พบผลลัพธ์ทั้งหมด 85 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2085/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลายและการเพิกถอนการชำระหนี้
ผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้มีประกัน เมื่อลูกหนี้ล้มละลายผู้คัดค้านอาจใช้สิทธิขอรับชำระหนี้โดยบังคับเอากับทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน แล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนหนี้ที่ยังขาดอยู่หรือขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน แล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ หรือตีราคาทรัพย์อันเป็นหลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 96(2)(3)(4)ดังนั้น เงินค่าขายทรัพย์ที่เหลือจากการหักชำระหนี้รายอื่นจึงอยู่ในเกณฑ์ที่ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าหนี้มีประกันจะบังคับเอาได้การที่ผู้คัดค้านรับชำระหนี้ส่วนนี้ย่อมไม่ทำให้เจ้าหนี้อื่นซึ่งมีฐานะเป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญเสียเปรียบ การกระทำของลูกหนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นจึงไม่อาจเพิกถอนการชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองรายนี้ตาม มาตรา 115.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2085/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิรับชำระหนี้จากหลักประกันก่อนเจ้าหนี้อื่น การชำระหนี้ไม่ทำให้เจ้าหนี้สามัญเสียเปรียบ
ลูกหนี้กู้เงินจากผู้คัดค้านโดยจดทะเบียนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรวม 2 โฉนด เป็นประกัน แต่สัญญาจำนองมีข้อความว่าลูกหนี้ตกลงจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อประกันหนี้เงินกู้และหนี้สินประเภทอื่น ๆ ของผู้จำนอง ทั้งมีอยู่แล้วในขณะทำสัญญาหรือที่จะมีขึ้นต่อไปในภายหน้าด้วย สัญญาจำนองจึงมีผลเป็นการประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ลูกหนี้เป็นผู้คัดค้านอยู่ก่อนแล้วด้วยและถือว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้มีประกันในหนี้ดังกล่าวทั้งสองจำนวน เมื่อผู้คัดค้านนำเงินค่าขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งสองโฉนดมาหักหนี้เงินกู้แล้วคงเหลือเงินอีก 60,000 บาท ผู้คัดค้านย่อมนำเงินที่เหลือมาหักหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งผู้คัดค้านมีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันด้วยได้ ไม่ทำให้เจ้าหนี้อื่นซึ่งเป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญเสียเปรียบ จึงเพิกถอนการไถ่ถอนจำนองและการรับชำระหนี้ของผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โดยการปิดหมายที่ภูมิลำเนาถือเป็นการส่งคำบังคับโดยชอบ และมีผลบังคับตามกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 6 คำว่า "พิพากษา" หมายความตลอดถึงการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดีโดยทำเป็นคำสั่ง และมาตรา 19 ว่า"คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ให้ถือเสมือนว่า เป็นหมายของศาลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ายึดดวงตราสมุดบัญชีและเอกสารของลูกหนี้และบรรดาทรัพย์สิน ซึ่งอยู่ในความครอบครองของลูกหนี้หรือของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลาย... ฯลฯ" ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีหมายเรียกให้จำเลยไปให้การเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินโดยแจ้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของศาลให้จำเลยทราบด้วยและได้ปิดหมายเรียกดังกล่าวที่ภูมิลำเนาของจำเลยถือว่าเป็นการส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยโดยชอบ จำเลยจะขอให้พิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208ต้องยื่นคำขอต่อศาลภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับนั้นให้แก่จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำบังคับตามคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และการยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่เกินกำหนด
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีหมายเรียกโดยแจ้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของศาลให้จำเลยทั้งสองแล้ว โดยการปิดหมายที่ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2531 และ 21 กรกฎาคม 2531 ตามลำดับ กรณีถือได้ว่าเป็นการส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยทั้งสองโดยชอบแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ก็จะต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2531 และ 5 สิงหาคม 2531 ตามลำดับ ซึ่งเป็นวันที่การส่งหมายแจ้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้แก่จำเลยทั้งสองมีผล แต่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในวันที่ 31ตุลาคม 2531 จึงเกินกำหนด 15 วัน ล่วงพ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว และตามคำร้องขอของจำเลยทั้งสองก็ไม่มีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ประการใด จำเลยทั้งสองย่อมไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4278/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเจ้าหนี้มีประกัน จำเป็นต้องบรรยายการสละหลักประกันเมื่อจำเลยล้มละลาย และการจำนำต้องมีการส่งมอบทรัพย์
ปัญหาว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกัน แต่มิได้บรรยายฟ้องว่า เมื่อจำเลยล้มละลายแล้ว โจทก์ยอมสละทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบนั้น เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยกู้เงินโจทก์และทำหนังสือสัญญาจำนำจักรเย็บผ้าแก่โจทก์ แต่มิได้มอบจักรเย็บผ้าให้โจทก์ไว้ ถือไม่ได้ว่ามีการจำนำตาม ป.พ.พ. มาตรา 747 โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกัน
จำเลยกู้เงินโจทก์และทำหนังสือสัญญาจำนำจักรเย็บผ้าแก่โจทก์ แต่มิได้มอบจักรเย็บผ้าให้โจทก์ไว้ ถือไม่ได้ว่ามีการจำนำตาม ป.พ.พ. มาตรา 747 โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4278/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องล้มละลายต้องบรรยายองค์ประกอบเจ้าหนี้มีประกันครบถ้วน แม้จำเลยไม่ต่อสู้ ศาลก็วินิจฉัยได้
