คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1711

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 125 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับทรัพย์มรดก: ผู้มีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรม
ข้อความตามพินัยกรรม เอกสารหมาย จ.2 ระบุว่า ตั้งนางจรรยา ส.ตันสกุล ซึ่งเป็นมารดาของจำเลยเป็นผู้จัดการมรดก และระบุให้อำนาจผู้จัดการมรดกจัดแบ่งทรัพย์มรดก ส่วนที่เหลืออีก 1 ส่วน แก่ผู้อยู่ในสกุลส.ตันสกุล ตามแต่ผู้จัดการมรดกจะเห็นสมควร โจทก์จึงมิได้เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรม และจำเลยไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดเกี่ยวกับการยักยอกทรัพย์มรดกได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับยักยอกทรัพย์มรดก ขึ้นอยู่กับความเป็นผู้เสียหายตามพินัยกรรมและสถานะผู้จัดการมรดก
ข้อความตามพินัยกรรม เอกสารหมาย จ.2 ระบุว่า ตั้งนางจรรยา ส.ตันสกุล ซึ่งเป็นมารดาของจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกและระบุให้อำนาจผู้จัดการมรดกจัดแบ่งทรัพย์มรดก ส่วนที่เหลืออีก1 ส่วน แก่ผู้อยู่ในสกุล ส.ตันสกุล ตามแต่ผู้จัดการมรดกจะเห็นสมควร โจทก์จึงมิได้เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรมและจำเลยไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดเกี่ยวกับการยักยอกทรัพย์มรดกได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการอยู่อาศัยในทรัพย์มรดกของทายาท vs. อำนาจจัดการมรดกของผู้จัดการมรดก
จำเลยทั้งสองเป็นบุตรและเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายและพักอาศัยอยู่ที่บ้านของผู้ตาย ย่อมมีสิทธิอยู่ในบ้านของผู้ตายซึ่งเป็นทรัพย์มรดกได้โจทก์ทั้งสามไม่มีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองและบริวารออกไปจากบ้านดังกล่าวแต่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายมีอำนาจจัดการมรดกของผู้ตายได้ตามกฎหมาย รวมทั้งมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาทส่งมอบโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เพื่อจัดการต่อไปตามหน้าที่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทในการครอบครองทรัพย์มรดก vs. อำนาจจัดการมรดกของผู้จัดการมรดก
จำเลยทั้งสองเป็นบุตรและเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายและพักอาศัยอยู่ที่บ้านของผู้ตาย ย่อมมีสิทธิอยู่ในบ้านของผู้ตายซึ่งเป็นทรัพย์มรดกได้ โจทก์ทั้งสามไม่มีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองและบริวารออกไปจากบ้านดังกล่าว แต่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายมีอำนาจจัดการมรดกของผู้ตายได้ตามกฎหมายรวมทั้งมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาทส่งมอบโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เพื่อจัดการต่อไปตามหน้าที่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2815/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม: ประเด็นการคัดค้านต้องเกี่ยวข้องกับการจัดการมรดกโดยตรง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่การที่ผู้คัดค้านอ้างว่าสิทธิการเช่าอาคารตามพินัยกรรมเป็นของผู้คัดค้านและทรัพย์อื่นอันเป็นมรดกของผู้ตายไม่มี จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นจากในเรื่องขอจัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกและการใช้สิทธิเรียกร้องเอาคืนซึ่งการครอบครอง
จำเลยทั้งเจ็ดฎีกาว่า โจทก์ฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดก การฟ้องคดีจึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวจะมอบให้บุคคลอื่นทำการแทนไม่ได้ปรากฏว่าความข้อนี้จำเลยทั้งเจ็ดมิได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ ในคำให้การ จึงไม่มีประเด็นในปัญหาดังกล่าวและเป็นข้อที่มิได้ ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับ อำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกา ไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142(5) ประกอบ มาตรา 246และ 247.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องผู้จัดการมรดก & สิทธิครอบครองที่ดิน: ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
จำเลยทั้งเจ็ดฎีกาว่า โจทก์ฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดก การฟ้องคดีจึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวจะมอบให้บุคคลอื่นทำการแทนไม่ได้ ปรากฏว่าความข้อนี้จำเลยทั้งเจ็ดมิได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงไม่มีประเด็นในปัญหาดังกล่าวและเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)ประกอบมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกกรณีทรัพย์สินระคนกันระหว่างคู่สมรสและบุคคลอื่น ผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการมรดก
ผู้คัดค้านทั้งสองเป็นบุตรของ ล. กับ ช. หลังจากช. ตายแล้ว ล. ได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ตายเมื่อปี 2495และผู้ตายถูกฆ่าตายเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2530 โดยไม่ปรากฏว่าผู้ใดตายก่อนหลัง เมื่อผู้คัดค้านทั้งสองไม่ใช่ทายาทของผู้ตายผู้คัดค้านทั้งสองจึงไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะที่จะได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตาย ดังนี้ เมื่อทรัพย์มรดกของ ล. และผู้ตายระคนปนกันอยู่ ทรัพย์สินของผู้ตายย่อมเป็นมรดกตกได้แก่ทายาทของผู้ตาย ส่วนทรัพย์สินของ ล.ย่อมเป็นมรดกได้แก่ทายาทของ ล. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 การแบ่งแยกทรัพย์สินของผู้ตายและ ล. ที่ระคนปนกันอยู่ออกเป็นทรัพย์มรดกของแต่ละคนย่อมเป็นประโยชน์และส่วนได้เสียแก่ทายาทของผู้ตายและทายาทของ ล. แต่ละฝ่ายต่างหากจากกันการแบ่งแยกทรัพย์สินเช่านี้เป็นผลได้เสียแก่ทายาทแต่ละฝ่ายขัดแย้งกัน ทายาทแต่ละฝ่ายต่างมีสิทธิดูแลรักษาผลประโยชน์ของตน ทายาทของ ล. มีสิทธิขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกของ ล. เพื่อดูแลผลประโยชน์ได้อยู่แล้วหากให้ทายาทของ ล. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วยย่อมมีเหตุให้น่าระแวงว่าจะเกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทของผู้ตายได้ จึงไม่สมควรให้ผู้คัดค้านทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของนายเล็กเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6013/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการวินิจฉัยพินัยกรรมปลอม และสิทธิผู้รับพินัยกรรม/ทายาทโดยธรรมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องอ้างสิทธิในคำร้องขอจัดการมรดกว่าร้องขอในฐานะที่ผู้ร้องเป็นผู้รับพินัยกรรม มิได้ร้องขอในฐานะทายาทโดยธรรมด้วย เมื่อผู้คัดค้านอ้างในคำคัดค้านว่าพินัยกรรมดังกล่าวผู้ร้องทำปลอมขึ้นปัญหาว่าพินัยกรรมปลอมหรือไม่ย่อมเป็นประเด็นที่จำต้องวินิจฉัยเพราะหากพินัยกรรมที่ผู้ร้องอ้างเป็นพินัยกรรมที่ผู้ร้องทำปลอมขึ้นผู้ร้องย่อมถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1606(5) จึงไม่มีอำนาจร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดก แม้ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีในศาลชั้นต้นก็มีสิทธิที่จะอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยประเด็นข้อนี้ ซึ่งเป็นประเด็นแห่งคดีที่ถูกต้องได้ ท. ซึ่งมีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรมข้อ 9 และข้อ 10 ตายก่อนเจ้ามรดก ข้อกำหนดในพินัยกรรมส่วนนี้จึงเป็นอันตกไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698(1) และต้องบังคับตามมาตรา 1699 ประกอบมาตรา 1620 วรรคสอง กล่าวคือต้องตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ซึ่งรวมทั้งผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านในฐานะทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกจึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจคำนึงถึงความเหมาะสมหรือพฤติการณ์เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้คัดค้านมีความประพฤติดีไม่เคยทำร้ายหรือเป็นหนี้เจ้ามรดกดังคำพยานผู้ร้อง ส่วนข้อที่ผู้คัดค้านอ้างเป็นเหตุไม่สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นเรื่องเล็กน้อยเมื่อผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 จึงสมควรตั้งผู้ร้องและ ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5384/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการมรดก: ผู้จัดการมรดกเดิมมีอำนาจจัดการตามพินัยกรรม ผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกซ้ำไม่ชอบ
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านซึ่งเป็นมารดาผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยไม่มีพินัยกรรมไว้แล้วโดยมิได้จำกัดให้มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์มรดกเฉพาะสิ่งเฉพาะอย่าง ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตายได้ทั้งหมด ดังนั้นหากผู้ตายทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์เฉพาะสิ่งไว้จริง ผู้ร้องก็อาจขอให้ผู้คัดค้านจัดการให้เป็นไปตามพินัยกรรมนั้นได้กรณีจึงไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะมาร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายเดียวกันซ้อนขึ้นมาอีก.
of 13