คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1476

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3744/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสัญญาจ้างแรงงาน, อำนาจฟ้องของหญิงมีสามี, ค่าชดเชย, โบนัส, ค่านายหน้า
สิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่เป็นสินสมรสการฟ้องเรียกเงินตามสัญญาจ้างแรงงานมิใช่เป็นการจัดการสินสมรสหญิงมีสามีจึงมีอำนาจฟ้องคดีได้ตามลำพังตน โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี เงินค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนการขายที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการขายอันเป็นการจ่ายตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 2 ต้องนำมาเป็นฐานในการคิดคำนวณค่าชดเชยด้วย นายจ้างกำหนดว่าเงินโบนัสพิเศษจะจ่ายให้เมื่อสิ้นปี ย่อมแสดงว่าลูกจ้างต้องทำงานจนถึงสิ้นเดือนธันวาคมจึงจะมีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้างก่อนถึงสิ้นเดือนธันวาคมลูกจ้างก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสพิเศษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3744/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสัญญาจ้างแรงงานเป็นสิทธิเฉพาะตัว หญิงมีสามีฟ้องเองได้ ค่าคอมมิชชั่นนับเป็นค่าจ้าง คำนวณค่าชดเชยได้ โบนัสจ่ายเมื่อทำงานครบปี
สิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่เป็นสินสมรสการฟ้องเรียกเก็บเงินตามสัญญาจ้างแรงงานมิใช่เป็นการจัดการสินสมรส หญิงมีสามีจึงมีอำนาจฟ้องคดีได้ตามลำพังตน โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี
เงินค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนการขายที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการขายอันเป็นการจ่ายตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ต้องนำมาเป็นฐานในการคิดคำนวณค่าชดเชยด้วย
นายจ้างกำหนดว่าเงินโบนัสพิเศษจะจ่ายให้เมื่อสิ้นปี ย่อมแสดงว่าลูกจ้างต้องทำงานถึงสิ้นเดือนธันวาคมจึงจะมีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้างก่อนถึงสิ้นเดือนธันวาคม ถูกจ้างก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสพิเศษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายสินสมรสระงับด้วยสัญญาประนีประนอม การจัดการสินสมรสต้องผูกพันสินสมรสโดยตรง
ส. ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านอันเป็นสินสมรสของโจทก์และ ส. ให้กับจำเลยแล้วผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องเรียกเบี้ยปรับและมัดจำคืน ส. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลยอมชำระเบี้ยปรับและคืนเงินมัดจำให้จำเลย ดังนี้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านได้ระงับไปแล้วด้วยผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852โจทก์ซึ่งเป็นสามี จะฟ้องขอให้เพิกถอนมิได้ ส่วนสัญญาประนีประนอมยอมความก็เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับหนี้เงิน มิได้ทำขึ้นเพื่อผูกพันสินสมรสโดยเฉพาะ จึงมิใช่เป็นการจัดการสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476, 1477 และ 1480 โจทก์ซึ่งเป็นสามีจะฟ้องขอให้เพิกถอนมิได้เช่นเดียวกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการระงับหนี้ด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความและการจัดการสินสมรส
ส. ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านอันเป็นสินสมรสของโจทก์และ ส. ให้กับจำเลยแล้วผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องเรียกเบี้ยปรับและมัดจำคืนส. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลยอมชำระเบี้ยปรับและคืนเงินมัดจำให้จำเลย ดังนี้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านได้ระงับไปแล้วด้วยผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852โจทก์ซึ่งเป็นสามี จะฟ้องขอให้เพิกถอนมิได้ ส่วนสัญญาประนีประนอมยอมความก็เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับหนี้เงิน มิได้ทำขึ้นเพื่อผูกพันสินสมรสโดยเฉพาะ จึงมิใช่เป็นการจัดการสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476,1477 และ 1480โจทก์ซึ่งเป็นสามีจะฟ้องขอให้เพิกถอนมิได้เช่นเดียวกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับสัญญาซื้อขายสินสมรสด้วยสัญญาประนีประนอม และขอบเขตการจัดการสินสมรส
