คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1306

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13999/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินปฏิรูปฯ ยังเป็นที่ดินของรัฐ แม้มีการเพิกถอนสภาพสาธารณสมบัติ การครอบครองจึงไม่อาจอ้างสิทธิได้
ตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 36 ทวิ วรรคหนึ่ง กำหนดให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ได้มาก็เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มิได้มุ่งหมายให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีกรรมสิทธิ์เช่นเดียวกับเจ้าของทรัพย์สินทั่วไปที่มีสิทธิใช้สอย จำหน่ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ดังนั้น เมื่อที่ดินพิพาทเดิมเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน แม้ถูกเพิกถอนสภาพจากการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอันเนื่องจากการดำเนินการตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 (4) ก็ตาม ก็ยังคงเป็นที่ดินของรัฐอยู่เพียงแต่เปลี่ยนประเภทของที่ดินวัตถุประสงค์และการใช้ประโยชน์ในที่ดินและเปลี่ยนหน่วยงานของรัฐที่จะเป็นผู้จัดให้ใช้ประโยชน์เท่านั้น
เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน และเป็นที่ดินของรัฐแล้วย่อมต้องห้ามมิให้บุคคลทั่วไปยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1306 หากการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเป็นการออกทับที่ดินที่บิดาจำเลยและจำเลยมีสิทธิครอบครองจริง ก็เป็นเรื่องที่จะต้องไปดำเนินการขอเพิกถอนหรือแก้ไขตามระเบียบกรมที่ดินว่าด้วยการเพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง พ.ศ.2529 และฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเท่านั้น หาใช่ฝ่าฝืนที่จะอยู่ในที่ดินของรัฐต่อไปได้ไม่
การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินของรัฐแต่ไม่ใช่ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันหรือที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามมาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง เท่านั้น ทั้งการครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก็เป็นการครอบครองต่อเนื่องจากบิดาของจำเลยที่ครอบครองทำประโยชน์มาก่อนนานแล้ว จึงมีสาเหตุที่ทำให้จำเลยอาจเข้าใจไปได้ว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทมาก่อน และการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเมื่อปี 2535 เป็นการออกทับที่ดินของจำเลย พฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยจึงไม่ร้ายแรงนัก กรณีจึงมีเหตุสมควรรอการลงโทษให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9176/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณประโยชน์: การครอบครองโดยไม่สุจริตไม่อาจได้สิทธิ
ประเด็นข้อพิพาทที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์หรือไม่มิใช่กรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงอันจะต้องห้ามมิให้นำพยานบุคคลมาสืบแทนพยานเอกสารซึ่งเป็นระวางรูปแผนที่ทางอากาศตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่พลเมืองใช้ร่วมกันซึ่งเกิดขึ้นโดยสภาพการใช้มาตั้งแต่ก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ แม้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวเป็นเวลานานเท่าใด ก็ไม่ได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1306

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณประโยชน์: การแจ้งการครอบครองไม่ทำให้เกิดสิทธิ, อายุความใช้ไม่ได้กับที่ดินสาธารณะ
ทรัพย์สินของแผ่นดินจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ขึ้นอยู่กับสภาพของตัวทรัพย์นั้นว่าราษฎรได้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เมื่อที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน แม้ทางราชการจะไม่ได้ทำหลักฐานหรือขึ้นทะเบียนไว้ ที่ดินพิพาทก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามกฎหมายที่ไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดินและไม่อาจโอนให้แก่กันได้ เว้นแต่จะอาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6528-6531/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิอุทธรณ์-ฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และประเด็นใหม่ในชั้นอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 บุกรุกเข้าไปในที่ดินตามโฉนดที่ดินของโจทก์และปลูกบ้านอยู่อาศัย ขอให้บังคับขับไล่จำเลยทั้งสี่ออกไปจากที่ดินของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ให้การกล่าวแก้ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ว่าที่ดิน