พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4054/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีของหญิงมีสามีและประเด็นความสมบูรณ์ของฟ้องที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์ว่าโจทก์เป็นหญิงมีสามีแต่โจทก์ไม่ได้แนบหนังสือให้ความยินยอมมาท้ายคำฟ้อง ฟ้องของโจทก์ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายโดยมิได้อ้างเหตุแห่งการนี้ว่าที่พิพาทเป็นสินสมรส จึงไม่มีปัญหาที่จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1479 จำเลยจะอ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 1475 วรรคท้ายมาใช้โดยจำเลยมิได้ให้การไว้โดยชัดแจ้งหาได้ไม่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 182 มิได้บังคับให้มีการชี้สองสถานทุกคดีไป เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วก็ย่อมมีอำนาจงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลยได้ ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3333/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความและการยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ฟ้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถา
หากศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องฟ้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้ผู้ร้องก็จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลเพื่อใช้แทนผู้ชนะคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้อง ชำระเกี่ยวกับคำฟ้องอุทธรณ์ที่ผู้ร้องยื่นต่อศาลนั้น ผู้ร้องก็ยังไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องชำระในชั้นนี้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องนำค่าฤชาธรรมเนียมมาชำระก่อนจึงค่อยกำหนดนัดไต่สวนคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความ แทนที่ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
นางส.ร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้เป็นมารดา ทรัพย์สินที่อาจได้มาตามคำพิพากษาซึ่งจะตกได้แก่ผู้ร้องก็จะเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง มิใช่เป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับสามี กรณีจึงมิใช่เป็นกรณีที่ผู้ร้องเข้า ไปจัดการ สินสมรสอันจะต้องจัดการร่วมกับสามี หรือต้องได้รับความยินยอมจากสามีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476,1477, และ 1478
นางส.ร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้เป็นมารดา ทรัพย์สินที่อาจได้มาตามคำพิพากษาซึ่งจะตกได้แก่ผู้ร้องก็จะเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง มิใช่เป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับสามี กรณีจึงมิใช่เป็นกรณีที่ผู้ร้องเข้า ไปจัดการ สินสมรสอันจะต้องจัดการร่วมกับสามี หรือต้องได้รับความยินยอมจากสามีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476,1477, และ 1478
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1704/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการทรัพย์สินร่วม การขายสินสมรสโดยไม่ยินยอม และความรับผิดทางอาญาจากการแจ้งข้อมูลเท็จ
หลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ ใช้บังคับแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าได้ทำสัญญาก่อนสมรสในเรื่องทรัพย์สิน ไว้เป็นพิเศษ อำนาจการจัดการที่ดินสินสมรสระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นสามี และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภรรยาตามฟ้องซึ่งรวมถึงอำนาจการจำหน่ายด้วย ย่อมเป็นอำนาจของโจทก์และจำเลยที่ 1 รวมกันตามมาตรา 1476 และมาตรา 1477 แม้จำเลยที่ 1 จะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ในโฉนดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีอำนาจทำนิติกรรมขายโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าจำเลยที่ 1เป็นหญิงหม้ายหย่ากับสามี ยังไม่มีสามีใหม่เจ้าพนักงานที่ดิน จึงจดทะเบียนโอนขายที่ดินตามฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมทำให้โจทก์ ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในข้อหาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะของการสมรสซ้อน: การสมรสที่ขัดกับกฎหมาย แม้มีการจดทะเบียนภายหลัง
ไม่มีกฎหมายบังคับว่าถ้าผู้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีอายุ 80 ปีเศษต้องให้เจ้าหน้าที่อำเภอรับรองสติสัมปชัญญะของผู้มอบอำนาจ
