คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1306

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 195/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่งอกริมตลิ่ง vs. ที่ดินสาธารณะ: การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
ที่งอกริมตลิ่ง หมายถึง ที่ดินที่งอกไปจากตลิ่ง มิใช่งอกจากที่อื่นเข้ามาหาตลิ่ง แม้หนองน้ำจะตื้นเขินขึ้นมีระดับเสมอกับที่ดินโจทก์ที่ล้อมรอบหนองน้ำอยู่ ก็มิใช่ที่งอกริมตลิ่ง เพราะมิได้งอกออกจากตลิ่งที่ดินโจทก์ การที่หนองน้ำสาธารณะกลายสภาพเป็นที่ตื้นเขินทั้งแปลงเช่นนี้ แม้ต่อมาพลเมืองจะไม่ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันโดยโจทก์เข้าทำนาแต่ผู้เดียว ถ้ายังมิได้มีพระราชกฤษฎีกาให้ถอนสภาพจากการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน หนองน้ำดังกล่าวก็ยังคงมีสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ตามเดิม แม้โจทก์จะได้ครอบครองมาเกิน 10 ปี ก็หาได้กรรมสิทธิ์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินในเขตป่าสงวน: ผู้ครอบครองเดิมไม่มีอำนาจฟ้องไล่ผู้ครอบครองรายใหม่
ที่พิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้โจทก์จะครอบครองมาก่อนแล้วให้จำเลยเข้าอาศัยทำกิน โจทก์ก็ไม่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองไม่มีสิทธิเอาที่พิพาทให้จำเลยอาศัยทำกิน ในระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นราษฎรด้วยกัน เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองที่พิพาทอยู่ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนที่พิพาทหรือห้ามจำเลยเกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินป่าสงวน: ผู้ครอบครองก่อนไม่มีสิทธิฟ้องไล่ผู้ครอบครองภายหลัง
ที่พิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้โจทก์จะครอบครองมาก่อนแล้วให้จำเลยเข้าอาศัยทำกิน โจทก์ก็ไม่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ไม่มีสิทธิเอาที่พิพาทให้จำเลยอาศัยทำกินในระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นราษฎรด้วยกัน เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองที่พิพาทอยู่ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนที่พิพาทหรือห้ามจำเลยเกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินเวนคืนเป็นสาธารณสมบัติแผ่นดิน อายุความใช้ไม่ได้ การต่อสู้เรื่องทางจำเป็นต้องยกขึ้นในประเด็นที่ถูกต้อง
ที่พิพาทเป็นที่ดินที่ได้มาจากการเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ พ.ศ.2485 และเป็นที่ดินที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ในการกำจัดขยะมูลฝอย จึงมีลักษณะสำคัญครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1304 (1) แล้ว ย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินมิได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1306
จำเลยให้การว่า จำเลยกับบุคคลอื่นใช้ทางพิพาทเข้าออกมานานจึงตกเป็นทางภารจำยอม ไม่ได้ต่อสู้ว่าเป็นทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 ฎีกาของจำเลยที่ว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นนั้น จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินเวนคืนเป็นสาธารณสมบัติแผ่นดิน อายุความใช้ไม่ได้ การต่อสู้เรื่องทางจำเป็นนอกประเด็น
ที่พิพาทเป็นที่ดินที่ได้มาจากการเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ พ.ศ. 2485 และเป็นที่ดินที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ในการกำจัดขยะมูลฝอย จึงมีลักษณะสำคัญครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1304(1) แล้ว ย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจำเลยจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินมิได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1306
จำเลยให้การว่า จำเลยกับบุคคลอื่นใช้ทางพิพาทเข้าออกมานาน จึงตกเป็นทางภารจำยอม ไม่ได้ต่อสู้ว่าเป็นทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 ฎีกาของจำเลย ที่ว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นนั้น จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตป่าคุ้มครองตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาสำคัญกว่าชื่อตำบล หนังสือรับรองการทำประโยชน์หลังมีกฎหมายไม่มีผลยันแผ่นดิน
มาตรา 3 แห่งพระราชกฤฎีกากำหนดป่าไสโป๊ะ ๆ ให้เป็นป่าคุ้มครอง พ.ศ.2496 บัญญัติว่า "ให้ป่าไสโป๊ะในท้องที่ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้เป็นป่าคุ้มครอง" ดังนี้ การที่จะวินิจฉัยว่าที่พิพาทอยู่ในเขตป่าคุ้มครองหรือไม่ จะต้องพิจารณาจากแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาประกอบด้วย แม้ได้ความว่าที่พิพาทอยู่ในท้องที่ตำบลกระบี่ใหญ่ มิใช่ตำบลกระบี่น้อยก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าอยู่ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา ก็ต้องถือว่าที่พิพาทอยู่ในเขตป่าคุ้มครองตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
แม้ที่พิพาทจะมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่เมื่อได้มาหลังจากที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ที่พิพาทเป็นป่าคุ้มครองแล้ว จึงหามีผลให้ได้สิทธิอย่างใดยันต่อแผ่นดินได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตป่าคุ้มครองตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาสำคัญกว่าชื่อตำบล หนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกหลังมีผลบังคับใช้ของกฎหมายไม่ผูกพันแผ่นดิน
มาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าไสโป๊ะ ฯ ให้เป็นป่าคุ้มครอง พ.ศ.2496 บัญญัติว่า "ให้ป่าไสโป๊ะในท้องที่ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้เป็นป่าคุ้มครอง" ดังนี้การที่จะวินิจฉัยว่าที่พิพาทอยู่ในเขตป่าคุ้มครองหรือไม่จะต้องพิจารณาจากแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาประกอบด้วย แม้ได้ความว่าที่พิพาทอยู่ในท้องที่ตำบลกระบี่ใหญ่ มิใช่ตำบลกระบี่น้อยก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าอยู่ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา ก็ต้องถือว่าที่พิพาทอยู่ในเขตป่าคุ้มครองตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
แม้ที่พิพาทจะมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่เมื่อได้มาหลังจากที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ที่พิพาทเป็นป่าคุ้มครองแล้ว จึงหามีผลให้ได้สิทธิอย่างใดยันต่อแผ่นดินได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2095/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขัดขวางการออกโฉนดที่ดิน: ที่ดินหวงห้าม, อำนาจกองทัพบก, ผู้กระทำการแทน, ไม่มีอำนาจฟ้องโดยตรง
ที่พิพาทอยู่ในเขตหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินอำเภอเมืองลพบุรี อำเภอบ้ายเซ่าอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2479ซึ่งมาตรา 3 บัญญัติให้เป็นอำนาจของผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลพบุรีที่จะหวงห้ามที่ดินได้ เมื่อพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวออกตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 และต่อมาพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497 มาตรา 4 ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินฯเสียแล้ว พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึงถูกยกเลิกไปด้วย ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลพบุรี โดยลำพังจึงหมดอำนาจหวงห้ามที่ดิน แต่ที่พิพาทก็ยังคงเป็นที่หวงห้ามต่อไปตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินฯ
