คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2157/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การจับกุมต้องแจ้งข้อหาและควบคุมตัว หากไม่เป็นไปตามนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการจับกุม
พนักงานสอบสวนสั่งให้เจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยด้วยวาจาโดยไม่ได้ออกหมายจับ และเจ้าพนักงานตำรวจที่ไปจับจำเลยนั้นไม่ได้เป็นนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งจะจับจำเลยได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีหมายจับเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้แล้วได้ส่งมอบตัวจำเลยต่อพนักงานสอบสวนพนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งข้อหาแก่จำเลย และไม่ได้ควบคุมตัวจำเลยไว้หรือให้ประกันตัวไป เพียงแต่นัดให้จำเลยมาสถานีตำรวจในวันรุ่งขึ้นเท่านั้นพฤติการณ์เช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่า จำเลยได้ถูกจับตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 639/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีพรากผู้เยาว์ใหม่เมื่อมีข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลง และผลของการแถลงไม่ติดใจสืบพยาน
แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพว่าจำเลยได้พรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร แต่เมื่อผู้เยาว์ได้ยื่นคำร้องขึ้นมาว่าเหตุเกิดเนื่องจากถูกบิดาเลี้ยงดุด่าและตีไล่ให้ออกจากบ้าน จึงไปอาศัยจำเลยซึ่งเป็นคนรู้จักชอบพอกันมาก่อน จำเลยทั้งสองก็ได้ให้ความอุปการะตลอดมาเช่นนี้ ย่อมทำให้เกิดข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ เมื่อโจทก์จำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยานศาลย่อมฟังตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นใหม่นี้ได้
เมื่อโจทก์ฟ้องแล้ว และจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลย่อมทำคำพิพากษาได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 20 และขณะที่คดีอยู่ในอำนาจของศาลแล้วได้ปรากฏข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ โจทก์เองก็มิได้ขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นอย่างอื่น กลับแถลงไม่ติดใจสืบพยาน เพื่อหักล้างข้อเท็จจริงนั้น ศาลย่อมทำคำพิพากษาตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่นั้นได้ โจทก์จะกลับมาขอให้ศาลสั่งให้โจทก์รับตัวผู้ต้องหาคืนเพื่อดำเนินการต่อไปไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้าม หากศาลแขวงชี้ขาดแล้ว
ศาลแขวงพิพากษายกฟ้อง โดยชี้ขาดข้อเท็จจริงว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเรียกโฉนดจากจำเลยมาทำการสอบสวนในกรณีที่มีผู้คัดค้านโต้แย้งการขอรับมรดกโจทก์อุทธรณ์ว่าความจำเป็นมีแล้ว เช่นนี้ เป็นการอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1668/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการฟ้องคดีอาญา: อำนาจฟ้องและขอบเขตการควบคุมตัว
เจ้าพนักงานจับจำเลยฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่แล้วจำเลยถูกควบคุมตัวในฐานเป็นบุคคลอันธพาล ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 ยังไม่เกิน 30 วันการควบคุมตัวจำเลยจึงเป็นคนละเรื่องกับการควบคุมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ฉะนั้น การขอผัดฟ้องก็ดี การขออนุญาตฟ้องจากอธิบดีกรมอัยการก็ดี ย่อมไม่อาจจะเกิดขึ้น โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีหลายกระทง ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาเฉพาะกระทงที่ยังไม่ถึงที่สุด
โจทก์ฟ้องในข้อหาต่างกระทงกันต่อศาลแขวง แม้ข้อหากระทงหนึ่งซึ่งศาลแขวงยกฟ้องจะยุติไปเพราะต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงก็ดี แต่ข้อหากระทงอื่น ซึ่งไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงเพราะไม่ใช่คดีที่อัตราโทษอยู่ในอำนาจศาลแขวงพิจารณาพิพากษาก็หายุติตามไปด้วยไม่และศาลไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงตามกระทงที่ยุติไปเพราะต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงศาลอุทธรณ์จึงต้องพิจารณาข้อเท็จจริงแล้วพิพากษาในกระทงอื่นที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงนั้นต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1556/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มาตรา 22 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง: เหตุยกฟ้องคดีไม่มีมูล
มาตรา 22 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯลฯ หมายถึงการที่ศาลพิพากษายกฟ้อง เพราะคดีไม่มีมูลด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ในคดีแขวง: โจทก์และจำเลยมีสิทธิเท่าเทียมกัน
คดีที่ศาลแขวงพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลย แต่รอการลงโทษไว้ ซึ่งเข้าข้อยกเว้นตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง ฯลฯ มาตรา 22(2) ให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้นั้นย่อมมีความหมายรวมถึงทั้งโจทก์จำเลยมีสิทธิจะอุทธรณ์มิได้หมายถึงให้สิทธิเฉพาะจำเลยที่จะอุทธรณ์ได้แต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น
of 6