พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9813-9817/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสันนิษฐานทรัพย์สินจากความผิดฟอกเงิน และภาระการพิสูจน์ของจำเลย
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 กระทำการฉ้อโกงประชาชนอันเป็นความผิดมูลฐานมาตั้งแต่ปี 2525 จนกระทั่งถูกจับกุมในปี 2548 ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 เป็นมารดา ผู้คัดค้านที่ 6 เป็นภริยา และผู้คัดค้านอื่นเป็นญาติพี่น้องจึงเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้คัดค้านที่ 1 ผู้กระทำกระทำความผิดมูลฐาน กรณีต้องด้วยบทบัญญัติ มาตรา 51 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์ เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือได้รับโอนมาโดยไม่สุจริต ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่ฝ่ายผู้คัดค้านที่จะต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวว่าตนเป็นเจ้าของที่แท้จริงและทรัพย์สินนั้นไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือได้รับโอนมาโดยสุจริต
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน มีทั้งโทษทางอาญาและมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หากศาลเชื่อว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับความผิดมูลฐาน โดยมิต้องคำนึงว่าทรัพย์สินนั้นผู้เป็นเจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์สินจะได้มาก่อนพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มีผลใช้บังคับหรือไม่ก็ตาม เพราะมาตรการดังกล่าวมิใช่โทษทางอาญา จึงมีผลใช้บังคับย้อนหลังได้
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน มีทั้งโทษทางอาญาและมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หากศาลเชื่อว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับความผิดมูลฐาน โดยมิต้องคำนึงว่าทรัพย์สินนั้นผู้เป็นเจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์สินจะได้มาก่อนพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มีผลใช้บังคับหรือไม่ก็ตาม เพราะมาตรการดังกล่าวมิใช่โทษทางอาญา จึงมีผลใช้บังคับย้อนหลังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14166/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องมูลนิธิ, อายุความสิทธิเรียกร้อง, การซื้อขายเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ของโจทก์ตามสำเนาข้อบังคับอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิซึ่งในหมวดที่ 2 เรื่องวัตถุประสงค์ ข้อ 4 ระบุว่า วัตถุประสงค์ของมูลนิธิคือ 4.1 เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานของสถาบันหรือหน่วยงานอิสระที่กระทรวงอุตสาหกรรมจัดตั้งขึ้น... 4.4 ประกอบกิจการให้คำปรึกษา แนะนำ ฝึกอบรม วิจัยและพัฒนา วิเคราะห์และทดสอบ และประกอบกิจการอื่นที่เกี่ยวกับและต่อเนื่องกับภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ... และสถาบันอาหารเป็นสถาบันที่กระทรวงอุตสาหกรรมจัดตั้งขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยโดยให้โจทก์เป็นมูลนิธิรองรับการดำเนินงานของสถาบันอาหาร เมื่อสถาบันอาหารได้ดำเนินโครงการพัฒนาปลาเผาะมีเป้าหมายเป็นการเลี้ยงเชิงพาณิชย์และแปรรูปเชิงอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยให้ยังคงเจริญเติบโตต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันได้ในระดับโลก การที่โจทก์ซึ่งเป็นมูลนิธิที่มีหน้าที่รองรับการดำเนินงานของสถาบันอาหารขายเนื้อปลาเผาะแก่จำเลยจึงเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานของสถาบันอาหารเพื่อสาธารณประโยชน์ มิใช่กระทำเพื่อมุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกันแต่อย่างใด จึงเป็นการกระทำภายในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ แม้วัตถุประสงค์ของโจทก์มิได้ระบุวัตถุประสงค์ในการซื้อขายก็ตาม โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
จำเลยฎีกาว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ขัดกับ ป.วิ.พ. มาตรา 84 นั้น จำเลยมิได้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ขัดกับกฎหมายดังกล่าวอย่างไรเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง
การที่โจทก์ขายเนื้อปลาเผาะแก่จำเลยเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานของสถาบันอาหารเพื่อสาธารณประโยชน์ มิใช่กระทำเพื่อมุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกันแต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการประกอบ การค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) และเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
จำเลยฎีกาว่าจำเลยมิได้ซื้อปลาจากโจทก์ แต่โจทก์นำปลามาให้จำเลยช่วยขาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้น ประเด็นนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยซื้อปลาจากโจทก์ จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไร ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง
จำเลยฎีกาว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ขัดกับ ป.วิ.พ. มาตรา 84 นั้น จำเลยมิได้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ขัดกับกฎหมายดังกล่าวอย่างไรเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง
การที่โจทก์ขายเนื้อปลาเผาะแก่จำเลยเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานของสถาบันอาหารเพื่อสาธารณประโยชน์ มิใช่กระทำเพื่อมุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกันแต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการประกอบ การค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) และเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
จำเลยฎีกาว่าจำเลยมิได้ซื้อปลาจากโจทก์ แต่โจทก์นำปลามาให้จำเลยช่วยขาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้น ประเด็นนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยซื้อปลาจากโจทก์ จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไร ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13089-13090/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นไม่ใช่ทรัพย์ที่ยักยอกได้ การแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์