ที่ปลูกบ้านของจำเลยแต่ละคนเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ละคนโดยการครอบครองปรปักษ์ คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันตามราคาที่ดินที่จำเลยแต่ละคนบุกรุกเข้าไปสร้างบ้านแยกต่างหากจากกันตามที่จำเลยแต่ละคนโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสี่ขนย้ายบ้านเรือน ทรัพย์สิน และบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ และให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวนเดือนละ 300 บาท นับตั้งแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะขนย้ายดังกล่าวเสร็จสิ้น จำเลยทั้งสี่ฎีกาขอให้ยกฟ้อง เมื่อทุนทรัพย์ตามฎีกาของจำเลยแต่ละคนแต่ละสำนวนที่พิพาทกันในชั้นฎีกามีจำนวนไม่เกินจำนวน 200,000 บาท แม้จำเลยทั้งสี่จะได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา ก็ห้ามมิให้จำเลยแต่ละคนฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 มีจำนวนเพียง 44,000 บาท ไม่เกินจำนวน 50,000 บาท ห้ามมิให้จำเลยที่ 3 อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่3 ในข้อเท็จจริง เมื่อจำเลยที่ 3 ฎีกาในข้อเท็จจริงโต้เถียงการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
จำเลยทั้งสี่ฎีกาในข้อกฎหมายว่า จำเลยทั้งสี่ให้การโดยชัดแจ้งแล้วว่า โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริต ไม่จำต้องบรรยายรายละเอียดในคำให้การเพราะจำเลยทั้งสี่สามารถสืบเหตุแห่งการได้มาโดยไม่สุจริตของโจทก์ในชั้นพิจารณาได้ คำให้การของจำเลยทั้งสี่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง แล้ว ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสี่ครอบครองที่ดินในส่วนพิพาทมายังไม่ถึง 10 ปี จำเลยทั้งสี่ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 และจำเลยทั้งสี่ไม่อาจฎีกาโต้แย้งการฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวของศาลอุทธรณ์ได้ แม้จะวินิจฉัยฎีกาในข้อกฎหมายของจำเลยทั้งสี่ข้อนี้ให้ ก็ไม่มีผลทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป เพราะเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาว่าจำเลยทั้งสี่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่พิพาทและศาลฎีกาจำต้องฟังข้อเท็จจริงในข้อดังกล่าวตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมา แม้จะวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับโอนที่ดินดังกล่าวมาโดยไม่สุจริต ก็ไม่มีผลทำให้จำเลยทั้งสี่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว ฎีกาข้อกฎหมายของจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
นอกจากจำเลยทั้งสี่ไม่ได้ให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณะแล้วจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยังระบุไว้ในแผนผังท้ายคำให้การว่าที่ดินพิพาทอยู่ในแนวเขตที่ดินตามโฉนดที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 เท่ากับจำเลยทั้งสี่ยอมรับว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินสาธารณะ เพราะถ้าที่ดินส่วนที่พิพาทเป็นที่สาธารณะจำเลยทั้งสี่จะอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองไม่ได้ เพราะจำเลย ทั้งสี่ไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1306 ประกอบกับทนายจำเลยทั้งสี่แถลงรับว่า บ้านของจำเลยทั้งสี่อยู่ในเขตที่ดินของโจทก์จริง และเจ้าหน้าที่ได้ทำแผนที่วิวาทและคำนวณเนื้อที่และตำแหน่งที่ตั้งบ้านถูกต้องตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสี่นำชี้จริง เช่นนี้ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณะหรือไม่ ที่จำเลยทั้งสี่ยกประเด็นนี้ขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ที่ไม่ได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คดีทั้งสี่สำนวนมีทุนทรัพย์พิพาทกันในแต่ละสำนวนแยกต่างหากจากกันได้ ค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดแต่ละสำนวนเกินกว่าอัตราขั้นสูง ตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้าย ป.วิ.พ. จึงไม่ชอบ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาในปัญหาดังกล่าว แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็น สมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน: สิทธิในที่ดินไม่กลับคืนแก่ผู้บริจาค แม้ไม่ได้ใช้ตามวัตถุประสงค์
การที่มีผู้จัดการมรดกอยู่แต่ผู้จัดการมรดกไม่ดำเนินการใด ๆเกี่ยวกับทรัพย์มรดก ย่อมไม่ทำให้สิทธิของทายาทในฐานะทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกที่จะดำเนินการฟ้องคดีเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกองมรดกเสียไป
