คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 67

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5429/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จำกัดเฉพาะทรัพย์สินลูกหนี้ที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น ไม่สามารถล่วงล้ำไปยังทรัพย์สินของบุคคลอื่นหรือนิติบุคคลอื่นได้
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ได้บัญญัติถึงวิธีการจัดกิจการและรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้ล้มละลายไว้ตามมาตรา 24 และมาตรา 22 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเข้าจัดการได้เฉพาะทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ซึ่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น หาได้มีอำนาจล่วงล้ำไปถึงการจัดการทรัพย์สินของบุคคลอื่นไม่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลยที่ 3 มิได้เป็นลูกหนี้ผู้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจเข้าไปจัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ได้ แม้จำเลยที่ 3 จะมีสิทธิได้รับแบ่งคืนทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ก็เป็นเรื่องที่มีมาภายหลังเพียงเท่าที่ไม่ต้องเอาไว้ใช้ในการชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนนั้นเท่านั้น ดังที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ. มาตรา 1269 เหตุนี้จึงมิได้เกี่ยวข้องกับกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ร้องขอเป็นผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5429/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จำกัดเฉพาะทรัพย์สินลูกหนี้ล้มละลาย ไม่ล่วงล้ำจัดการทรัพย์สินนิติบุคคลแยกต่างหาก
พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ได้บัญญัติถึงวิธีการจัดกิจการและรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้ล้มละลายไว้ตามมาตรา24และมาตรา22ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเข้าจัดการได้เฉพาะทรัพย์สินของจำเลยที่3ซึ่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นหาได้มีอำนาจล่วงล้ำไปถึงการจัดการทรัพย์สินของบุคคลอื่นไม่ห้างหุ้นส่วนจำกัดพ.ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลยที่3มิได้เป็นลูกหนี้ผู้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือเป็นบุคคลล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจเข้าไปจัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดพ.ได้แม้จำเลยที่3จะมีสิทธิได้รับแบ่งคืนทรัพย์สินของห้างหุ้นจำกัดพ. ก็เป็นเรื่องที่มีมาภายหลังเพียงเท่าที่ไม่ต้องเอาไว้ใช้ในการชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนนั้นเท่านั้นดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1269เหตุนี้จึงมิได้เกี่ยวข้องกับกองทรัพย์สินของจำเลยที่3ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ร้องขอเป็นผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดพ.จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6106/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี, หนังสือค้ำประกัน, และความรับผิดของผู้บริหารบริษัทเงินทุน
จำเลยที่ 3 ไม่ได้อ้างเหตุในคำให้การว่า ช. และ ก.ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเพราะเหตุใด ดังนี้คำให้การปฏิเสธของจำเลยที่ 3 ไม่มีเหตุแห่งการนั้นจำเลยที่ 3 จึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบตามคำให้การดังกล่าวเมื่อโจทก์นำสืบโดยมีหนังสือรับรองของนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครมาแสดงว่าขณะที่โจทก์ฟ้อง ช. และก. เป็นกรรมการของโจทก์ผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ดำเนินการแทนโจทก์ได้ และมีหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ ซึ่ง ช. และ ก. ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์มอบอำนาจให้ ธ.ฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดคดีนี้รวมทั้งแต่งตั้งทนายความได้ด้วย ทั้ง ธ. ผู้รับมอบอำนาจเบิกความประกอบหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวยืนยันว่า ช. และก.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ดังนี้ ธ.ย่อมเป็นผู้รับมอบอำนาจโจทก์ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ส. เป็นทนายความฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ประเด็นข้อที่จำเลยฎีกา จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ ก็ถือไมไ่ด้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่จำเลยที่ 3 ทำหนังสือค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1เกิดจากความรับผิดชอบของจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้บริหารงานของบริษัทเงินทุนโจทก์เพื่อมิให้เกิดผลเสียหายแก่ประชาชนที่นำเงินมาฝากโจทก์ และเพราะเกรงว่าโจทก์จะถูกเพิกถอนใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนจากกระทรวงการคลัง เป็นการเข้าค้ำประกันด้วยความสมัครใจ จึงเป็นการยอมตนเข้าผูกพันต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ในเมื่อจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกันนั้น การที่จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในหนังสือค้ำประกันเพราะได้รับแจ้งจากกระทรวงการคลังโดยเจ้าหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าจำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในหนังสือค้ำประกันแล้วจะไม่ดำเนินคดีอาญา ถ้าไม่ลงลายมือชื่อจะดำเนินคดีอาญา เป็นเรื่องที่กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยจะกระทำการตามกฎหมายเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่เป็นการข่มขู่ที่จะทำให้สัญญาค้ำประกันตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 126 และ 127 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปลอมเช็ค-เบิกความเท็จ-ความผิดนิติบุคคล: การกระทำความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารและเบิกความเท็จ รวมถึงความรับผิดของนิติบุคคล
เมื่อเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยทั้งสองอ้างว่าโจทก์สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ค่าขายสินค้าของจำเลยที่ 1ให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยทั้งสองโดยไม่มีอำนาจและมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ได้จัดให้มีการเขียนวันที่สั่งจ่ายลงในเช็คนั้นเพื่อให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลได้รับชำระหนี้อันอยู่ในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1ที่ได้จดทะเบียนไว้และเพื่อให้จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้น จึงเป็นการร่วมกันทำเอกสารปลอมขึ้นบางส่วนโดยการเติมข้อความในเอกสารสิทธิและตั๋วเงินที่แท้จริง เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารแท้จริงที่โจทก์ทำขึ้น โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิและตั๋วเงิน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,264,265,266(4) เมื่อจำเลยทั้งสองนำเช็คปลอมไปเข้าบัญชีเพื่อเรียก เก็บเงิน จึงมีความผิดฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิและตั๋วเงินปลอม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,264 จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เบิกความต่อศาล ในคดีอาญาว่าโจทก์ไม่ใช่พนักงานของจำเลยที่ 1 โจทก์ได้ซื้อสินค้าไปจากจำเลยที่ 1 แล้วสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระค่าสินค้าโดยเช็คดังกล่าวได้เขียนรายการครบถ้วน ซึ่งความจริงแล้วปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้จัดการฝ่ายขายของจำเลยที่ 1ได้สั่งจ่ายเช็คโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่ายให้จำเลยทั้งสองไว้ เพื่อเป็นประกันหนี้ ไม่ใช่เพื่อชำระหนี้ และวันที่สั่งจ่ายในเช็คถือเป็นข้อสำคัญในคดี เพราะหากผู้สั่งจ่ายไม่ลงวันที่สั่งจ่าย ก็ถือว่าไม่ได้ระบุวันในการกระทำผิดผู้สั่งจ่ายเช็คไม่อาจมีความผิดได้ จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 วรรคสอง สำหรับจำเลยที่ 1 ถึงแม้จะเป็นนิติบุคคล แต่การที่จำเลยที่ 2เลิกความดังกล่าวเป็นการเบิกความแทนจำเลยที่ 1ด้วย ทั้งนี้ สังเกต ได้จากการที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2มอบอำนาจให้ ศ. ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนจนมีการดำเนินคดีแก่โจทก์ทางอาญา และพนักงานอัยการฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คการที่จำเลยที่ 2 เบิกความในคดีดังกล่าวจึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 แม้ในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 จะไม่ได้ระบุวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการเบิกความไว้ แต่นิติบุคคลอาจเป็นโจทก์ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นจำเลยในกิจการตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลได้ ดังนั้น ผู้จัดการของนิติบุคคลย่อมต้องเบิกความต่อศาล และถือได้ว่าเป็นการกระทำตามวัตถุประสงค์ขอนิติบุคคลนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 เบิกความแทนจำเลยที่ 1 เป็นเท็จ ก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันเบิกความเท็จ โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2523เวลากลางวัน จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาลในการพิจารณาคดีอาญาหมายเลขดำที่15081/2522 ของศาลชั้นต้น ว่าบริษัทผู้เสียหายได้รับเช็คจากโจทก์เป็นค่าเครื่องไฟฟ้า โจทก์ไม่ใช่พนักงานของบริษัทและเช็คที่รับมามีวันที่สั่งจ่ายเรียบร้อยแล้วเป็นข้อสำคัญในคดีเพราะหากเช็คดังกล่าวสั่งจ่ายเพื่อเป็นประกันหนี้หรือไม่มีวันที่สั่งจ่ายโจทก์ก็ไม่มีความผิดทางอาญา ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่เกิดการกระทำนั้น ๆ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)และครบองค์ประกอบตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177แล้ว คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
of 2