คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ม. 4 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขวันที่เช็คที่ถูกปฏิเสธไม่ถือเป็นการออกเช็คฉบับใหม่ ความผิดฐานออกเช็คจึงเกิดขึ้นครั้งเดียว
การที่จำเลยนำเช็คที่ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วมาแก้ไขวันที่และลงชื่อกำกับวันที่แก้ไขไว้ แม้จะเจตนาให้มีผลผูกพันเพื่อชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่จำเลยทำสัญญากับผู้เสียหาย และเป็นการแก้ไขวันสั่งจ่ายซึ่งเป็นข้อสำคัญในเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 ก็ตาม แต่การลงวันที่ใหม่และลงนามกำกับการแก้ไขโดยจำนวนเงินและลายมือชื่ออันเป็นรายการที่มีอยู่ในเช็คเดิมจึงเป็นเพียงการแก้วันที่ในเช็คเพียงอย่างเดียว เช็คยังคงเป็นเช็คฉบับเดิม ไม่เป็นการออกเช็คฉบับใหม่แต่อย่างใด เมื่อเช็คถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินมาครั้งหนึ่งแล้ว ความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ย่อมเกิดขึ้นนับแต่วันนั้นแล้ว การที่ผู้เสียหมายนำเช็คไปเรียกเก็บเงินอีกและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นครั้งที่สองจึงหาได้เกิดความผิดขึ้นใหม่อีกไม่ เพราะเป็นการกระทำอันเดียวกันนั้นเอง การกระทำอันเดียวกันจะเป็นความผิดสองครั้งหาได้ไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชี ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค แม้จะมีการโอนเช็คต่อ
การที่จำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าให้แก่ อ.ถือว่าเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้เมื่อเช็คดังกล่าวถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน การออกเช็คของจำเลยจึงเป็นการออกโดยมีเจตนาจะไม่ใช้เงินตามเช็คอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4(1)(3) การที่ อ. นำเช็คดังกล่าวไปแลกเงินสดกับผู้เสียหายเป็นเรื่องระหว่าง อ. กับผู้เสียหาย ไม่ทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิด