คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1259 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9041/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของเจ้าหนี้หลังเลิกบริษัท: ศาลพิจารณา ณ เวลาฟ้อง และกฎหมายยังคุ้มครองสิทธิแม้ชำระบัญชีสิ้นสุด
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ศาลจะพิจารณาในขณะยื่นฟ้องเป็นสำคัญ และการที่บริษัทเลิกกัน ป.พ.พ. มาตรา 1249 บัญญัติให้ถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี โดยผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ชำระสะสางการงานของบริษัทให้เสร็จไป รวมทั้งมีอำนาจแก้ต่างว่าต่างในนามบริษัทในคดีพิพาทตามมาตรา 1250, 1259 (1) นอกจากนี้มาตรา 1272 ยังให้สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินที่บริษัทเป็นหนี้อยู่ได้ แม้การชำระบัญชีจะสิ้นสุดไปแล้ว แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่า ระหว่างพิจารณาโจทก์จดทะเบียนเลิกบริษัทเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2539 และจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2539 แต่ก็เป็นเวลาภายหลังจากโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว จึงไม่มีผลให้อำนาจฟ้องที่โจทก์มีอยู่แล้วในขณะยื่นฟ้องสิ้นไปแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11713/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บริษัทร้างขาดอำนาจฟ้องคดี แม้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการชำระบัญชี การมอบอำนาจฟ้องต้องเป็นของผู้ชำระบัญชี
ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ป.พ.พ. มาตรา 1246 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการเพิกถอนทะเบียนบริษัทร้างยังมีผลใช้บังคับอยู่ จึงต้องใช้บทบัญญัติดังกล่าวบังคับแก่คดี เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่านายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดเชียงใหม่ได้ขีดชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างและได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา บริษัทโจทก์จึงเป็นอันเลิกกัน ความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ย่อมสิ้นไปโดยผลของกฎหมายก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ โดยโจทก์ ผู้ถือหุ้น หรือเจ้าหนี้ของโจทก์ยังไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดเชียงใหม่กลับจดชื่อโจทก์ให้คืนเข้าสู่สถานะเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 1246 (6) ดังนั้น โจทก์ย่อมไม่สามารถมอบอำนาจให้ ย. อดีตกรรมการของโจทก์ฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ แม้มาตรา 1249 จะบัญญัติว่า ห้างหุ้นส่วนก็ดี บริษัทก็ดี แม้จะได้เลิกกันแล้ว ก็ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีก็ตาม ก็เป็นการตั้งอยู่เพื่อการชำระบัญชี และการแก้ต่างว่าต่างในนามของโจทก์ย่อมเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชีตามมาตรา 1259 (1) เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6340-6345/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินหลังบริษัทร้าง: สิทธิของผู้ชำระบัญชี, การโอนโดยมิชอบ, และความสุจริตของผู้รับโอน
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งหกขอให้โอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชีบริษัท อ. อันเป็นการใช้อำนาจของผู้ชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1259 (1) และเมื่อเพิกถอนการโอนได้แล้วที่ดินพิพาทก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท อ. มิได้ตกเป็นของโจทก์ ส่วนที่โต้แย้งว่าโจทก์เลือกปฏิบัติโดยไม่ฟ้องดำเนินคดีแก่บุตรของโจทก์และบุคคลอื่นที่ได้รับโอนที่ดินจากบริษัท อ. นั้น เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาว่าโจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชีละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ หากจำเลยทั้งหกในฐานะผู้ถือหุ้นบริษัท อ. เห็นว่า โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้อง ก็เป็นเรื่องที่จะดำเนินการถอดถอนโจทก์ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ต่อไป การที่โจทก์ไม่ฟ้องบุคคลอื่นดังกล่าว จึงมิใช่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เมื่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทขีดชื่อบริษัท อ. ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างและประกาศแจ้งความโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว ต้องถือว่าบริษัท อ. เลิกกันตั้งแต่วันดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1246 (5) ทั้งมีผลให้โจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 5 ในฐานะกรรมการของบริษัทเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัท อ. การที่ผู้ชำระบัญชีโอนที่ดินพิพาทของบริษัท อ. ให้แก่จำเลยทั้งหกตามข้อตกลงแบ่งมรดกระหว่างทายาทภายหลังจากบริษัท อ. เป็นบริษัทร้างแล้วและไม่มีการจ่ายเงินค่าที่ดิน จึงไม่มีลักษณะเป็นการชำระบัญชีเพื่อเลิกบริษัทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 และไม่มีผลผูกพันบริษัท อ. เป็นการโอนโดยมิชอบ จำเลยทั้งหกต้องโอนที่ดินพิพาทคืนบริษัท อ.
ขณะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท จำเลยทั้งหกไม่ทราบเรื่องที่บริษัท อ. ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้าง จำเลยทั้งหกรับโอนที่ดินพิพาทมาโดยสุจริตจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของบริษัทเลิกแล้ว: ผู้ชำระบัญชีและกรรมการ
แม้โจทก์ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว โดยมี ส.และ พ.เป็นผู้ชำระบัญชีก็ตาม แต่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1249 บัญญัติให้ถือว่าบริษัทโจทก์ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี และตามมาตรา 1252บัญญัติให้กรรมการบริษัทมีอำนาจโดยตำแหน่งเดิม เมื่อเป็นผู้ชำระบัญชีก็ยังคงมีอำนาจอยู่ ดังนั้นบุคคลทั้งสองซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทโจทก์และเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ด้วย จึงยังคงมีอำนาจในตำแหน่งกรรมการของบริษัทโจทก์อยู่ และมาตรา 1259 (1) บัญญัติให้ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจแก้ต่างว่าต่างในนามของบริษัทในอรรถคดีพิพาทอันเป็นแพ่งหรืออาญาทั้งปวง เมื่อผู้ชำระบัญชีและกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เป็นบุคคลคนเดียวกัน ดังนั้นที่บุคคลทั้งสองได้มอบอำนาจให้ ก.ฟ้องคดีแทนโจทก์ ผู้รับมอบอำนาจจากบุคคลทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องคดีแทนโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องหลังเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจกระทำการแทนได้ และเช็คเป็นหลักฐานการชำระหนี้
แม้โจทก์ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทแล้วโดยมีส. และพ.เป็นผู้ชำระบัญชีก็ตามแต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1249บัญญัติให้ถือว่าบริษัทโจทก์ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีและตามมาตรา1252บัญญัติให้กรรมการบริษัทมีอำนาจโดยตำแหน่งเดิมเมื่อเป็นผู้ชำระบัญชีก็ยังคงมีอำนาจอยู่ดังนั้นบุคคลทั้งสองซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทโจทก์และเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ด้วยจึงยังคงมีอำนาจในตำแหน่งกรรมการของบริษัทโจทก์อยู่และมาตรา1259(1)บัญญัติให้ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจแก้ต่างว่าต่างในนามของบริษัทในอรรถคดีพิพาทอันเป็นแพ่งหรืออาญาทั้งปวงเมื่อผู้ชำระบัญชีและกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เป็นบุคคลคนเดียวกันดังนั้นที่บุคคลทั้งสองได้มอบอำนาจให้ก. ฟ้องคดีแทนโจทก์ผู้รับมอบอำนาจจากบุคคลทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องคดีแทนโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7484/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสภาพนิติบุคคลและการรับช่วงสิทธิของบริษัทประกันภัย ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
นายทะเบียนบริษัทแห่งประเทศอังกฤษและเวลส์ได้จำหน่ายชื่อบริษัทโจทก์ออกทะเบียนเมื่อวันที่ 29 กันยายน2530 ตามมาตรา 652(5) แห่งพระราชบัญญัติบริษัทค.ศ.1958และได้เลิกบริษัทไปโดยลงแจ้งความในราชกิจจานุเบกษาแห่งกรุงลอนดอนเมื่อวันที่20ตุลาคม2530และมีบริษัทส.เป็นผู้ชำระบัญชี แต่ผู้ชำระบัญชีมิได้เข้ามาว่าต่างในนามของโจทก์ในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1259(1) อีกทั้งบริษัท อ. ซึ่งได้รับประกันภัยสินค้าของโจทก์และเป็นตัวแทนของโจทก์ก็ยังมีสิทธิในหนี้รายนี้อยู่เพราะได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ไปแล้วหลังจากที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ บริษัท อ. ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องเรียกเอาจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่โจทก์จากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 880 วรรคแรก โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดชำระหนี้รายนี้ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7484/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสิทธิเรียกร้องหลังบริษัทถูกเลิก และการรับช่วงสิทธิจากผู้รับประกันภัย
