คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 6

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 85 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3437/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: ทรัพย์สินจำนองต้องเป็นของจำเลย
จำเลยเป็นหนี้เงินกู้โจทก์ โดยมี จ.นำที่ดิน 2 แปลงจำนองเป็นประกัน ที่ดินที่จำนองไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลย โจทก์ไม่ใช่ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยในทางจำนอง โจทก์จึงไม่เป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3437/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีประกันตามกฎหมายล้มละลาย: ทรัพย์สินที่จำนองต้องเป็นของจำเลย
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายด้วยหนี้เงินกู้ยืมซึ่งมีบุคคลอื่นจำนองที่ดินเป็นประกัน โจทก์ย่อมไม่ใช่เจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 6 เพราะที่ดินที่จำนองไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลย โจทก์ไม่ใช่ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยในทางจำนอง จึงสามารถฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้ตามมาตรา 9 โดยมิต้องปฏิบัติตาม มาตรา 10

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: กำหนดเวลาและข้อยกเว้นการใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เมื่อพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146 บัญญัติให้สิทธิแก่บุคคลล้มละลายเจ้าหนี้ หรือบุคคลผู้ได้รับความเสียหายโดยการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง เกี่ยวกับเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนกฎหมายมาใช้บังคับโดยอนุโลม ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 ได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้ร้องในคดีล้มละลายนั้น เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาด กรณีจึงอยู่ภายในกำหนดเวลา14 วัน ที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: กำหนดเวลา 14 วัน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ไม่ใช่ 8 วันตาม ป.วิ.พ.
เจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ทำการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ (จำเลย)การขายทอดตลาดดังกล่าวจึงเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ การยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาด จึงเป็นการร้องคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องกระทำภายใน14 วัน นับแต่วันขายทอดตลาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 146 ไม่ใช่ 8 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งยกเลิกการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย โดยไม่ต้องมีกำหนดเวลาตามมาตรา 153 พ.ร.บ.ล้มละลาย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขายทอดตลาดทรัพย์ของลูกหนี้ในคดีล้มละลายได้เองภายหลังจากลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้วตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 123 โดยไม่ต้องขออนุญาตศาลขาย กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายนั้นหมายถึงกระบวนพิจารณาที่กระทำต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วย ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 6 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่าการขายทอดตลาดทรัพย์รายใดดำเนินไปโดยไม่ชอบ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้ยกเลิกการขายทอดตลาดนั้นเสียได้ โดยไม่จำต้องมีคำสั่งภายใน 8 วันนับแต่วันขาย เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย โดยอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153 ประกอบมาตรา 27 วรรคแรก แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งมิใช่การร้องขอของคู่ความฝ่ายที่เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการยกเลิกการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายและการแจ้งเจ้าหนี้
คดีล้มละลายเมื่อลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้วทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนได้มานั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจนำออกขายทอดตลาดได้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 123 โดยไม่ต้องขออนุญาตศาลก่อน จึงไม่เหมือนกับการบังคับคดีแพ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 306 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายนั้นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 6หมายถึงกระบวนพิจารณาที่กระทำต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วยซึ่งถ้าส่วนใดที่พระราชบัญญัติล้มละลายมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ดังนี้เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่าการขายทอดตลาดทรัพย์ไม่ชอบเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจสั่งให้ยกเลิกการขายเสียได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ประกอบมาตรา 27 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เคยส่งหมายนัดแจ้งวันขายทอดตลาดไปยังธนาคารเจ้าหนี้ผู้รับจำนำแล้ว แต่ธนาคารเจ้าหนี้ย้ายที่อยู่โดยไม่ทราบที่อยู่ใหม่ จึงประกาศแจ้งวันเวลาขายทอดตลาดทรัพย์ทางหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นการแจ้งวันขายทอดตลาดทรัพย์ให้เจ้าหนี้ผู้รับจำนำทราบโดยชอบแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งยกเลิกการขายทอดตลาดจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำเงินฝาก vs. เจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: สิทธิหักกลบลบหนี้
