คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 117

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12184/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานคดีแรงงาน: ศาลแรงงานเป็นผู้ซักถามหลัก คู่ความซักถามได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาต
การสืบพยานในคดีแรงงาน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า ในการสืบพยานไม่ว่าจะเป็นพยานที่คู่ความฝ่ายใดอ้างหรือที่ศาลแรงงานเรียกมาเองให้ศาลแรงงานเป็นผู้ซักถามพยาน ตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน บทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้เฉพาะศาลแรงงานเท่านั้นเป็นผู้ซักถามพยานของฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยหรือพยานที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง ฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยไม่มีสิทธิซักถามพยานที่ตนอ้างมาหรือพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างหรือพยานที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง เว้นแต่ศาลแรงงานจะอนุญาตให้ซักถามได้เท่านั้น ทั้งการถามพยานฝ่ายที่ตนอ้างหรือพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างนั้น ตามมาตรา 45 วรรคสอง กำหนดให้เป็นการซักถามทั้งสิ้น การซักถามพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างจึงไม่เป็นการถามค้าน การสืบพยานดังกล่าวจึงแตกต่างจากการสืบพยานในคดีแพ่งทั่วไป
การที่จำเลยเบิกความเกี่ยวกับพยานโจทก์จึงหาจำต้องซักถามหรือถามค้านพยานดังกล่าวไว้ก่อนถึงข้อความที่ตนจะนำสืบภายหลังไม่ ที่ศาลแรงงานกลางรับฟังคำเบิกความของจำเลยเป็นพยานหลักฐานในสำนวนคดี จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สินหลังทำละเมิด เป็นการฉ้อฉลเจ้าหนี้
++ เรื่อง เพิกถอนการฉ้อฉล ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 227418 และ 227419 ตำบลจรเข้บัว อำเภอบางกะปิกรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ให้ กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้รับ ให้จำเลยทั้งสี่นำโฉนดที่ดินไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ หากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยทั้งสี่ฎีกา
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4
++ เดิมจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เมื่อเดือนมีนาคม2538 จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงนายชนินทร์ เลาหเลิศศักดา บุตรโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 ต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2539 ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน 2,049,389 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระแก่โจทก์ทั้งสองเสร็จสิ้น ตามสำเนาคำพิพากษาเอกสารหมาย จ.11
++ วันที่ 5 และวันที่ 18 มิถุนายน 2539 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยเสน่หา
++
++ ปัญหาวินิจฉัยมีว่า นิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นการฉ้อฉลโจทก์ทั้งสองหรือไม่
++
++ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงบุตรโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสองต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคท้าย
++ โจทก์ทั้งสองจึงเป็นเจ้าหนี้ และจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองเกิดขึ้นนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิด
++ ต่อมาโจทก์ทั้งสองใช้สิทธิเรียกร้องโดยยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2539 ก่อนจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเวลา 2 เดือนเศษ
++ และได้ความตามคำเบิกความของนายวิชัย เอื้อภัทรพงศ์ บุตรจำเลยที่ 1ว่า จำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้แก่ธนาคารได้อยู่แล้ว หลังเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ถูกศาลพิพากษาให้จำคุกข้อหาฆ่าบุตรของโจทก์ทั้งสองมีกำหนด14 ปี จำเลยที่ 1 จึงไม่สามารถชำระหนี้แก่ธนาคารโดยสิ้นเชิง
++ ซึ่งจำเลยที่ 1 อ้างตนเองเป็นพยานเบิกความในทำนองเดียวกันนี้
