พบผลลัพธ์ทั้งหมด 337 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15116/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจช่วงฟ้องคดี: อำนาจของผู้รับมอบอำนาจช่วงต้องชัดเจนตามขอบเขตที่ได้รับมอบหมาย
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์โดยผู้อำนวยการได้มอบอำนาจให้ ธ. รองผู้อำนวยการ มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ในบรรดากิจการต่าง ๆ ซึ่งรวมทั้งเป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งด้วย โดยความตอนท้ายระบุว่า "ในการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น ให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเพื่อว่าต่างแก้ต่างคดีหรือมอบอำนาจให้ตัวแทนช่วงดำเนินการแทนได้ในทุกกรณีแห่งกิจการที่มอบอำนาจ" ธ. จึงมอบอำนาจช่วงให้ ร. ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายมีอำนาจกระทำการแทนรวมทั้งเป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งได้ เพราะเป็นการมอบอำนาจช่วงที่มีการให้อำนาจไว้ แต่การที่ ร. มอบอำนาจช่วงต่อให้ อ. ฟ้องจำเลยทั้งห้าแทนโจทก์อีกต่อหนึ่งนั้น เป็นการกระทำนอกขอบเขตของหนังสือมอบอำนาจเพราะหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว มิได้ระบุให้อำนาจผู้ที่ได้รับมอบอำนาจช่วงจาก ธ. มีอำนาจมอบอำนาจช่วงให้บุคคลอื่นต่อไปอีกช่วงหนึ่งได้ด้วย อ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ (ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1116 - 1117/2495 (ประชุมใหญ่) แม้จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 จะมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่คำพิพากษาคดีนี้เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้คำวินิจฉัยในปัญหานี้มีผลไปถึงจำเลยอื่นซึ่งเป็นคู่ความในคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15036/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแรงงานจากความผิดสัญญาจ้างและละเมิด ศาลกลับคำพิพากษาให้ชำระหนี้
โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างฟ้องจำเลยที่ 1 ลูกจ้างให้ชำระหนี้ที่เกิดจากการที่ลูกจ้างกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยเก็บเงินค่าสินค้าจากลูกค้าแล้วไม่นำส่งโจทก์ เบิกสินค้าของโจทก์ไปแล้วไม่ส่งเงินค่าสินค้าให้ครบถ้วนหรือนำสินค้ามาคืน จึงเป็นการฟ้องคดีให้จำเลยที่ 1 รับผิดทั้งจากมูลละเมิดและมูลสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อการฟ้องให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามสิทธิเรียกร้องอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานมิได้มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15031/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างทำให้ทรัพย์สินนายจ้างสูญหาย นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวหรือจ่ายค่าชดเชย
การที่โจทก์ได้รับมอบหมายให้เข้าไปดำเนินการปลดธงชาติและธงเฉลิมพระเกียรติซึ่งต้องมีการปฏิบัติงานภายในห้องประธานกรรมการบริหารของจำเลย การที่โจทก์ใช้กุญแจอาคารเปิดเข้าห้องประธานกรรมการบริหารของจำเลยเพื่อปฏิบัติงานตามคำสั่งนั้น หน้าที่ของโจทก์นอกจากดำเนินการปลดธงลงแล้วโจทก์ยังมีหน้าที่ต้องดำเนินการให้เกิดความเรียบร้อยและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สถานที่ที่โจทก์เข้าไปดำเนินงานด้วย เมื่อสถานที่ดังกล่าวเป็นห้องประธานกรรมการบริหารของจำเลยซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าภายในห้องดังกล่าวอาจมีทรัพย์สินมีค่า หรือเอกสารสำคัญ โจทก์ยิ่งต้องใช้ความระมัดระวังตรวจตรารักษาความปลอดภัยแก่สถานที่นั้นเป็นอย่างดี เมื่อโจทก์มิได้ใช้ความระมัดระวังตรวจตราดูแลทำให้พระทองคำ ฮก ลก ซิ่ว ซึ่งมีมูลค่าถึง 75,000 บาท ที่อยู่ในห้องดังกล่าวสูญหายไป จึงเป็นการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างก่อนครบระยะเวลาตามสัญญาจ้างแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15025/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนสัญญาจ้างต่างประเทศ: จำเลยมีหน้าที่รับผิดแม้ไม่ได้ลงนามในสัญญาโดยตรง หากมีเจตนาหลีกเลี่ยงกฎหมายจัดหางาน