แม้จำเลยจะสลักหลังจำนำใบรับฝากเงินประจำให้ผู้ร้องไว้เพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่มีอยู่แล้วหรือที่จะมีขึ้นในอนาคตและตกลงยอมให้ผู้ร้องหักเงินฝากดังกล่าวชำระหนี้ของจำเลยที่ค้างชำระต่อผู้ร้องได้ แต่เงินฝากประจำที่จำเลยฝากไว้กับผู้ร้องนั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องตั้งแต่มีการฝากเงินแล้ว จำเลยผู้ฝากคงมีเพียงสิทธิที่จะถอนเงินฝากไปได้ และผู้ร้องคงมีหน้าที่ต้องคืนเงินให้ครบจำนวนที่ขอถอนเท่านั้น จึงมิใช่การส่งมอบสังหาริมทรัพย์ของจำเลยให้แก่ผู้ร้องตามลักษณะจำนำผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 6 ผู้ร้องมีสิทธิขอนำเงินฝากประจำของจำเลยมาหักกลบลบหนี้กับจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 102แต่ดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่ผู้ร้องนำเข้าฝากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยเรื่อยมาจนถึงเวลาภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ดอกเบี้ยและเงินฝากตามบัญชีกระแสรายวันที่ผู้ร้องนำมาขอหักกลบลบหนี้ จึงมิใช่เป็นเงินที่ผู้ร้องเป็นหนี้จำเลยในเวลาที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไม่อาจหักกลบลบหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำเงินฝาก vs. เจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: สิทธิการหักกลบลบหนี้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 747 ในการจำนำผู้จำนำจะต้องส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนำเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้แม้จำเลยจะสลักหลังจำนำใบรับฝากเงินประจำและยินยอมให้ผู้ร้อง นำเงินจำนวน 1,396,774.06 บาท ที่ฝากไว้ตามใบรับฝากเงินประจำของจำเลยเป็นประกันหนี้ที่ค้างชำระต่อผู้ร้อง แต่เงินฝากประจำจำนวนดังกล่าวที่จำเลยฝากไว้กับผู้ร้องนั้น ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องมาตั้งแต่มีการฝากเงินแล้ว จำเลยผู้ฝากคงมีเพียงสิทธิที่จะถอนเงินที่ฝากไปได้และผู้ร้อง คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินให้ครบจำนวนที่ขอถอนเท่านั้นจึงมิใช่การส่งมอบสังหาริมทรัพย์ของจำเลยให้แก่ผู้ร้องตามลักษณะจำนำแต่อย่างใด ผู้ร้องจึงหามีสิทธิเหนือทรัพย์สิน ของจำเลยในทางจำนำหรือมีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำไม่ ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบเงินฝากไม่ใช่การจำนำ แม้จะยินยอมให้ใช้เป็นประกันหนี้
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 747 ในการจำนำผู้จำนำจะต้องส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนำเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ แม้จำเลยจะสลักหลังจำนำใบรับฝากเงินประจำและยินยอมให้ผู้ร้องนำเงินจำนวน 1,396,774.06 บาท ที่ฝากไว้ตามใบรับฝากเงินประจำของจำเลยเป็นประกันหนี้ที่ค้างชำระต่อผู้ร้อง แต่เงินฝากประจำจำนวนดังกล่าวที่จำเลยฝากไว้กับผู้ร้องนั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องมาตั้งแต่มีการฝากเงินแล้ว จำเลยผู้ฝากคงมีเพียงสิทธิที่จะถอนเงินที่ฝากไปได้และผู้ร้องคงมีหน้าที่ต้องคืนเงินให้ครบจำนวนที่ขอถอนเท่านั้น จึงมิใช่การส่งมอบสังหาริมทรัพย์ของจำเลยให้แก่ผู้ร้องตามลักษณะจำนำแต่อย่างใด ผู้ร้องจึงหามีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยในทางจำนำหรือมีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำไม่ ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2085/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองประกันหนี้ทุกชนิด: ผู้คัดค้านมีสิทธิหักหนี้เบิกเกินบัญชีจากเงินค่าขายที่ดินได้ ไม่ทำให้เจ้าหนี้สามัญเสียเปรียบ
ลูกหนี้กู้เงินจากผู้คัดค้านโดยจดทะเบียนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรวม 2 โฉนดเป็นประกัน แต่สัญญาจำนองมีข้อความว่า ลูกหนี้ตกลงจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อประกันหนี้เงินกู้และหนี้สินประเภทอื่น ๆ ของผู้จำนอง ทั้งที่มีอยู่แล้วในขณะทำสัญญาหรือที่จะมีขึ้นต่อไปในภายหน้าด้วยสัญญาจำนองจึงมีผลเป็นการประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ลูกหนี้เป็นหนี้ผู้คัดค้านอยู่ก่อนแล้วด้วยและถือว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้มีประกันในหนี้ดังกล่าวทั้งสองจำนวน เมื่อผู้คัดค้านนำเงินค่าขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งสองโฉนดมาหักหนี้เงินกู้แล้ว คงเหลือเงินอีก 60,000 บาท ผู้คัดค้านย่อมนำเงินที่เหลือมาหักหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งผู้คัดค้านมีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันด้วยได้ ไม่ทำให้เจ้าหนี้อื่นซึ่งเป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญเสียเปรียบ จึงเพิกถอนการไถ่ถอนจำนองและการรับชำระหนี้ของผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 ไม่ได้
of 9