พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8225/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสามารถในการดำเนินคดีสิ้นสุดลงก่อนมีคำพิพากษา ศาลต้องยกคำพิพากษา
เมื่อถึงวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่ไปศาล ศาลชั้นต้นจึงงดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งพิพากษาให้ผู้คัดค้านเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้อง และถือว่าผู้ร้องและผู้คัดค้านทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ต่อมาผู้คัดค้านโดยนายผู้คัดค้านยื่นฎีกาพร้อมกับคำร้องขอให้ไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้คัดค้านถึงแก่กรรมไปแล้ว และศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาแล้ว ดังนี้เมื่อปรากฎแล้ว ดังนี้ เมื่อปรากฎข้อเท็จจริงว่า ผู้คัดค้านถึงแก่กรรมก่อนที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และคดีเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้คัดค้านจะรับมรดกความกันไม่ได้เช่นนี้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้คัดค้านเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและอยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้อง จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีเมื่อคู่ความถึงแก่ความตาย - การเข้ามาเป็นคู่ความแทน
ในกรณีที่คู่ความตายในระหว่างอุทธรณ์ คดีจะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ก็ต่อเมื่อมีบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ และศาลจะต้องมีคำสั่งในการที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทนตามนัยมาตรา 42, 44 แห่ง ป.วิ.พ.ก่อน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีไปโดยมิได้ดำเนินการดังกล่าว เป็นการไม่ชอบเพราะมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณา ตามมาตรา243 (2) ประกอบมาตรา 247 ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีทุจริตโครงการสร้างงานฯ เหตุไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง และไม่มีหน้าที่รับผิดชอบโครงการ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 24 กันยายน 2514 ข้อ 10 ทวิ กำหนดให้โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง หาได้กำหนดให้โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวกับโครงการสร้างงานในชนบทไม่ และตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยโครงการสร้างงานในชนบท พ.ศ.2425 ข้อ 6 วรรคสอง ซึ่งกำหนดว่า "ให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการ กสช." ก็หมายถึงให้โจทก์ทำหน้าที่ในด้านธุรการเกี่ยวกับโครงการสร้างงานในชนบทเท่านั้น หาได้กำหนดให้โจทก์มีหน้าที่รับผิดชอบหรือควบคุมการดำเนินการตามโครงการสร้างงานในชนบทไม่ และตามระเบียบฯ ดังกล่าวข้อ 40 ยังได้กำหนดว่า หากมีข้อร้องเรียนหรือพฤติการณ์ที่แสดงว่ามีการทุจริตหรือมีการปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบนี้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการสอบสวนเพื่อทราบข้อเท็จจริง แล้วรายงานประธาน กสช. ทราบโดยเร็ว ไม่ได้กำหนดให้รายงานให้โจทก์ทราบแต่อย่างใด ทั้งเงินที่ถูกทุจริตละเมิดเอาไปไม่ใช่เงินที่อยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์ โจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย จึงไม่มีอำนาจฟ้อง และเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้องของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ขาดนัดยื่อคำให้การและขาดนัดพิจารณาได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1984/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการนิติบุคคล: ประโยชน์ทับซ้อนทำให้หมดอำนาจแทน, ตั้งผู้แทนเฉพาะการได้
คำว่า ผู้จัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 80หมายถึงผู้จัดการที่เป็นผู้แทนของนิติบุคคล เมื่อโจทก์เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีอำนาจดำเนินกิจการแทนจำเลยที่ 1 โดยลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการอีกคนหนึ่งที่ระบุไว้และประทับตราสำคัญ ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1