ความผิดฐานยักยอก ตาม ป.อ. มาตรา 352 นั้น ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งการกระทำที่ผู้กระทำความผิดครอบครองอยู่จะต้องเป็นวัตถุที่มีรูปร่างหรือจับต้องสัมผัสได้ แต่หุ้นตามฟ้องเป็นเพียงสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงสิทธิและหน้าที่หรือส่วนได้เสียของโจทก์ร่วมทั้งสองที่มีอยู่ในบริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ทรัพย์ที่จะเบียดบังยักยอกได้ ทั้งปรากฏว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นเพียงการยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียนเท่านั้น ยังหามีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในหุ้นของโจทก์ร่วมทั้งสองไม่ การกระทำของจำเลยทั้งสามตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอก ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13089-13090/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นไม่ใช่ทรัพย์ที่ยักยอกได้ การแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นไม่ทำให้กรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือ คดีไม่เข้าข่ายความผิดฐานยักยอก
ความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 352 นั้น ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งการกระทำที่ผู้กระทำความผิดครอบครองอยู่จะต้องเป็นวัตถุที่มีรูปร่างหรือจับต้องสัมผัสได้ แต่หุ้นตามฟ้องเป็นเพียงสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงสิทธิและหน้าที่หรือส่วนได้เสียของโจทก์ร่วมทั้งสองที่มีอยู่ในบริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ทรัพย์ที่จะเบียดบังยักยอกได้ ทั้งปรากฏว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นเพียงการยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียนเท่านั้น ยังหามีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในหุ้นของโจทก์ร่วมทั้งสองไม่ ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสามตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12977/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องจากสัญญาเช่าซื้อ: การแจ้งการโอนและการยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้
การที่จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน ศต 3648 กทม. จากจำเลยที่ 2 แล้วนำไปขายต่อให้โจทก์ มีข้อตกลงให้โจทก์ชำระราคาแก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 มิได้ให้ความยินยอมหรือได้รับคำบอกกล่าวเป็นหนังสือเกี่ยวกับการทำสัญญาขายรถยนต์คันดังกล่าวระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ส่วนที่เหลือเป็นค่าเช่าซื้อให้จำเลยที่ 2 ครบถ้วนแล้ว การทำสัญญาขายรถยนต์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ให้ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวได้ แต่เมื่อคำขอสินเชื่อเอนกประสงค์ส่วนบุคคลที่จำเลยที่ 1 ตกลงกับจำเลยที่ 2 ในข้อ 9 ระบุว่า แม้ว่าผู้กู้ (จำเลยที่ 1) ได้ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์เสร็จสิ้นแล้ว แต่หากยังคงค้างชำระหนี้อยู่กับธนาคาร (จำเลยที่ 2) ผู้กู้ตกลงยินยอมให้ธนาคารยังไม่ต้องดำเนินการใด ๆ เพื่อจดทะเบียนให้ผู้กู้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อ และยินยอมให้ธนาคารยึดถือสมุดคู่มือจดทะเบียนรวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวกับรถยนต์เพื่อประกันเงินกู้ยืมจากธนาคารจนกว่าผู้กู้จะชำระต้นเงินและดอกเบี้ยและหนี้สินที่ค้างชำระคืนแก่ธนาคารครบทั้งจำนวน เมื่อการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้บอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยที่ 2 หรือได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้จึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้ต่าง ๆ ที่มีต่อจำเลยที่ 1 ผู้โอนขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 308 วรรคสอง โดยรวมถึงข้อต่อสู้ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังชำระหนี้ตามคำขอสินเชื่อเอนกประสงค์ส่วนบุคคลให้จำเลยที่ 2 ไม่ครบถ้วน ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่ 2 ที่จะปฏิเสธไม่ดำเนินการใด ๆ เพื่อจดทะเบียนให้ผู้กู้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อ และยึดถือสมุดคู่มือจดทะเบียนรวมทั้งบรรดาเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับรถยนต์ จนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระหนี้ตามคำขอสินเชื่อเอนกประสงค์ส่วนบุคคลให้แก่จำเลยที่ 2 จนครบถ้วนได้ จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้ดังกล่าวยันโจทก์ และไม่ต้องชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ แม้ฎีกาเรื่องค่าเสียหายจะต้องห้ามมิให้ฎีกา แต่การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นการไม่ชอบ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10626/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดฐานซื้อเสียงเลือกตั้ง จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ
การที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายในการจัดการเลือกตั้งใหม่ มิใช่เป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ดังนั้นแม้พนักงานอัยการจะมีคำสั่งไม่ฟ้องจำเลยทั้งสามในคดีอาญาดังกล่าว ข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญาจึงไม่มีผลบังคับให้ศาลที่พิจารณาในคดีส่วนแพ่งจะต้องรับฟัง แต่ศาลในคดีส่วนแพ่งก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวมาประกอบในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดีส่วนแพ่งได้
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 113 ที่บัญญัติว่า "ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งหรือศาลฎีกามีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ใดและเป็นเหตุให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ ให้ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่นั้นด้วย" มิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดว่า ผู้สมัครที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจะต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่เสมอไป พยานหลักฐานในคดีนี้ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำการใดๆ ที่ทำให้การเลือกตั้งในเขตที่ 1 จังหวัดบุรีรัมย์ มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม จำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่แต่อย่างใด
