พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8779/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนสามัญมีสิทธิขออายัดทรัพย์สินเพื่อฟ้องเลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินที่จะฟ้องร้องให้บังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนตาม ป.ที่ดิน มาตรา 83 วรรคหนึ่ง ไม่จำต้องเป็นผู้มีสิทธิเสมือนหนึ่งผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และไม่จำต้องมีส่วนได้เสียผูกพันกับที่ดินโดยตรงทั้งไม่จำต้องฟ้องร้องเอาที่ดินเป็นของตนเอง หรือฟ้องร้องให้ศาลบังคับให้ทำการจดทะเบียน หรือให้เปลี่ยนแปลงทางทะเบียนโดยตรง และคำพิพากษาก็ไม่จำต้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนโดยตรง หากคำขอและผลของคำพิพากษานั้นบังคับให้กระทำการใดอันจะนำไปสู่การจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนในที่ดินที่ขออายัดแล้ว ก็อยู่ในบังคับมาตรา 83 วรรคหนึ่ง
การฟ้องร้องขอให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชี ผลของคำพิพากษาอาจทำให้ต้องมีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินอันเป็นสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและคำพิพากษาผู้เป็นหุ้นส่วนจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะขออายัดที่ดินของห้างหุ้นส่วนเพื่อไปฟ้องร้องขอให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้
โจทก์ทำสัญญาห้างหุ้นส่วนสามัญกับจำเลยที่ 1 และ ส. ภริยาของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ยินยอมให้ ส. ดูแลวางระบบและตรวจสอบบัญชีโดยไม่ได้จ่ายค่าจ้างให้ โจทก์เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 นำที่ดินโรงเรียนไปขายให้แก่บุคคลภายนอกโดยระบุในหนังสือมอบอำนาจว่าจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วน และโจทก์เคยทำหนังสือให้ ส. ตรวจสอบบัญชีโรงเรียนโดยระบุว่า ส. เป็นหุ้นส่วนทั้ง ส. ก็ได้แจ้งความให้ดำเนินคดีแก่ครูคนหนึ่งในโรงเรียนที่มีหลักฐานว่าทุจริตในฐานะเป็นหุ้นส่วน จำเลยที่ 1 ย่อมเข้าใจโดยสุจริตว่าตนเองเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งและมีสิทธิต่างๆ ในฐานะเป็นหุ้นส่วน แม้ว่าผลของคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องเลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีจะพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนหรือไม่ก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 ไปขออายัดที่ดินพิพาทอันเป็นสินทรัพย์ของหุ้นส่วนไว้ก่อนเพื่อไปฟ้องร้องให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชี จึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินทรัพย์ของหุ้นส่วนโดยสุจริตและมีเหตุสมควร ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 จงใจหรือประมาทเลินเล่อตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 จำเลยที่ 1 จึงมิได้ทำละเมิดต่อโจทก์
การฟ้องร้องขอให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชี ผลของคำพิพากษาอาจทำให้ต้องมีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินอันเป็นสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและคำพิพากษาผู้เป็นหุ้นส่วนจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะขออายัดที่ดินของห้างหุ้นส่วนเพื่อไปฟ้องร้องขอให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้
โจทก์ทำสัญญาห้างหุ้นส่วนสามัญกับจำเลยที่ 1 และ ส. ภริยาของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ยินยอมให้ ส. ดูแลวางระบบและตรวจสอบบัญชีโดยไม่ได้จ่ายค่าจ้างให้ โจทก์เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 นำที่ดินโรงเรียนไปขายให้แก่บุคคลภายนอกโดยระบุในหนังสือมอบอำนาจว่าจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วน และโจทก์เคยทำหนังสือให้ ส. ตรวจสอบบัญชีโรงเรียนโดยระบุว่า ส. เป็นหุ้นส่วนทั้ง ส. ก็ได้แจ้งความให้ดำเนินคดีแก่ครูคนหนึ่งในโรงเรียนที่มีหลักฐานว่าทุจริตในฐานะเป็นหุ้นส่วน จำเลยที่ 1 ย่อมเข้าใจโดยสุจริตว่าตนเองเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งและมีสิทธิต่างๆ ในฐานะเป็นหุ้นส่วน แม้ว่าผลของคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องเลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีจะพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนหรือไม่ก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 ไปขออายัดที่ดินพิพาทอันเป็นสินทรัพย์ของหุ้นส่วนไว้ก่อนเพื่อไปฟ้องร้องให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชี จึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินทรัพย์ของหุ้นส่วนโดยสุจริตและมีเหตุสมควร ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 จงใจหรือประมาทเลินเล่อตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 จำเลยที่ 1 จึงมิได้ทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7495/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ซื้อที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายเมื่อมีการอายัดที่ดิน และความรับผิดของทายาทตามสัญญาของเจ้ามรดก
แม้ว่ามรดกนั้นมีเพียงหนี้สินที่เจ้ามรดกจะต้องรับผิดตามสัญญาที่ทำไว้แก่บุคคลภายนอกโดยไม่มีทรัพย์สินอื่น ๆอีกก็ตาม แต่ทายาทก็ไม่อาจอ้างว่าตนไม่ต้องรับผิดชอบตามสัญญาที่เจ้ามรดกทำไว้ หากมีการผิดสัญญาและเป็นกรณีที่ไม่เปิดช่องให้บังคับในการโอนที่ดินพิพาทตามสัญญา ทายาทผู้รับมรดกก็ต้องรับผิดในส่วนที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาหรือต้องชำระเบี้ยปรับตามที่กำหนดในสัญญาด้วย การที่เจ้าพนักงานที่ดินจะรับแจ้งอายัดที่ดินขึ้นอยู่ในดุลพินิจของเจ้าพนักงานว่าผู้แจ้งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินหรือไม่ เหตุที่เจ้าพนักงานที่ดินใช้ดุลพินิจรับแจ้งการอายัดของจำเลย เพราะเห็นว่าจำเลยเป็นผู้มีส่วนได้เสียแม้ว่าขณะนั้นชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทจะมิใช่ช.แต่ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายจำเลยอาจบังคับให้ช.หรือทายาทต้องปฏิบัติตามสัญญาได้ อันจะส่งผลให้ต้องเพิกถอน การจดทะเบียนภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ขออายัด เมื่อ ไม่มีคำสั่งศาลให้เพิกถอนการอายัด ย่อมทำให้การอายัดมีผล ต่อไปจนกว่าศาลในคดีที่ผู้ขออายัดได้ยื่นฟ้องไว้จะสั่งให้ ถอนการอายัดหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด จึงเป็น กรณีที่จำเลยใช้สิทธิที่มีอยู่ในฐานะผู้ทำสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทจาก ช.ก่อนที่ช. จะโอนสิทธิการเช่าซื้อให้แก่ จ. ผู้เป็นบุตร จำเลยจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 83 การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ หากโจทก์จะ เสียหายอย่างไรชอบที่จะต้องว่ากล่าวเองกับผู้ที่ทำสัญญากับ โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7185/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินเนื่องจากเหตุสุดวิสัยและการเลิกสัญญาโดยความยินยอมของคู่สัญญา
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาสิ้นสุดตามสัญญาแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา เมื่อปัญหาดังกล่าวจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ทั้งมิได้อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวแต่อย่างใด จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ อีกทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
เมื่อขณะทำสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทสามารถโอนกรรมสิทธิ์กันได้ เพียงแต่กรมที่ดินให้มีหมายเหตุไว้ในบัญชีอายัดและกลัดติดไว้ในโฉนดที่ดินว่า"เมื่อมีผู้มาขอจดทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้ ให้แจ้งให้คู่กรณีทราบว่ากองทัพบกอ้างว่าเป็นที่สนามบินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หากเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินจริง ผู้รับโอนย่อมไม่ได้สิทธิในที่ดินนี้แต่อย่างใด ถ้าคู่กรณีทราบแล้วประสงค์จะให้จดทะเบียน ก็ให้บันทึกถ้อยคำไว้แล้วดำเนินการจดทะเบียนต่อไปได้" ดังนั้นในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขาย วัตถุที่ประสงค์ของสัญญามิได้เป็นการพ้นวิสัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ใหม่) จึงมีผลใช้บังคับระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญา
เหตุที่จำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้เกิดจากผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือแจ้งอายัดที่ดินพิพาทตาม ป.ที่ดิน มาตรา 83ไปยังเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งผลของการแจ้งอายัดนั้น ป.ที่ดิน มาตรา 83 วรรคสองบัญญัติให้เจ้าพนักงานที่ดินเมื่อได้สอบสวนหลักฐานที่ผู้ขอได้นำมาแสดงให้ปรากฏแล้วถ้าเห็นสมควรเชื่อถือก็ให้รับอายัดไว้ได้มีกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ขออายัด โดยให้ผู้นั้นไปดำเนินการทางศาล และให้นำหลักฐานการยื่นฟ้องพร้อมสำเนาคำฟ้องในกรณีที่ขออายัดมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับอายัดภายในกำหนดเวลาที่อายัดถ้าผู้ขออายัดมิได้ปฏิบัติดังกล่าวให้ถือว่าการอายัดสิ้นสุดและจะขออายัดซ้ำในกรณีเดียวกันอีกไม่ได้ แต่ถ้าผู้ขออายัดได้แสดงหลักฐานดังกล่าวภายในกำหนดเวลาที่อายัดให้การอายัดมีผลต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งให้ถอนการอายัดหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด เพราะฉะนั้นการแจ้งขออายัดจึงไม่ทำให้ที่ดินพิพาทถูกห้ามจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โดยเด็ดขาด และไม่ทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นการชำระหนี้พ้นวิสัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 219 อีกทั้งหนังสือแจ้งอายัดก็ไม่ใช่เหตุใด ๆ อันจะเกิด จะให้ผลพิบัติ ไม่มีใครจะอาจป้องกันได้ อันเป็นเหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 8 การที่จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสองไม่ได้ตามกำหนดในสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากการชำระหนี้คือการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์
ในวันครบกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญา ฝ่ายโจทก์นำแคชเชียร์เช็คไปพร้อมชำระราคาให้แก่จำเลย โดยโจทก์ไม่ได้ผิดสัญญา แต่ต่อมาหลังจากครบกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท และไม่สามารถโอนให้ได้แล้วจำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทั้งสองชำระเงินตามสัญญาภายใน 10 วัน หากพ้นกำหนดถือว่าโจทก์ผิดสัญญาและให้ถือว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการแจ้งบอกเลิกสัญญาอันเป็นการที่จำเลยแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาพร้อมกันนั้นโจทก์ก็ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญา ให้จำเลยคืนเงินมัดจำ และราคาที่ได้ชำระแล้ว พฤติการณ์ดังกล่าวมาแสดงว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญา สัญญาจะซื้อจะขายจึงเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 จำเลยจึงต้องให้โจทก์ทั้งสองได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม
เมื่อขณะทำสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทสามารถโอนกรรมสิทธิ์กันได้ เพียงแต่กรมที่ดินให้มีหมายเหตุไว้ในบัญชีอายัดและกลัดติดไว้ในโฉนดที่ดินว่า"เมื่อมีผู้มาขอจดทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้ ให้แจ้งให้คู่กรณีทราบว่ากองทัพบกอ้างว่าเป็นที่สนามบินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หากเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินจริง ผู้รับโอนย่อมไม่ได้สิทธิในที่ดินนี้แต่อย่างใด ถ้าคู่กรณีทราบแล้วประสงค์จะให้จดทะเบียน ก็ให้บันทึกถ้อยคำไว้แล้วดำเนินการจดทะเบียนต่อไปได้" ดังนั้นในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขาย วัตถุที่ประสงค์ของสัญญามิได้เป็นการพ้นวิสัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ใหม่) จึงมีผลใช้บังคับระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญา
เหตุที่จำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้เกิดจากผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือแจ้งอายัดที่ดินพิพาทตาม ป.ที่ดิน มาตรา 83ไปยังเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งผลของการแจ้งอายัดนั้น ป.ที่ดิน มาตรา 83 วรรคสองบัญญัติให้เจ้าพนักงานที่ดินเมื่อได้สอบสวนหลักฐานที่ผู้ขอได้นำมาแสดงให้ปรากฏแล้วถ้าเห็นสมควรเชื่อถือก็ให้รับอายัดไว้ได้มีกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ขออายัด โดยให้ผู้นั้นไปดำเนินการทางศาล และให้นำหลักฐานการยื่นฟ้องพร้อมสำเนาคำฟ้องในกรณีที่ขออายัดมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับอายัดภายในกำหนดเวลาที่อายัดถ้าผู้ขออายัดมิได้ปฏิบัติดังกล่าวให้ถือว่าการอายัดสิ้นสุดและจะขออายัดซ้ำในกรณีเดียวกันอีกไม่ได้ แต่ถ้าผู้ขออายัดได้แสดงหลักฐานดังกล่าวภายในกำหนดเวลาที่อายัดให้การอายัดมีผลต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งให้ถอนการอายัดหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด เพราะฉะนั้นการแจ้งขออายัดจึงไม่ทำให้ที่ดินพิพาทถูกห้ามจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โดยเด็ดขาด และไม่ทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นการชำระหนี้พ้นวิสัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 219 อีกทั้งหนังสือแจ้งอายัดก็ไม่ใช่เหตุใด ๆ อันจะเกิด จะให้ผลพิบัติ ไม่มีใครจะอาจป้องกันได้ อันเป็นเหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 8 การที่จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสองไม่ได้ตามกำหนดในสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากการชำระหนี้คือการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์
ในวันครบกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญา ฝ่ายโจทก์นำแคชเชียร์เช็คไปพร้อมชำระราคาให้แก่จำเลย โดยโจทก์ไม่ได้ผิดสัญญา แต่ต่อมาหลังจากครบกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท และไม่สามารถโอนให้ได้แล้วจำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทั้งสองชำระเงินตามสัญญาภายใน 10 วัน หากพ้นกำหนดถือว่าโจทก์ผิดสัญญาและให้ถือว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการแจ้งบอกเลิกสัญญาอันเป็นการที่จำเลยแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาพร้อมกันนั้นโจทก์ก็ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญา ให้จำเลยคืนเงินมัดจำ และราคาที่ได้ชำระแล้ว พฤติการณ์ดังกล่าวมาแสดงว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญา สัญญาจะซื้อจะขายจึงเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 จำเลยจึงต้องให้โจทก์ทั้งสองได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7185/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินติดอายัด: สัญญาไม่เป็นโมฆะ เหตุอายัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย จำเลยต้องคืนเงินมัดจำ