จำเลยได้ร่วมกับบริษัท ว. ตัวการซึ่งอยู่ที่ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในการทำสัญญาจ้างกับโจทก์ การที่จำเลยให้โจทก์ลงลายมือชื่อในสัญญาจ้างดังกล่าวกับนายจ้างผู้เป็นตัวการโดยจำเลยมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญาจ้างด้วยตนเองแทนนายจ้างผู้เป็นตัวการ ก็เห็นได้ชัดแจ้งว่าจำเลยประสงค์จะหลีกเลี่ยงวิธีปฏิบัติตามขั้นตอนของผู้จัดหางานที่จะต้องตรวจสอบและลงนามในสัญญาจ้างดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยเป็นตัวแทนทำสัญญาจ้างแทนนายจ้างผู้เป็นตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาจ้างแต่โดยลำพังแม้ชื่อของตัวการจะได้เปิดเผยแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 824
จำเลยกำหนดให้โจทก์เดินทางไปเมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในวันที่ 20 เมษายน 2551 แต่จำเลยขอเลื่อนกำหนดไปในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ก่อนถึงกำหนดนัดพนักงานของจำเลยสั่งให้โจทก์เตรียมเงิน 15,000 บาท เพื่อเป็นค่าบริการแก่จำเลย โจทก์แจ้งว่าจะจ่ายให้หลังจากไปทำงานและได้รับเงินเดือนแล้ว วันที่ 2 พฤษภาคม 2551 โจทก์ยังไปที่บริษัทจำเลยและตรวจสอบเอกสารการเดินทางและการเข้าเมือง จึงพบว่าเอกสารระบุเพศไม่ตรงกับเพศของโจทก์ โจทก์จึงเดินทางกลับบ้านมิได้เดินทางไปที่สนามบิน เห็นได้ว่าโจทก์ยินยอมเสียค่าบริการให้แก่จำเลยเพียงแต่ขอผัดใช้ให้หลังจากเดินทางไปทำงานกับนายจ้างและได้รับเงินเดือนแล้วเท่านั้น เมื่อถึงวันนัดโจทก์ก็เดินทางไปที่บริษัทจำเลยตามกำหนด แสดงว่าโจทก์มิได้ถือเอาเหตุที่จำเลยเรียกค่าบริการมาเป็นเหตุว่าจำเลยผิดสัญญาเพื่อเรียกค่าเสียหายตามฟ้อง การที่ระบุเพศผิดพลาดโจทก์ก็หาได้เรียกให้จำเลยจัดการเสียให้ถูกต้องเสียก่อนซึ่งหากจำเลยมิได้ดำเนินการให้ก็จะถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญา แต่โจทก์กลับเดินทางกลับบ้าน มิได้ไปที่สนามบิน ย่อมแสดงว่าโจทก์ประสงค์ที่จะไม่เดินทางไปเมืองดูไบตามสัญญาจ้างเอง ไม่ถือว่าจำเลยผิดสัญญาที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
จำเลยกำหนดให้โจทก์เดินทางไปเมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในวันที่ 20 เมษายน 2551 แต่จำเลยขอเลื่อนกำหนดไปในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ก่อนถึงกำหนดนัดพนักงานของจำเลยสั่งให้โจทก์เตรียมเงิน 15,000 บาท เพื่อเป็นค่าบริการแก่จำเลย โจทก์แจ้งว่าจะจ่ายให้หลังจากไปทำงานและได้รับเงินเดือนแล้ว วันที่ 2 พฤษภาคม 2551 โจทก์ยังไปที่บริษัทจำเลยและตรวจสอบเอกสารการเดินทางและการเข้าเมือง จึงพบว่าเอกสารระบุเพศไม่ตรงกับเพศของโจทก์ โจทก์จึงเดินทางกลับบ้านมิได้เดินทางไปที่สนามบิน เห็นได้ว่าโจทก์ยินยอมเสียค่าบริการให้แก่จำเลยเพียงแต่ขอผัดใช้ให้หลังจากเดินทางไปทำงานกับนายจ้างและได้รับเงินเดือนแล้วเท่านั้น เมื่อถึงวันนัดโจทก์ก็เดินทางไปที่บริษัทจำเลยตามกำหนด แสดงว่าโจทก์มิได้ถือเอาเหตุที่จำเลยเรียกค่าบริการมาเป็นเหตุว่าจำเลยผิดสัญญาเพื่อเรียกค่าเสียหายตามฟ้อง การที่ระบุเพศผิดพลาดโจทก์ก็หาได้เรียกให้จำเลยจัดการเสียให้ถูกต้องเสียก่อนซึ่งหากจำเลยมิได้ดำเนินการให้ก็จะถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญา แต่โจทก์กลับเดินทางกลับบ้าน มิได้ไปที่สนามบิน ย่อมแสดงว่าโจทก์ประสงค์ที่จะไม่เดินทางไปเมืองดูไบตามสัญญาจ้างเอง ไม่ถือว่าจำเลยผิดสัญญาที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15022/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเฉพาะตัวจากการบังคับคดีแรงงาน การอายัดเงินและเฉลี่ยหนี้ต้องเป็นไปตามสิทธิของเจ้าหนี้แต่ละราย
แม้ศาลจะมีคำสั่งรวมการพิจารณาพิพากษาคดีระหว่างโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 15 กับโจทก์ที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 ที่ 8 ที่ 13 และที่ 16 เข้าด้วยกัน ทั้งออกคำบังคับและออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีฉบับเดียวกันก็ตาม แต่สิทธิเรียกร้องของโจทก์แต่ละรายเป็นสิทธิที่เกิดจากสัญญาจ้างแรงงานของโจทก์แต่ละคน จึงเป็นสิทธิเฉพาะตัว โจทก์ทั้งหมดมิได้เป็นเจ้าหนี้ร่วมกัน การที่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 15 ขออายัดเงินต่อสิทธิเรียกร้องจากบุคคลภายนอก และแจ้งแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีว่ายินดีรับเงินตามจำนวนที่บุคคลภายนอกแจ้งมา เป็นการบังคับคดีเฉพาะตัว เมื่อโจทก์ที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 ที่ 8 ที่ 13 และที่ 16 มิได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยหนี้ของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์ที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 ที่ 8 ที่ 13 และที่ 16 จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับส่วนเฉลี่ยจากเงินจำนวนดังกล่าว การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีและจ่ายเงินแก่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 15 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14975/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน: การพิจารณาตามกฎกระทรวงฯ ห้ามตัดสิทธิเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