จ. อุทิศที่ดินให้เป็นถนนสาธารณะและได้จดทะเบียนยกให้แล้ว จึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) และสภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่อาจสูญสิ้นไปเพราะการไม่ได้ใช้ตามมาตรา 1305 แม้กรุงเทพมหานครจำเลยจะมิได้ใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ที่ขอบริจาค และ จ. ได้กลับเข้าครอบครองใช้ประโยชน์นานเพียงใดก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ตกไปเป็นของ จ. ได้อีก เพราะตามมาตรา 1306 ห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิของทายาท และการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืน
เมื่อพิจารณาคำฟ้องรวมกันทั้งฉบับแล้วพอเข้าใจได้ว่า ขณะฟ้องคดี จ. ถึงแก่กรรมแล้ว และผู้จัดการมรดกของ จ. ไม่ยอมดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทที่ จ. และ น. บริจาคให้เป็นถนนรับสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา แต่กรมโยธาธิการและจังหวัดธนบุรีมิได้ใช้ที่ดินพิพาทตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ที่ดินพิพาทจึงกลับมาเป็นของ จ. และ น. ตั้งแต่ก่อนที่ จ. จะถึงแก่กรรม ธ. บุตรของ จ. ซึ่งเป็นทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ จ. จึงต้องฟ้องคดีนี้ ถือได้ว่า ธ. ฟ้องคดีเองในฐานะทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกย่อมฟ้องคดีนี้ได้โดยไม่จำต้องให้ผู้จัดการมรดกของ จ. เป็นผู้ฟ้อง
การที่มีผู้จัดการมรดกอยู่ไม่ทำให้สิทธิของทายาทที่จะดำเนินการเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกองมรดกเสียไป
โจทก์และจำเลยต่างฎีกาและแก้ฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนกลับไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยใหม่ ประกอบกับคดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และข้อเท็จจริงตามที่คู่ความนำสืบกันไว้เพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคดีให้เสร็จเด็ดขาดโดยไม่ย้อนสำนวน
จ. ได้อุทิศส่วนของตนในที่ดินพิพาทยกให้เป็นถนนสาธารณะและได้จดทะเบียนยกให้แล้ว ที่ดินพิพาทส่วนของ จ. ดังกล่าวตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามที่บันทึกไว้ในรูปแผนที่ในโฉนดที่ดินว่า แบ่งให้เป็นถนนเจริญนคร ต้องถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) และตามมาตรา 1305 ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา สภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่อาจสูญสิ้นไปเพราะการไม่ได้ใช้ แม้กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 จะมิได้ใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ที่ขอบริจาคและ จ. ได้กลับเข้าครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าวแล้วนานเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตกไปเป็นของ จ. ได้อีก เพราะตามมาตรา 1306 ท่านห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องล่วงพ้นเวลาสิบปีนับแต่ จ. เจ้ามรดกได้ทำนิติกรรมยกที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณะแล้ว ถึงหากจะเป็นโมฆียะอย่างใดก็ไม่อาจบอกล้างได้ ตามมาตรา 181 ที่ดินพิพาทยังเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่โจทก์ไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาท จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสามปฏิบัติตามคำขอท้ายฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4553/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ การครอบครองซื้อสืบต่อไม่ได้ สิทธิครอบครองต้องมีก่อนประกาศหวงห้าม
ที่ดินพิพาทตั้งอยู่ในเขตที่ราชพัสดุซึ่งมีหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงออกไว้ตั้งแต่ปี 2480 จ. ผู้แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทแจ้งต่อนายอำเภอว่าได้ที่ดินนี้มาโดยปกครองตั้งแต่ปี 2482 ซึ่งแม้ฟังเป็นจริงก็เป็นเวลาภายหลังจากการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงดังกล่าวแล้ว ดังนั้น จ. จึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยซื้อต่อจากส. ผู้ซื้อที่ดินจาก จ. แม้จะครอบครองนานเพียงใดก็หาทำให้เกิดสิทธิครอบครองแต่อย่างใดไม่ เมื่อจำเลยไม่มีพยานหลักฐานมาแสดงให้เชื่อได้ว่ามีการครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อนจะมีประกาศหวงห้ามที่ดิน จึงต้องฟังว่าจำเลยไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8836/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีที่ราชพัสดุ, การมอบอำนาจตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และอายุความของคดีที่ดินสาธารณสมบัติ