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 113 ที่บัญญัติว่า "ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งหรือศาลฎีกามีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ใดและเป็นเหตุให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ ให้ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่นั้นด้วย" มิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดว่า ผู้สมัครที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจะต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่เสมอไป พยานหลักฐานในคดีนี้ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำการใดๆ ที่ทำให้การเลือกตั้งในเขตที่ 1 จังหวัดบุรีรัมย์ มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม จำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8921/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินเขตปฏิรูปที่ดิน: การได้มาซึ่งสิทธิและการมีอำนาจฟ้องร้อง
ที่ดินที่โจทก์อ้างว่ามีสิทธินั้นเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน ที่ดินรวมทั้งต้นยูคาลิปตัส ซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินย่อมตกเป็นของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 36 ทวิ ซึ่งตาม มาตรา 19 (7) บัญญัติให้คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ดังนี้ บุคคลหรือเกษตรกรที่จะเข้ามาอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินได้ ต้องได้รับการพิจารณาและอนุมัติจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมก่อน ฉะนั้น แม้โจทก์จะอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาท แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับการพิจารณาและอนุมัติจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้เข้าอยู่ในที่ดินดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจอาศัยแสวงสิทธิจากที่ดินพิพาทได้ การกระทำของจำเลยทั้งหกจึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง กรณีหาใช่เป็นการสนับสนุนให้จำเลยทั้งหกกระทำ ละเมิดอันก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7387/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: การครอบครองทรัพย์ที่ได้จากการลักทรัพย์โดยรู้ว่าเป็นของผิดกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 1 ครอบครองพระหลวงพ่อฤาษีลิงดำองค์ใหญ่ทรัพย์ของผู้เสียหายซึ่งถูกคนร้ายลักไปแล้วอ้างว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ได้รับยกให้จากบิดาซึ่งเป็นความเท็จ แสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับทรัพย์ดังกล่าวมาโดยรู้ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยกระทำความผิด การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานรับของโจร ตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคแรก ซึ่งแตกต่างจากความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ที่โจทก์ฟ้อง กรณีเป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง แต่ข้อที่แตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียดคือต่างกันระหว่างการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์กับรับของโจรซึ่งมิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญและทั้งจำเลยที่ 1 มิได้หลงต่อสู้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ศาลย่อมลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานรับของโจรตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ตามความใน ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6972-6973/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ร่วมจำกัดเฉพาะคดีที่ยื่นคำร้องเข้าร่วม แม้ศาลรวมพิจารณาคดี
ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกัน โดยโจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะสำนวนคดีแรกที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เป็นจำเลยเท่านั้น มิได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 4 เป็นจำเลยด้วย แม้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาคดีทั้งสองรวมกันก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิในการเป็นโจทก์ร่วมในคดีที่จำเลยที่ 4 เป็นจำเลย อันมีผลเท่ากับว่าโจทก์ร่วมมิได้เป็นคู่ความในคดีที่จำเลยที่ 4 เป็นจำเลย โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาคดีในส่วนของจำเลยที่ 4 คดีในส่วนของจำเลยที่ 4 ต้องฟังยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมในส่วนของจำเลยที่ 4 ด้วย ก็เป็นการไม่ชอบ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิในการฎีกาแก่โจทก์ร่วม ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6942/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดขอบเขตค่าเสียหายจากการก่อสร้าง, ฎีกาต้องห้ามค่าฤชาธรรมเนียม, และการพิพากษาค่าเสียหายที่เหมาะสม
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 2 จำนวน 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จ การที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า จำเลยทั้งสองมิได้ทำละเมิดจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวนดังกล่าวต่อโจทก์ที่ 2 เท่ากับเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามที่จำเลยทั้งสองโต้แย้งว่าไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ไม่เกิน 50,000 บาท จำเลยทั้งสองจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีของโจทก์ที่ 2 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองสำหรับคดีของโจทก์ที่ 2 ย่อมไม่ชอบ หาก่อให้เกิดสิทธิฎีกาแก่จำเลยทั้งสองไม่ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 85,480.65 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดเพิ่มอีก 100,000 บาท เท่ากับจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 จำนวน 185,480.65 