การพิจารณาว่าโจทก์มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานหรือไม่ต้องพิจารณาไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 78 มาตรา 79 และกฎกระทรวงที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 79 เป็นสำคัญ ซึ่งตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ.2547 ซึ่งออกตามความในมาตรา 79 ข้อ 2 กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามมาตรา 78 ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามข้อ 1 ตั้งแต่วันที่แปดนับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย เว้นแต่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนผู้ใดไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันว่างงาน ให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานนับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนนั้นได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐ และข้อ 3 กำหนดเงื่อนไขให้สำนักงานประกันสังคมงดจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานแก่ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไว้เพียง 3 กรณี ตาม (1) ถึง (3) เท่านั้น
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ.2547 ข้อ 2 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน กรณีลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันว่างงานไว้ว่า ให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานนับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนผู้นั้นได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐ ทั้งการไปขึ้นทะเบียนหางานเกินระยะเวลาที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนก็ไม่เป็นเหตุตัดสิทธิหรืองดจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามที่บัญญัติไว้ในกฎกระทรวงดังกล่าว การที่สำนักงานประกันสังคมออกประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2547 ในข้อ 3.2 (2) กำหนดให้ผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนหางานหลัง 90 วัน หรือหลัง 180 วัน นับแต่วันที่แปดของการว่างงานในกรณีลาออกหรือถูกเลิกจ้างแล้ว แต่กรณีไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน อันเป็นการตัดสิทธิประโยชน์ของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกันตนเกินไปกว่าที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ.2547 ประกาศดังกล่าวจึงไม่อาจนำมาใช้บังคับเพื่อตัดสิทธิโจทก์ได้
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ.2547 ข้อ 2 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน กรณีลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันว่างงานไว้ว่า ให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานนับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนผู้นั้นได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐ ทั้งการไปขึ้นทะเบียนหางานเกินระยะเวลาที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนก็ไม่เป็นเหตุตัดสิทธิหรืองดจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามที่บัญญัติไว้ในกฎกระทรวงดังกล่าว การที่สำนักงานประกันสังคมออกประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2547 ในข้อ 3.2 (2) กำหนดให้ผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนหางานหลัง 90 วัน หรือหลัง 180 วัน นับแต่วันที่แปดของการว่างงานในกรณีลาออกหรือถูกเลิกจ้างแล้ว แต่กรณีไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน อันเป็นการตัดสิทธิประโยชน์ของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกันตนเกินไปกว่าที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ.2547 ประกาศดังกล่าวจึงไม่อาจนำมาใช้บังคับเพื่อตัดสิทธิโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14931/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับสิทธิบัตรโดยสารไม่ใช่โทษทางวินัย ไม่อ้าง พ.ร.บ.ล้างมลทินได้ ฟ้องขาดอายุความ