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นรัฐมนนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจมอบหมายให้ทบวงการเมืองที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันได้ตามมาตรา 8 ประมวลกฎหมายที่ดิน เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหมาดไทยได้มอบหมายให้กองทัพบกมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินตามกฎหมายไว้ในพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามที่ดินอำเภอเมืองลพบุรี อำเภอบ้านเซ่าฯ พ.ศ. 2479 อำนาจดูแลรักษาที่ดินซึ่งอยู่ในเขตตามพระราชกฤษฎีกานี้จึงตกเป็นของกองทัพบกการที่โจทก์ขอออกโฉนดที่พิพาทและจำเลยคัดค้าน โดยกองทัพบกมอบหมายให้จำเลยเป็นผู้กระทำการแทน จำเลยจึงอยู่ในฐานะผู้ปฏิบัติการแทนของกองทัพบพซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่านั้น โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย เพื่อห้ามจำเลยขัดขวางการออกโฉนดที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน: สิทธิครอบครองของผู้บุกรุก vs. การครอบครองของโรงเรียน
เมื่อ พ.ศ.2496 ครูใหญ่โรงเรียนประชาบาลจับจองที่พิพาทอันเป็นที่รกร้างว่างเปล่าเพื่อใช้ในกิจการของโรงเรียน ได้เข้าครอบครองที่พิพาทเพื่อกิจการของโรงเรียนแล้ว และยังได้ขึ้นทะเบียนพัสดุเคลื่อนที่ไม่ได้เป็นทรัพย์สินของโรงเรียน โดยมีศึกษาธิการอำเภอรับรองว่าเป็นทรัพย์สินของโรงเรียนครั้น พ.ศ.2498 ครูใหญ่ก็ได้แจ้ง ส.ค.1 ที่พิพาทไว้ในฐานะแทนโรงเรียน ดังนี้แม้โรงเรียนประชาบาลดังกล่าวจะไม่เป็นนิติบุคคลแต่เป็นโรงเรียนที่นายอำเภอตั้งขึ้นจึงเป็นส่วนราชการของรัฐและพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าทางราชการอำเภอได้รับเอาที่พิพาทมาเป็นทรัพย์สินของทางราชการแล้วที่พิพาทจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตั้งแต่ พ.ศ.2496 เป็นต้นมา โจทก์เข้าครอบครองที่พิพาทภายหลัง พ.ศ.2496 จึงไม่อาจจะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ โจทก์ไม่ได้สิทธิครอบครองที่พิพาท
กรณีดังกล่าวข้างต้น เมื่อต่อมาโรงเรียนประชาบาลนั้นได้โอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามพระราชบัญญัติโอนโรงเรียนประถมศึกษาบางประเภทไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2509 ซึ่งพระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติให้โอนบรรดากิจการและทรัพย์สินไปเป็นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่รับโอนด้วย เมื่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคลที่พิพาทจึงโอนมาเป็นทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่รับโอนนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน: การได้มาของที่ดินโดยโรงเรียนและโอนไปยัง อบจ. ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครอง
เมื่อ พ.ศ. 2496 ครูใหญ่โรงเรียนประชาบาลจับจองที่พิพาทอันเป็นที่รกร้างว่างเปล่าเพื่อใช้ในกิจการของโรงเรียน ได้เข้าครอบครองที่พิพาทเพื่อกิจการของโรงเรียนแล้ว และยังได้ขึ้นทะเบียนพัสดุเคลื่อนที่ไม่ได้เป็นทรัพย์สินของโรงเรียน โดยมีศึกษาธิการอำเภอรับรองว่าเป็นทรัพย์สินของโรงเรียน ครั้น พ.ศ. 2498 ครูใหญ่ก็ได้แจ้ง ส.ค.1 ที่พิพาทไว้ในฐานะแทนโรงเรียน ดังนี้แม้โรงเรียนประชาบาลดังกล่าวจะไม่เป็นนิติบุคคล แต่เป็นโรงเรียนที่นายอำเภอตั้งขึ้น จึงเป็นส่วนราชการของรัฐ และพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าทางราชการอำเภอได้รับเอาที่พิพาทมาเป็นทรัพย์สินของทางราชการแล้ว ที่พิพาทจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตั้งแต่ พ.ศ. 2496 เป็นต้นมา โจทก์เข้าครอบครองที่พิพาทภายหลัง พ.ศ. 2496 จึงไม่อาจจะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ โจทก์ไม่ได้สิทธิครอบครองที่พิพาท
กรณีดังกล่าวข้างต้น เมื่อต่อมาโรงเรียนประชาบาลนั้นได้โอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามพระราชบัญญัติโอนโรงเรียนประถมศึกษาบางประเภทไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2509 ซึ่งพระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติให้โอนบรรดากิจการและทรัพย์สินไปเป็นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่รับโอนด้วย เมื่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคล ที่พิพาทจึงโอนมาเป็นทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่รับโอนนั้น
of 18