พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5155/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายัดที่ดินตัดสิทธิการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ เพื่อคุ้มครองผู้ขออายัด แม้มีข้อตกลงระหว่างคู่กรณี
ตามเจตนารมณ์ของการอายัดที่ดินตาม ป.ที่ดิน มาตรา 83มีความมุ่งหมายเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินในอันที่จะจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง จนกว่าจะมีการวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นแล้ว การอายัดที่ดินจึงมีผลเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินทุกประเภทที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ขออายัดได้มิได้จำกัดอยู่เฉพาะการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเฉพาะประเภทที่พิพาทกันเท่านั้นและคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 228/2530 ข้อ 12 (2) ที่เปิดช่องให้มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินได้ในระหว่างที่การอายัดยังมีผลบังคับในกรณีที่ศาลสั่งหรือการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ไม่เสียหายแก่ผู้ขออายัด แต่ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า โจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.ได้ทำสัญญาตกลงกันให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.ยินยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไขและเงื่อนเวลาในกรณีที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ส.ชนะคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 425/2531 นั้น ข้อตกลงดังกล่าวก็เป็นเพียงบุคคลสิทธิที่ใช้ยันกันเองระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.เท่านั้น ดังนั้นหาก ส.ชนะคดีผลของคำพิพากษาย่อมไม่ผูกพันห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามป.วิ.พ.มาตรา 145 ทั้งข้อตกลงนี้ไม่ทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีอันอาจจะเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ในคดีดังกล่าวได้ ดังนั้นหากมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้นายสมชายชนะคดี และปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทไม่ยอมจดทะเบียนสิทธิการเช่าให้แก่ ส. ส.ก็ไม่มีทางเลือกที่จะต้องฟ้องบังคับให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.จดทะเบียนสิทธิการเช่าให้ ซึ่งจะทำให้ ส.ได้รับความเสียหายและไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินจึงมีอำนาจปฏิเสธไม่ยอมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทของโจทก์ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3084/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดที่ดินตาม ป.ที่ดิน มาตรา 83 ยังมีผลจนกว่าศาลจะมีคำสั่งถอนหรือมีคำพิพากษาถึงที่สุด แม้มีการฟ้องคดี
การที่ พนักงานเจ้าหน้าที่รับอายัดที่ดินตามป.ที่ดินมาตรา83ไว้แล้วและผู้ขออายัดไปดำเนินคดีทางศาลภายในกำหนดเวลาการอายัดก็ยังคงมีผลอยู่ต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งให้ถอนการอายัดหรือมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งถึงที่สุดเมื่อคดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาและไม่มีคำสั่งศาลให้ถอนการอายัดการอายัดจึงยังคงมีอยู่ตามมาตรา83วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6840/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการอายัดที่ดินตาม ป.ก.ท. มาตรา 83: การโอนที่ดินระหว่างอายัดและผลผูกพันกับผู้ซื้อสุจริต
การอายัดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 83 มิได้บัญญัติถึงผลของการอายัดโดยชัดแจ้งว่า หากมีการโอนที่ดินไปยังบุคคลภายนอกในระหว่างอายัดแล้ว นิติกรรมการโอนไม่มีผลบังคับดังเช่นผลการอายัดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้นนิติกรรมการโอนที่พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ขณะที่มีคำขออายัดตามประมวลกฎหมายที่ดินยังถือไม่ได้ว่าเป็นนิติกรรมการโอนที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และทำให้นิติกรรมการโอนเสียไปและไม่มีผลผูกพัน เพราะถ้าผู้รับโอนได้รับโอนโดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริตมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบแล้วนิติกรรมการโอนดังกล่าวย่อมสมบูรณ์มีผลผูกพันกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6840/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดที่ดินตาม ป.ก.ที่ดิน มาตรา 83 และผลของการโอนที่ดินระหว่างอายัดต่อผู้สุจริต
การอายัดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 83 มิได้บัญญัติถึงผลของการอายัดโดยชัดแจ้งว่า หากมีการโอนที่ดินไปยังบุคคลภายนอกในระหว่างอายัดแล้ว นิติกรรมการโอนไม่มีผลบังคับดังเช่นผลการอายัดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้นนิติกรรมการโอนที่พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ขณะที่มีคำขออายัดตามประมวลกฎหมายที่ดิน ยังถือไม่ได้ว่าเป็นนิติกรรมการโอนที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และทำให้นิติกรรมการโอนเสียไปและไม่มีผลผูกพัน เพราะถ้าผู้รับโอนได้รับโอนโดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริตมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบแล้วนิติกรรมการโอนดังกล่าวย่อมสมบูรณ์มีผลผูกพันกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดที่ดินตาม ป.ก.ท. มาตรา 83 ทำได้ก่อนฟ้องคดี เมื่อฟ้องแล้วสิทธิอายัดระงับ ต้องดำเนินการทางศาล
การขออายัดที่ดินตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 83 นั้น ให้สิทธิแก่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะอายัดได้ก่อนที่จะมีการเสนอคดีขึ้นสู่ศาลเท่านั้น ดังนี้ เมื่อโจทก์ได้ฟ้องร้องผู้จัดการมรดกให้แบ่งทรัพย์ไว้แล้ว สิทธิของโจทก์มีอย่างไรต้องไปดำเนินการทางศาลจะกลับมาขออายัดที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 83 อีกไม่ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1914/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดที่ดิน สินสมรส การซื้อที่ดินในการขายทอดตลาดโดยไม่สุจริต ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
การขออายัดที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 83 นั้น เมื่อเจ้าหน้าที่รับอายัดไว้แล้วผู้ขออายัดต้องไปดำเนินการ ทางศาลภายในเวลาที่เจ้าหน้าที่กำหนดไว้ถ้าไม่ดำเนินการทางศาล การอายัดก็สิ้นผลเมื่อพ้นเวลาดังกล่าวแต่ถ้าผู้ขออายัดดำเนินการทางศาล ภายในเวลาดังกล่าวการอายัดก็ยังคงมีผลอยู่ต่อไปจนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษา
โจทก์ซื้อที่ดินตามฟ้องในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดย รู้อยู่ว่าที่ดินนั้นเป็นสินสมรสระหว่าง ต. กับจำเลยที่2 และคดีที่จำเลยที่ 2 ฟ้อง ต. ขอหย่าและขอแบ่งที่ดินนั้น กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลและโจทก์ยังซื้อโดยคบคิดกับ ต. และพวก เพื่อหลีกเลี่ยงการแบ่งที่ดินนั้นให้แก่จำเลยที่ 2 ตามที่จำเลยที่ 2ฟ้องขอแบ่งไว้ดังนั้นจะถือว่าโจทก์ซื้อที่ดินนั้น โดยสุจริตในการขายทอดตลาด ตามคำสั่งศาลไม่ได้โจทก์จึง ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1330 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ซื้อที่ดินตามฟ้องในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดย รู้อยู่ว่าที่ดินนั้นเป็นสินสมรสระหว่าง ต. กับจำเลยที่2 และคดีที่จำเลยที่ 2 ฟ้อง ต. ขอหย่าและขอแบ่งที่ดินนั้น กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลและโจทก์ยังซื้อโดยคบคิดกับ ต. และพวก เพื่อหลีกเลี่ยงการแบ่งที่ดินนั้นให้แก่จำเลยที่ 2 ตามที่จำเลยที่ 2ฟ้องขอแบ่งไว้ดังนั้นจะถือว่าโจทก์ซื้อที่ดินนั้น โดยสุจริตในการขายทอดตลาด ตามคำสั่งศาลไม่ได้โจทก์จึง ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1330 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1914/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดที่ดิน สินสมรส การซื้อทอดตลาดโดยไม่สุจริต และผลกระทบต่อการจดทะเบียน
