนเท่ากันตาม มาตรา 1533 ไม่ เมื่อโจทก์กับ ง. ต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน สินสมรสต้องแบ่งเป็น 3 ส่วน เป็นของ ง.2 ส่วน เป็นของโจทก์ 1 ส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3371/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ถือเป็นการจัดการสินสมรส และการงดสอบสวนพยานที่จำเลยไม่มาตามหมาย
การค้ำประกันสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ใช่การจัดการเกี่ยวกับสินสมรสสามีไม่จำต้องรับความยินยอมจากภรรยาก็ใช้บังคับได้ ในชั้นสอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของจำเลยการไต่สวนจำเลยโดยเปิดเผยและการส่งประกาศนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งไปยังภูมิลำเนาจำเลยซึ่งเป็นสถานที่เดียวกันกับที่ปิดหมายนัดสอบสวนพยานลูกหนี้ซึ่งจำเลยก็ทราบทุกครั้งทั้งมิได้แจ้งว่าย้ายภูมิลำเนาแล้ว จึงเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อเห็นว่าได้ส่งหมายเรียกให้จำเลยโดยชอบแล้วจำเลยไม่มา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะสั่งงดสอบสวนพยานจำเลยเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3234/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยินยอมการแลกเปลี่ยนที่ดินสินสมรส: ผลผูกพันต่อผู้จัดการมรดก
จำเลยร่วมซึ่งเป็นสามีของ ย. ได้ลงชื่อเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจและหนังสือยกกรรมสิทธิ์ที่ดิน กับทำบันทึกข้อตกลงสามฝ่ายยินยอมให้ ย.โอนกรรมสิทธิในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ ต้องถือว่าจำเลยร่วมยินยอมให้ ย. แลกเปลี่ยนที่ดินที่เป็นสินสมรสกับโจทก์แล้ว
เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาจะแลกเปลี่ยนระหว่างโจทก์กับ ย.ด้วยการโอนที่ดินของตนให้แก่จำเลยตามข้อตกลงตรงตามความประสงค์ของ ย.แล้ว สัญญาจะแลกเปลี่ยนดังกล่าวจึงมีผลบังคับได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 519ประกอบด้วยมาตรา 456 วรรคสอง จำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย. จึงต้องโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของ ย. ให้แก่โจทก์ตามสัญญา
เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาจะแลกเปลี่ยนระหว่างโจทก์กับ ย.ด้วยการโอนที่ดินของตนให้แก่จำเลยตามข้อตกลงตรงตามความประสงค์ของ ย.แล้ว สัญญาจะแลกเปลี่ยนดังกล่าวจึงมีผลบังคับได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 519ประกอบด้วยมาตรา 456 วรรคสอง จำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย. จึงต้องโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของ ย. ให้แก่โจทก์ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3234/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยินยอมแลกเปลี่ยนที่ดินสินสมรส: สัญญาบังคับใช้ได้เมื่อมีการชำระหนี้ตามข้อตกลง
จำเลยร่วมซึ่งเป็นสามีของย. ได้ลงชื่อเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจและหนังสือยกกรรมสิทธิ์ที่ดิน กับทำบันทึกข้อตกลงสามฝ่ายยินยอมให้ ย. โอนกรรมสิทธิในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ ต้องถือว่าจำเลยร่วมยินยอมให้ ย.แลกเปลี่ยนที่ดินที่เป็นสินสมรถกับโจทก์แล้ว เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติ การชำระหนี้ตามสัญญาจะแลกเปลี่ยนระหว่าง โจทก์กับย. ด้วยการโอนที่ดินของตนให้แก่จำเลยตามข้อตกลงตรงตามความประสงค์ของย. แล้ว สัญญาแลกเปลี่ยนดังกล่าวจึงมีผลบังคับได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 519 ประกอบด้วยมาตรา 456 วรรคสอง จำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกของย.จึงต้องโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของย.ให้แก่โจทก์ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 190/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งขับไล่: คำฟ้องแย้งไม่เคลือบคลุม และจำเลยมีอำนาจฟ้องแย้งได้ แม้เป็นสินสมรส