โทษทางวินัยตามระเบียบของจำเลยมี 6 ประเภท คือ ตักเตือน พักงาน ตัดเงินเดือน ให้ออก ปลดออก และไล่ออก ดังนั้น การยกเลิก เรียกคืน หรือระงับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จึงมิอาจถือได้ว่าเป็นโทษทางวินัยของจำเลย และแม้การได้รับสิทธิในการใช้บัตรโดยสารของพนักงานจำเลยตามระเบียบของจำเลยจะถือเป็นสภาพการจ้าง แต่การได้รับสิทธินั้นย่อมต้องเป็นไปตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ในระเบียบดังกล่าว เมื่อระเบียบของจำเลยกำหนดห้ามมิให้พนักงานใช้สิทธิเรื่องบัตรโดยสารเพื่อประโยชน์ทางการค้า และ/หรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น ผู้ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษทางวินัยและถูกระงับการขอบัตรโดยสาร และจำเลยสงวนสิทธิ์ที่จะระงับการใช้บัตรโดยสารของพนักงานเป็นการชั่วคราวหรือตลอดไปได้ตามที่เห็นสมควร เมื่อจำเลยเห็นว่าโจทก์มีส่วนร่วมรู้เห็นกับภริยาในการใช้บัตรโดยสารโดยไม่ชอบ จำเลยย่อมมีคำสั่งระงับใช้สิทธิบัตรโดยสารของโจทก์และภริยาได้ตามระเบียบ และเมื่อจำเลยไม่ได้ลงโทษทางวินัยแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่อาจอ้าง พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มาเป็นประโยชน์แก่ตนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14928/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่ารักษาพยาบาลเงินทดแทน: ต้องพักรักษาในหอผู้ป่วยหนัก/วิกฤต หรือใช้เครื่องช่วยหายใจครบ 20 วัน จึงจะได้รับค่าชดเชยเพิ่ม
กรณีที่นายจ้างต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่ายตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 พ.ศ.2548 ข้อ 4 (2) ที่ระบุว่าการประสบอันตรายไม่ว่าเป็นกรณีต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหรือต้องพักรักษาตัวอยู่ในหอผู้ป่วยหนัก หอผู้ป่วยวิกฤต หรือหอผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวกตั้งแต่ 20 วัน ขึ้นไปนั้น ต้องมีระยะเวลาตั้งแต่ 20 วัน ขึ้นไปประกอบด้วย
ร. ลูกจ้างโจทก์ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ 17 วัน และพักรักษาตัวอยู่ในห้องไอซียูซึ่งอาจแปลได้ว่าพักรักษาตัวอยู่ในหอพักผู้ป่วยหนัก 15 วัน แม้หลังจากนั้น ร. พักรักษาตัวอยู่ในห้องผู้ป่วยรวมจนถึงวันออกจากโรงพยาบาลรวมเป็นเวลาที่พักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลที่สาธารณรัฐเกาหลี 27 วัน แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าห้องผู้ป่วยรวมที่สาธารณรัฐเกาหลีมีลักษณะเป็นหอผู้ป่วยหนักหรือหอผู้ป่วยวิกฤตหรือไม่ การประสบอันตรายของ ร. จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่โจทก์ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่ายตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 พ.ศ.2548 ข้อ 4 (2) โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลที่ได้ทดรองจ่ายไปคืนจากจำเลยเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 13 ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง
ร. ลูกจ้างโจทก์ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ 17 วัน และพักรักษาตัวอยู่ในห้องไอซียูซึ่งอาจแปลได้ว่าพักรักษาตัวอยู่ในหอพักผู้ป่วยหนัก 15 วัน แม้หลังจากนั้น ร. พักรักษาตัวอยู่ในห้องผู้ป่วยรวมจนถึงวันออกจากโรงพยาบาลรวมเป็นเวลาที่พักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลที่สาธารณรัฐเกาหลี 27 วัน แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าห้องผู้ป่วยรวมที่สาธารณรัฐเกาหลีมีลักษณะเป็นหอผู้ป่วยหนักหรือหอผู้ป่วยวิกฤตหรือไม่ การประสบอันตรายของ ร. จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่โจทก์ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่ายตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 พ.ศ.2548 ข้อ 4 (2) โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลที่ได้ทดรองจ่ายไปคืนจากจำเลยเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 13 ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14595/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหลังจำนอง และผลกระทบต่อการซื้อขาย