โจทก์ฟ้องเรียกร้องเอามรดกของบิดาในฐานะที่ตนเป็นทายาทและทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกเป็นสินส่วนตัวตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสินส่วนตัว มิใช่เป็นเรื่องการจัดการสินสมรสโจทก์มีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรสพ. กับโจทก์ที่ 1 เป็นสามีภริยากันตลอดมาถึงวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แม้ภายหลัง พ. จะแยกไปอยู่กินกับจำเลยที่ 1 และต่อมาได้จดทะเบียนสมรสกันโดยแจ้งต่อนายทะเบียนว่าเคยมีภริยามาก่อน แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และได้เลิกกันไปแล้ว ก็ไม่ทำให้การสมรสระหว่าง พ. กับโจทก์ที่ 1 ขาดจากกัน เพราะการสมรสจะขาดจากกันก็ด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนเท่านั้น การจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 ในขณะที่ พ.มีโจทก์ที่ 1 เป็นคู่สมรสอยู่แล้ว จึงเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขแห่งการสมรส และเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 และ มาตรา 1496จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดและบำนาญค้างจ่ายของพ. กับไม่มีสิทธิรับมรดกด้วย
โจทก์ฟ้องเรียกร้องเอามรดกของบิดาในฐานะที่ตนเป็นทายาทและทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกเป็นสินส่วนตัวตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสินส่วนตัว มิใช่เป็นเรื่องการจัดการสินสมรสโจทก์มีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรสพ. กับโจทก์ที่ 1 เป็นสามีภริยากันตลอดมาถึงวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แม้ภายหลัง พ. จะแยกไปอยู่กินกับจำเลยที่ 1 และต่อมาได้จดทะเบียนสมรสกันโดยแจ้งต่อนายทะเบียนว่าเคยมีภริยามาก่อน แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และได้เลิกกันไปแล้ว ก็ไม่ทำให้การสมรสระหว่าง พ. กับโจทก์ที่ 1 ขาดจากกัน เพราะการสมรสจะขาดจากกันก็ด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนเท่านั้น การจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 ในขณะที่ พ.มีโจทก์ที่ 1 เป็นคู่สมรสอยู่แล้ว จึงเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขแห่งการสมรส และเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 และ มาตรา 1496จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดและบำนาญค้างจ่ายของพ. กับไม่มีสิทธิรับมรดกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3060/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาและสินสมรส: สัญญาประกันสมบูรณ์ ไม่ต้องมียินยอมจากภริยา
การที่จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาต่อโจทก์ โดยระบุเรือนอันเป็นสินสมรสไว้ท้ายสัญญาประกันเพื่อเป็นการแสดงหลักทรัพย์ หาใช่เป็นนิติกรรมในการจัดการสินสมรสซึ่งสามีภริยาจะต้องจัดการร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1476 ไม่ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาจึงเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์และผูกพันจำเลยโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา ส่วนจะเป็นผลทำให้มีการยึดเรือนนั้นเมื่อมีการผิดสัญญาประกันก็เป็นเรื่องในชั้นบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3060/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาโดยใช้สินสมรสเป็นหลักประกัน ไม่ต้องมียินยอมจากภริยา
การที่จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาต่อโจทก์ โดยระบุเรือนอันเป็นสินสมรสไว้ท้ายสัญญาประกันเพื่อเป็นการแสดงหลักทรัพย์หาใช่เป็นนิติกรรมในการจัดการสินสมรสซึ่งสามีภริยาจะต้องจัดการร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1476 ไม่สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาจึงเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์และผูกพันจำเลยโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา ส่วนจะเป็นผลทำให้มีการยึดเรือนนั้นเมื่อมีการผิดสัญญาประกันก็เป็นเรื่องในชั้นบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ & นิติกรรมอำพราง: ผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ สัญญาเช่าไม่เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาไถ่
ผู้ให้เช่าหาจำต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ให้เช่าเสมอไปไม่ เมื่อจำเลยทำสัญญาเช่าบ้านและที่ดินกับโจทก์ แล้วจำเลยผิดสัญญา โจทก์บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ จำเลยจะยกเหตุที่โจทก์ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่ให้เช่ามาเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้