++ ดังนั้น นิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นการโอนไปซึ่งทรัพย์สินมีค่าชิ้นสุดท้ายที่จำเลยที่ 1 มีอยู่
++ ต่อมาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็นำที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันเงินกู้จำนวน 2,000,000 บาท แก่ธนาคารโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้และได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลแล้วย่อมเสียเปรียบด้วย มิอาจบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ได้
++ จำเลยที่ 1 ยื่นคำแถลงในคดีอาญาตามเอกสารหมาย ล.9 ปรากฏข้อความในวรรคสามว่า บุตรของจำเลยที่ 1ได้ออกเงินชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเงินจำนวน 100,000 บาท บ่งชี้ว่าจำเลยที่ 1 ตระหนักแน่ชัดว่าตนมีภาระผูกพันต้องชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองนับแต่วันที่ทำละเมิด
++ ดังนั้น ในวันทำนิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง จำเลยที่ 1 จึงรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ เมื่อจำเลยที่ 1 ฝืนทำนิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยเสน่หาไป นิติกรรมดังกล่าวจึงเป็นการฉ้อฉลโจทก์ทั้งสอง
++
++ จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า ไม่รู้เรื่องที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีละเมิด เพราะจำเลยที่ 1 ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษมีนบุรี ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้อยู่อาศัยในบ้านที่โจทก์ทั้งสองนำพนักงานศาลไปส่งสำเนาฟ้องนั้น
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การจะรู้ว่าโจทก์ทั้งสองได้ใช้สิทธิเรียกร้องแล้วหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นที่จะวินิจฉัยชี้ขาดว่านิติกรรมที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำไม่เป็นการฉ้อฉลโจทก์ทั้งสอง หากแต่อยู่ที่จำเลยทั้งสี่รู้ในขณะทำนิติกรรมให้หรือไม่ว่านิติกรรมให้ที่ได้ทำขึ้นนั้นจะเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ
++ เมื่อปรากฏว่า คดีนี้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รู้ถึงทางเสียเปรียบของโจทก์ทั้งสองแต่เพียงฝ่ายเดียว ก็เป็นอันเพียงพอให้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอเพิกถอนได้แล้วเนื่องจากเป็นนิติกรรมยกกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้โดยเสน่หา
++ ส่วนฎีกาจำเลยทั้งสี่ที่ว่า บุตรจำเลยที่ 1 ต้องหาเงินมาไถ่ถอนจำนองเป็นเงินจำนวน 1,000,000 บาทเศษ นิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นการยกให้โดยมีค่าตอบแทน
++ ข้อฎีกาของจำเลยทั้งสี่นี้เป็นการกล่าวอ้างที่ขัดแย้งกับข้อความในนิติกรรมสัญญาให้ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นการยกให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน และการที่บุตรจำเลยที่ 1 หาเงินมาไถ่ถอนจำนองก็เป็นการทำหน้าที่บุตรที่ต้องอุปการะบิดาตามศีลธรรม
++
++ ส่วนฎีกาจำเลยทั้งสี่ที่คัดค้านคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น กรณีอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองใช้พยานเอกสารในชั้นไต่สวนขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลพิพากษาเป็นกรณีฉุกเฉินมาเป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณา ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 117 นั้น
++ เห็นว่า พยานเอกสารดังกล่าวโจทก์ได้ระบุไว้แล้วในบัญชีพยาน และในชั้นพิจารณา ทนายจำเลยทั้งสี่ก็ได้มีโอกาสถามค้านแล้ว ศาลย่อมมีสิทธินำมาพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีได้ทั้งสิ้น
++ สำหรับฎีกาจำเลยทั้งสี่ในประการอื่นไม่อาจทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5712/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการซักถามพยานในคดีแรงงาน: ศาลแรงงานมีอำนาจจำกัดสิทธิคู่ความในการซักถามพยาน
