คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 6

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 85 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2099/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์หลังพ้นกำหนดในคดีล้มละลาย ถือเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีผลเป็นคำพิพากษา คู่ความจะต้องอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
หลังจากศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลายแล้ว จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 เป็นคนสัญชาติและเชื้อชาติพม่า ได้ เดินทางออกไปจากราชอาณาจักรไทยก่อนโจทก์ฟ้องเกินกว่า 1 ปี จำเลยที่ 2 ไม่เคยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ เมื่อพ้นกำหนด 1 เดือนนับแต่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายหลังจากศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษา จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2099/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีผลเป็นคำพิพากษา ต้องอุทธรณ์ภายใน 1 เดือน หากพ้นกำหนดเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีผลเป็นคำพิพากษา ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา คู่ความจะต้องอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 หลังจากศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลายแล้ว จำเลยที่ 2อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 เป็นคนสัญชาติและเชื้อชาติพม่า ได้เดินทางออกไปจากราชอาณาจักรไทยก่อนโจทก์ฟ้องเกินกว่า 1 ปี จำเลยที่ 2ไม่เคยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เป็นเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยที่ 2 อุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนด 1 เดือนนับแต่ศาลอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายหลังจากศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3036/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สิ้นสุดหลังจำหน่ายคดีล้มละลาย ห้ามใช้กระบวนการเดิมในคดีอื่น
ในคดีล้มละลายเรื่องก่อนซึ่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ได้มีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้อง และเรียกผู้รับมอบอำนาจผู้ร้องมาทำารสอบสวนแล้วขณะคดีอยู่ในระหว่างการดำเนินการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จำเลยได้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีนี้ ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีล้มละลายเรื่องก่อนดังนี้ อำนาจของเจ้าพนักงนพิทักษ์ทรัพย์ในคดีก่อนย่อมหมดไปกระบวนพิจารณาล้มละลายที่ดำเนินไปแล้วซึ่งมีผลเฉพาะคดีนั้นเป็นอันยุติ แม้จะเป็นมูลหนี้รายเดียวกันหรือผู้ที่จะต้องรับผิดเป็นบุคคลคนเดียวกัน ก็ไม่อาจนำกระบวนพิจารณาที่ดำเนินไปแล้วนั้นมาใช้กับคดีนี้หรือคดีอื่นได้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้ที่ค้างชำระโดยไม่ได้แจ้งความเป็นหนังสือให้ผู้ร้องชำระหนี้ ไม่ให้โอกาสผู้ร้องปฏิเสธหนี้ และไม่มีการสอบสวน โดยถือเอากระบวนพิจารณาที่กระทำไปแล้วในคดีก่อนมาเป็นกระบวนพิพากษาคดีนี้นั้น หนังสือยืนยันหนี้ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3036/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สิ้นสุดเมื่อศาลจำหน่ายคดีล้มละลาย แม้หนี้สินจะยังคงอยู่
ในคดีล้มละลายเรื่องก่อนซึ่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้อง และเรียกผู้รับมอบอำนาจผู้ร้องมาทำการสอบสวนแล้ว ขณะคดีอยู่ในระหว่างการดำเนินการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยได้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีนี้ ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีล้มละลายเรื่องก่อน ดังนี้ อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีก่อนย่อมหมดไป กระบวนพิจารณาล้มละลายที่ดำเนินไปแล้วซึ่งมีผลเฉพาะคดีนั้นเป็นอันยุติ แม้จะเป็นมูลหนี้รายเดียวกันหรือผู้ที่จะต้องรับผิดเป็นบุคคลคนเดียวกัน ก็ไม่อาจนำกระบวนพิจารณาที่ดำเนินไปแล้วนั้นมาใช้กับคดีนี้หรือคดีอื่นได้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้ที่ค้างชำระโดยไม่ได้แจ้งความเป็นหนังสือให้ผู้ร้องชำระหนี้ ไม่ให้โอกาสผู้ร้องปฏิเสธหนี้ และไม่มีการสอบสวนโดยถือเอากระบวนพิจารณาที่กระทำไปแล้วในคดีก่อนมาเป็นกระบวนพิพากษาคดีนี้ หนังสือยืนยันหนี้ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3036/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สิ้นสุดเมื่อศาลจำหน่ายคดีล้มละลาย แม้เป็นหนี้เดิมก็ไม่อาจใช้กระบวนพิจารณาเดิมได้
ในคดีล้มละลายเรื่องก่อนซึ่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ได้มีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้อง และเรียกผู้รับมอบอำนาจผู้ร้องมาทำารสอบสวนแล้วขณะคดีอยู่ในระหว่างการดำเนินการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์จำเลยได้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีนี้ ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีล้มละลายเรื่องก่อนดังนี้ อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีก่อนย่อมหมดไปกระบวนพิจารณาล้มละลายที่ดำเนินไปแล้วซึ่งมีผลเฉพาะคดีนั้นเป็นอันยุติ แม้จะเป็นมูลหนี้รายเดียวกันหรือผู้ที่จะต้องรับผิดเป็นบุคคลคนเดียวกัน ก็ไม่อาจนำกระบวนพิจารณาที่ดำเนินไปแล้วนั้นมาใช้กับคดีนี้หรือคดีอื่นได้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้ที่ค้างชำระโดยไม่ได้แจ้งความเป็นหนังสือให้ผู้ร้องชำระหนี้ ไม่ให้โอกาสผู้ร้องปฏิเสธหนี้ และไม่มีการสอบสวน โดยถือเอากระบวนพิจารณาที่กระทำไปแล้วในคดีก่อนมาเป็นกระบวนพิพากษาคดีนี้นั้น หนังสือยืนยันหนี้ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงหุ้นและการฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้มีประกันต้องปฏิบัติตามมาตรา 10(2) พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายอ้างว่าโจทก์เป็นตัวแทนซื้อหุ้นของบริษัทให้แก่จำเลยผู้เป็นตัวการ โจทก์ได้ออกเงินทดรองชำระค่าหุ้นดังกล่าวแทนจำเลยไปก่อน เช่นนี้โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นสำหรับหุ้นที่โจทก์ซื้อแทนจำเลยและยังคงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ได้จนกว่าจำเลยจะชำระเงินที่โจทก์ทดรองออกแทนจำเลยไปก่อน ทั้งนี้ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241, 244 และ 819 แม้การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 ก็เป็นเรื่องจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์เท่านั้น สิทธิยึดหน่วงของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หาได้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่ เมื่อโจทก์มีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลย โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 6 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1725/2528) ฉะนั้นการที่ฟ้องให้จำเลยล้มละลายโจทก์จึงต้องปฏิบัติตาม มาตรา 10 (2) โดยกล่าวมาในฟ้องว่าถ้าจำเลยล้มละลายแล้วโจทก์ยอมสละหุ้นของจำเลยแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหุ้นดังกล่าวมาในฟ้องด้วย เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว ฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงและการฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้มีประกันต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ได้ออกเงินทดรองชำระค่าหุ้นแทนจำเลยไปในฐานะตัวแทนซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นตัวการโจทก์ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นเหล่านั้นที่ยังคงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ได้จนกว่าจำเลยจะชำระเงินที่โจทก์ออกทดรองแทนจำเลยไปตาม ป.พ.พ.มาตรา241,244และ819 การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามพ.ร.บ.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้นไม่ทำให้สิทธิยึดหน่วงของโจทก์ตาม ป.พ.พ.เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่ดังนั้นเมื่อโจทก์มีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลยโจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายมาตรา6และในการฟ้องให้จำเลยล้มละลายนั้นโจทก์จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายมาตรา10(2)โดยกล่าวมาในฟ้องว่าถ้าจำเลยล้มละลายแล้วโจทก์ยอมสละหุ้นของจำเลยแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายหรือตีราคาหุ้นดังกล่าวมาในฟ้องด้วยมิฉะนั้นแล้วฟ้องของโจทก์ย่อมเป็นฟ้องที่ไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงหุ้นและการฟ้องล้มละลาย เจ้าหนี้มีประกันต้องปฏิบัติตามมาตรา 10(2) พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายอ้างว่าโจทก์เป็นตัวแทนซื้อหุ้นของบริษัทให้แก่จำเลยผู้เป็นตัวการโจทก์ได้ออกเงินทดรองชำระค่าหุ้นดังกล่าวแทนจำเลยไปก่อนเช่นนี้โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นสำหรับหุ้นที่โจทก์ซื้อแทนจำเลยและยังคงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ได้จนกว่าจำเลยจะชำระเงินที่โจทก์ทดรองออกแทนจำเลยไปก่อนทั้งนี้ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา241,244และ819แม้การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพ.ศ.2517ก็เป็นเรื่องจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์เท่านั้นสิทธิยึดหน่วงของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หาได้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่เมื่อโจทก์มีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลยโจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา6(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1725/2528)ฉะนั้นการที่ฟ้องให้จำเลยล้มละลายโจทก์จึงต้องปฏิบัติตามมาตรา10(2)โดยกล่าวมาในฟ้องว่าถ้าจำเลยล้มละลายแล้วโจทก์ยอมสละหุ้นของจำเลยแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายหรือตีราคาหุ้นดังกล่าวมาในฟ้องด้วยเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4004/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความอุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลาย การโต้แย้งต้องทำภายใน 1 เดือนนับแต่วันอ่านคำสั่ง
ลูกหนี้อุทธรณ์โต้แย้งว่า ลูกหนี้มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินไม่ต้องล้มละลาย มิได้อุทธรณ์ว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ตรงกับรายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานต่อศาลไม่ตรงกับมติที่ประชุมเจ้าหนี้หรือไม่ตรงต่อข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับพฤติการณ์ของเจ้าหนี้ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 61 จึงมิใช่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่เป็นการโต้แย้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดี มีสภาพบังคับและมีความหมายเช่นเดียวกับคำพิพากษา ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 6 เมื่อลูกหนี้ประสงค์จะโต้แย้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ก็ต้องอุทธรณ์ภายใน 1 เดือนนับแต่วันอ่านคำสั่งนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงและสถานะเจ้าหนี้มีประกันจากการเป็นตัวแทนซื้อหุ้น
เจ้าหนี้ได้ออกเงินชำระหนี้ค่าซื้อหุ้นแทนจำเลยไปในฐานะเป็นตัวแทนซื้อหุ้นให้จำเลยในตลาดหลักทรัพย์เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นเหล่านั้นอันตกอยู่ในความครอบครองของเจ้าหนี้ไว้ได้จนกว่าจะได้รับเงินบรรดาค้างชำระแก่ตนเพราะการเป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 819 การที่เจ้าหนี้เป็นผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทนย่อมถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483มาตรา 6เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้โดยขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันคือใบหุ้น แล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ได้ตามมาตรา 96(3)
of 9