ทรัพย์ที่โจทก์ให้เช่าเป็นของบุตรโจทก์ การฟ้องขับไล่จำเลยจึงไม่ใช่เป็นการจัดการสินสมรสของโจทก์กับสามีอันจะต้องทำร่วมกันตามป.พ.พ. ม.1476
กรณีจะเป็นนิติกรรมอำพรางได้จะต้องปรากฏว่า นิติกรรมที่อำพรางและนิติกรรมที่ถูกอำพรางคู่กรณีจะต้องเป็นบุคคลเดียวกันและต้องทำขึ้นในคราวเดียวกัน จำเลยนำที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไปขายฝากโจทก์ร่วมโดยโจทก์เป็นผู้ลงชื่อรับซื้อฝากแทนโจทก์ร่วมต่อมาจำเลยไม่ได้ไถ่ภายในกำหนด ทรัพย์ดังกล่าวจึงเป็นของโจทก์ร่วมต่อมาจำเลยทำสัญญาเช่าจากโจทก์ สัญญาเช่านี้มิได้เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาไถ่ทรัพย์คืน แต่เป็นนิติกรรมที่โจทก์จำเลยมีเจตนาให้มีผลบังคับกันโดยแท้จริง มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
ทรัพย์ที่โจทก์ให้เช่าเป็นของบุตรโจทก์ การฟ้องขับไล่จำเลยจึงไม่ใช่เป็นการจัดการสินสมรสของโจทก์กับสามีอันจะต้องทำร่วมกันตามป.พ.พ. ม.1476
กรณีจะเป็นนิติกรรมอำพรางได้จะต้องปรากฏว่า นิติกรรมที่อำพรางและนิติกรรมที่ถูกอำพรางคู่กรณีจะต้องเป็นบุคคลเดียวกันและต้องทำขึ้นในคราวเดียวกัน จำเลยนำที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไปขายฝากโจทก์ร่วมโดยโจทก์เป็นผู้ลงชื่อรับซื้อฝากแทนโจทก์ร่วมต่อมาจำเลยไม่ได้ไถ่ภายในกำหนด ทรัพย์ดังกล่าวจึงเป็นของโจทก์ร่วมต่อมาจำเลยทำสัญญาเช่าจากโจทก์ สัญญาเช่านี้มิได้เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาไถ่ทรัพย์คืน แต่เป็นนิติกรรมที่โจทก์จำเลยมีเจตนาให้มีผลบังคับกันโดยแท้จริง มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2952/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสินสมรสหลังแก้กฎหมาย & ฟ้องซ้อนจากคดีเดิม
หญิงมีสามีฟ้องคดีภายหลังที่บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับแล้ว อำนาจจัดการสินสมรสต้องใช้บทบัญญัติในบรรพ 5 ใหม่บังคับ ซึ่งมาตรา 1476 ได้บัญญัติให้สามีและภรรยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน
โจทก์เป็นหญิงมีสามีได้ยื่นฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสโดยลำพัง แต่ปรากฏในสำนวนว่าสามีโจทก์มาเบิกความเป็นพยานต่อศาลว่า ได้ให้ความยินยอมแก่โจทก์ในการฟ้องคดีนี้ตามกฎหมายแล้วตลอดมา จึงถือได้ว่าสามีโจทก์อนุญาตหรือยินยอมให้โจทก์ฟ้องคดีโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือในสำนวนความแล้ว และถือได้ว่าเป็นการแก้ไขในเรื่องความสามารถของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 แล้วด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 เคยฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย ขอให้ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายโดยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นทางเดินทางเดียวกันกับคดีนี้ ขณะที่คดีดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ที่ 2 ก็นำเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องแย้งในคดีนี้อีก แม้คดีก่อนจำเลยที่ 2 จะมิได้ร่วมเป็นโจทก์ด้วย แต่จำเลยที่ 2 ก็อยู่ในฐานะที่จะได้รับประโยชน์หรือโทษจากผลแห่งคำพิพากษาในคดีก่อนเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 และการที่ฟ้องแย้งมีคำขอบังคับให้จดทะเบียนทางเดินเป็นทางการจำยอมอันเป็นคำขอให้บังคับเพิ่มเติมจากคดีก่อน ประเด็นที่พิพาทกันในคดีก่อนกับที่จำเลยฟ้องแย้งก็คงมีอยู่อย่างเดียวกัน ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 (1)
โจทก์เป็นหญิงมีสามีได้ยื่นฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสโดยลำพัง แต่ปรากฏในสำนวนว่าสามีโจทก์มาเบิกความเป็นพยานต่อศาลว่า ได้ให้ความยินยอมแก่โจทก์ในการฟ้องคดีนี้ตามกฎหมายแล้วตลอดมา จึงถือได้ว่าสามีโจทก์อนุญาตหรือยินยอมให้โจทก์ฟ้องคดีโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือในสำนวนความแล้ว และถือได้ว่าเป็นการแก้ไขในเรื่องความสามารถของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 แล้วด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 เคยฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย ขอให้ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายโดยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นทางเดินทางเดียวกันกับคดีนี้ ขณะที่คดีดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ที่ 2 ก็นำเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องแย้งในคดีนี้อีก แม้คดีก่อนจำเลยที่ 2 จะมิได้ร่วมเป็นโจทก์ด้วย แต่จำเลยที่ 2 ก็อยู่ในฐานะที่จะได้รับประโยชน์หรือโทษจากผลแห่งคำพิพากษาในคดีก่อนเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 และการที่ฟ้องแย้งมีคำขอบังคับให้จดทะเบียนทางเดินเป็นทางการจำยอมอันเป็นคำขอให้บังคับเพิ่มเติมจากคดีก่อน ประเด็นที่พิพาทกันในคดีก่อนกับที่จำเลยฟ้องแย้งก็คงมีอยู่อย่างเดียวกัน ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2952/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสินสมรสหลังแก้ไขกฎหมาย และฟ้องซ้อนจากประเด็นข้อตกลงทางเดิน