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาสิ้นสุดตามสัญญาแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา เมื่อปัญหาดังกล่าวจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ทั้งมิได้อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวแต่อย่างใด จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ อีกทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
เมื่อขณะทำสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทสามารถโอนกรรมสิทธิ์กันได้เพียงแต่กรมที่ดินให้มีหมายเหตุไว้ในบัญชีอายัดและกลัดติดไว้ในโฉนดที่ดินว่า"เมื่อมีผู้มาขอจดทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้ ให้แจ้งให้คู่กรณีทราบว่ากองทัพบกอ้างว่าเป็นที่สนามบินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หากเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินจริง ผู้รับโอนย่อมไม่ได้สิทธิในที่ดินนี้แต่อย่างใด ถ้าคู่กรณีทราบแล้วประสงค์จะให้จดทะเบียน ก็ให้บันทึกถ้อยคำไว้แล้วดำเนินการจดทะเบียนต่อไปได้"ดังนั้น ในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขาย วัตถุที่ประสงค์ของสัญญามิได้เป็นการพ้นวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ใหม่)จึงมีผลใช้บังคับระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญา
เหตุที่จำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้เกิดจากผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือแจ้งอายัดที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 83 ไปยังเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งผลของการแจ้งอายัดนั้น ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 83 วรรคสอง บัญญัติให้เจ้าพนักงานที่ดินเมื่อได้สอบสวนหลักฐานที่ผู้ขอได้นำมาแสดงให้ปรากฏแล้ว ถ้าเห็นสมควรเชื่อถือก็ให้รับอายัดไว้ได้มีกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ขออายัด โดยให้ผู้นั้นไปดำเนินการทางศาล และให้นำหลักฐานการยื่นฟ้องพร้อมสำเนาคำฟ้องในกรณีที่ขออายัดมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับอายัดภายในกำหนดเวลาที่อายัด ถ้าผู้ขออายัดมิได้ปฏิบัติดังกล่าวให้ถือว่าการอายัดสิ้นสุดและจะขออายัดซ้ำในกรณีเดียวกันอีกไม่ได้ แต่ถ้าผู้ขออายัดได้แสดงหลักฐานดังกล่าวภายในกำหนดเวลาที่อายัดให้การอายัดมีผลต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งให้ถอนการอายัดหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด เพราะฉะนั้นการแจ้งขออายัดจึงไม่ทำให้ที่ดินพิพาทถูกห้ามจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โดยเด็ดขาด และไม่ทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นการชำระหนี้พ้นวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 อีกทั้งหนังสือแจ้งอายัดก็ไม่ใช่เหตุใด ๆ อันจะเกิด จะให้ผลพิบัติ ไม่มีใครจะอาจป้องกันได้ อันเป็นเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 การที่จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสองไม่ได้ตามกำหนดในสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากการชำระหนี้คือการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์
ในวันครบกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญา ฝ่ายโจทก์นำแคชเชียร์เช็คไปพร้อมชำระราคาให้แก่จำเลย โดยโจทก์ไม่ได้ผิดสัญญา แต่ต่อมาหลังจากครบกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท และไม่สามารถโอนให้ได้แล้ว จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทั้งสองชำระเงินตามสัญญาภายใน 10 วัน หากพ้นกำหนดถือว่าโจทก์ผิดสัญญาและให้ถือว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการแจ้งบอกเลิกสัญญาอันเป็นการที่จำเลยแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาพร้อมกันนั้นโจทก์ก็ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญา ให้จำเลยคืนเงินมัดจำ และราคาที่ได้ชำระแล้ว พฤติการณ์ดังกล่าวมาแสดงว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญา สัญญาจะซื้อจะขายจึงเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 จำเลยจึงต้องให้โจทก์ทั้งสองได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม
เมื่อขณะทำสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทสามารถโอนกรรมสิทธิ์กันได้เพียงแต่กรมที่ดินให้มีหมายเหตุไว้ในบัญชีอายัดและกลัดติดไว้ในโฉนดที่ดินว่า"เมื่อมีผู้มาขอจดทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้ ให้แจ้งให้คู่กรณีทราบว่ากองทัพบกอ้างว่าเป็นที่สนามบินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หากเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินจริง ผู้รับโอนย่อมไม่ได้สิทธิในที่ดินนี้แต่อย่างใด ถ้าคู่กรณีทราบแล้วประสงค์จะให้จดทะเบียน ก็ให้บันทึกถ้อยคำไว้แล้วดำเนินการจดทะเบียนต่อไปได้"ดังนั้น ในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขาย วัตถุที่ประสงค์ของสัญญามิได้เป็นการพ้นวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ใหม่)จึงมีผลใช้บังคับระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญา
