คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 6

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 85 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5601/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ต้องมีบุริมสิทธิในมูลหนี้ที่ฟ้องคดีล้มละลาย
เจ้าหนี้ที่จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10 (2) นั้น จะต้องเป็นเจ้าหนี้ที่มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในมูลหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลาย เมื่อมูลหนี้ตามคำพิพากษาคดีที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย เป็นคดีที่โจทก์มิได้มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 ได้จำนองที่ดิน 2 แปลงไว้แก่โจทก์เพื่อประกันหนี้ในมูลหนี้อื่นที่โจทก์ฟ้องร้องเป็นคดีแพ่ง และอยู่ระหว่างบังคับคดี แต่โจทก์มิได้นำมูลหนี้ดังกล่าวมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายด้วย ดังนี้ โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าหนี้มีประกัน ไม่ต้องปฎิบัติตามมาตรา 10 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการทรัพย์มรดกในคดีล้มละลายหลังลูกหนี้ถึงแก่ความตาย การตั้งผู้แทนลูกหนี้ที่ตาย
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 87 เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้ได้ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณา หรือเมื่อศาลได้พิพากษาให้ล้มละลายแล้วก็ดี กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายยังคงต้องดำเนินต่อไป และให้นำบทบัญญัติในหมวด 2 ว่าด้วยกระบวนพิจารณาในกรณีที่ลูกหนี้ตายมาใช้บังคับซึ่งตามมาตรา 6 คำว่า "กระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย" หมายความรวมถึง กระบวนพิจารณาไม่ว่าจะกระทำต่อศาลหรือต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตั้งแต่เริ่มคดีจนถึงคดีสิ้นสุด คดีนี้จำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตายเมื่อศาลได้พิพากษาให้ล้มละลายแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงยังคงมีอำนาจเก็บรวบรวมจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ผู้ตาย ต่อไปจนกว่าคดีสิ้นสุดตามมาตรา 22 (1) (2) และกรณีถือเป็นเหตุให้ต้องมีการจัดการทรัพย์มรดกของจำเลยที่ 2 ผู้ตาย โดยจะต้องมีทายาท ผู้จัดการมรดก หรือผู้ปกครองทรัพย์เข้ามาเป็นผู้แทนจำเลยที่ 2 ผู้ตาย ต่อไป เมื่อผู้ร้องแถลงยอมรับแล้วว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 ผู้ตาย จึงเป็นทายาทโดยธรรมของจำเลยที่ 2 สิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ย่อมตกทอดแก่ผู้ร้องแต่ไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดก แม้โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกผู้ร้องเข้ามาเป็นผู้แทนจำเลยที่ 2 ผู้ตาย เกินกว่า 1 ปี นับแต่จำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตาย ศาลก็ชอบที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาตั้งผู้ร้องเป็นผู้ร้องเป็นผู้แทนลูกหนี้ที่ตายเพื่อที่จะดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5544/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และการยื่นคำร้อง
หลังจากเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 แล้ว ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด และพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ล้มละลาย ในการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ต่อไปได้ และเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ เมื่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 6 บัญญัติว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หมายความตลอดถึงบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ปฏิบัติการแทน ดังนั้น การขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำอย่างหนึ่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หากจำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายก็ชอบที่จะยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องในคดีล้มละลาย ไม่ใช่ยื่นคำร้องในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5544/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการยื่นคำร้องเพิกถอนการขายทอดตลาดหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ต้องยื่นในคดีล้มละลาย ไม่ใช่คดีเดิม
คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ต่อมาในคดีล้มละลาย ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาด และพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ล้มละลาย ในการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ดำเนินการขายทอดตลาดต่อไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 6 "เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์" หมายความตลอดถึงบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ปฏิบัติการแทน ดังนั้น การขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำอย่างหนึ่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หากจำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายโดยการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วยเหตุใดๆ ก็ชอบที่จะยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องในคดีล้มละลายดังกล่าว ไม่ใช่มายื่นคำร้องในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2193/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีประกันต้องบรรยายฟ้องตามมาตรา 10(2) พ.ร.บ.ล้มละลาย หากไม่ปฏิบัติตาม ฟ้องไม่ชอบ
ศาลล้มละลายกลางวินิจฉัยว่า หนี้ของจำเลยที่ 2 ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 โจทก์ไม่อุทธรณ์ คดีในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงยุติตามคำพิพากษาของศาลล้มละลายกลางแล้ว ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงอุทธรณ์ในปัญหาว่าหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน จำเลยที่ 1 และที่ 3 มิใช่ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกัน แต่ไม่บรรยายฟ้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10 (2) ด้วยมิได้ เพราะจำเลยที่ 2 ไม่ได้รับความเสียหายในปัญหานี้ ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10 (2) บังคับว่า กรณีที่เจ้าหนี้มีประกันฟ้องคดีล้มละลายจะต้องกล่าวในฟ้องว่า ถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้ว จะยอมสละหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้องซึ่งเมื่อหักกับจำนวนหนี้ของตนแล้วเงินยังขาดอยู่ สำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท คดีนี้ได้ความตามฟ้องว่าโจทก์มีทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นประกัน โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 6 ฉะนั้น การที่จะฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ล้มละลาย โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 10 (2) โดยกล่าวมาในฟ้องว่าถ้าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ล้มละลาย จะสละที่ดินหลักประกันของจำเลยที่ 1 และที่ 3 เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาที่ดินดังกล่าวมาในฟ้องซึ่งหักกับจำนวนหนี้แล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 3 ยังคงเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่าเมื่อนำราคาประเมินของที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดรวมเข้าด้วยกันแล้วนำมาหักทอนกับจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสามยังค้างชำระหลังหักราคาหลักประกันออกแล้วเป็นหนี้ซึ่งสามารถกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนและมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท เมื่อโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว ฟ้องของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณา ที่ศาลล้มละลายกลางรับฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ไว้พิจารณาและมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 เด็ดขาด เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งการออกเสียงเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย และผลต่อการลงมติยอมรับประนอมหนี้
การออกเสียงลงมติของเจ้าหนี้มีผู้คัดค้านในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกว่าจะยอมรับคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของจำเลยที่ 2 หรือไม่นั้น จะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 35 วรรคสอง ซึ่งให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้พิจารณาและมีคำสั่งว่าจะให้เจ้าหนี้ดังกล่าวที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว แต่ศาลยังไม่ได้พิจารณามีคำสั่งขอรับชำระหนี้ให้มีสิทธิออกเสียงในจำนวนหนี้เท่าใดเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถสั่งในขณะนั้นได้ ในคดีนี้ได้ความว่ามีเจ้าหนี้คัดค้านการออกเสียงของผู้ร้อง และผู้คัดค้านได้สอบสวนคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องเสร็จสิ้นจนมีความเห็นให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องแล้ว แสดงว่าผู้คัดค้านสามารถพิจารณาสั่งให้ผู้ร้องออกเสียงได้เท่าใดหรือไม่จากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนคำขอรับชำระหนี้แล้ว แม้ระหว่างระยะเวลาผู้คัดค้านแก้ฎีกาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้แล้วบางส่วน แต่ไม่ปรากฏว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นที่สุด