โจทก์และจำเลยต่างโต้เถียงกันว่า ร.ได้อุทิศที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ หากที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยย่อมมีอำนาจหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาตามกฎหมาย แต่ถ้าโจทก์ชนะคดีย่อมมีผลทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ดังนั้น ประโยชน์ที่โจทก์และจำเลยได้รับจากผลคดีย่อมเป็นการปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นการพิพาทกันด้วยเรื่องความเป็นเจ้าของแห่งที่ดินพิพาทนั่นเอง จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
ป.พ.พ. ลักษณะ 12 จำนอง หมวด 5 สิทธิและหน้าที่ของผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง มาตรา 736 ถึงมาตรา 743 ได้บัญญัติรับรองถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองไว้ ย่อมแสดงว่าผู้จำนองย่อมมีสิทธิโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองไปยังบุคคลอื่นได้ในฐานะที่ผู้จำนองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 705 ผู้จำนองจึงมีสิทธิจำหน่ายทรัพย์สินซึ่งจำนองได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 และมาตรา 702 วรรคสอง คดีนี้ไม่ได้มีการจดทะเบียนสิทธิการโอนที่ดินพิพาทจาก ร.ให้แก่ทางราชการ และผู้รับจำนองได้ฟ้องบังคับจำนองและจดทะเบียนระงับจำนองไป กรณีไม่อาจปรับเข้ากับ ป.พ.พ. มาตรา 722 ซึ่งเป็นเรื่องขอให้ลบสิทธิที่จดทะเบียนออกจากทะเบียน หากผู้รับจำนองเสื่อมสิทธิได้รับความเสียหายอย่างใด ก็เป็นเรื่องที่ผู้รับจำนองต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ผู้จำนองต่อไป ดังนั้น ร. ผู้จำนอง จึงมีสิทธิอุทิศที่ดินพิพาทให้แก่ทางราชการได้ เมื่อ ร. ได้อุทิศที่ดินพิพาทให้แก่ทางราชการเพื่อก่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กรมพัฒนาชุมชน ซึ่งต่อมาโอนสิทธิและหน้าที่ให้แก่จำเลย ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะนับแต่วันที่ ร. แสดงเจตนายกให้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (3) โดยไม่จำต้องจดทะเบียนการยกให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 การอุทิศที่ดินพิพาทของ ร. ให้แก่ทางราชการจึงชอบด้วยกฎหมายที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1305 บัญญัติว่า ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา ดังนั้น การขายทอดตลาดที่ดินเฉพาะที่ดินพิพาท จึงเป็นการขายทรัพย์สินที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ธนาคาร อ. ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาด ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองและไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและไม่มีอำนาจโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์รับโอนไว้ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์เช่นเดียวกัน แม้โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทต่อมาโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทนก็ตาม เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
ป.พ.พ. ลักษณะ 12 จำนอง หมวด 5 สิทธิและหน้าที่ของผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง มาตรา 736 ถึงมาตรา 743 ได้บัญญัติรับรองถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองไว้ ย่อมแสดงว่าผู้จำนองย่อมมีสิทธิโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองไปยังบุคคลอื่นได้ในฐานะที่ผู้จำนองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 705 ผู้จำนองจึงมีสิทธิจำหน่ายทรัพย์สินซึ่งจำนองได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 และมาตรา 702 วรรคสอง คดีนี้ไม่ได้มีการจดทะเบียนสิทธิการโอนที่ดินพิพาทจาก ร.ให้แก่ทางราชการ และผู้รับจำนองได้ฟ้องบังคับจำนองและจดทะเบียนระงับจำนองไป กรณีไม่อาจปรับเข้ากับ ป.พ.พ. มาตรา 722 ซึ่งเป็นเรื่องขอให้ลบสิทธิที่จดทะเบียนออกจากทะเบียน หากผู้รับจำนองเสื่อมสิทธิได้รับความเสียหายอย่างใด ก็เป็นเรื่องที่ผู้รับจำนองต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ผู้จำนองต่อไป ดังนั้น ร. ผู้จำนอง จึงมีสิทธิอุทิศที่ดินพิพาทให้แก่ทางราชการได้ เมื่อ ร. ได้อุทิศที่ดินพิพาทให้แก่ทางราชการเพื่อก่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กรมพัฒนาชุมชน ซึ่งต่อมาโอนสิทธิและหน้าที่ให้แก่จำเลย ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะนับแต่วันที่ ร. แสดงเจตนายกให้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (3) โดยไม่จำต้องจดทะเบียนการยกให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 การอุทิศที่ดินพิพาทของ ร. ให้แก่ทางราชการจึงชอบด้วยกฎหมายที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1305 บัญญัติว่า ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา ดังนั้น การขายทอดตลาดที่ดินเฉพาะที่ดินพิพาท จึงเป็นการขายทรัพย์สินที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ธนาคาร อ. ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาด ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองและไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและไม่มีอำนาจโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์รับโอนไว้ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์เช่นเดียวกัน แม้โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทต่อมาโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทนก็ตาม เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14595/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำหน่ายทรัพย์สินจำนองของผู้จำนอง & การเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทำให้การขายทอดตลาดเป็นโมฆะ
ป.พ.พ. ลักษณะ 12 จำนอง หมวด 5 สิทธิและหน้าที่ของผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง มาตรา 736 ถึงมาตรา 743 ได้บัญญัติรับรองถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองไว้ ย่อมแสดงว่า ผู้จำนองย่อมมีสิทธิโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองไปยังบุคคลอื่นได้ในฐานะที่ผู้จำนองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 705 ผู้จำนองจึงมีสิทธิจำหน่ายทรัพย์สินซึ่งจำนองได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 และมาตรา 702 วรรคสอง คดีนี้ไม่ได้มีการจดทะเบียนสิทธิการโอนที่ดินพิพาทจาก ร. ให้แก่ทางราชการ และผู้รับจำนองได้ฟ้องบังคับจำนองและจดทะเบียนระงับจำนองไป กรณีไม่อาจปรับเข้ากับ ป.พ.พ. มาตรา 722 ซึ่งเป็นเรื่องขอให้ลบสิทธิที่จดทะเบียนออกจากทะเบียน หากผู้รับจำนองเสื่อมสิทธิได้รับความเสียหายอย่างใด ก็เป็นเรื่องที่ผู้รับจำนองต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ผู้จำนองต่อไป ร. ผู้จำนองจึงมีสิทธิอุทิศที่ดินพิพาทให้แก่ทางราชการได้ เมื่อ ร. ได้อุทิศที่ดินพิพาทให้แก่ทางราชการเพื่อก่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กรมพัฒนาชุมชน ซึ่งต่อมาโอนสิทธิและหน้าที่ให้แก่จำเลย ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะนับแต่วันที่ ร. แสดงเจตนายกให้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (3) โดยไม่จำต้องจดทะเบียนการยกให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 การอุทิศที่ดินพิพาทของ ร. ให้แก่ทางราชการจึงชอบด้วยกฎหมาย
ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1305 บัญญัติว่า ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา ดังนั้น การขายทอดตลาดที่ดินเฉพาะที่ดินพิพาท จึงเป็นการขายทรัพย์สินที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ธนาคาร อ. ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาด ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองและไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและไม่มีอำนาจโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์รับโอนไว้ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์เช่นเดียวกัน แม้โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทต่อมาโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทนก็ตาม เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1305 บัญญัติว่า ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา ดังนั้น การขายทอดตลาดที่ดินเฉพาะที่ดินพิพาท จึงเป็นการขายทรัพย์สินที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ธนาคาร อ. ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาด ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองและไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและไม่มีอำนาจโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์รับโอนไว้ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์เช่นเดียวกัน แม้โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทต่อมาโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทนก็ตาม เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน