คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2550 ม. 19 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2568/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากผู้คัดค้านมิได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีการับฎีกาตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
คดีคำร้องขอให้ริบทรัพย์สินตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 30, 31 เป็นคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งถึงที่สุดในชั้นอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง เมื่อผู้คัดค้านฎีกาโดยไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีการับคดีไว้พิจารณาพร้อมกับฎีกาภายในกำหนด ตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุด ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาผู้คัดค้านมาจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11440/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเสพยาเสพติดขณะขับรถ: คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามกฎหมายวิธีพิจารณาคดียาเสพติด การฎีกาต้องได้รับอนุญาต
คดีเสพยาเสพติดให้โทษในขณะเป็นผู้ขับรถตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 เป็นคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ดังนั้น คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ดังนั้น คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับแล้วและเมื่อคดีนี้ถือว่าเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดคดีของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้ฎีกาจากศาลฎีกาก่อนตามบทบัญญัติมาตรา 18 วรรคหนึ่ง และมาตรา 19 วรรคหนึ่ง วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์นั้นให้โจทก์ผู้ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้รับฎีกาไว้วินิจฉัยตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่รับฎีกาของโจทก์ไว้วินิจฉัย