นายทะเบียนบริษัทแห่งประเทศอังกฤษและเวลส์ได้จำหน่ายชื่อบริษัทโจทก์ออกจากทะเบียนเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2530 ตามมาตรา 652 (5)แห่ง พ.ร.บ.บริษัท ค.ศ.1985 และได้เลิกบริษัทไปโดยลงแจ้งความในราชกิจจา-นุเบกษาแห่งกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2530 และมีบริษัท ส.เป็นผู้ชำระบัญชี แต่ผู้ชำระบัญชีมิได้เข้ามาว่าต่างในนามของโจทก์ในคดีนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1259 (1) อีกทั้งบริษัท อ.ซึ่งได้รับประกันภัยสินค้าของโจทก์และเป็นตัวแทนของโจทก์ก็ยังมีสิทธิในหนี้รายนี้อยู่เพราะได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ไปแล้วหลังจากที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ บริษัท อ.ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องเรียกเอาจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่โจทก์จากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 วรรคแรก โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดชำระหนี้รายนี้ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2753/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางภาษีอากรต้องเป็นไปตามกฎหมาย มิฉะนั้นโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ห้างหุ้นส่วนแม้จะได้เลิกกันแล้วก็ให้ถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1249 ดังนั้น การแก้ต่างว่าต่างในนามของห้างฯ โจทก์ในอรรถคดีต่าง ๆ และการดำเนินกิจการของห้างฯ จึงเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259(1)และ (2) ประมวลรัษฎากร มาตรา 8 และ 34 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือและให้ส่งไปยังผู้อุทธรณ์ กับได้กำหนดวิธีปฏิบัติในการส่งไว้โดยเฉพาะแล้ว การส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวให้โจทก์จะต้องไปส่งที่สำนักงานของห้างฯ โจทก์ หรืออย่างน้อยก็ต้องส่งให้ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ จึงจะเป็นการส่งโดยชอบ กรมสรรพากรจำเลยได้ส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์โดยนำไปปิดไว้ที่หน้าบ้านของป. ซึ่งเคยเป็นผู้จัดการของห้างฯ โจทก์ เมื่อห้างฯ โจทก์เลิกไปแล้ว ป. จึงมิใช่ผู้จัดการหรือผู้แทนโจทก์อีกต่อไป และสำนักงานของโจทก์อยู่คนละเลขที่กับบ้านของ ป. การส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้โจทก์ จึงไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 34 ประกอบมาตรา 8 ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้เจ้าพนักงานของจำเลยทำเพื่อจะให้เกิดผลตามกฎหมาย หากจำเลยมิได้ปฏิบัติตามก็จะทำให้การส่งนั้นไม่มีผลเมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานของจำเลยจงใจหรือละเลยไม่นำส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวแต่อย่างใดศาลจึงไม่อาจที่จะสั่งตามคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ใหม่ได้ เมื่อการส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แก่โจทก์ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร จึงมีผลเท่ากับว่าโจทก์ยังมิได้ทราบผลการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการที่จำเลยสั่งยึดทรัพย์และประกาศยึดทรัพย์สินส่วนตัวของ ป. มิใช่ทรัพย์ของโจทก์ จึงไม่มีการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4664/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเช่าหลังบอกเลิกสัญญาเช่า และการฟ้องในฐานะเจ้าพนักงานบังคับคดี
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เป็นผู้เช่าอาคารของ จ. แล้วให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการเช่าช่วงเพื่อทำโรงแรมเมื่อ จ. ถึงแก่กรรม การที่จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของจ. ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่ากับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ย่อมเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายที่ จ. ผู้ให้เช่าและห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ผู้เช่ามีนิติสัมพันธ์ต่อกันตามสัญญาเช่าอาคาร และการที่จำเลยที่ 3 จะมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหรือไม่ ก็เป็นมูลกรณีจากการที่คู่กรณีในสัญญาจะปฏิบัติการชำระหนี้ต่อกันตามข้อสัญญา ส่วนการที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นทนายความผู้ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 3ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ก็ต้องถือว่าเป็นการใช้สิทธิของจำเลยที่ 3ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญากับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. จึงไม่เป็นการกระทำโดยไม่สุจริตหรือจงใจกระทำการฉ้อโกงอันเป็นการกระทำละเมิดต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.
แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะได้บรรยายถ้อยคำเป็นทำนองว่า จำเลยทั้งสี่ไม่สุจริต การกระทำฉ้อโกงโจทก์อันเป็นละเมิด แต่ฟ้องโจทก์ในตอนต้นก็บรรยายถึงนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยและบุคคลที่เกี่ยวข้องตามสัญญาเช่าและสัญญาต่างตอบแทนนั้นไว้โดยละเอียดแล้วและตามคำขอท้ายฟ้อง โจทก์ก็ขอให้จำเลยชำระเงินค่าตอบแทนการก่อสร้างให้โจทก์ตามสัญญาด้วย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาเช่นนี้ ศาลก็มีหน้าที่ต้องปรับใช้กฎหมายเรื่องผิดสัญญาหรือละเมิดให้ตรงตามข้อเท็จจริงที่นำสืบกันมา การนำสืบข้อเท็จจริงของโจทก์จึงไม่ต่างกับฟ้อง
จำเลยที่ 2 ฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัยให้
ส. ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์ กรมบังคับคดีกระทรวงยุติธรรม และมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับการชำระบัญชีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259(1) และแม้คำฟ้องของโจทก์จะมีคำว่า ผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์ต่อท้ายชื่อของ ส.ก็ไม่ได้หมายความว่า เป็นการฟ้องคดีในนามของผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์
คำว่า "เจ้าพนักงานบังคับคดี" หมายความว่า เจ้าพนักงานที่ทำหน้าที่บังคับคดีซึ่งสังกัดอยู่ในกรมบังคับคดี มิได้มีความหมายจำกัดเฉพาะอธิบดีกรมบังคับคดี หรือผู้ที่อธิบดีกรมบังคับคดีมอบหมายเท่านั้น ดังนั้นเมื่อปรากฏว่ากองพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นส่วนราชการในกรมบังคับคดีมีหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์ย่อมเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4664/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเช่าหลังบอกเลิกสัญญาเช่า และความถูกต้องของฐานะโจทก์ผู้ชำระบัญชี
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เป็นผู้เช่าอาคารของ จ. แล้วให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการเช่าช่วงเพื่อทำโรงแรมเมื่อ จ. ถึงแก่กรรม การที่จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของจ. ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่ากับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ย่อมเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายที่ จ. ผู้ให้เช่าและห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ผู้เช่ามีนิติสัมพันธ์ต่อกันตามสัญญาเช่าอาคาร และการที่จำเลยที่ 3 จะมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหรือไม่ ก็เป็นมูลกรณีจากการที่คู่กรณีในสัญญาจะปฏิบัติการชำระหนี้ต่อกันตามข้อสัญญา ส่วนการที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นทนายความผู้ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 3ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ก็ต้องถือว่าเป็นการใช้สิทธิของจำเลยที่ 3ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญากับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. จึงไม่เป็นการกระทำโดยไม่สุจริตหรือจงใจกระทำการฉ้อโกงอันเป็นการกระทำละเมิดต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะได้บรรยายถ้อยคำเป็นทำนองว่า จำเลยทั้งสี่ไม่สุจริต การกระทำฉ้อโกงโจทก์อันเป็นละเมิด แต่ฟ้องโจทก์ในตอนต้นก็บรรยายถึงนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยและบุคคลที่เกี่ยวข้องตามสัญญาเช่าและสัญญาต่างตอบแทนนั้นไว้โดยละเอียดแล้วและตามคำขอท้ายฟ้อง โจทก์ก็ขอให้จำเลยชำระเงินค่าตอบแทนการก่อสร้างให้โจทก์ตามสัญญาด้วย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาเช่นนี้ ศาลก็มีหน้าที่ต้องปรับใช้กฎหมายเรื่องผิดสัญญาหรือละเมิดให้ตรงตามข้อเท็จจริงที่นำสืบกันมา การนำสืบข้อเท็จจริงของโจทก์จึงไม่ต่างกับฟ้อง จำเลยที่ 2 ฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัยให้ ส. ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์ กรมบังคับคดีกระทรวงยุติธรรม และมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับการชำระบัญชีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259(1) และแม้คำฟ้องของโจทก์จะมีคำว่า ผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์ต่อท้ายชื่อของ ส.ก็ไม่ได้หมายความว่า เป็นการฟ้องคดีในนามของผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์ คำว่า "เจ้าพนักงานบังคับคดี" หมายความว่า เจ้าพนักงานที่ทำหน้าที่บังคับคดีซึ่งสังกัดอยู่ในกรมบังคับคดี มิได้มีความหมายจำกัดเฉพาะอธิบดีกรมบังคับคดี หรือผู้ที่อธิบดีกรมบังคับคดีมอบหมายเท่านั้น ดังนั้นเมื่อปรากฏว่ากองพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นส่วนราชการในกรมบังคับคดีมีหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์ย่อมเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ด้วย
of 2