การขออายัดที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 83 นั้น เมื่อเจ้าหน้าที่รับอายัดไว้แล้ว ผู้ขออายัดต้องไปดำเนินการ ทางศาลภายในเวลาที่เจ้าหน้าที่กำหนดไว้ ถ้าไม่ดำเนินการทางศาล การอายัดก็สิ้นผลเมื่อพ้นเวลา ดังกล่าว แต่ถ้าผู้ขออายัดดำเนินการทางศาล ภายในเวลาดังกล่าว การอายัดก็ยังคงมีผลอยู่ต่อไปจนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษา
โจทก์ซื้อที่ดินตามฟ้องในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล โดย รู้อยู่ว่าที่ดินนั้นเป็นสินสมรสระหว่าง ต. กับจำเลยที่ 2 และคดีที่จำเลยที่ 2 ฟ้อง ต. ขอหย่าและขอ แบ่งที่ดินนั้น กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล และโจทก์ยังซื้อโดยคบคิดกับ ต. และพวก เพื่อหลีกเลี่ยงการ แบ่งที่ดินนั้นให้แก่จำเลยที่ 2 ตามที่จำเลยที่ 2 ฟ้องขอแบ่งไว้ ดังนั้นจะถือว่าโจทก์ซื้อที่ดินนั้น โดยสุจริตในการขายทอดตลาด ตามคำสั่งศาลไม่ได้ โจทก์จึง ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1330 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ซื้อที่ดินตามฟ้องในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล โดย รู้อยู่ว่าที่ดินนั้นเป็นสินสมรสระหว่าง ต. กับจำเลยที่ 2 และคดีที่จำเลยที่ 2 ฟ้อง ต. ขอหย่าและขอ แบ่งที่ดินนั้น กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล และโจทก์ยังซื้อโดยคบคิดกับ ต. และพวก เพื่อหลีกเลี่ยงการ แบ่งที่ดินนั้นให้แก่จำเลยที่ 2 ตามที่จำเลยที่ 2 ฟ้องขอแบ่งไว้ ดังนั้นจะถือว่าโจทก์ซื้อที่ดินนั้น โดยสุจริตในการขายทอดตลาด ตามคำสั่งศาลไม่ได้ โจทก์จึง ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1330 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดที่ดิน: ผลของการฟ้องคดีต่อศาลและการขยายเวลาอายัดตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย
การขออายัดที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 83 นั้น เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่รับอายัดไว้แล้ว ผู้ขออายัดต้องไปดำเนินคดีทางศาลภายในเวลาที่รับอายัดไว้ถ้าไม่ดำเนินคดีทางศาล การอายัดนั้นก็สิ้นผลเมื่อพ้นเวลาที่รับอายัด แต่ถ้าผู้ขออายัดไปดำเนินคดีทางศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าว การอายัดก็ยังคงมีผลอยู่ต่อไป จนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาแล้วคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 189/2498 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์2498 ข้อ 7 ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายที่ดินหรือ ป.วิ.พ.แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการอายัดที่ดินของผู้มีส่วนได้เสียตามพินัยกรรม และอำนาจของเจ้าพนักงานที่ดิน
ผู้มีสิทธิได้รับมรดกที่ดินตามพินัยกรรมของเจ้ามรดก.ย่อมมีส่วนได้เสียในที่ดินอันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้จึงมีสิทธิขออายัดที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิให้ผู้จัดการมรดกซึ่งมีชื่อในโฉนดโอนขายที่ดินนั้นได้.
ประมวลกฎหมายที่ดิน ให้อำนาจเจ้าพนักงานที่ดินที่จะสั่งให้อายัดได้ตามที่เห็นสมควร. โดยพิจารณาจากหลักฐานและพฤติการณ์ที่ผู้ขออายัดแสดง. หาจำต้องทำการสอบสวนดุจสอบสวนการกระทำผิดอาญาไม่.
ประมวลกฎหมายที่ดิน ให้อำนาจเจ้าพนักงานที่ดินที่จะสั่งให้อายัดได้ตามที่เห็นสมควร. โดยพิจารณาจากหลักฐานและพฤติการณ์ที่ผู้ขออายัดแสดง. หาจำต้องทำการสอบสวนดุจสอบสวนการกระทำผิดอาญาไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้รับมรดกตามพินัยกรรมในการอายัดที่ดิน เพื่อคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินที่อาจถูกโอน
ผู้มีสิทธิได้รับมรดกที่ดินตามพินัยกรรมของเจ้ามรดก ย่อมมีส่วนได้เสียในที่ดินอันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ จึงมีสิทธิขออายัดที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิให้ผู้จัดการมรดกซึ่งมีชื่อในโฉนดโอนขายที่ดินนั้นได้
ประมวลกฎหมายที่ดินให้อำนาจเจ้าพนักงานที่ดินที่จะสั่งให้อายัดได้ตามที่เห็นสมควร โดยพิจารณาจากหลักฐานและพฤติการณ์ที่ผู้ขออายัดแสดง หาจำต้องทำการสอบสวนดุจสอบสวนการกระทำผิดอาญาไม่
ประมวลกฎหมายที่ดินให้อำนาจเจ้าพนักงานที่ดินที่จะสั่งให้อายัดได้ตามที่เห็นสมควร โดยพิจารณาจากหลักฐานและพฤติการณ์ที่ผู้ขออายัดแสดง หาจำต้องทำการสอบสวนดุจสอบสวนการกระทำผิดอาญาไม่