คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 415 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14208/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำฟ้องในคดีเช่าซื้อ: สัญญาเป็นโมฆะ ไม่สามารถเรียกคืนทรัพย์ตามสัญญาได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์เพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อ เมื่อสัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อได้ คดีจึงไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ในเรื่องลาภมิควรได้หรือไม่เพราะโจทก์ไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้อง แม้สัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะ จำเลยที่ 1 อาจจะไม่มีสิทธิยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อไว้ก็ตาม แต่เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาตามลักษณะลาภมิควรได้ ซึ่งต้องไปว่ากล่าวกันอีกต่างหาก ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะ จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อไว้ต่อไป โจทก์ย่อมอาศัยอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ติดตามเอารถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจากจำเลยที่ 1 ได้ โดยถือว่าจำเลยที่ 1 ตกอยู่ในฐานะทุจริตนับแต่เวลาที่โจทก์เรียกรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 415 วรรคสอง แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดีหากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคารถแทนนั้น จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องโจทก์ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10651/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลาภมิควรได้จากการถมดินเพิ่มมูลค่าที่ดินพิพาท ศาลกำหนดราคาเพิ่มและดอกเบี้ย
โจทก์ทั้งสองตกลงซื้อที่ดินกับ ส. ซึ่งมีชื่อเป็นเจ้าของที่ดิน และเมื่อไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ก็ไม่ปรากฏว่า มีการแจ้งอายัดที่ดินดังกล่าวไว้ แม้จะมีพิรุธที่มีการจดทะเบียนการโอนจาก ส. ไปยัง ณ. ก่อน แล้วจึงโอนต่อไปให้โจทก์ทั้งสองในวันเดียวกันก็ไม่มีข้อห้ามมิให้กระทำ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องที่ส่อไปในทางทุจริตแต่อย่างใด การที่โจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินแล้วนำมาแบ่งแยกและว่าจ้างให้ ช. ถมดินและปรับสภาพที่ดินโดยเปิดเผย จึงไม่อาจฟังว่า โจทก์ทั้งสองมีส่วนกระทำการโดยไม่สุจริต และการที่จำเลยรู้เห็นที่โจทก์ทั้งสองถมดินในที่ดินแล้วไม่ขัดขวางหรือแจ้งให้โจทก์ทั้งสองทราบว่า ที่ดินมีข้อโต้แย้งฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ ก็ยังไม่อาจถือว่า จำเลยกระทำการโดยไม่สุจริตเช่นกัน
การที่จำเลยได้ที่ดินมาเป็นของตนตามคำพิพากษาศาลฎีกาโดยได้ดินที่โจทก์ทั้งสองถมไว้โดยสุจริตไปด้วย อันทำให้มูลค่าที่ดินเพิ่มขึ้น ถือได้ว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ จึงเป็นลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 จำเลยต้องคืนดินที่ถมให้แก่โจทก์ทั้งสอง แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ทั้งสองได้ปรับปรุงถมดินในที่ดินของจำเลยเป็นเวลานานถึง 20 ปีเศษ ดินที่นำมาถมจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 139 จึงไม่อาจคืนดินที่ถมได้ เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่ได้ฟ้องขอให้จำเลยคืนดิน แต่ขอให้จำเลยใช้ค่าใช้จ่ายในการถมดินและปรับปรุงที่ดิน ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายอย่างอื่นที่เสียไปอันทำให้ที่ดินของจำเลยมีราคาขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 417 ที่บัญญัติให้โจทก์ทั้งสองเรียกจากจำเลยได้เพียงราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่เมื่อพิเคราะห์ถึงสถานที่ตั้งของที่ดิน เนื้อที่ดิน ตลอดจนสภาวะเศรษฐกิจ และราคาซื้อขายที่ดินในขณะที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีแล้ว เห็นควรกำหนดให้จำเลยใช้ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงิน 1,200,000 บาท
หนี้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่ไม่ปรากฏว่า โจทก์ทั้งสองได้เรียกให้จำเลยใช้เงินในกรณีนี้แก่โจทก์ทั้งสองในวันใด จึงต้องถือว่า วันที่โจทก์ทั้งสองฟ้องเป็นวันที่โจทก์ทั้งสองเรียกให้จำเลยใช้เงินดังกล่าว แต่จำเลยไม่ใช้ให้ อันเป็นเหตุให้จำเลยตกอยู่ในฐานะทุจริตจำเดิมแต่เวลาที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ตามมาตรา 415 วรรคสอง และตกเป็นผู้ผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และมาตรา 204 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4941/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะสัญญาซื้อขายที่ดินช่วงห้ามโอน อายุความคืนเงิน และการคำนวณดอกเบี้ย
ศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างที่พิพาทยังอยู่ในระยะเวลาห้ามโอนตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511มาตรา12โจทก์จะอ้างว่าไม่รู้ว่าเป็นบทกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่ข้อที่ว่าโจทก์รู้หรือไม่รู้ว่ามีบทกฎหมายดังกล่าวหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดปัญหานี้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค1หยิบยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์ไม่ทราบว่าการซื้อขายที่พิพาทจะเป็นโมฆะในขณะตกลงซื้อขายกันแต่เพิ่งทราบเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีอื่นจึงถือว่าโจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนเงินจากจำเลยตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาในคดีอื่นนั้นเมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน1ปีคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อการซื้อขายที่พิพาทตกเป็นโมฆะตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในคดีอื่นดังนั้นเงินค่าที่พิพาทที่จำเลยผู้ขายได้รับจากโจทก์ผู้ซื้อจึงต้องคืนแก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้หากมีการเรียกเงินดังกล่าวคืนเมื่อจำเลยไม่คืนให้ต้องถือว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะทุจริตจำเดิมแต่เวลาที่ถูกเรียกคืนและตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่เวลานั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ได้เรียกให้จำเลยคืนเงินให้แก่โจทก์ต้องถือว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยคืนเงินนับแต่วันฟ้อง ที่พิพาทราคา250,000บาทการที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนจากจำเลยเป็นจำนวน410,000บาทจึงเกินไปจากราคาที่พิพาทที่โจทก์มีสิทธิเรียกคืนแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4941/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่พิพาทตกเป็นโมฆะจาก พ.ร.บ.จัดที่ดินฯ และอายุความการเรียกคืนเงิน
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างที่พิพาทยังอยู่ในระยะเวลาห้ามโอนตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 12 โจทก์จะอ้างว่าไม่รู้ว่ามีบทกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่ ข้อที่ว่าโจทก์รู้หรือไม่รู้ว่ามีบทกฎหมายดังกล่าวหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดปัญหานี้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ไม่ทราบว่าการซื้อขายที่พิพาทจะเป็นโมฆะในขณะตกลงซื้อขายกัน แต่เพิ่งทราบเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีอื่น จึงถือว่าโจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนเงินจากจำเลยตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาในคดีอื่นนั้น เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อการซื้อขายที่พิพาทตกเป็นโมฆะตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในคดีอื่น ดังนั้น เงินค่าที่พิพาทที่จำเลยผู้ขายได้รับจากโจทก์ผู้ซื้อจึงต้องคืนแก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้ หากมีการเรียกเงินดังกล่าวคืน เมื่อจำเลยไม่คืนให้ต้องถือว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะทุจริตจำเดิมแต่เวลาที่ถูกเรียกคืนและตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่เวลานั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ได้เรียกให้จำเลยคืนเงินให้แก่โจทก์ ต้องถือว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยคืนเงินนับแต่วันฟ้อง
ที่พิพาทราคา 250,000 บาท การที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนจากจำเลยเป็นจำนวน 410,000 บาท จึงเกินไปจากราคาที่พิพาทที่โจทก์มีสิทธิเรียกคืนแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้