การสืบพยานในคดีแรงงาน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคสอง กำหนดให้ศาลแรงงานเท่านั้นเป็นผู้ซักถามพยานของฝ่ายโจทก์หรือของฝ่ายจำเลยหรือพยานที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง ฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยไม่มีสิทธิซักถามพยานที่ตนอ้างมาหรือพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างหรือพยานที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง เว้นแต่ศาลแรงงานจะอนุญาตให้ซักถามได้เท่านั้น หากศาลแรงงานไม่อนุญาตให้ฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยซักถามพยานแล้ว การซักถามพยานโดยฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยต่อพยานที่ตนอ้างมาหรือต่อพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ทั้งการถามพยานฝ่ายที่ตนอ้างหรือพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างนั้น มาตรา 45 วรรคสอง กำหนดให้เป็นการซักถามทั้งสิ้นการซักถามพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างจึงไม่เป็นการถามค้านตาม ป.วิ.พ.มาตรา 89และการสืบพยานดังกล่าวแตกต่างจากการสืบพยานในคดีแพ่งทั่วไปที่ ป.วิ.พ.มาตรา117 กำหนดให้ฝ่ายที่อ้างพยานต้องซักถามพยานที่ตนอ้างก่อนเสมอ แล้วจึงให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งถามค้านพยาน และเป็นสิทธิของคู่ความทั้งสองฝ่ายที่จะซักถามและถามค้านตามลำดับได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน เมื่อการสืบพยานในคดีแพ่งทั่วไปในส่วนที่เกี่ยวกับการซักถามพยานขัดหรือแย้งกับการสืบพยานในคดีแรงงาน จึงไม่อาจนำบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา 89 มาอนุโลมใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานในศาลแรงงานได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งคู่ความที่ได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานให้ซักถามพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนอ้างมาจึงไม่จำต้องซักถามหรือถามค้านพยานดังกล่าวไว้ก่อนถึงข้อความที่ตนจะนำสืบภายหลังดังจำเลยอ้างไม่ และศาลแรงงานย่อมรับฟังพยานโจทก์ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5712/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานในคดีแรงงาน ศาลแรงงานมีอำนาจซักถามพยานเอง คู่ความต้องรอรับอนุญาตก่อนซักถาม
การสืบพยานในคดีแรงงานพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคสอง กำหนดให้ศาลแรงงาน เท่านั้นเป็นผู้ซักถามพยานของฝ่ายโจทก์หรือของฝ่ายจำเลยหรือพยานที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง ฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยไม่มีสิทธิซักถามพยานที่ตนอ้าง มาหรือพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างหรือพยานที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง เว้นแต่ศาลแรงงานจะอนุญาตให้ซักถามได้เท่านั้นหากศาลแรงงานไม่อนุญาตให้ฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยซักถามพยานแล้ว การซักถามพยานโดยฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยต่อพยานที่ตนอ้างมาหรือต่อพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ทั้งการถามพยานฝ่ายที่ตนอ้างหรือพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างนั้น มาตรา 45 วรรคสองกำหนดให้เป็นการซักถามทั้งสิ้นการซักถามพยานที่อีกฝ่ายหนึ่ง อ้างจึงไม่เป็นการถามค้านตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89และการสืบพยานดังกล่าวแตกต่างจากการสืบพยานในคดีแพ่งทั่วไปที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 117 กำหนดให้ฝ่ายที่อ้างพยานต้องซักถามพยานที่ตน อ้างก่อนเสมอ แล้วจึงให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งถามค้านพยาน และเป็นสิทธิของคู่ความทั้งสองฝ่ายที่จะซักถาม และถามค้านตามลำดับได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน เมื่อการสืบพยานในคดีแพ่งทั่วไปในส่วนที่เกี่ยวกับการซักถาม พยานขัดหรือแย้งกับการสืบพยานในคดีแรงงาน จึงไม่อาจ นำบทบัญญัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 มาอนุโลมใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณา สืบพยานในศาลแรงงานได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งคู่ความ ที่ได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานให้ซักถามพยานที่อีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนอ้างมาจึงไม่จำต้องซักถามหรือถามค้าน พยานดังกล่าวไว้ก่อนถึงข้อความที่ตนจะนำสืบภายหลังดังจำเลยอ้างไม่ และศาลแรงงานย่อมรับฟังพยานโจทก์ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง, ลักษณะการเลิกจ้าง, การสืบพยานในคดีแรงงาน, และการโต้แย้งดุลพินิจศาล
โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างและเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานและ ป.พ.พ. จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ได้เป็นลูกจ้างแต่เป็นหุ้นส่วนทำกิจการร่วมกัน และโจทก์มีพฤติการณ์เสียหายด้านการเงินไม่นำเงินที่เรียกเก็บจากลูกค้าไปชำระค่าบริการต่าง ๆ ให้สถานบริการเหล่านั้น จำเลยต้องรับภาระชำระหนี้สินที่โจทก์ก่อขึ้นดังกล่าว จำเลยให้โอกาสโจทก์ปรับปรุงตัวใหม่ แต่โจทก์ก็ไม่ได้ปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น ยังคงหลอกลวงลูกค้าที่มาใช้บริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวนำเงินที่รับจากลูกค้าไปเป็นประโยชน์ส่วนตนเป็นเหตุให้ลูกค้าได้รับความเสียหายอยู่อีก เมื่อศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ดังนี้ ข้อต่อสู้ของจำเลยในส่วนที่ว่าโจทก์มีพฤติการณ์เป็นการทุจริตต่อหน้าที่จึงยังคงมีอยู่ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิเรียกค่าจ้างค้างค่าครองชีพ เงินส่วนแบ่ง เงินค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายต่าง ๆ ตามฟ้องหรือไม่
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง หาได้มีบทกฎหมายใดกำหนดหรือบังคับให้ต้องมีการบอกเลิกจ้างกันอย่างชัดแจ้งทุกกรณีเสมอไปไม่ การเลิกจ้างอาจเกิดขึ้นได้โดยพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่พอแสดงได้ว่าเป็นการเลิกจ้างก็ได้ ดังที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคสอง ได้บัญญัติถึงวิธีการซักถามพยานไว้โดยเฉพาะแล้วว่าในการสืบพยาน คู่ความจะซักถามพยานได้ก็เฉพาะเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานแล้วเท่านั้น กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยการสืบพยานตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 89, 116 (2) และมาตรา 117 มาใช้บังคับแก่การสืบพยานในคดีแรงงานในศาลแรงงานโดยอนุโลมได้
โจทก์ยกเอาพยานเอกสารที่จำเลยนำสืบมาอุทธรณ์โต้แย้งเพื่อให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงไปอีกทางหนึ่งอันจะเป็นประโยชน์แก่โจทก์ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาแรงงาน: การเลิกจ้าง การพิสูจน์พยานหลักฐาน และขอบเขตการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างและเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ได้เป็นลูกจ้างแต่เป็นหุ้นส่วนทำกิจการร่วมกันและโจทก์มีพฤติการณ์เสียหายด้านการเงินไม่นำเงินที่เรียกเก็บจากลูกค้าไปชำระค่าบริการต่าง ๆ ให้สถานบริการเหล่านั้นจำเลยต้องรับภาระชำระหนี้สินที่โจทก์ก่อขึ้นดังกล่าวจำเลยให้โอกาสโจทก์ปรับปรุงตัวใหม่ แต่โจทก์ก็ไม่ได้ปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น ยังคงหลอกลวงลูกค้าที่มาใช้บริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวนำเงินที่รับจากลูกค้าไปเป็นประโยชน์ส่วนตนเป็นเหตุให้ลูกค้าได้รับความเสียหายอยู่อีก เมื่อศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ดังนี้ข้อต่อสู้ของจำเลยในส่วนที่ว่าโจทก์มีพฤติการณ์เป็นการทุจริตต่อหน้าที่จึงยังคงมีอยู่ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิเรียกค่าจ้าง ค้างค่าครองชีพ เงินส่วนแบ่งเงินค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายต่าง ๆ ตามฟ้องหรือไม่ การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง หาได้มีบทกฎหมายใดกำหนดหรือบังคับให้ต้องมีการบอกเลิกจ้างกันอย่างชัดแจ้งทุกกรณีเสมอไป การเลิกจ้างอาจเกิดขึ้นได้โดยพฤติการณ์ต่าง ๆที่พอแสดงได้ว่าเป็นการเลิกจ้างก็ได้ ดังที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสอง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคสอง ได้บัญญัติถึงวิธีการซักถาม