เหตุที่จำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้เกิดจากผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือแจ้งอายัดที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 83 ไปยังเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งผลของการแจ้งอายัดนั้น ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 83 วรรคสอง บัญญัติให้เจ้าพนักงานที่ดินเมื่อได้สอบสวนหลักฐานที่ผู้ขอได้นำมาแสดงให้ปรากฏแล้ว ถ้าเห็นสมควรเชื่อถือก็ให้รับอายัดไว้ได้มีกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ขออายัด โดยให้ผู้นั้นไปดำเนินการทางศาล และให้นำหลักฐานการยื่นฟ้องพร้อมสำเนาคำฟ้องในกรณีที่ขออายัดมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับอายัดภายในกำหนดเวลาที่อายัด ถ้าผู้ขออายัดมิได้ปฏิบัติดังกล่าวให้ถือว่าการอายัดสิ้นสุดและจะขออายัดซ้ำในกรณีเดียวกันอีกไม่ได้ แต่ถ้าผู้ขออายัดได้แสดงหลักฐานดังกล่าวภายในกำหนดเวลาที่อายัดให้การอายัดมีผลต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งให้ถอนการอายัดหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด เพราะฉะนั้นการแจ้งขออายัดจึงไม่ทำให้ที่ดินพิพาทถูกห้ามจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โดยเด็ดขาด และไม่ทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นการชำระหนี้พ้นวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 อีกทั้งหนังสือแจ้งอายัดก็ไม่ใช่เหตุใด ๆ อันจะเกิด จะให้ผลพิบัติ ไม่มีใครจะอาจป้องกันได้ อันเป็นเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 การที่จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสองไม่ได้ตามกำหนดในสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากการชำระหนี้คือการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์
ในวันครบกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญา ฝ่ายโจทก์นำแคชเชียร์เช็คไปพร้อมชำระราคาให้แก่จำเลย โดยโจทก์ไม่ได้ผิดสัญญา แต่ต่อมาหลังจากครบกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท และไม่สามารถโอนให้ได้แล้ว จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทั้งสองชำระเงินตามสัญญาภายใน 10 วัน หากพ้นกำหนดถือว่าโจทก์ผิดสัญญาและให้ถือว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการแจ้งบอกเลิกสัญญาอันเป็นการที่จำเลยแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาพร้อมกันนั้นโจทก์ก็ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญา ให้จำเลยคืนเงินมัดจำ และราคาที่ได้ชำระแล้ว พฤติการณ์ดังกล่าวมาแสดงว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญา สัญญาจะซื้อจะขายจึงเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 จำเลยจึงต้องให้โจทก์ทั้งสองได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6690/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดที่ดินหลังศาลฎีกาพิพากษาให้ระงับการแบ่งแยก และสิทธิของผู้ซื้อที่ดินโดยสุจริต
ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ระงับการนำรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทจนกว่าคดีที่โจทก์จำเลยถูกฟ้องจะถึงที่สุด โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทและนำไปโอนขายให้แก่ผู้ร้องมาแต่ต้น ผู้ร้องจะอ้างว่าโจทก์ได้ทำการรังวัดแบ่งแยกเสร็จเรียบร้อยแล้วและโอนขายให้แก่ผู้ร้องก่อนมีคำพิพากษาศาลฎีกาไม่ได้ คดีไม่เกี่ยวกับเรื่องคำพิพากษาผูกพันเฉพาะคู่ความโดยไม่ผูกพันผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกหรือในฐานะผู้ซื้อซึ่งรับโอนโดยสุจริต จำเลยมีสิทธิขออายัดการทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6690/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดที่ดินหลังศาลฎีกาพิพากษาให้ระงับการแบ่งแยก และผลกระทบต่อผู้ซื้อที่ดินโดยสุจริต
ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ระงับการนำรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทจนกว่าคดีที่โจทก์จำเลยถูกฟ้องจะถึงที่สุด โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทและนำไปโอนขายให้แก่ผู้ร้องมาแต่ต้น ผู้ร้องจะอ้างว่าโจทก์ได้ทำการรังวัดแบ่งแยกเสร็จเรียบร้อยแล้วและโอนขายให้แก่ผู้ร้องก่อนมีคำพิพากษาศาลฎีกาไม่ได้ คดีไม่เกี่ยวกับเรื่องคำพิพากษาผูกพันเฉพาะคู่ความโดยไม่ผูกพันผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกหรือในฐานะผู้ซื้อซึ่งรับโอนโดยสุจริต จำเลยมีสิทธิขออายัดการทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9213/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแบ่งที่ดิน: สิทธิเรียกร้องขาดอายุความ หากไม่ชำระเงินตามกำหนดและแสดงเจตนาถือเอาประโยชน์