ส. ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านอันเป็นสินสมรสของโจทก์กับ ส. ให้แก่จำเลย แล้วผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องเรียกเบี้ยปรับและมัดจำคืน ส. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล ยอมชำระเบี้ยปรับและคืนเงินมัดจำให้จำเลย ดังนี้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านได้ระงับไปแล้วด้วยผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 โจทก์ซึ่งเป็นสามีจะฟ้องขอให้เพิกถอนมิได้ ส่วนสัญญาประนีประนอมยอมความก็เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับหนี้เงิน มิได้ทำขึ้นเพื่อผูกพันสินสมรสโดยเฉพาะจึงมิใช่เป็นการจัดการสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1476,1477 และ 1480 โจทก์ซึ่งเป็นสามีจะฟ้องขอให้เพิกถอนมิได้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในเช็คทำให้ผู้รับโอนเป็นผู้ทรงเช็คและผู้เสียหายตาม พ.ร.บ. เช็ค
โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทให้ ศ. ภริยาโจทก์ความว่า 'ข้าพเจ้า(ระบุชื่อ) ขอโอนเงินในเช็คฉบับนี้ให้แก่ ศ.' โดยลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน ดังนี้ย่อมมีผลเป็นการโอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่เช็คนั้นแก่ ศ.แล้วศ. ย่อมเป็นผู้ทรงเช็ค ซึ่งฐานะผู้ทรงเช็คเป็นเรื่องเฉพาะตัว ไม่ใช่ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาจึงจะมีการกระทำแทนซึ่งกันและกันไม่ได้ เมื่อ ศ. เป็นผู้ทรงเช็คในวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินอันเป็นวันเกิดเหตุตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 ศ.จึงเป็นผู้เสียหายโจทก์หาใช่ผู้เสียหายยไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1862/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมเงินที่ภริยากู้โดยสามีไม่ยินยอม ไม่ทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆะ หากเป็นการกู้ส่วนตัวไม่ใช่การจัดการสินสมรส
จำเลยเป็นหญิงมีสามี สมัครใจทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่าสัญญากู้ทำขึ้นเพราะถูกบังคับหรือสำคัญผิดก็ย่อมเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้สามีจำเลยไม่ได้ให้ความยินยอมในการกู้เงินก็ไม่ทำให้สัญญากู้ดังกล่าวเป็นสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการกู้เงินของจำเลยไม่ใช่การจัดการเกี่ยวกับสินสมรสที่จะต้องให้สามีจำเลยยินยอม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3293/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรส ต้องฟ้องร่วมกับภริยาหรือได้รับความยินยอม
เงินที่โจทก์ให้จำเลยกู้เป็นเงินสินสมรสซึ่งโจทก์และภริยาย่อมเป็นผู้จัดการเงินดังกล่าวร่วมกัน อำนาจจัดการสินสมรสรวมถึงอำนาจฟ้องและต่อสู้คดีเกี่ยวกับสินสมรสนั้นด้วย การที่โจทก์ฟ้องคดีเรียกคืนเงินกู้ดังกล่าวจากจำเลยจึงเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรส โจทก์ต้องฟ้องร่วมกับภริยาหรือได้รับความยินยอมจากภริยาเสียก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1857/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีพิพาทที่ดิน: การโต้แย้งสิทธิและอายุความ การเพิกถอน น.ส.3
ข้อที่จำเลยและจำเลยร่วมฎีกาว่าการฟ้องคดีของโจทก์ทั้งสองไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสจึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จำเลยและจำเลยร่วมมิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การ การที่จำเลยและจำเลยร่วมมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นในคำให้การไว้แต่ศาลชั้นต้นจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็เห็นว่าไม่มีเหตุอันสมควรที่จะยกขึ้นวินิจฉัย
