คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 624

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายสินค้าสูญหายจากการขนส่งทางทะเล: ใช้มาตรา 624 พ.ร.บ.แพ่งและพาณิชย์
อายุความฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าหรือสิ่งของที่ขนส่งทางทะเล ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในบรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 ว่าด้วยรับขนของ อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 วรรคสามปรากฏว่าผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับตราส่งรับสินค้าไปเมื่อ พ.ศ. 2522และ 2523 โจทก์รับช่วงสิทธิจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับตราส่งมาฟ้องเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2526 คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายสินค้าสูญหายจากการขนส่งทางทะเล
ปัจจุบันกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลของประเทศ ไทย ยังไม่มี ในเรื่องอายุความฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าหรือสิ่งของที่ขนส่งทางทะเล ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 624 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในบรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1ว่าด้วยรับขนของ อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 วรรคสาม เมื่อปรากฏว่าผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับตราส่งรับสินค้าไปเมื่อพุทธศักราช 2522 และ 2523 โจทก์รับช่วงสิทธิเรียกร้องจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับตราส่งมาฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายและบุบสลายของสินค้าเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2526 คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ. (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2532)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3248/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล กรณีสินค้าเสียหายจากกลิ่นปลา และอายุความในการเรียกร้องค่าเสียหาย
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยรับขนทางทะเลใช้บังคับและไม่ปรากฎว่ามีประเพณีการรับขนของทางทะเลที่ถือปฎิบัติกันอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะรับขนในหมวดรับขนของอันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี ซึ่งในเรื่องความรับผิดของผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 จำเลย ผู้ขนส่งมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าสินค้ากระดาษทิชชูเช็ดหน้าที่รับขนได้รับความเสียหายมีกลิ่นปลาบดเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเอง หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ส่งหรือผู้รับตราส่ง เมื่อจำเลยไม่สืบพยานจึงต้องฟังว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายนั้น การเรียกค่าเสียหายกรณีรับขนทางทะเลต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด10 ปี จะนำอายุความ 1 ปีตามมาตรา 624 มาใช้บังคับโดยถือว่าเป็นกฎหมายใกล้เคียงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล กรณีสินค้าสูญหาย และอายุความในการฟ้องร้องค่าเสียหาย
เรือต้องคลื่นลมแรงและสภาวะอากาศที่เลวร้ายมากในระหว่างทาง เมื่อไม่ปรากฏว่าคลื่นลมและสภาวะอากาศดังกล่าวมีความร้ายแรงถึงขนาดที่ไม่อาจจะป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าในเรือได้ คลื่นลมและสภาวะอากาศเช่นนั้นจึงมิใช่เหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 8 อันจะทำให้ผู้ขนส่งหลุดพ้นความรับผิดในกรณีสินค้าสูญหายระหว่างการขนส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
ป.พ.พ. มาตรา 824 บัญญัติให้ตัวแทนในประเทศรับผิดแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศต่อบุคคลภายนอกก็เฉพาะแต่กรณีที่ตัวแทนผู้นั้นได้ทำสัญญากับบุคคลภายนอกแทนตัวการเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทำสัญญาขนส่งสินค้ากับบุคคลภายนอกแทนตัวการ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาดังกล่าวแต่ลำพังตนเอง
จำเลยเป็นผู้ทำหน้าที่ขนถ่ายสินค้าจากเรือไปเก็บในคลังสินค้า เป็นผู้จัดหาผู้รับเหมามาจัดการขนถ่ายสินค้า เป็นตัวแทนเรือเดินทะเลหลายบริษัทรวมทั้งบริษัทฟ. ซึ่งไม่มีตัวแทนอื่นในประเทศไทย และหากมีผู้ใดต้องการส่งสินค้าโดยเรือของบริษัท ฟ. จำเลยจะเป็นผู้รับติดต่อและเป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่งสินค้า และเก็บค่าระวางเรือส่งไปให้เจ้าของเรือ เมื่อเรือของบริษัทดังกล่าวมาถึงประเทศไทยจำเลยมีหน้าที่ต้องติดต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทำการขนถ่ายสินค้า แจ้งให้ลูกค้าผู้สั่งซื้อสินค้าทราบถึงกำหนดเรือเข้า ออกใบปล่อยสินค้าเพื่อให้ลูกค้านำไปขอรับสินค้า และจำเลยรับเอาใบตราส่งจากลูกค้าไว้ พฤติการณ์เช่นนี้ของจำเลยเป็นลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้าและเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยทำหน้าที่ผู้ขนส่งทอดหลังที่สุด จำเลยจึงต้องรับผิดร่วมด้วยในกรณีสินค้าที่ขนส่งสูญหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล
การรับขนของจากต่างประเทศมายังประเทศไทยทางทะเล แม้ของจะมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็ยังเป็นสัญญาในการรับขนของทางทะเล ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการรับขนทางทะเลโดยเฉพาะการเรียกร้องค่าเสียหายจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 มีกำหนด 10 ปี ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงยิ่งกว่าที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ลักษณะ 8 เรื่องรับขน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1665/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งร่วมในสัญญาขนส่งทางทะเลและการกำหนดอายุความ
บริษัทผู้ขนส่งไม่มีสำนักงานสาขาในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศปลายทางการขนส่งรายนี้จำเลยเข้าไปเกี่ยวข้อง โดยดำเนินการแจ้งวันมาถึงของเรือสินค้าแก่ผู้รับตราส่งขออนุมัติให้เรือเข้าเทียบท่า ขอเช่าเครื่องมืออุปกรณ์การขนถ่ายสินค้า รับคืนใบตราส่งแลกกับใบปล่อยสินค้าเพื่อให้เจ้าของใบตราส่งนำไปขอรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยการดำเนินงานของจำเลยในช่วงนี้เป็นขั้นตอนสำคัญของการขนส่งและจำเลยได้รับบำเหน็จทางการค้าตามปกติของตน พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้าและเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล ฉะนั้น เมื่อมีการบุบสลายและสูญหายในสินค้าที่รับขนส่ง จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล
การรับขนของจากต่างประเทศมายังประเทศไทยทางทะเล แม้ของจะมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็ยังเป็นสัญญาในการรับขนของทางทะเลปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลโดยเฉพาะการเรียกค่าเสียหายจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามมาตรา 164 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมีกำหนด 10 ปีส่วนอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 ไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลจะนำมาใช้บังคับไม่ได้และจะถือว่าเป็นกฎหมายใกล้เคียงก็ไม่ได้เพราะมาตรา 164 บังคับไว้ชัดแจ้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1665/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนส่งหลายทอดทางทะเล ผู้ขนส่งร่วมรับผิดชอบความเสียหายต่อสินค้า
บริษัทผู้ขนส่งไม่มีสำนักงานสาขาในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศปลายทางการขนส่งรายนี้จำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องโดยดำเนินการแจ้งวันมาถึงของเรือสินค้าแก่ผู้รับตราส่งขออนุมัติให้เรือเข้าเทียบท่าขอเช่าเครื่องมืออุปกรณ์การขนถ่ายสินค้ารับคืนใบตราส่งแลกกับใบปล่อยสินค้าเพื่อให้เจ้าของใบตราส่งนำไปขอรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยการดำเนินงานของจำเลยในช่วงนี้เป็นขั้นตอนสำคัญของการขนส่งและจำเลยได้รับบำเหน็จทางการค้าตามปกติของตนพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้าและเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล ฉะนั้น เมื่อมีการบุบสลายและสูญหายในสินค้าที่รับขนส่ง จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล
การรับขนของจากต่างประเทศมายังประเทศไทยทางทะเล แม้ของจะมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็ยังเป็นสัญญาในการรับขนของทางทะเลปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลโดยเฉพาะการเรียกค่าเสียหายจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามมาตรา 164 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมีกำหนด 10ปีส่วนอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624ไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลจะนำมาใช้บังคับไม่ได้และจะถือว่าเป็นกฎหมายใกล้เคียงก็ไม่ได้ เพราะมาตรา164 บังคับไว้ชัดแจ้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศและการกำหนดอายุความ
ผู้ขายสินค้าในต่างประเทศว่าจ้างบริษัท ฟ. และบริษัท ว.ซึ่งเป็นบริษัทอยู่ในต่างประเทศ ทำการขนส่งสินค้าจากต่างประเทศมาให้ผู้ซื้อในประเทศไทย บริษัท ฟ. และ บริษัท ว.ไม่มีสาขาในประเทศไทย จึงว่าจ้างจำเลยทำการขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเลมาที่หน้าการท่าเรือแห่งประเทศไทย จำเลยเป็นผู้ติดต่อกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยขออนุญาตนำเรือเข้าจอดเทียบท่าและจัดการหาคนหรือเครื่องมือขนถ่ายสินค้าออกจากเรือเดินทะเลนำไปที่หน้าท่าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยมีหน้าที่ลงแจ้งความในหนังสือพิมพ์ให้ผู้รับตราส่งทราบและผู้รับตราส่งต้องนำใบตราส่งมาแลกกับใบปล่อยสินค้าซึ่งจำเลยเป็นผู้ออก เพื่อนำไปรับสินค้าจากคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย การดำเนินการของจำเลยดังกล่าวมีลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้ากับบริษัท ฟ. และบริษัท ว.และเป็นการขนส่งหลายทอดโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายจำเลยจึงต้องรับผิดในการสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าที่ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618
ปัจจุบันกฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มี การฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในการที่ของสูญหายหรือบุบสลายจึงมีอายุความ 10 ปี นับแต่ผู้รับตราส่งได้รับสินค้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในกรณีสินค้าสูญหายหรือเสียหาย และอายุความฟ้องร้อง
ผู้ขายสินค้าในต่างประเทศว่าจ้างบริษัท ฟ.และบริษัทว. ซึ่งเป็นบริษัทอยู่ในต่างประเทศ ทำการขนส่งสินค้าจากต่างประเทศมาให้ผู้ซื้อในประเทศไทย บริษัท ฟ.และบริษัท ว. ไม่มีสาขาในประเทศไทย จึงว่าจ้างจำเลยทำการขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเลมาที่หน้าการท่าเรือแห่งประเทศไทย จำเลยเป็นผู้ติดต่อกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยขออนุญาตนำเรือเข้าจอดเทียบท่าและจัดการหาคนหรือเครื่องมือขนถ่ายสินค้าออกจากเรือเดินทะเลนำไปที่หน้าท่าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยมีหน้าที่ลงแจ้งความในหนังสือพิมพ์ให้ผู้รับตราส่งทราบและผู้รับตราส่งต้องนำใบตราส่งมาแลกกับใบปล่อยสินค้าซึ่งจำเลยเป็นผู้ออก เพื่อนำไปรับสินค้าจากคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย การดำเนินการของจำเลยดังกล่าวมีลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้ากับบริษัท ฟ.และบริษัทว. และเป็นการขนส่งหลายทอดโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย จำเลยจึงต้องรับผิดในการสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าที่ขนส่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618
ปัจจุบันกฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มี การฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในการที่ของสูญหายหรือบุบสลายจึงมีอายุความ 10ปี นับแต่ผู้รับตราส่งได้รับสินค้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีรับขนของทางทะเล: ใช้ 10 ปี หากไม่มีกฎหมายเฉพาะ
คดีเกี่ยวกับกฎหมายทะเลต้องบังคับตามกฎหมายและกฏข้อบังคับว่าด้วยการนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคท้าย แต่ปัจจุบันนี้กฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มี อายุความฟ้องร้องจึงมีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 จะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 มาใช้บังคับหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1295/2516)
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเกี่ยวกับการขนสินค้าทางทะเลเนื่องจากถุงบรรจุสินค้าฉีกขาดสินค้าสูญหาย จำเลยให้การด้วยว่า ตามเงื่อนไขในใบตราส่งมีข้อยกเว้นให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในกรณีสินค้าสูญหายเกิดจากการรั่วของภาชนะที่บรรจุศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ข้อยกเว้นความผิดตามใบตราส่งเป็นโมฆะ แต่เมื่อคดีโจทก์ขาดอายุความโจทก์ต้องแพ้ พิพากษายกฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น และแม้จะว่ากล่าวโต้แย้งประเด็นข้อนี้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำแก้อุทธรณ์ เพราะเหตุจำเลยมิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จึงถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงต้องห้ามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องกรณีรับขนของทางทะเล ใช้ 10 ปี หากไม่มีกฎหมายเฉพาะ
คดีเกี่ยวกับกฎหมายทะเลต้องบังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคท้าย แต่ปัจจุบันนี้กฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของ ทางทะเลยังไม่มี อายุความฟ้องร้องจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 จะยกอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 มาใช้บังคับหาได้ไม่ (อ้าง คำพิพากษาฎีกาที่ 1295/2516)
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเกี่ยวกับการขนสินค้าทางทะเลเนื่อง จากถุงบรรจุสินค้าฉีกขาดสินค้าสูญหายจำเลยให้การด้วยว่าตามเงื่อนไขใน ใบตราส่งมีข้อยกเว้นให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในกรณีสินค้าสูญหายเกิดจากการ รั่วของภาชนะที่บรรจุศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ข้อยกเว้นความรับผิดตามใบตราส่งเป็นโมฆะ แต่เมื่อคดีโจทก์ขาดอายุความโจทก์ต้องแพ้พิพากษายกฟ้องเมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น และแม้จะว่ากล่าวโต้แย้งประเด็นข้อนี้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำแก้อุทธรณ์เพราะเหตุจำเลยมิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดจึงถือไม่ได้ว่าเป็น ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 6