จำเลยทั้งห้ากล่าวในคำร้องขอขยายระยะเวลาที่ยื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับว่าขอความกรุณาศาลขยายระยะเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับออกไปมีกำหนด30วันนับแต่วันที่ครบกำหนดยื่นฎีกาทั้งนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเห็นว่าแม้ในคำร้องของจำเลยทั้งห้าจะขอขยายระยะเวลาแต่คงมิได้หมายความถึงการขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23ซึ่งเป็นเรื่องที่จะทำได้เฉพาะเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษจำเลยทั้งห้าประสงค์เพียงขอให้ศาลชั้นต้นใช้อำนาจทั่วไปที่มีอยู่กำหนดเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับให้ใหม่และศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้เวลาแก่จำเลยทั้งห้าโดยให้ยื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับได้ภายในวันที่31ตุลาคม2538ซึ่งจำเลยทั้งห้าก็ได้ยื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับภายในกำหนดดังกล่าวดังนี้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ตามคำฟ้องมีข้อความตอนหนึ่งว่าฉ.ขอยืมเงินจำเลยที่1และที่2ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแล้วทำสัญญายกที่ดินพิพาทให้แก่ทายาทคนละ14ไร่1งานโดยให้ทายาททุกคนชำระเงินคนละ4,400บาทแก่จำเลยที่1และที่2หลังจากนั้นฉ. จึงจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่1และที่2ต่อมาเมื่อโจทก์ทั้งสี่ทราบถึงสัญญาจึงไปขอรับชำระหนี้แต่จำเลยที่1และที่2บ่ายเบี่ยงไม่ยอมแบ่งให้โดยโจทก์ทั้งสี่ได้แนบสำเนาสัญญาเอกสารหมายจ.1มาท้ายคำฟ้องด้วยจากถ้อยคำในคำฟ้องและสำเนาสัญญาเอกสารหมายจ.1ซึ่งเป็นเอกสารท้ายฟ้องแสดงให้เห็นว่าฉ. กับจำเลยที่1และที่2ได้ทำสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตามเอกสารหมายจ.1การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งที่ดินพิพาทตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกจึงมิใช่เรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น สัญญาเอกสารหมายจ.1มีข้อความระบุว่าโจทก์ที่1ถึงที่3และช.จะต้องนำเงินคนละ4,400บาทไปชำระให้แก่จำเลยที่1และที่2ภายใน5ปีนับแต่วันทำสัญญาเสียก่อนแล้วจำเลยที่1และที่2จึงจะแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่2ที่3และช.บิดาโจทก์ที่4ซึ่งได้ทราบถึงข้อกำหนดในสัญญาแล้วแต่มิได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่1และที่2ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาเอกสารหมายจ.1และเสนอชำระเงินคนละ4,400บาทภายในกำหนด5ปีนับแต่วันทำสัญญาโจทก์ที่2ที่3และโจทก์ที่4บุตรของช. จึงหมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่1และที่2แบ่งที่ดินพิพาทให้ตามสัญญาสำหรับโจทก์ที่1แม้จะได้ไปยื่นคำขออายัดที่ดินพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภายในกำหนด5ปีนับแต่วันทำสัญญาเอกสารหมายจ.1ก็ตามแต่คำขออายัดดังกล่าวมีข้อความเพียงว่าจำเลยที่1และที่2สัญญาจะแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์ที่1ภายในกำหนด5ปีบัดนี้จะครบกำหนด5ปีแล้วก็ยังไม่ยินยอมแบ่งให้โจทก์ที่1จึงขออายัดที่ดินพิพาทเพื่อจะไปฟ้องร้องโดยไม่มีข้อความว่าโจทก์ที่1ได้ชำระหรือเสนอจะชำระเงิน4,400บาทให้แก่จำเลยที่1และที่2ตามข้อกำหนดในสัญญาเอกสารหมายจ.1แต่อย่างใดโจทก์ที่1จึงหมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่1และที่2แบ่งที่ดินพิพาทให้ตามสัญญาเช่นเดียวกันและเมื่อโจทก์ทั้งสี่หมดสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่1และที่2แบ่งที่ดินพิพาทให้ดังกล่าวแล้วก็ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่1และที่2กับจำเลยที่3ถึงที่5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9213/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องที่ดินพิพาทตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก การไม่ชำระเงินตามสัญญาทำให้สิทธิขาดเสีย
จำเลยทั้งห้ากล่าวในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับว่า ขอความกรุณาศาลขยายระยะเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับออกไปมีกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดยื่นฎีกา ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เห็นว่า แม้ในคำร้องของจำเลยทั้งห้าจะขอขยายระยะเวลา แต่คงมิได้หมายความถึงการขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ซึ่งเป็นเรื่องที่จะทำได้เฉพาะเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ จำเลยทั้งห้าประสงค์เพียงขอให้ศาลชั้นต้นใช้อำนาจทั่วไปที่มีอยู่กำหนดเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับให้ใหม่ และศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้เวลาแก่จำเลยทั้งห้า โดยให้ยื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับได้ภายในวันที่ 31ตุลาคม 2538 ซึ่งจำเลยทั้งห้าก็ได้ยื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับภายในกำหนดดังกล่าว ดังนี้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ตามคำฟ้องมีข้อความตอนหนึ่งว่า ฉ.ขอยืมเงินจำเลยที่ 1และที่ 2 ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแล้วทำสัญญายกที่ดินพิพาทให้แก่ทายาทคนละ 14 ไร่ 1 งาน โดยให้ทายาททุกคนชำระเงินคนละ 4,400 บาทแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 หลังจากนั้น ฉ.จึงจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อมาเมื่อโจทก์ทั้งสี่ทราบถึงสัญญาจึงไปขอรับชำระหนี้ แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 บ่ายเบี่ยงไม่ยอมแบ่งให้ โดยโจทก์ทั้งสี่ได้แนบสำเนาสัญญาเอกสารหมาย จ.1 มาท้ายคำฟ้องด้วย จากถ้อยคำในคำฟ้องและสำเนาสัญญาเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งเป็นเอกสารท้ายฟ้องแสดงให้เห็นว่า ฉ.กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ทำสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามเอกสารหมาย จ.1 การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งที่ดินพิพาทตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก จึงมิใช่เรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
สัญญาเอกสารหมาย จ.1 มีข้อความระบุว่า โจทก์ที่ 1ถึงที่ 3 และ ช.จะต้องนำเงินคนละ 4,400 บาท ไปชำระให้แก่จำเลยที่ 1และที่ 2 ภายใน 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาเสียก่อนแล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2จึงจะแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และ ช.บิดาโจทก์ที่ 4 ซึ่งได้ทราบถึงข้อกำหนดในสัญญาแล้ว แต่มิได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาเอกสารหมาย จ.1 และเสนอชำระเงินคนละ4,400 บาท ภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญา โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และโจทก์ที่ 4 บุตรของ ช.จึงหมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2แบ่งที่ดินพิพาทให้ตามสัญญา สำหรับโจทก์ที่ 1 แม้จะได้ไปยื่นคำขออายัดที่ดินพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาเอกสารหมาย จ.1 ก็ตาม แต่คำขออายัดดังกล่าวมีข้อความเพียงว่า จำเลยที่ 1และที่ 2 สัญญาจะแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์ที่ 1 ภายในกำหนด 5 ปี บัดนี้จะครบกำหนด 5 ปีแล้ว ก็ยังไม่ยินยอมแบ่งให้ โจทก์ที่ 1 จึงขออายัดที่ดินพิพาทเพื่อจะไปฟ้องร้อง โดยไม่มีข้อความว่า โจทก์ที่ 1 ได้ชำระหรือเสนอจะชำระเงิน4,400 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามข้อกำหนดในสัญญาเอกสารหมายจ.1 แต่อย่างใด โจทก์ที่ 1 จึงหมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2แบ่งที่ดินพิพาทให้ตามสัญญาเช่นเดียวกัน และเมื่อโจทก์ทั้งสี่หมดสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แบ่งที่ดินพิพาทให้ดังกล่าวแล้ว ก็ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3ถึงที่ 5
ตามคำฟ้องมีข้อความตอนหนึ่งว่า ฉ.ขอยืมเงินจำเลยที่ 1และที่ 2 ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแล้วทำสัญญายกที่ดินพิพาทให้แก่ทายาทคนละ 14 ไร่ 1 งาน โดยให้ทายาททุกคนชำระเงินคนละ 4,400 บาทแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 หลังจากนั้น ฉ.จึงจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อมาเมื่อโจทก์ทั้งสี่ทราบถึงสัญญาจึงไปขอรับชำระหนี้ แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 บ่ายเบี่ยงไม่ยอมแบ่งให้ โดยโจทก์ทั้งสี่ได้แนบสำเนาสัญญาเอกสารหมาย จ.1 มาท้ายคำฟ้องด้วย จากถ้อยคำในคำฟ้องและสำเนาสัญญาเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งเป็นเอกสารท้ายฟ้องแสดงให้เห็นว่า ฉ.กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ทำสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามเอกสารหมาย จ.1 การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งที่ดินพิพาทตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก จึงมิใช่เรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
สัญญาเอกสารหมาย จ.1 มีข้อความระบุว่า โจทก์ที่ 1ถึงที่ 3 และ ช.จะต้องนำเงินคนละ 4,400 บาท ไปชำระให้แก่จำเลยที่ 1และที่ 2 ภายใน 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาเสียก่อนแล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2จึงจะแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และ ช.บิดาโจทก์ที่ 4 ซึ่งได้ทราบถึงข้อกำหนดในสัญญาแล้ว แต่มิได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาเอกสารหมาย จ.1 และเสนอชำระเงินคนละ4,400 บาท ภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญา โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และโจทก์ที่ 4 บุตรของ ช.จึงหมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2แบ่งที่ดินพิพาทให้ตามสัญญา สำหรับโจทก์ที่ 1 แม้จะได้ไปยื่นคำขออายัดที่ดินพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาเอกสารหมาย จ.1 ก็ตาม แต่คำขออายัดดังกล่าวมีข้อความเพียงว่า จำเลยที่ 1และที่ 2 สัญญาจะแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์ที่ 1 ภายในกำหนด 5 ปี บัดนี้จะครบกำหนด 5 ปีแล้ว ก็ยังไม่ยินยอมแบ่งให้ โจทก์ที่ 1 จึงขออายัดที่ดินพิพาทเพื่อจะไปฟ้องร้อง โดยไม่มีข้อความว่า โจทก์ที่ 1 ได้ชำระหรือเสนอจะชำระเงิน4,400 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามข้อกำหนดในสัญญาเอกสารหมายจ.1 แต่อย่างใด โจทก์ที่ 1 จึงหมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2แบ่งที่ดินพิพาทให้ตามสัญญาเช่นเดียวกัน และเมื่อโจทก์ทั้งสี่หมดสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แบ่งที่ดินพิพาทให้ดังกล่าวแล้ว ก็ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3ถึงที่ 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5155/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดที่ดินกระทบสิทธิการโอนกรรมสิทธิ์ เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจปฏิเสธการจดทะเบียนได้
ตามเจตนารมณ์ของการอายัดที่ดินตามประมวลที่ดินมาตรา83มีความมุ่งหมายเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินในอันที่จะจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่งจนกว่าจะมีการวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นแล้วการอายัดที่ดินจึงมีผลเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินทุกประเภทที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ขออายัดได้มิได้จำกัดอยู่เฉพาะการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเฉพาะประเภทที่พิพาทกันเท่านั้นและคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่228/2530ข้อ12(2)ที่เปิดช่องให้มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินได้ในระหว่างที่การอายัดยังมีผลบังคับในกรณีที่ศาลสั่งหรือจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ไม่เสียหายแก่ผู้ขออายัดแต่ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่าโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัดก. ได้ทำสัญญาตกลงกันให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดก. ยินยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไขและเงื่อนเวลาในกรณีที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ส. ชนะคดีแพ่งหมายเลขดำที่425/2531นั้นข้อตกลงดังกล่าวก็เป็นเพียงบุคคลสิทธิที่ใช้ยันกันเองระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัดก.เท่านั้นดังนั้นหากส. ชนะคดีผลของคำพิพากษาย่อมไม่ผูกพันห้างหุ้นส่วนจำกัดก.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145ทั้งข้อตกลงนี้ไม่ทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดก. เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีอันอาจจะเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ในคดีดังกล่าวได้ดังนั้นหากมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้นายสมชายชนะคดีและปรากฎว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดก. ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทไม่ยอมจดทะเบียนสิทธิการเช่าให้แก่ส. ส. ก็ไม่มีทางเลือกที่จะต้องฟ้องบังคับให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดก. จดทะเบียนสิทธิการเช่าให้ซึ่งจะทำให้ส. ได้รับความเสียหายและไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นจำเลยที่2ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินจึงมีอำนาจปฏิเสธไม่ยอมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทของโจทก์ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดก. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5155/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดที่ดินตัดสิทธิการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ เพื่อคุ้มครองผู้มีส่วนได้เสียและป้องกันความเสียหาย
เจตนารมณ์ของการอายัดที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯมาตรา83มีความมุ่งหมายเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินในอันที่จะจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่งจนกว่าจะมีการวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นแล้วเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียผู้ขออายัดและเจ้าของที่ดินมิให้ได้รับความเสียหายเกินกว่าจำเป็นเพราะถ้าไม่มีการอายัดและปล่อยให้มีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้เรื่อยๆไปผู้มีส่วนได้เสียอาจต้องฟ้องร้องเจ้าของที่ดินและผู้รับโอนต่อๆไปถ้าชนะคดีก็ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายอีกมากการอายัดที่ดินจึงมีผลเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินทุกประเภทที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ขออายัดได้มิได้จำกัดอยู่เฉพาะการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเฉพาะประเภทที่พิพาทกันเท่านั้นดังนั้นจำเลยที่2ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินจึงมีอำนาจปฎิเสธไม่ยอมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของโจทก์ให้แก่ก. ได้เพราะส. ได้ขออายัดที่ดินพิพาทต่อจำเลยที่2โดยอ้างสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทกับเจ้าของที่ดินและอยู่ระหว่างดำเนินการฟ้องโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้าของที่ดินให้จดทะเบียนการให้เช่าต่อไปตามสัญญา