พบผลลัพธ์ทั้งหมด 74 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 883/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน – ผลของคำพิพากษาคดีก่อน – การบังคับคดีตามกฎหมาย
ผลของคดีก่อนถึงที่สุดว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ให้เพิกถอนโฉนดที่ดินของโจทก์ส่วนที่ทับที่ดินที่จำเลยมีสิทธิครอบครอง เป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1) ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่ ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี เมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยก็ได้ แม้คดีก่อนศาลมิได้มีคำสั่งให้ขับไล่โจทก์คดีนี้ แต่ ป.วิ.พ. มาตรา 348 วรรคสอง (ที่เพิ่มเติมใหม่) บัญญัติให้การบังคับคดีในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาส่งคืนหรือส่งมอบอสังหาริมทรัพย์เฉพาะสิ่ง ให้นำบทบัญญัติในหมวด 4 การบังคับคดีในกรณีที่ให้ขับไล่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2560 มาตรา 21 ให้มีผลย้อนหลังไปใช้บังคับกระบวนการบังคับคดีในคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาก่อนที่กฎหมายใช้บังคับด้วย ดังนั้น จึงเป็นกรณีที่จำเลยบังคับคดีโจทก์ในคดีก่อนได้ โจทก์ซึ่งยังไม่ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีก่อนที่มีผลผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ไม่มีสิทธิในที่ดินและไม่อาจกล่าวอ้างสิทธิขึ้นใหม่เพื่อโต้แย้งว่าได้เปลี่ยนแปลงการยึดถือครอบครองที่ดินแทนจำเลยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวแทนและผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดต่อความเสียหายจากการทุจริตของลูกจ้าง
แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องไม่ชัดเจนว่าจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดหรือผิดสัญญาแต่เมื่อโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาให้เป็นที่เข้าใจตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไรแล้ว เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าจะต้องด้วยบทกฎหมายใด ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายฟ้องจึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าเป็นกรณีที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ทั้งสองทาง โดยให้จำเลยที่ 2 รับผิดทั้งในมูลผิดสัญญาตัวแทนและในมูลละเมิด ดังนั้น แม้ว่าโจทก์จะรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างช้าในวันที่ 12 กันยายน 2555 และจำเลยที่ 2 ชำระเงินให้โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนกรกฎาคม 2557 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2560 อันทำให้สิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดของโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่สิทธิเรียกร้องในมูลผิดสัญญาตัวแทนนั้น ไม่มีกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์ในระหว่างที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการของโจทก์เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 ถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555 แต่คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และ ฝ. นั้น เป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 1 และ ฝ. รับผิดในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์ในระหว่างที่ ฝ. เป็นผู้จัดการของโจทก์เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2555 ถึงวันที่ 7 กันยายน 2555 ซึ่งความรับผิดของจำเลยที่ 2 และ ฝ. มิใช่การรับผิดร่วมกัน แต่เป็นความรับผิดของแต่ละคนที่จะต้องรับผิดเฉพาะในช่วงเวลาที่ตนเป็นผู้จัดการของโจทก์เท่านั้น และจำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซํ้าและการดำเนินกระบวนพิจารณาซํ้าจำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบใบเสร็จรับเงินที่มีการยกเลิกให้ถูกต้อง เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 เบียดบังเอาเงินของโจทก์ไปโดยทุจริต จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 812 เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับชำระหนี้ไม่เกินไปกว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับ ดังนั้น หากโจทก์ได้รับชำระหนี้ไว้จากจำเลยที่ 1 เพียงใด ก็ต้องนำมาหักชำระหนี้ในส่วนที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดด้วย