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534มาตรา 38 เป็นกฎหมายพิเศษที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการมอบอำนาจเพื่อกระจายอำนาจบริหารให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารราชการแผ่นดิน และกำหนดวิธีการมอบอำนาจโดยให้ทำเป็นหนังสือ ดังนั้นเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังซึ่งเป็นผู้แทนของกระทรวงการคลังโจทก์มีคำสั่งมอบอำนาจให้อธิบดีกรมธนารักษ์มีอำนาจร้องทุกข์และแต่งตั้งทนายความเพื่อฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ราชพัสดุโดยทำเป็นหนังสือการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจึงถูกต้องตามมาตรา 38 แล้ว
ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุของกระทรวงการคลังโจทก์ตามพระราชบัญญัติราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 11 และเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3)กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1306จำเลยจึงไม่สามารถยกอายุความขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8836/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีที่ราชพัสดุ, การมอบอำนาจตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน, และข้อยกเว้นอายุความสำหรับสาธารณสมบัติ
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 38 เป็นกฎหมายพิเศษที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการมอบอำนาจ เพื่อกระจายอำนาจบริหารให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารราชการแผ่นดิน และกำหนดวิธีการมอบอำนาจ โดยให้ทำเป็นหนังสือ ดังนั้น เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังซึ่งเป็นผู้แทนของกระทรวงการคลังโจทก์มีคำสั่ง มอบอำนาจให้อธิบดีกรมธนารักษ์มีอำนาจร้องทุกข์และแต่งตั้งทนายความเพื่อฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ โดยทำเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้จึงถูกต้องตามมาตรา 38 แล้ว
ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 11 และเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดินประเภทที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (3) ดังนั้น ที่จำเลยต่อสู้ว่า โจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งที่ดินพิพาทเกิน 10 ปี ฟ้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความนั้น กรณีต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1306 จำเลยไม่สามารถยกอายุความขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2424/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินและผลกระทบต่อการครอบครองปรปักษ์
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยโดยบรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาที่ดินสาธารณะ โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียน ป. อันเป็นสถานศึกษาในสังกัดของโจทก์ จำเลยต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยแล้วโดยการครอบครองเกินกว่า 10 ปี ฉะนั้น การที่โจทก์นำสืบว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นของใครและโจทก์ได้ที่ดินพิพาทมาโดยเจ้าของเดิมยกให้เพื่อใช้ใน กิจการของโจทก์นั้น เป็นการนำสืบถึงมูลเหตุซึ่งได้ที่ดินพิพาทมาเป็นของตน พร้อมทั้งวัตถุประสงค์ของการยกให้ ไม่ใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
ทรัพย์สินของแผ่นดินมี 2 ประเภท คือ ทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดาซึ่งเป็นของรัฐ กับสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งมีลักษณะสำคัญอยู่ที่ว่าใช้เพื่อสาธาณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ฉะนั้น ทรัพย์สิน ของแผ่นดินที่จะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่นั้น จึงขึ้นอยู่กับสภาพของทรัพย์สินนั้นเองว่าใช้เพื่อ สาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ที่ดินพิพาทซึ่ง ช. ยกให้โจทก์ได้ใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียน ป. และเนื่องจากโจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐ ทรัพย์สินของโจทก์จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินประเภทสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 จำเลยจึงไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1306 เมื่อประเด็นในคดีมีว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามข้อต่อสู้หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งกฎหมายห้ามมิให้จำเลยยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดิน จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตาม มาตรา 1382 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
of 18