และไม่ว่าผู้ร้องจะมีสิทธิออกเสียงในการประชุมเต็มจำนวนหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ หรือเป็นจำนวนตามที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาต เมื่อนำยอดหนี้ดังกล่าวไปรวมกับยอดหนี้ของเจ้าหนี้ที่ลงมติไม่ยอมรับคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายแล้ว มติของเจ้าหนี้ที่ออกเสียงยอมรับคำขอประนอมหนี้ก็ยังคงเป็นมติพิเศษของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างมากที่มีจำนวนหนี้มากกว่าสามในสี่แห่งจำนวนหนี้ทั้งหมดของเจ้าหนี้ซึ่งได้เข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนในมตินั้นตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ทั้งคำสั่งของผู้คัดค้านที่ไม่ให้ผู้ร้องออกเสียงลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกดังกล่าวหาได้มีผลไปถึงการประชุมเจ้าหนี้ในครั้งต่อไปหรือมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับชำระหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้แต่ประการใด คำสั่งของผู้คัดค้านที่ไม่อนุญาตให้ผู้ร้องออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4671/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: สิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินจากการวางประกันต่อศาล
เจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 6 ต้องเป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนอง จำนำ หรือสิทธิยึดหน่วง หรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำ คำว่า สิทธิยึดหน่วง หมายถึง สิทธิยึดหน่วงตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ใดเป็นผู้ครองทรัพย์สินของผู้อื่นและมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งครองนั้นไซร้ ท่านว่าผู้นั้นจะยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ก็ได้..." การที่ลูกหนี้นำห้องชุดมาวางและทำหนังสือประกันไว้ต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการอันเป็นศาลยุติธรรมเป็นองค์กรแห่งรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่มีหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ในการครอบครองทรัพย์สินไว้ให้เจ้าหนี้ เจตนาของลูกหนี้ในการทำหนังสือประกันก็เพื่อทุเลาการบังคับตามคำพิพากษาตามกระบวนการที่กฎหมายบัญญัติไว้ ไม่มีข้อความใดในหนังสือประกันที่แสดงให้เห็นว่าลูกหนี้ทำหนังสือประกันดังกล่าวเพื่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ หนี้ตามคำพิพากษาศาลจังหวัดสมุทรปราการที่เจ้าหนี้นำมายื่นคำขอรับชำระหนี้มีมูลหนี้มาจากสัญญาจ้างทำของที่ลูกหนี้จ้างเจ้าหนี้ผลิตงานโฆษณาโดยทำเป็นวิดีโอเพื่อเผยแพร่ภาพและเสียงทางสถานีโทรทัศน์ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับค่าจ้างตอบแทนเท่านั้น หาใช่เป็นคุณแก่เจ้าหนี้เกี่ยวด้วยห้องชุดที่ลูกหนี้นำมาวางเป็นประกันแต่อย่างใด เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงห้องชุดดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้เป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2104/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีล้มละลายของเจ้าหนี้มีประกัน ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10(2) โดยแสดงการสละหลักประกัน หรือจำนวนหนี้ที่ยังขาดอยู่
ปัญหาที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันได้บรรยายฟ้องถูกต้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10 (2) หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 247 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 28
จำเลยที่ 1 จำนองที่ดินไว้แก่โจทก์รวม 4 แปลง ขณะโจทก์ยื่นฟ้องสัญญาจำนองยังไม่ระงับ โจทก์จึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในทางจำนองเป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 6 การฟ้องคดีจึงต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10 (2) คือต้องกล่าวมาในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ล้มละลายแล้วโจทก์จะยอมสละหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้องซึ่งเมื่อหักกับจำนวนหนี้ของตนแล้วเงินยังขาดอยู่สำหรับจำเลยที่ 1 เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท แต่ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏข้อความตามมาตรา 10 (2) ดังกล่าวแต่อย่างใด ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7786/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปิดคดีล้มละลายหลังปิดคดี: ศาลพิจารณาจากหลักฐานเพียงพอหรือไม่ และผลกระทบต่อทรัพย์สินของลูกหนี้
ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 6 กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายเป็นกระบวนพิจารณาที่ดำเนินการต่อศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจำเลยมีทรัพย์สินขึ้นใหม่ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลเพื่อให้มีคำสั่งเปิดคดี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นเสนอผู้บังคับบัญชาโดยเห็นว่าควรรายงานศาลให้มีคำสั่งเปิดคดี ผู้บังคับบัญชาเห็นชอบด้วย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงรายงานศาลเพื่อขอให้มีคำสั่งเปิดคดีโดยท้ายหนังสือดังกล่าวได้แนบสำเนาคำร้องของโจทก์ สำเนาบิลเงินสดที่จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงิน และความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มาด้วย กรณีจึงเป็นการเพียงพอที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณาว่ามีเหตุสมควรอนุญาตให้เปิดคดีแล้วหรือไม่ หาจำเป็นต้องไต่สวนพยานตามคำร้องของโจทก์ก่อนแต่อย่างใดไม่
ตามบทบัญญัติมาตรา 135 (4) มีความหมายว่าเมื่อมีเหตุตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้วให้ผู้มีส่วนได้เสียหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอและศาลมีอำนาจสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยได้ แต่เมื่อศาลยังไม่ได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลาย จำเลยก็ยังเป็นบุคคลล้มละลายอยู่ ส่วนที่ศาลมีคำสั่งให้ปิดคดีมีผลตามมาตรา 134 คือเพียงให้ระงับการจัดการต่าง ๆ ไว้ ไม่ทำให้คดีล้มละลายสิ้นสุดแต่ประการใด ทรัพย์สินที่จำเลยได้มาก่อนจำเลยจะพ้นจากภาวะการล้มละลายย่อมเป็นทรัพย์สินที่อาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 109 จำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งมอบทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินดังกล่าวและนำไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยต่อไป การที่ศาลมีคำสั่งให้เปิดคดีหลังจากมีคำสั่งให้ปิดคดีครบ 10 ปี แล้วหาใช่เป็นการจัดการทรัพย์สินของจำเลยภายหลังที่จำเลยพ้นจากการล้มละลายแล้วแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7786/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปิดคดีล้มละลายหลังปิดคดี: การพิจารณาหลักฐานและการไม่ขัดต่อเงื่อนไขระยะเวลา
ฎีกาของจำเลยที่ว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งและคำพิพากษาให้เปิดคดีโดยมิได้มีการไต่สวนพยานตามคำร้องของโจทก์เสียก่อนเป็นกระบวนการพิจารณาไม่ชอบและคำสั่งให้เปิดคดีล่วงเลยกำหนด 10 ปี นับแต่ศาลสั่งให้ปิดคดี จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น แม้จำเลยจะเพิ่งยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 (เดิม)
โจทก์ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 20 สิงหาคม 2547 ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจำเลยมีทรัพย์สินขึ้นใหม่ ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลเพื่อมีคำสั่งเปิดคดี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งว่า พยานหลักฐานยังไม่เพียงพอที่จะแสดงว่าทรัพย์สินเป็นของจำเลย ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 31 สิงหาคม 2547 พร้อมแสดงหลักฐานเพิ่มเติม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นเสนอต่อผู้บังคับบัญชาโดยเห็นว่าควรรายงานศาลให้มีคำสั่งเปิดคดีโดยท้ายหนังสือดังกล่าวได้แนบสำเนาคำร้องของโจทก์ สำเนาบิลเงินสดและความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มาด้วยจึงเป็นการเพียงพอที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณาว่ามีเหตุสมควรอนุญาตให้เปิดคดีแล้วหรือไม่ ไม่จำเป็นต้องไต่สวนพยานตามคำร้องของโจทก์ก่อน
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 135 (4) มีความหมายว่า เมื่อมีเหตุตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้วให้ผู้มีส่วนได้เสียหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอและศาลมีอำนาจสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยได้ แต่เมื่อศาลยังไม่ได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลาย จำเลยก็ยังเป็นบุคคลล้มละลาย และคำสั่งให้ปิดคดีก็มีผลตามมาตรา 134 เพียงให้ระงับการจัดการต่างๆ ไว้ไม่ทำให้คดีล้มละลายสิ้นสุด ทรัพย์สินที่จำเลยได้มาก่อนจำเลยจะพ้นจากภาวะการล้มละลายย่อมเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายที่อาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตามมาตรา 109 ซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งมอบให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจนำไปแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยต่อไป กรณีมิใช่เป็นการจัดการทรัพย์ของจำเลยภายหลังที่จำเลยพ้นจากการล้มละลายแล้ว คำสั่งให้เปิดคดีจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
of 9