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์ในระหว่างที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการของโจทก์เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 ถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555 แต่คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และ ฝ. นั้น เป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 1 และ ฝ. รับผิดในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์ในระหว่างที่ ฝ. เป็นผู้จัดการของโจทก์เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2555 ถึงวันที่ 7 กันยายน 2555 ซึ่งความรับผิดของจำเลยที่ 2 และ ฝ. มิใช่การรับผิดร่วมกัน แต่เป็นความรับผิดของแต่ละคนที่จะต้องรับผิดเฉพาะในช่วงเวลาที่ตนเป็นผู้จัดการของโจทก์เท่านั้น และจำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซํ้าและการดำเนินกระบวนพิจารณาซํ้าจำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบใบเสร็จรับเงินที่มีการยกเลิกให้ถูกต้อง เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 เบียดบังเอาเงินของโจทก์ไปโดยทุจริต จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 812 เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับชำระหนี้ไม่เกินไปกว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับ ดังนั้น หากโจทก์ได้รับชำระหนี้ไว้จากจำเลยที่ 1 เพียงใด ก็ต้องนำมาหักชำระหนี้ในส่วนที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4923/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากข้อตกลงรถยนต์คันแรก ศาลยืนตามดุลยพินิจลดอัตราดอกเบี้ย
ตามคำขอใช้สิทธิและเงื่อนไขสำหรับรถยนต์ใหม่คันแรกที่กำหนดว่า กรณีผู้ขอใช้สิทธิมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขสละสิทธิการโอนรถยนต์ใหม่คันแรกภายใน 5 ปี ให้ครบถ้วนจะต้องนำเงินที่ได้รับไปส่งคืน โดยยินยอมชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นั้น เป็นกรณีที่โจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยหลังจากผิดนัดชำระหนี้ ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดไว้ล่วงหน้าถือเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าเป็นเบี้ยปรับและใช้ดุลพินิจปรับลดเป็นอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนั้น เหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4500-4541/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลาในงานขนส่งทางบก: การจ่ายค่าจ้างตามผลงาน ถือเป็นการจ่ายค่าล่วงเวลาครบถ้วนแล้ว
กิจการของจำเลยและงานที่โจทก์ทั้งสี่สิบสองทำเป็นงานขนส่งทางบก การจ้างแรงงานระหว่างจำเลยกับโจทก์ทั้งสี่สิบสองจึงต้องอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 22 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ด้วยเหตุที่งานขนส่งทางบกมีสภาพการจ้างและลักษณะการทำงานแตกต่างกับการจ้างแรงงานทั่วไป งานขนส่งทางบกเป็นงานที่ต้องให้เกิดความปลอดภัยไม่เฉพาะแก่ผู้ขับขี่ยานพาหนะ แต่เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารและผู้ใช้รถใช้ถนนด้วย ซึ่งตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ 2 กำหนดว่า "ให้นายจ้างกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดการทำงานปกติของลูกจ้างในงานขนส่งทางบกวันหนึ่งไม่เกินแปดชั่วโมง" และข้อ 3 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า "ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่ขับขี่ยานพาหนะทำงานล่วงเวลาเว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากลูกจ้าง" และวรรคสอง กำหนดว่า "ในกรณีที่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างตามวรรคหนึ่งแล้ว นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้วันหนึ่งไม่เกินสองชั่วโมง เว้นแต่มีความจำเป็นอันเกิดจากเหตุสุดวิสัย อุบัติเหตุ หรือปัญหาการจราจร" อันเป็นการกำหนดเวลาทำงานของลูกจ้างในงานขนส่งทางบกวันหนึ่งไม่เกิน 8 ชั่วโมง และห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา เว้นแต่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากลูกจ้าง โดยจะทำงานล่วงเวลาได้วันหนึ่งไม่เกิน 2 ชั่วโมงเท่านั้น ดังนั้น การที่จำเลยกับโจทก์ทั้งสี่สิบสองตกลงกำหนดเวลาทำงานกันวันละ 24 ชั่วโมง จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ในข้อ 2 และข้อ 3 ดังกล่าว แต่อย่างไรก็ดี แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความตามที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมาว่า โจทก์ทั้งสี่สิบสองทำงานเกินกว่าวันละ 8 ชั่วโมง โดยทำงานล่วงเวลาวันหนึ่งเกินกว่า 2 ชั่วโมง อันเป็นการทำงานล่วงเวลาเกินกำหนดเวลาทำงานล่วงเวลาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ทั้งสี่สิบสองทำงานล่วงเวลาดังกล่าวไปแล้ว โจทก์ทั้งสี่สิบสองย่อมมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ 6 ที่กำหนดว่า "ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างในงานขนส่งทางบกทำงานล่วงเวลา ในวันทำงานและทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ เว้นแต่นายจ้างตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างดังกล่าว" ซึ่งการจ่ายค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ตามข้อ 6 ดังกล่าว คงกำหนดไว้เฉพาะการจ่ายค่าตอบแทนที่คำนวณจากค่าจ้างตามระยะเวลา มิได้มีการกำหนดถึงการจ่ายค่าตอบแทนที่คำนวณจากค่าจ้างตามผลงานแต่ละหน่วยที่ลูกจ้างทำได้ แม้โจทก์ทั้งสี่สิบสองจะได้รับค่าจ้างจากการขับขี่ยานพาหนะตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย แต่ก็ย่อมมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้เช่นเดียวกับหลักการที่กำหนดไว้ในข้อ 6 เช่นเดียวกัน จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาแก่โจทก์ทั้งสี่สิบสองเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่โจทก์ทั้งสี่สิบสองทำได้ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า ในวันและเวลาทำงานปกติ โจทก์ทั้งสี่สิบสองได้รับค่าจ้างโดยคำนวณตามผลงานที่ทำได้คือเป็นเงินร้อยละ 12 ของรายได้จากการขับรถรับส่งผู้โดยสารทั้งเดือน และกรณีที่จำเลยให้โจทก์ทั้งสี่สิบสองทำงานล่วงเวลาในวันทำงานและทำงานล่วงเวลาในวันหยุด โจทก์ทั้งสี่สิบสองก็จะได้รับค่าตอบแทนการทำงานสำหรับการทำงานดังกล่าวเป็นเงินร้อยละ 12 ของรายได้จากการขับรถรับส่งผู้โดยสารเช่นเดียวกัน จึงเป็นกรณีที่จำเลยได้จ่ายค่าตอบแทนสำหรับการทำงานล่วงเวลาในวันทำงานและทำงานล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่โจทก์ทั้งสี่สิบสองครบถ้วนแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันทำงานและทำงานในวันหยุดให้แก่โจทก์ทั้งสี่สิบสองอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3743-3744/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษอาญาในชั้นอุทธรณ์ และข้อจำกัดในการฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคหนึ่ง, 279 วรรคแรก (เดิม) ประกอบมาตรา 285 ให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 285 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุกกระทงละ 5 ปี 4 เดือน รวม 13 กระทง ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคหนึ่ง จำคุกกระทงละ 4 ปี รวม 13 กระทง เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3429/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นต้องมีเจตนาชัดเจน ผู้ถูกใช้ต้องลงมือได้ การชักชวนรับงานยิงโดยไม่ระบุตัวเหยื่อ ไม่ถือเป็นความผิด
ผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดจะมีความผิดและถูกลงโทษฐานใช้ให้กระทำความผิดแม้ความผิดนั้นยังมิได้กระทำลงตาม ป.อ. มาตรา 84 วรรคสอง นั้น ข้อเท็จจริงต้องฟังได้ว่าผู้นั้นได้ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดข้อหาใด ต่อบุคคลใดอย่างชัดเจน ผู้ถูกใช้จึงจะสามารถลงมือกระทำความผิดนั้นได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 3 บอกจำเลยที่ 2 ให้หาคนมายิงผู้เสียหายทั้งห้า คงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยที่ 2 ชักชวนให้จำเลยที่ 1 รับงานยิงคนที่ทะเลน้อย โดยไม่ปรากฏว่ายิงผู้ใด จำเลยที่ 1 ไม่อาจจะไปใช้อาวุธปืนยิงผู้ใดได้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงมือก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3104-3105/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่แทนนายจ้างในการสั่งทำงานล่วงเวลา/วันหยุด และการเป็นลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา/ทำงานในวันหยุด
การพิจารณาว่า ลูกจ้างซึ่งดำรงตำแหน่งระดับผู้บริหารจะมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด หรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดหรือไม่ ต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 65 และมาตรา 66 โดยมาตรา 65 บัญญัติว่า "ลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่หรือซึ่งนายจ้างให้ทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามมาตรา 61 และค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามมาตรา 63... (1) ลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการจ้าง การให้บำเหน็จ หรือการเลิกจ้าง...ทั้งนี้ เว้นแต่นายจ้างตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้าง" และมาตรา 66 บัญญัติว่า "ลูกจ้างตามมาตรา 65 (1) ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดตามมาตรา 62 เว้นแต่นายจ้างตกลงจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้าง" ลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการจ้าง การให้บำเหน็จ หรือการเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 65 (1) นั้น ต้องได้ความว่า สำหรับกรณีการจ้าง ลูกจ้างคนนั้นต้องมีอำนาจจ้างลูกจ้างที่จะเข้าทำงานกับนายจ้างได้ด้วยตนเองโดยตรงอย่างสมบูรณ์ ตั้งแต่การคัดเลือกลูกจ้าง การกำหนดค่าจ้าง และการอนุมัติให้จ้างลูกจ้าง สำหรับกรณีการให้บำเหน็จ ลูกจ้างคนนั้นต้องมีอำนาจประเมินผลงานแล้วมีอำนาจเลื่อนเงินเดือนให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยตนเองโดยตรงอย่างสมบูรณ์ และสำหรับกรณีเลิกจ้าง ลูกจ้างคนนั้นต้องมีอำนาจเลิกจ้างลูกจ้างได้ด้วยตนเองโดยตรงอย่างสมบูรณ์ หากลูกจ้างคนนั้นมีอำนาจคัดเลือกลูกจ้างที่จะเข้าทำงาน แต่ต้องเสนอผู้มีอำนาจของนายจ้างเพื่ออนุมัติการจ้าง หรือมีอำนาจประเมินผลงานและเสนอเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา แต่ต้องเสนอผู้มีอำนาจของนายจ้างเป็นผู้อนุมัติให้เลื่อนขั้นเงินเดือนแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาของลูกจ้างคนนั้น หรือมีอำนาจเสนอให้เลิกจ้างลูกจ้าง แต่ต้องเสนอผู้มีอำนาจของนายจ้างเป็นผู้อนุมัติให้เลิกจ้าง ถือไม่ได้ว่า ลูกจ้างคนนั้นมีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการจ้าง การให้บำเหน็จ หรือการเลิกจ้างตามมาตรา 65 (1) ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ด้วยตนเองโดยตรงอย่างสมบูรณ์ จึงถือไม่ได้ว่า โจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้าง สำหรับกรณีการจ้าง การให้บำเหน็จ หรือการเลิกจ้าง
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 61 มาตรา 62 และมาตรา 63 แสดงให้เห็นว่าโจทก์จะมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างสั่งให้โจทก์ทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด และทำงานล่วงเวลาในวันหยุด หากจำเลยที่ 2 ไม่ได้สั่ง โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด คดีนี้ได้ความว่า จำเลยที่ 2 สั่งให้โจทก์ไปปฏิบัติงานที่ประเทศแอลจีเรียโดยอยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับของบริษัทร่วมทุน โดยไม่ปรากฏว่า ผู้อำนวยการร่วมของบริษัทดังกล่าวมีอำนาจสั่งให้โจทก์ทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด และทำงานล่วงเวลาในวันหยุดแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์ อีกทั้งยังไม่ปรากฏว่า ผู้บังคับบัญชาของโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2 นายจ้างของโจทก์ สั่งให้โจทก์ทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด และทำงานล่วงเวลาในวันหยุด โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 61 มาตรา 62 และมาตรา 63 แสดงให้เห็นว่าโจทก์จะมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างสั่งให้โจทก์ทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด และทำงานล่วงเวลาในวันหยุด หากจำเลยที่ 2 ไม่ได้สั่ง โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด คดีนี้ได้ความว่า จำเลยที่ 2 สั่งให้โจทก์ไปปฏิบัติงานที่ประเทศแอลจีเรียโดยอยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับของบริษัทร่วมทุน โดยไม่ปรากฏว่า ผู้อำนวยการร่วมของบริษัทดังกล่าวมีอำนาจสั่งให้โจทก์ทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด และทำงานล่วงเวลาในวันหยุดแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์ อีกทั้งยังไม่ปรากฏว่า ผู้บังคับบัญชาของโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2 นายจ้างของโจทก์ สั่งให้โจทก์ทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด และทำงานล่วงเวลาในวันหยุด โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2909/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่ผิดกฎหมายและการลงโทษตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ลูกกระสุนปืนขนาด 40 มม. และลูก (ปลอก) กระสุนปืนกลต่อสู้อากาศยาน 40 L 70 นอกจากเป็นยุทธภัณฑ์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.2530 มาตรา 4 ประกอบประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง กำหนดยุทธภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.2530 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 ข้อ 2 แล้ว ยังเป็นเครื่องกระสุนปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ เมื่อเครื่องกระสุนปืนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนรายการอื่นที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองในขณะเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมายอันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมจากบัตรอิเล็กทรอนิกส์: ศาลฎีกาชี้การเบิกถอนเงินหลายครั้งเป็นกรรมต่างกัน
การกระทำความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมนั้นเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้มิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างมาโดยชอบในศาลชั้นต้น จำเลยก็ยกขึ้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 180 และ 182