แม้ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 จะบัญญัติให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เมื่อปรากฏว่าได้ออกโดยคลาดเคลื่อน เช่น ออก น.ส.3 ทับที่ของบุคคลอื่นแต่ก็มิได้หมายความว่าเฉพาะผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้นที่สั่งเพิกถอนหรือแก้ไขน.ส.3 ที่ออกโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายและมิได้หมายความว่าการเพิกถอนหรือแก้ไข น.ส.3 ที่ออกโดยคลาดเคลื่อนหรือโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น จะต้องดำเนินการตามวิธีการตามที่มาตรา 61 บัญญัติไว้เพียงประการเดียว ในบางกรณีคู่กรณีอาจเห็นว่าการดำเนินการตามมาตรา 61 อาจไม่ทันการหรือเกิดความล่าช้าเนื่องจากคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งประวิงเวลาไว้ เช่นนี้ คู่กรณีก็มีสิทธิดำเนินคดีทางศาลเพื่อให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขการออกน.ส.3โดยคลาดเคลื่อนหรือโดยไม่ชอบนั้นได้ ดังจะเห็นได้จากความในวรรคท้ายแห่งมาตรา 61 ว่า 'ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนหรือแก้ไขอย่างใดแล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา71 ดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นตามวิธีการที่อธิบดีกำหนด' ส่วนบทบัญญัติมาตรา 60 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินก็เป็นเรื่องที่คู่กรณีโต้แย้งสิทธิในการออกโฉนดที่ดินและกำหนดระยะเวลาการฟ้องร้องไว้ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดได้พิจารณาสั่งในปัญหาพิพาทนั้นตามบทบัญญัติมาตรา 60,61 หาได้มีข้อห้ามมิให้ฟ้องคดีหากมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องได้เองหากสิทธิของโจทก์ถูกโต้แย้งตามบทบัญญัติมาตรา 55 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่โจทก์ทั้งสองขอให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดสอบเขตที่ดินของตนในการรังวัดสอบเขตครั้งนี้มี ส.ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากจำเลยให้ไประวังแนวเขตได้ยืนยันว่ามีการรังวัดรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลย ส. จึงไม่ยอมรับรองแนวเขตด้านนี้ เมื่อ ส.ขอรังวัดสอบเขตที่ดินของจำเลยส. ก็ยืนยันว่าที่ดินที่โจทก์ที่ 1 อ้างว่าเป็นของโจทก์ที่ 1 นั้น เป็นที่ดินของจำเลย นอกจากนี้ปรากฏตามรายงานผลการรังวัดตรวจสอบ น.ส.3 ของเจ้าพนักงานที่ดินลงวันที่ 28 มิถุนายน 2522 ถึงนายอำเภอมีข้อความสำคัญว่า เมื่อโจทก์ที่ 1 กับพวกขอรังวัดสอบเขตปรากฏว่าเกิดกรณีสงสัยว่าที่ดินซึ่งจำเลยซื้อมาจะทับ น.ส.3ของโจทก์ที่1 จึงได้แจ้งให้จำเลยทราบ ครั้นจำเลยขอรังวัดสอบเขตจึงทราบแน่ชัดว่าน.ส.3ก. ของจำเลยทับ น.ส.3 ของโจทก์เป็นบางส่วน ดังนี้จึงเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่ามีการโต้แย้งสิทธิเกิดขึ้นแล้วโจทก์ทั้งสองย่อมมีอำนาจเสนอคดีต่อศาลหรือมีอำนาจฟ้องคดีได้
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้เพิกถอน น.ส.3ก.ของจำเลยส่วนที่ออกทับ น.ส.3ของโจทก์ จำเลยและจำเลยร่วมมิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าได้แย่งการครอบครองที่ดินของโจทก์จึงไม่มีประเด็นในเรื่องกำหนดเวลาการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในรถยนต์หลังซื้อขายและอำนาจฟ้องคดีค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
โจทก์ที่ 1 ขอซื้อรถยนต์จากบริษัท ส.โดยมีข้อสัญญาไม่ให้โจทก์ที่ 1 จำหน่ายจ่ายโอนหรือให้ผู้อื่นครอบครองใช้รถยนต์คันนั้น ต่อมาโจทก์ที่ 1 ขายรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 2 โดยบริษัท ส. ก็ทราบและไม่ถือเป็นเหตุเลิกสัญญากับโจทก์ที่ 1 คงรับเงินค่างวดรถจากโจทก์ที่ 1 ตลอดมา เมื่อโจทก์ที่ 1 ขายรถให้โจทก์ที่ 2 แล้วก็ได้ส่งมอบการครอบครองให้โจทก์ที่ 2 ใช้ประโยชน์ในรถคันดังกล่าว จึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 2 รับโอนรถคันพิพาทมาโดยชอบ โจทก์ที่ 2 จึงเป็นผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดทำให้รถเสียหายได้
ทางพิจารณาไม่ปรากฏว่าทรัพย์พิพาทตามฟ้องเป็นสินสมรสและจะสันนิษฐานว่าเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1474 ก็ไม่ได้ เพราะไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ 2 ได้จดทะเบียนสมรสหรือไม่ จึงยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 2 มีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์พิพาท
of 13