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอนาคตดังกล่าว ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า จำเลยทั้งสองมิได้ทำละเมิดจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวนดังกล่าวต่อโจทก์ที่ 1 เท่ากับเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นการฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามที่จำเลยทั้งสองโต้แย้งว่าไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ไม่เกิน 200,000 บาท จำเลยทั้งสองจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีของโจทก์ที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์และฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ โดยขอให้ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาสำหรับคดีของโจทก์ทั้งสองเกินกว่า 50,000 บาท และ 200,000 บาท ตามลำดับ ก็เป็นเรื่องสิทธิในการอุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริงของโจทก์ทั้งสองหามีผลย้อนไปถึงสิทธิในการอุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริงของจำเลยทั้งสอง ซึ่งต้องห้ามให้กลับมีขึ้นมาใหม่ไม่ เพราะสิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริงของคู่ความนั้น จำต้องพิจารณาถึงจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาของคู่ความแต่ละฝ่ายแยกต่างหากจากกัน มิเช่นนั้นจะกลับกลายเป็นว่าสิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริงของจำเลยทั้งสองขึ้นอยู่กับการอุทธรณ์หรือฎีกาของโจทก์ทั้งสอง กล่าวคือ หากโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์หรือฎีกา จำเลยทั้งสองก็มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริงด้วย หากโจทก์ทั้งสองไม่อุทธรณ์หรือฎีกา จำเลยทั้งสองก็ไม่มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริง มิได้ขึ้นอยู่กับบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง
ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาในข้อเท็จจริงของจำเลยทั้งสอง ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง คดีคงเหลือปัญหาตามฎีกาของจำเลยทั้งสองในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมอย่างเดียว ซึ่งข้ออ้างในฎีกาของจำเลยทั้งสองในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนี้ล้วนเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการกำหนดค่าทนายความที่จำเลยทั้งสองผู้แพ้คดีต้องใช้แทนโจทก์ทั้งสอง นอกจากนี้ค่าทนายความตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองใช้แทนโจทก์ทั้งสองก็เป็นจำนวนที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรระหว่างอัตราขั้นต่ำและอัตราขั้นสูงดังที่ระบุไว้ในตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่มีการฟ้องคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ฎีกาของจำเลยทั้งสองในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมจึงเป็นฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 168
แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 85,480.65 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดเพิ่มอีก 100,000 บาท เท่ากับจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 จำนวน 185,480.65 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอนาคตดังกล่าว ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า จำเลยทั้งสองมิได้ทำละเมิดจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวนดังกล่าวต่อโจทก์ที่ 1 เท่ากับเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นการฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามที่จำเลยทั้งสองโต้แย้งว่าไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ไม่เกิน 200,000 บาท จำเลยทั้งสองจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีของโจทก์ที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์และฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ โดยขอให้ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาสำหรับคดีของโจทก์ทั้งสองเกินกว่า 50,000 บาท และ 200,000 บาท ตามลำดับ ก็เป็นเรื่องสิทธิในการอุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริงของโจทก์ทั้งสองหามีผลย้อนไปถึงสิทธิในการอุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริงของจำเลยทั้งสอง ซึ่งต้องห้ามให้กลับมีขึ้นมาใหม่ไม่ เพราะสิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริงของคู่ความนั้น จำต้องพิจารณาถึงจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาของคู่ความแต่ละฝ่ายแยกต่างหากจากกัน มิเช่นนั้นจะกลับกลายเป็นว่าสิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริงของจำเลยทั้งสองขึ้นอยู่กับการอุทธรณ์หรือฎีกาของโจทก์ทั้งสอง กล่าวคือ หากโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์หรือฎีกา จำเลยทั้งสองก็มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริงด้วย หากโจทก์ทั้งสองไม่อุทธรณ์หรือฎีกา จำเลยทั้งสองก็ไม่มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริง มิได้ขึ้นอยู่กับบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง
ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาในข้อเท็จจริงของจำเลยทั้งสอง ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง คดีคงเหลือปัญหาตามฎีกาของจำเลยทั้งสองในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมอย่างเดียว ซึ่งข้ออ้างในฎีกาของจำเลยทั้งสองในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนี้ล้วนเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการกำหนดค่าทนายความที่จำเลยทั้งสองผู้แพ้คดีต้องใช้แทนโจทก์ทั้งสอง นอกจากนี้ค่าทนายความตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองใช้แทนโจทก์ทั้งสองก็เป็นจำนวนที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรระหว่างอัตราขั้นต่ำและอัตราขั้นสูงดังที่ระบุไว้ในตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่มีการฟ้องคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ฎีกาของจำเลยทั้งสองในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมจึงเป็นฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 168