พยานไว้โดยเฉพาะแล้วว่าในการสืบพยาน คู่ความจะซักถามพยานได้ก็เฉพาะเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานแล้วเท่านั้น กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยการสืบพยานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89,116(2) และมาตรา 117 มาใช้บังคับแก่การสืบพยานในคดีแรงงานในศาลแรงงานโดยอนุโลมได้ โจทก์ยกเอาพยานเอกสารที่จำเลยนำสืบมาอุทธรณ์โต้แย้งเพื่อให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงไปอีกทางหนึ่งอันจะเป็นประโยชน์แก่โจทก์ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4225-4226/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท: พยานหลักฐานฝ่ายจำเลยมีน้ำหนักกว่าโจทก์แม้พยานโจทก์เบิกความไม่ตรงกัน
การที่ อ. พยานโจทก์เบิกความไม่ตรงกับที่โจทก์และพยานโจทก์ปากอื่นเบิกความ แต่คำเบิกความของ อ. กลับเจือสมกับที่จำเลยให้การ ทำให้ข้อต่อสู้และพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 มีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานโจทก์นั้น หากโจทก์เห็นว่า อ. ซึ่งเป็นพยานที่ฝ่ายโจทก์อ้างมาเบิกความเป็นปรปักษ์แก่โจทก์เอง โจทก์ก็อาจขออนุญาตต่อศาลเพื่อซักถาม อ. เสมือนหนึ่งเป็นพยานซึ่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างมา ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 117 วรรคหก แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ขออนุญาตต่อศาลเพื่อซักถาม อ. พยานโจทก์เสมือนหนึ่งเป็นพยานที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างมา ดังนี้จะถือว่า อ. เบิกความเป็นปรปักษ์ต่อโจทก์ยังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4225-4226/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: พยานเบิกความขัดแย้งกับฝ่ายฟ้อง ศาลพิจารณาจากพยานหลักฐานและข้อต่อสู้ที่น่าเชื่อถือกว่า
การที่ อ. พยานโจทก์เบิกความไม่ตรงกับที่โจทก์และพยานโจทก์ปากอื่นเบิกความ แต่คำเบิกความของ อ. กลับเจือสมกับที่จำเลยให้การ ทำให้ข้อต่อสู้และพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 มีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานโจทก์นั้น หากโจทก์เห็นว่า อ. ซึ่งเป็นพยานที่ฝ่ายโจทก์อ้างมาเบิกความเป็นปรปักษ์แก่โจทก์เอง โจทก์ก็อาจขออนุญาตต่อศาลเพื่อซักถาม อ. เสมือนหนึ่งเป็นพยานซึ่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างมา ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 117 วรรคหก แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ขออนุญาตต่อศาลเพื่อซักถาม อ. พยานโจทก์เสมือนหนึ่งเป็นพยานที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างมา ดังนี้จะถือว่า อ. เบิกความเป็นปรปักษ์ต่อโจทก์ยังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2073/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารสัญญากู้ยืมเงินไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ทำให้ฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแสดงให้เป็นที่พอใจว่าต้นฉบับเอกสารสัญญากู้ยืมเงินได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ศาลจึงรับฟังคู่ฉบับเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ และเมื่อโจทก์มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 653 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2073/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมเงินต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ จึงใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งได้ หากไม่มีหลักฐานการปิดแสตมป์ที่น่าพอใจ ศาลไม่รับฟัง
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแสดงให้เป็นที่พอใจว่าต้นฉบับเอกสารสัญญากู้ยืมเงินได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้วศาลจึงรับฟังคู่ฉบับเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้และเมื่อโจทก์มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญโจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา653วรรคหนึ่งแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
of 5