จำเลยให้การรับสารภาพว่า จำเลยใช้บัตรเอทีเอ็มเบิกถอนเงินสดจากตู้เบิกถอนเงินสดอัตโนมัติของธนาคาร ก. และธนาคาร ท. รวม 7 ครั้ง ตามฟ้องจริง ซึ่งแต่ละครั้งจำเลยจะใช้บัตรแต่ละใบใน 3 ใบ เบิกเงินแต่ละจำนวน ตามที่มีเงินอยู่ในบัญชีของบัตรแต่ละใบ โดยใช้ตู้เบิกถอนเงินต่างธนาคารและต่างเวลากัน ลักษณะการกระทำผิดดังกล่าวเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระแล้ว จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยให้การรับสารภาพว่า จำเลยใช้บัตรเอทีเอ็มเบิกถอนเงินสดจากตู้เบิกถอนเงินสดอัตโนมัติของธนาคาร ก. และธนาคาร ท. รวม 7 ครั้ง ตามฟ้องจริง ซึ่งแต่ละครั้งจำเลยจะใช้บัตรแต่ละใบใน 3 ใบ เบิกเงินแต่ละจำนวน ตามที่มีเงินอยู่ในบัญชีของบัตรแต่ละใบ โดยใช้ตู้เบิกถอนเงินต่างธนาคารและต่างเวลากัน ลักษณะการกระทำผิดดังกล่าวเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระแล้ว จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการถอนฟ้อง: ประโยชน์ขัดแย้งระหว่างกรรมการกับนิติบุคคลทำให้คำร้องถอนฟ้องเป็นโมฆะ
การถอนฟ้องเป็นการกระทำใด ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอันเกี่ยวด้วยคดีซึ่งได้กระทำไปโดยคู่ความในคดี จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่จะต้องพิจารณาว่า ผู้กระทำการนั้นมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในขณะนั้นหรือไม่เป็นสำคัญ หากมีการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่มีอำนาจอันเป็นการไม่ชอบแล้ว ก็ชอบที่ศาลจะไม่อนุญาตให้ดำเนินกระบวนพิจารณานั้น หรือหากอนุญาตไปก่อนแล้วโดยผิดหลงก็ต้องสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ การพิจารณาอำนาจของกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันโจทก์ในขณะโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องนั้น ต้องถือเอาข้อความในหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นสำคัญ แต่ยังต้องพิจารณาด้วยว่าถ้าประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียของผู้แทนนิติบุคคลในการอันใด ผู้แทนของนิติบุคคลนั้นจะเป็นผู้แทนในการอันนั้นไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 74
โจทก์เป็นนิติบุคคลฟ้องว่าโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทน เนื่องจาก ค. กรรมการที่มีอำนาจกระทำแทนโจทก์ และจำเลยที่ 1 บอกว่า ไม่อาจใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้ มูลเหตุการฟ้องส่วนหนึ่งเกิดจากการกระทำของ ค. การไต่สวนก็ได้ความว่า ค. เคยอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 1 และมีบุตรด้วยกัน แม้เลิกรากันแล้วแต่ ค. ยังคงไปมาหาสู่กับบุตรเป็นประจำ ในการไกล่เกลี่ยระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ค. ก็อยู่ฝ่ายเดียวกับจำเลยที่ 1 พฤติการณ์ส่อแสดงว่า ค. และจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายเดียวกันและเป็นคู่กรณีกับโจทก์ การที่ ค. ขอถอนฟ้องเนื่องจากประสงค์ไม่ให้โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 1 อันเป็นการขัดขวางมิให้โจทก์ใช้สิทธิทางศาลเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อประโยชน์ได้เสียของโจทก์ ถือได้ว่า ประโยชน์ได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียของ ค. ซึ่งเป็นผู้แทนนิติบุคคล จึงไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในฐานะกรรมการในคำร้องขอถอนฟ้อง คำร้องขอถอนฟ้องจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะยกคำร้องขอถอนฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จึงเป็นการสั่งโดยผิดหลง
โจทก์เป็นนิติบุคคลฟ้องว่าโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทน เนื่องจาก ค. กรรมการที่มีอำนาจกระทำแทนโจทก์ และจำเลยที่ 1 บอกว่า ไม่อาจใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้ มูลเหตุการฟ้องส่วนหนึ่งเกิดจากการกระทำของ ค. การไต่สวนก็ได้ความว่า ค. เคยอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 1 และมีบุตรด้วยกัน แม้เลิกรากันแล้วแต่ ค. ยังคงไปมาหาสู่กับบุตรเป็นประจำ ในการไกล่เกลี่ยระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ค. ก็อยู่ฝ่ายเดียวกับจำเลยที่ 1 พฤติการณ์ส่อแสดงว่า ค. และจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายเดียวกันและเป็นคู่กรณีกับโจทก์ การที่ ค. ขอถอนฟ้องเนื่องจากประสงค์ไม่ให้โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 1 อันเป็นการขัดขวางมิให้โจทก์ใช้สิทธิทางศาลเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อประโยชน์ได้เสียของโจทก์ ถือได้ว่า ประโยชน์ได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียของ ค. ซึ่งเป็นผู้แทนนิติบุคคล จึงไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในฐานะกรรมการในคำร้องขอถอนฟ้อง คำร้องขอถอนฟ้องจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะยกคำร้องขอถอนฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จึงเป็นการสั่งโดยผิดหลง