หญิงมีสามีฟ้องคดีภายหลังที่บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับแล้วอำนาจจัดการสินสมรสต้องใช้บทบัญญัติในบรรพ 5 ใหม่บังคับซึ่งมาตรา 1476 ได้บัญญัติให้สามีและภรรยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน
โจทก์เป็นหญิงมีสามีได้ยื่นฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสโดยลำพังแต่ปรากฏในสำนวนว่าสามีโจทก์มาเบิกความเป็นพยานต่อศาลว่า "ได้ให้ความยินยอมแก่โจทก์ในการฟ้องคดีนี้ตามกฎหมายแล้วตลอดมา" จึงถือได้ว่าสามีโจทก์อนุญาตหรือยินยอมให้โจทก์ฟ้องคดีโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือในสำนวนความแล้วและถือได้ว่าเป็นการแก้ไขในเรื่องความสามารถของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 แล้วด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 เคยฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย ขอให้ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายโดยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นทางเดินทางเดียวกันกับคดีนี้ขณะที่คดีดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยที่ 1 ที่ 2 ก็นำเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องแย้งในคดีนี้อีกแม้คดีก่อนจำเลยที่ 2 จะมิได้ร่วมเป็นโจทก์ด้วยแต่จำเลยที่ 2 ก็อยู่ในฐานะที่จะได้รับประโยชน์หรือโทษจากผลแห่งคำพิพากษาในคดีก่อนเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 และการที่ฟ้องแย้งมีคำขอบังคับให้จดทะเบียนทางเดินเป็นทางภารจำยอมอันเป็นคำขอให้บังคับเพิ่มเติมจากคดีก่อนประเด็นที่พิพาทกันในคดีก่อนกับที่จำเลยฟ้องแย้งก็คงมีอยู่อย่างเดียวกันฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)
โจทก์เป็นหญิงมีสามีได้ยื่นฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสโดยลำพังแต่ปรากฏในสำนวนว่าสามีโจทก์มาเบิกความเป็นพยานต่อศาลว่า "ได้ให้ความยินยอมแก่โจทก์ในการฟ้องคดีนี้ตามกฎหมายแล้วตลอดมา" จึงถือได้ว่าสามีโจทก์อนุญาตหรือยินยอมให้โจทก์ฟ้องคดีโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือในสำนวนความแล้วและถือได้ว่าเป็นการแก้ไขในเรื่องความสามารถของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 แล้วด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 เคยฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย ขอให้ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายโดยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นทางเดินทางเดียวกันกับคดีนี้ขณะที่คดีดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยที่ 1 ที่ 2 ก็นำเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องแย้งในคดีนี้อีกแม้คดีก่อนจำเลยที่ 2 จะมิได้ร่วมเป็นโจทก์ด้วยแต่จำเลยที่ 2 ก็อยู่ในฐานะที่จะได้รับประโยชน์หรือโทษจากผลแห่งคำพิพากษาในคดีก่อนเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 และการที่ฟ้องแย้งมีคำขอบังคับให้จดทะเบียนทางเดินเป็นทางภารจำยอมอันเป็นคำขอให้บังคับเพิ่มเติมจากคดีก่อนประเด็นที่พิพาทกันในคดีก่อนกับที่จำเลยฟ้องแย้งก็คงมีอยู่อย่างเดียวกันฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันที่ไม่ใช่การจัดการสินสมรส ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา
โจทก์ที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของ ท.ต่อจำเลย เป็นการยอมผูกพันตนต่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของ ท.เพื่อชำระหนี้ในเมื่อท. ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้อันเป็นการผูกพันตัวโจทก์ที่ 1 มิได้เกี่ยวกับสินสมรสและหาได้ก่อให้เกิดภารติดพันซึ่งสินสมรสไม่ จึงมิใช่เป็นการจัดการสินสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1476,1477 อันโจทก์ที่ 2ซึ่งเป็นภริยาจะต้องให้ความยินยอมร่วมกันเป็นหนังสือตามมาตรา 1479 โจทก์ที่ 2 จึงฟ้องขอให้ศาลเพิกถอน สัญญาค้ำประกันดังกล่าวตามมาตรา 1480 วรรคสอง ไม่ได้