จำเลยที่ 2 บรรยายฟ้องแย้งว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้ซื้อที่พิพาทแทนโจทก์ แต่ซื้อในนามของตนเอง ที่พิพาทจึงเป็นของจำเลยทั้งสอง ได้ให้โจทก์และครอบครัวอยู่อาศัยและทำประโยชน์เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองแสดงเป็นปฏิปักษ์ต่อจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 2 จึงไม่ประสงค์ให้โจทก์และครอบครัวอยู่ในที่พิพาทตลอดไป ขอให้บังคับโจทก์และบริวารออกไปจากที่พิพาท ดังนี้ คำฟ้องแย้งแม้จะรวมมาในคำให้การ แต่ก็สามารถแยกแยะได้ว่าตอนไหนเป็นคำให้การตอนไหนเป็นคำฟ้องแย้งคำฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 แล้ว คำฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 2 เป็นบุตรเขยของโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่บุพการีของจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรสาวโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 2 ผู้เป็นสามีฟ้องแย้งขับไล่โจทก์ออกจากที่พิพาทอันเป็นสินสมรสได้ ก็ไม่ถือว่าจำเลยที่ 1 ฟ้องคดีด้วย เพราะจำเลยที่ 2 ฟ้องคดีในนามของตนเองไม่ได้ฟ้องแทนจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562 จำเลยที่ 2 มีอำนาจฟ้องแย้ง
จำเลยที่ 2 เป็นบุตรเขยของโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่บุพการีของจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรสาวโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 2 ผู้เป็นสามีฟ้องแย้งขับไล่โจทก์ออกจากที่พิพาทอันเป็นสินสมรสได้ ก็ไม่ถือว่าจำเลยที่ 1 ฟ้องคดีด้วย เพราะจำเลยที่ 2 ฟ้องคดีในนามของตนเองไม่ได้ฟ้องแทนจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562 จำเลยที่ 2 มีอำนาจฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 190/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องแย้งขับไล่ไม่เคลือบคลุม และจำเลยมีอำนาจฟ้องแย้งได้ แม้ภริยาให้ความยินยอม
จำเลยที่ 2 บรรยายฟ้องแย้งว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้ซื้อที่พิพาทแทนโจทก์ แต่ซื้อในนามของตนเอง ที่พิพาทจึงเป็นของจำเลยทั้งสองได้ให้โจทก์และครอบครัวอยู่อาศัยและทำประโยชน์เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองแสดงเป็นปฏิปักษ์ต่อจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 2 จึงไม่ประสงค์ให้โจทก์และครอบครัวอยู่ในที่พิพาทตลอดไป ขอให้บังคับโจทก์และบริวารออกไปจากที่พิพาท ดังนี้ คำฟ้องแย้งแม้จะรวมมาในคำให้การ แต่ก็สามารถแยกแยะได้ว่าตอนไหนเป็นคำให้การตอนไหนเป็นคำฟ้องแย้งคำฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172แล้ว คำฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยที่ 2 เป็นบุตรเขยของโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่บุพการีของจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรสาวโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 2 ผู้เป็นสามีฟ้องแย้งขับไล่โจทก์ออกจากที่พิพาทอันเป็นสินสมรสได้ ก็ไม่ถือว่าจำเลยที่ 1 ฟ้องคดีด้วย เพราะจำเลยที่ 2 ฟ้องคดีในนามของตนเองไม่ได้ฟ้องแทนจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 จำเลยที่ 2 มีอำนาจฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4092/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกองมรดกจากสัญญาค้ำประกันและมอบสิทธิในเงินฝากเพื่อประกันหนี้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องชำระและกำหนดเวลาชำระกับหากผิดนัดให้ชำระกันอย่างไรไว้ให้สามารถเข้าใจได้ ส่วนดอกเบี้ยคิดตั้งแต่เมื่อใด เกินกฎหมายหรือไม่ เป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เคลือบคลุม คดีแพ่งของศาลชั้นต้นที่จำเลยที่ 2 คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยขอเพิกถอนสัญญาค้ำประกันที่ภริยาจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ คดีดังกล่าวจำเลยที่ 2 ฟ้องในฐานะส่วนตัว แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของภริยาจำเลยที่ 2 มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดเป็นการส่วนตัวโจทก์ในคดีแพ่งดังกล่าวกับจำเลยที่ 2 ในคดีนี้มิได้อยู่ในฐานะเดียวกัน ถือว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของภริยา มิใช่คู่ความในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำและไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ บันทึกการจำนำเงินฝากประจำ ระบุว่าภริยาจำเลยที่ 2 จำนำเงินฝากประจำของตนไว้แก่โจทก์เพื่อประกันหนี้ของตนและ/หรือจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เป็นการจำนำเงินฝากเพราะเงินที่ภริยาจำเลยที่ 2ฝากประจำไว้ดังกล่าวตกแก่ผู้รับฝากไปแล้ว การที่ภริยาจำเลยที่ 2 นำสมุดคู่ฝากเงินฝากประจำดังกล่าวมอบให้ไว้แก่โจทก์จึงมิใช่การจำนำเงินฝาก แต่เป็นการตกลงมอบสิทธิที่จะได้รับเงินฝากคืนให้ไว้แก่โจทก์เพื่อประกันหนี้ของตนและของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสัญญาต่างหากจากสัญญาค้ำประกันที่ภริยาจำเลยที่ 2 ค้ำประกันหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ อันเป็นสัญญาค้ำประกันด้วยบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 สัญญาค้ำประกันด้วยบุคคลนี้ผูกพันตัวภริยาจำเลยที่ 2 มิได้เกี่ยวกับสินสมรส จึงมิใช่เป็นการจัดการสินสมรสตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1476,1477,1480 ที่จำเลยที่ 2จะต้องให้ความยินยอมร่วมกันเป็นหนังสือตามมาตรา 1479 จำเลยที่ 2ในฐานะผู้จัดการมรดกของภริยา จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันของภริยาที่ผูกพันตนเอง มิใช่การจัดการสินสมรส สามีไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอน
การที่ น. ภริยาโจทก์ทำสัญญาค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของ ส. โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม มิใช่เป็นการจัดการสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476,1477 ซึ่งจะต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอเพิกถอน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เกิดจากข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างไว้ในฟ้อง และจากทางนำสืบของโจทก์จึงเป็นข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบ แม้มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น จำเลยก็มีสิทธิอุทธรณ์ได้ และศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนสัญญาค้ำประกันที่ภริยาทำไว้ก่อนสมรส ไม่ใช่การจัดการสินสมรส
แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า สัญญาค้ำประกันที่ น.ภริยาโจทก์ทำไว้แก่จำเลยเป็นนิติกรรมที่ไม่เกี่ยวกับการจัดการสินสมรสโจทก์ไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนก็ตาม แต่ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาค้ำประกันที่ น.ทำไว้แก่จำเลยหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งปัญหาดังกล่าวเกิดจากข้อเท็จจริงที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวอ้างไว้ในฟ้องและจากการนำสืบของโจทก์จึงเป็นข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบแม้ไม่ใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยก็มีสิทธิอุทธรณ์เป็นประเด็นขึ้นมาได้ในชั้นอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคสอง สัญญาค้ำประกันที่น.ยอมผูกพันตนต่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของ ส.เพื่อชำระหนี้เมื่อส.ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เป็นสัญญาค้ำประกันด้วยบุคคลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680ซึ่งผูกพันตัว น.มิได้เกี่ยวกับสินสมรสและมิใช่เป็นการจัดการสินสมรสตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่มาตรา 1476,1477 ที่โจทก์ซึ่งเป็นสามีจะต้องให้ความยินยอมร่วมกันเป็นหนังสือตามมาตรา 1479 โจทก์จึงขอให้เพิกถอนสัญญาค้ำประกันดังกล่าวตามมาตรา 1480 ไม่ได้