พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11316/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในสิ่งบันทึกเสียงและมาสเตอร์เทป: เจ้าของลิขสิทธิ์คือผู้ผลิตหรือผู้แต่งเพลง? ศาลยืนตามศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นนักประพันธ์เพลงโดยเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานเพลง สิ่งบันทึกเสียงหรือต้นฉบับเพลง 52 เพลง จำเลยทั้งห้าละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์โดยนำสิ่งบันทึกเสียงหรือต้นฉบับเพลงดังกล่าวไปให้ผู้อื่นเช่าและใช้ประโยชน์ ทำซ้ำ ดัดแปลงและเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อการค้าและหากำไรโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยทั้งห้าให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้เป็นผู้สร้างสรรค์และเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานบันทึกเสียงเพลงหรือต้นฉบับเพลง โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย เพลงดังกล่าวจัดทำมาสเตอร์เทปหรือต้นแบบแถบบันทึกเสียงเพลงขึ้นโดยเสียค่าตอบแทนแก่โจทก์แล้ว โจทก์ไม่ใช่เจ้าของมาสเตอร์เทปหรือต้นแบบแถบบันทึกเสียงเพลงดังกล่าว คดีจึงไม่มีประเด็นถึงเรื่องการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในคำร้องและทำนองเพลง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยถึงประเด็นว่า โจทก์ได้โอนขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงซึ่งก็คือคำร้องหรือทำนองเพลงให้แก่จำเลยทั้งห้าหรือไม่ด้วยนั้น เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตามคำฟ้องอันเป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์จะอุทธรณ์ประเด็นนี้ขึ้นมาด้วย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็ไม่อาจรับวินิจฉัยเกี่ยวกับประเด็นนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4438/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์และประกอบกิจการภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลแก้โทษและยกฟ้องบางส่วน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำซ้ำดัดแปลงงานอันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายทั้งยี่สิบเอ็ดตามฟ้องและมีไว้เพื่อขายแก่บุคคลทั่วไปซึ่งงานดังกล่าว เป็นการกระทำหลายกรรมต่างกัน และมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27, 28, 31, 69 และ 70 ป.อาญา มาตรา 91 จำเลยให้การรับสารภาพตามข้อหาในคำฟ้องซึ่งเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27 (1), 28 (1), 31 (1), 69 วรรคสอง และ 70 วรรคสอง การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 67 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (1), 28 (1) เพียงกระทงเดียว จึงไม่ถูกต้อง
พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 53 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ห้ามผู้ใดจัดตั้งหรือประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน โดยมาตรา 4 บัญญัติให้นิยามคำว่า "ร้านวีดิทัศน์" ว่า สถานที่ที่จัดให้มีเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกในการฉาย เล่น หรือดูวีดิทัศน์ แสดงว่ากิจการร้านวีดิทัศน์ คือ การฉาย เล่น หรือดูวีดิทัศน์เท่านั้น ดังนั้น ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจัดตั้งหรือประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายวีดิทัศน์ จึงไม่เป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยจัดตั้งหรือประกอบกิจการดังกล่าว ให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายวีดิทัศน์อันเป็นองค์ประกอบความผิดในมาตรา 54 วรรคหนึ่ง, 82 แต่เมื่อคำขอท้ายฟ้องโจทก์ไม่ระบุมาตรา 54 มาด้วย จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 54 จำเลยคงมีความผิดเฉพาะมาตรา 38 วรรคหนึ่ง, 79
พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 53 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ห้ามผู้ใดจัดตั้งหรือประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน โดยมาตรา 4 บัญญัติให้นิยามคำว่า "ร้านวีดิทัศน์" ว่า สถานที่ที่จัดให้มีเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกในการฉาย เล่น หรือดูวีดิทัศน์ แสดงว่ากิจการร้านวีดิทัศน์ คือ การฉาย เล่น หรือดูวีดิทัศน์เท่านั้น ดังนั้น ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจัดตั้งหรือประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายวีดิทัศน์ จึงไม่เป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยจัดตั้งหรือประกอบกิจการดังกล่าว ให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายวีดิทัศน์อันเป็นองค์ประกอบความผิดในมาตรา 54 วรรคหนึ่ง, 82 แต่เมื่อคำขอท้ายฟ้องโจทก์ไม่ระบุมาตรา 54 มาด้วย จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 54 จำเลยคงมีความผิดเฉพาะมาตรา 38 วรรคหนึ่ง, 79
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสันนิษฐานเรื่องลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยฟังไม่ได้ว่าโจทก์ยังมีลิขสิทธิ์ได้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯมาตรา28เพียงสันนิษฐานว่าโจทก์มีลิขสิทธิ์ในบทเพลงที่โจทก์ฟ้องเท่านั้นไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ยังมีลิขสิทธิ์ในเพลงตามฟ้องจึงหาขัดต่อพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)