การที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ ให้แก่โจทก์เห็นได้ชัดว่าประโยชน์ทางได้ทางเสียของโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1 กับของจำเลยที่ 1เป็นปฏิปักษ์แก่กัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นเพียงกรรมการของจำเลยที่ 1 ประโยชน์ทางได้ทางเสียของจำเลยที่ 2 มิได้เป็นปฏิปักษ์ต่อจำเลยที่ 1 ศาลจึงตั้งจำเลยที่ 2ขึ้นเป็นผู้แทนเฉพาะการของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อสู้คดีกับโจทก์ได้
การที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ ให้แก่โจทก์เห็นได้ชัดว่าประโยชน์ทางได้ทางเสียของโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1 กับของจำเลยที่ 1เป็นปฏิปักษ์แก่กัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นเพียงกรรมการของจำเลยที่ 1 ประโยชน์ทางได้ทางเสียของจำเลยที่ 2 มิได้เป็นปฏิปักษ์ต่อจำเลยที่ 1 ศาลจึงตั้งจำเลยที่ 2ขึ้นเป็นผู้แทนเฉพาะการของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อสู้คดีกับโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2532/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีต่อทายาทหลังจำเลยเสียชีวิต และสิทธิในการบังคับคดีภายในกำหนดเวลา
ศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยรับเงินและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมด้วยตึกแถวให้แก่โจทก์ จำเลยถึงแก่กรรมในระหว่างการบังคับคดี หน้าที่และความรับผิดย่อมตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 14999, 1600 ไม่ใช่เป็นเรื่องคดีค้างพิจารณาอันจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42, 44 ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงอาจออกคำบังคับแก่ผู้จัดการมรดกของจำเลยได้โดยไม่ต้องออกหมายเรียกหรือมีคำสั่งให้ผู้จัดการมรดกของจำเลยเข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลยเสียก่อนแต่อย่างใด
การที่โจทก์ขอให้บังคับคดีหลังจากคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว 7 ปีเศษ เป็นการขอให้บังคับคดีภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์ก่อนโจทก์แถลงขอให้ออกคำบังคับ โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้โดยไม่ต้องให้ผลประโยชน์หรือดอกเบี้ยแก่จำเลยเพราะคำพิพากษามิได้กล่าวไว้เช่นนั้น
การที่โจทก์ขอให้บังคับคดีหลังจากคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว 7 ปีเศษ เป็นการขอให้บังคับคดีภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์ก่อนโจทก์แถลงขอให้ออกคำบังคับ โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้โดยไม่ต้องให้ผลประโยชน์หรือดอกเบี้ยแก่จำเลยเพราะคำพิพากษามิได้กล่าวไว้เช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2532/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหลังจำเลยเสียชีวิต ทายาทรับผิดชอบหนี้ตามคำพิพากษา และสิทธิโจทก์ในการบังคับคดีภายในกำหนด
ศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยรับเงินและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมด้วย ตึกแถวให้แก่โจทก์ จำเลยถึงแก่กรรมในระหว่างการบังคับคดี หน้าที่และ ความรับผิดย่อมตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599,1600ไม่ใช่เป็นเรื่องคดีค้างพิจารณาอันจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42,44 ดังนั้นศาลชั้นต้น จึงอาจออกคำบังคับแก่ผู้จัดการมรดกของจำเลยได้โดยไม่ต้อง ออกหมายเรียกหรือมีคำสั่งให้ผู้จัดการมรดกของจำเลยเข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลยเสียก่อนแต่อย่างใด
การที่โจทก์ขอให้บังคับคดีหลังจากคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว 7 ปีเศษ เป็นการขอให้บังคับคดีภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์ก่อนโจทก์แถลงขอให้ออกคำบังคับ โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้โดยไม่ต้องให้ผลประโยชน์หรือดอกเบี้ยแก่จำเลยเพราะคำพิพากษามิได้ กล่าวไว้เช่นนั้น
การที่โจทก์ขอให้บังคับคดีหลังจากคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว 7 ปีเศษ เป็นการขอให้บังคับคดีภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์ก่อนโจทก์แถลงขอให้ออกคำบังคับ โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้โดยไม่ต้องให้ผลประโยชน์หรือดอกเบี้ยแก่จำเลยเพราะคำพิพากษามิได้ กล่าวไว้เช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองในการเป็นทายาทและคู่ความ
บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว ย่อมเป็นผู้สืบสันดานของบิดาเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 และมีสิทธิขอเข้ามาเป็นคู่ความหรือถูกหมายเรียกให้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่บิดาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 โดยไม่ต้องคำนึงว่าบิดามีทรัพย์มรดกตกทอดได้แก่บุตรนั้นหรือไม่เพราะตามมาตรา 42 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไม่มีบทบัญญัติบังคับไว้ว่าทายาทที่จะเข้ามาเป็นคู่ความหรือถูกหมายเรียกเข้าเป็นคู่ความแทน จะต้องเป็นทายาทที่เข้ามารับเอาทรัพย์มรดก
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 44 ผู้คัดค้านจะมีโอกาสคัดค้านไม่ยอมเข้ามาเป็นคู่ความ ก็ต่อเมื่อผู้คัดค้านมิได้เป็นทายาทของคู่ความ การที่ผู้คัดค้านมิได้รับทรัพย์มรดกของคู่ความยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอจะยกขึ้นปฏิเสธได้เพราะตามกฎหมายผู้คัดค้านไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว หรือรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 44 ผู้คัดค้านจะมีโอกาสคัดค้านไม่ยอมเข้ามาเป็นคู่ความ ก็ต่อเมื่อผู้คัดค้านมิได้เป็นทายาทของคู่ความ การที่ผู้คัดค้านมิได้รับทรัพย์มรดกของคู่ความยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอจะยกขึ้นปฏิเสธได้เพราะตามกฎหมายผู้คัดค้านไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว หรือรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองในการเป็นทายาทและคู่ความ
บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว ย่อมเป็นผู้สืบสันดานของบิดาเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 และมีสิทธิขอเข้ามาเป็นคู่ความหรือถูกหมายเรียกให้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่บิดาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 โดยไม่ต้องคำนึงว่าบิดามีทรัพย์มรดกตกทอดได้แก่บุตรนั้นหรือไม่ เพราะตามมาตรา 42 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่มีบทบัญญัติบังคับไว้ว่าทายาทที่จะเข้ามาเป็นคู่ความหรือถูกหมายเรียกเข้าเป็นคู่ความแทน จะต้องเป็นทายาทที่เข้ามารับเอาทรัพย์มรดก
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 44 ผู้คัดค้านจะมีโอกาสคัดค้านไม่ยอมเข้ามาเป็นคู่ความ ก็ต่อเมื่อผู้คัดค้านมิได้เป็นทายาทของคู่ความ การที่ผู้คัดค้านมิได้รับทรัพย์มรดกของคู่ความยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอจะยกขึ้นปฏิเสธได้ เพราะตามกฎหมาย ผู้คัดค้านไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว หรือรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 44 ผู้คัดค้านจะมีโอกาสคัดค้านไม่ยอมเข้ามาเป็นคู่ความ ก็ต่อเมื่อผู้คัดค้านมิได้เป็นทายาทของคู่ความ การที่ผู้คัดค้านมิได้รับทรัพย์มรดกของคู่ความยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอจะยกขึ้นปฏิเสธได้ เพราะตามกฎหมาย ผู้คัดค้านไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว หรือรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1496/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ใช้ได้
ทำหนังสือสัญญากู้เงินกัน แล้วต่อมาตกลงชำระหนี้ด้วยทรัพย์อย่างอื่น แม้จะมิได้ทำหลักบานการชำระหนี้หรือเวนคืนหรือแทงเพิกถอนหนังสือสัญญากู้ ก็ย่อมนำสืบการชำระหนี้เช่นนั้นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัวแทนบังคับคดีหลังตัวการเสียชีวิต: ทายาทยังไม่เป็นผู้จัดการมรดก
ตัวการได้มอบอำนาจให้ตัวแทนเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ของตัวการ ศาลพิพากษาให้ขับไล่จำเลย คดีถึงที่สุด ในระหว่างดำเนินการขอบังคับคดี ตัวการถึงแก่กรรม ดังนี้ การที่ตัวแทนดำเนินการร้องขอบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาต่อไป จึงเป็นการกระทำเพื่อปกปักรักษาประโยชน์อันตัวการได้มอบหมายแก่ตัวแทนโดยสมควร ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 828 แล้ว
ทายาทของตัวการซึ่งได้ถึงแก่กรรมแล้ว กำลังพิพาทกับตัวแทนเกี่ยวด้วยแย่งกันเป็นผู้จัดการมรดกของตัวการอยู่ดังนี้ ยังถือว่าทายาทของตัวการยังมิได้เป็นผู้จัดการมรดก และยังหาอาจเข้ามาดำเนินการขอบังคับคดีซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในศาลก่อนตัวการถึงแก่กรรมอย่างใดไม่
ทายาทของตัวการซึ่งได้ถึงแก่กรรมแล้ว กำลังพิพาทกับตัวแทนเกี่ยวด้วยแย่งกันเป็นผู้จัดการมรดกของตัวการอยู่ดังนี้ ยังถือว่าทายาทของตัวการยังมิได้เป็นผู้จัดการมรดก และยังหาอาจเข้ามาดำเนินการขอบังคับคดีซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในศาลก่อนตัวการถึงแก่กรรมอย่างใดไม่