ปัญหาว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกัน แต่มิได้บรรยายฟ้องว่าเมื่อจำเลยล้มละลายแล้ว โจทก์ยอมสละทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบนั้นเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ จำเลยกู้เงินโจทก์และทำหนังสือสัญญาจำนำจักรเย็บผ้าแก่โจทก์แต่มิได้มอบจักรเย็บผ้าให้โจทก์ไว้ ถือไม่ได้ว่ามีการจำนำตามป.พ.พ. มาตรา 747 โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้และการเปลี่ยนแปลงสถานะเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย
ปัญหาว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันซึ่งเมื่อฟ้องคดีต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10(2) หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยเพิ่งยกขึ้นมาเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ แม้เดิมโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันเพราะเป็นผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงเหนือใบหุ้น ซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลย แต่เมื่อโจทก์และจำเลยได้ตกลงแปลงหนี้ใหม่โดยทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความหนี้มีประกันเดิมของโจทก์ย่อมระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ตามผลของ ป.พ.พ. มาตรา 349 และเมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้ให้สิทธิโจทก์ยึดถือใบหุ้นไว้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันอีกต่อไป โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 6.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากเจ้าหนี้มีประกันเป็นหนี้ไม่มีประกัน ส่งผลต่อข้อกำหนดการฟ้องคดีล้มละลาย
การฟ้องคดีล้มละลายในกรณีที่โจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกัน ปัญหาว่าโจทก์ต้องปฏิบัติตามมาตรา 10(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกเป็นประเด็นต่อสู้ไว้ เพิ่งมีประเด็นขึ้นในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ โจทก์ออกเงินชำระหนี้ค่าซื้อหุ้นในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยเมื่อจำเลยไม่ชำระเงินค่าซื้อหุ้น โจทก์มีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นดังกล่าวที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ไว้ได้จนกว่าจะได้รับเงินที่ค้างชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 819 ดังนี้โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันเพราะเป็นผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงเหนือใบหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์ของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 6 แต่เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยยอมให้โจทก์มีสิทธิขายใบหุ้นที่โจทก์ยึดหน่วงไว้เพื่อชำระหนี้โจทก์ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้มีประกันเดิมจึงระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงไม่ต้องบอกกล่าวในฟ้องตามที่ระบุไว้ในมาตรา 10(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2099/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ล้มละลายพ้นกำหนด - ศาลอุทธรณ์ชอบแล้ว
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีผลเป็นคำพิพากษา คู่ความจะต้องอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 หลังจากศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลายแล้ว จำเลยที่ 2อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 เป็นคนสัญชาติและเชื้อชาติ พม่า ได้ เดินทางออกไปจากราชอาณาจักรไทยก่อนโจทก์ฟ้องเกินกว่า 1 ปี จำเลยที่ 2ไม่เคยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องการดำเนิน กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ เมื่อพ้นกำหนด 1เดือนนับแต่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายหลังจากศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษา จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2จึงชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2099/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์พ้นกำหนดและไม่เกี่ยวกับกระบวนพิจารณาหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถือเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีผลเป็นคำพิพากษา ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา คู่ความจะต้องอุทธรณ์ภายในกำหนด 1เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ประกอบ พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯมาตรา 153
หลังจากศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลายแล้วจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 เป็นคนสัญชาติและเชื้อชาติพม่า ได้เดินทางออกไปจากราชอาณาจักรไทยก่อนโจทก์ฟ้องเกินกว่า 1 ปี จำเลยที่ 2 ไม่เคยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายปัญหาที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนด 1เดือน นับแต่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายหลังจากศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษา จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 จึงชอบแล้ว.
หลังจากศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลายแล้วจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 เป็นคนสัญชาติและเชื้อชาติพม่า ได้เดินทางออกไปจากราชอาณาจักรไทยก่อนโจทก์ฟ้องเกินกว่า 1 ปี จำเลยที่ 2 ไม่เคยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายปัญหาที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนด 1เดือน นับแต่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายหลังจากศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษา จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 จึงชอบแล้ว.