พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8335/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ: ฟ้องไม่ชอบหากไม่แสดงหลักฐานการเป็นภาคีอนุสัญญาลิขสิทธิ์
งานมีลิขสิทธิ์ที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายนั้น จะต้องปรากฏว่าการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์เป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด คดีเป็นคดีความผิดเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า งานอันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายทั้งสี่เป็นงานที่สร้างสรรค์ขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าภาพยนตร์ตามฟ้องได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 61 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฯ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับคดีนี้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าตามฟ้องได้ ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการละเมิดลิขสิทธิ์: ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่ผู้เดียวมีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีได้
บริษัท น. ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่ผู้เดียวจากบริษัท ร. ผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิทุกอย่างทั่วโลกจากเจ้าของลิขสิทธิ์จึงมีสิทธิในภาพยนต์พิพาทแต่ผู้เดียวในประเทศไทย เมื่อจำเลยกระทำละเมิดโดยนำเอาแถบบันทึกภาพและเสียงภาพยนต์หรือวีดีโอเทปของภาพยนต์พิพาท ออกให้เช่าหรือเสนอให้เช่าแก่บุคคลทั่วไปจึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ภาพยนต์พิพาทซึ่งบริษัท น. มีสิทธิใช้แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย บริษัท น. จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์: ผู้ได้รับอนุญาตใช้สิทธิแต่ผู้เดียวมีอำนาจร้องทุกข์
บริษัท น. ได้รับสิทธิให้ทำการฉายภาพยนตร์เรื่อง ทูดายฟอร์ ในโรงภาพยนตร์ รวมทั้งทำเป็นวิดีโอออกขายหรือให้เช่าแต่ผู้เดียวในประเทศไทย เมื่อจำเลยกระทำละเมิดโดยนำเอาแถบบันทึกภาพและเสียงภาพยนตร์หรือวิดีโอเทปเรื่องดังกล่าวออกให้เช่าหรือเสนอให้เช่าแก่บุคคลทั่วไป จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ภาพยนตร์ดังกล่าว บริษัท น. จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8835/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานจากต่างประเทศ: ฟ้องชอบด้วยกฎหมายแม้ไม่ระบุหลักเกณฑ์คุ้มครองของประเทศนั้น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดลิขสิทธิ์และขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 61 โดยกล่าวในฟ้องว่างานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ตามคำฟ้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของเมืองฮ่องกง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นประเทศภาคแห่งอนุสัญญากรุงเบอร์ว่าด้วยการคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดรายชื่อประเทศภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์หรืออนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดง ลงวันที่ 15พฤษภาคม 2539 จึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงในคำฟ้องครบถ้วนตามบทบัญญัติมาตรา 61 แห่งกฎหมายดังกล่าวแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวในคำฟ้องว่า กฎหมายของเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทยซึ่งเป็นภาคีอยู่ด้วยก็ตาม ฟ้องของโจทก์ก็ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดที่ต้องบรรยายในคำฟ้องตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 42ซึ่งถูกเลิกโดยพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ส่วนมาตรา 61แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติให้ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศอีกต่อไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8835/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานสร้างสรรค์จากต่างประเทศ: ข้อเท็จจริงที่ต้องบรรยายในคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวในคำฟ้องว่ากฎหมายของเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทยซึ่งเป็นภาคีอยู่ด้วยดังที่จำเลยอุทธรณ์ก็ตาม ฟ้องของโจทก์ก็ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดที่ต้องบรรยายในคำฟ้องตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 42 ซึ่งถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 แล้ว ซึ่งมาตรา 61 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวมิได้บัญญัติให้ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศอีกต่อไป