พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13294/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กหญิง: การรับฟังพยานหลักฐาน, ความน่าเชื่อถือ, และการแก้ไขกฎหมาย
ผู้เสียหายเบิกความยืนยันว่า จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายสองครั้ง การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองครั้ง จำเลยกระทำที่บ้านพักผู้เสียหาย การกระทำแต่ละครั้งเป็นการกระทำที่คล้ายกัน ลักษณะการเบิกความของผู้เสียหายเป็นการเบิกความที่ต่อเนื่องเกี่ยวพันกันระหว่างการกระทำความผิดในครั้งแรกและครั้งหลังของจำเลย การที่ผู้เสียหายเบิกความถึงพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยโดยละเอียดในครั้งแรก แล้วเบิกความถึงการกระทำความผิดในครั้งหลังต่อเนื่องไปในคราวเดียวกันว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายอีกครั้ง เมื่อฟังคำเบิกความย่อมเข้าใจได้ว่าผู้เสียหายถูกจำเลยกระทำชำเรารวมสองครั้ง ด้วยพฤติการณ์ที่เหมือนกัน ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้โอนคดีของจำเลยในส่วนการกระทำความผิดของจำเลยในครั้งแรกไปพิจารณาที่ศาลจังหวัดชุมพรแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว เนื่องจากขณะกระทำผิดในครั้งแรกจำเลยอายุ 17 ปี ยังถือเป็นเยาวชนอยู่ก็ตาม ก็ไม่ทำให้คำเบิกความของผู้เสียหายที่เกี่ยวกับรายละเอียดของพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยต้องรับฟังแยกกันจนถือว่าเหตุการณ์ครั้งหลังโจทก์นำสืบโดยไม่มีรายละเอียดของพฤติการณ์ในการกระทำผิดของจำเลยและเป็นการนำสืบไม่สมตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7013/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอลงโทษจำเลย จำเลยปฏิเสธ ผู้เสียหายไม่เบิกความต่อศาล
ผู้เสียหายยังมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง และอยู่ในวิสัยที่โจทก์จะสามารถติดตามตัวผู้เสียหายมาเบิกความเป็นพยานได้ แต่หาได้ดำเนินการไม่จึงมิใช่กรณีที่มีเหตุจำเป็น เนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลซึ่งเป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรงมาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง (2) แม้โจทก์จะมี จ. ที่ทราบเหตุการณ์จากผู้เสียหาย และพันตำรวจโท ส. พนักงานสอบสวนที่เบิกความยืนยันตามเหตุการณ์ที่ได้ทราบจากผู้เสียหายประกอบคำให้การของผู้เสียหายล้วนแต่เป็นเพียงพยานบอกเล่า เมื่อจำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธ พยานหลักฐานของโจทก์ย่อมไม่พอให้รับฟังลงโทษจำเลยทั้งสามได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6215/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สนับสนุนผู้อื่นกระทำชำเราเด็ก – เจตนาพาไปเพื่อกระทำชำเรา – ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 283
จำเลยที่ 1 บอกผู้เสียหายที่ 1 ว่าจะขับรถจักรยานยนต์พาไปส่ง แล้วกลับให้ผู้เสียหายที่ 1 ไปนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของ จ. พวกของจำเลยที่ 1 พาไปพักที่โรงแรม เมื่อผู้เสียหายที่ 1 เดินออกจากโรงแรม จำเลยที่ 1 พาผู้เสียหายที่ 1 กลับเข้าไปในห้องพักภายในโรงแรมโดยมี จ. ซึ่งไปด้วยรออยู่แล้ว แสดงว่าจำเลยที่ 1 รู้เห็นเป็นใจกับพวกที่ไปด้วยกัน เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ถูกพวกของจำเลยที่ 1 ที่ไปด้วยกันกระทำชำเรา การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร ร่วมกันพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร และสนับสนุนผู้อื่นในการกระทำความผิดฐานกระทำอนาจารและกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี แต่ความผิดฐานร่วมกันพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารนั้น จำเลยที่ 1 กับพวกมีเจตนาเดียวคือพาผู้เสียหายที่ 1 ไปให้พวกของตนกระทำชำเรา จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกับความผิดฐานสนับสนุนผู้อื่นในการกระทำความผิดฐานกระทำอนาจารและกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี หาใช่ความผิดหลายกรรมต่างกันตามที่โจทก์ฟ้องไม่
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 ต้องเป็นกรณีที่เป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น ถ้าเป็นกรณีที่กระทำไปเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำนั้นเอง หรือร่วมกันกระทำเพื่อผู้ใดในบรรดาผู้ร่วมกระทำด้วยกันแล้ว ก็หาเป็นความผิดตามมาตรานี้ไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 และ จ. กับพวกร่วมกันพาผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อสนองความใคร่ของ จ. ซึ่งเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 283
แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2550 มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 277 เดิม และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับ
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 ต้องเป็นกรณีที่เป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น ถ้าเป็นกรณีที่กระทำไปเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำนั้นเอง หรือร่วมกันกระทำเพื่อผู้ใดในบรรดาผู้ร่วมกระทำด้วยกันแล้ว ก็หาเป็นความผิดตามมาตรานี้ไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 และ จ. กับพวกร่วมกันพาผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อสนองความใคร่ของ จ. ซึ่งเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 283
แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2550 มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 277 เดิม และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กเพื่อการอนาจาร: การพิจารณาจากผู้ดูแล และอำนาจศาลในการลงโทษตามข้อเท็จจริง
การพรากเด็กอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม คือการพรากไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล แม้ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายจะไม่ได้พักอาศัยอยู่กับบิดามารดา เนื่องจากไปทำงานเป็นพนักงานในร้านอาหารสาวสระแก้วที่จังหวัดชุมพรก็ตาม แต่บิดาของผู้เสียหายได้มอบหมายให้ พ. ซึ่งเป็นเจ้าของร้านอาหารสาวสระแก้วเป็นผู้ดูแลผู้เสียหาย การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปที่บ้านของจำเลยและต่อมาได้กระทำชำเราผู้เสียหายจึงเป็นการพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารแล้ว
แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยฐานพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยพรากผู้เสียหายไปเสียจากผู้ดูแลเพื่อการอนาจารก็ตาม ข้อแตกต่างดังกล่าวก็มิใช่ข้อสาระสำคัญแต่อย่างใด ทั้งจำเลยได้โต้เถียงข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีว่าจำเลยไม่ใช่คนร้ายที่กระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ในข้อดังกล่าว ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยฐานพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยพรากผู้เสียหายไปเสียจากผู้ดูแลเพื่อการอนาจารก็ตาม ข้อแตกต่างดังกล่าวก็มิใช่ข้อสาระสำคัญแต่อย่างใด ทั้งจำเลยได้โต้เถียงข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีว่าจำเลยไม่ใช่คนร้ายที่กระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ในข้อดังกล่าว ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9672/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานกระทำชำเราเด็ก ต้องระบุอายุของผู้เสียหายให้ชัดเจน เพื่อให้ลงโทษตามบทหนักได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย (เกิดวันที่ 27 ตุลาคม 2528) อายุยังไม่เกิน 15 ปี ... อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) แม้ขณะเกิดเหตุตามฟ้อง ผู้เสียหายจะมีอายุยังไม่เกิน 13 ปีก็ตาม แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องดังกล่าว โดยมิได้ระบุองค์ประกอบความผิดว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายอายุยังไม่เกิน 13 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งมีโทษหนักกว่า เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องไว้จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่ ดังนั้น คงลงโทษจำเลยได้ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) เท่านั้น