พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วิธีคุ้มครองชั่วคราว การละเมิด และการรื้อถอนทางกีดขวางทางเข้าออก
วิธีการชั่วคราวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) โจทก์จะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่า คำฟ้องที่โจทก์ยื่นและในโอกาสที่ยื่นคำขอนั้นมีเหตุสมควรและมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตวรรคหนึ่ง (1) (2) และโจทก์ยังต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่า จำเลยทั้งสี่ตั้งใจจะกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิด การผิดสัญญา หรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้องตามมาตรา 255 ้รรคสาม (ก) อีกด้วย แม้ตามคำฟ้องที่โจทก์ยื่นและในโอกาสที่ยื่นคำขอนั้นข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันก่อสร้างทางเดินเท้าปิดทางเข้าออกสู่ถนนหลวงจนแล้วเสร็จไปก็ตาม แต่โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาละเมิดอ้างว่า จำเลยก่อสร้างทางเดินเท้าปิดกั้นทางเข้าออกโรงสีข้าวของโจทก์สู่ถนนหลวงซึ่งเป็นทางเข้าออกมีอยู่ทางเดียว ทำให้โจทก์เสียหายไม่สามารถใช้ทางเข้าออกได้ตามปกติขอให้รื้อถอน ดังนี้ ตราบใดที่ทางเดินเท้านั้นยังคงมีอยู่ ก็ถือได้ว่ายังมีการกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดตามที่ถูกฟ้องร้องนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีทางเข้าออกโรงสีอยู่ทางเดียว การก่อสร้างทางเดินเท้าตามฟ้องย่อมทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ทางเข้าออกโรงสีของโจทก์ได้ตามปกติ ส่วนปัญหาว่าที่ดินของโจทก์จะต้องด้วยข้อกำหนดเงื่อนไขให้เปิดทางได้หรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันต่อไปในชั้นพิจารณากรณีมีเหตุสมควรและเหตุผลเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวตามที่โจทก์ขอมาใช้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6994/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคู่ความอื่นก่อนออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว
การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา254 (2) แม้ว่ากฎหมายจะบัญญัติให้ทำเป็นคำขอฝ่ายเดียวก็ตาม แต่ศาลก็มีอำนาจที่จะฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ ก่อนออกคำสั่งในเรื่องนั้น ๆ ได้ ตามป.วิ.พ. มาตรา 21 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6994/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการสืบพยานคดีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา: ศาลมีอำนาจไต่สวนทั้งสองฝ่าย
การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2) แม้ว่ากฎหมายจะบัญญัติให้ทำเป็นคำขอฝ่ายเดียวก็ตาม แต่ศาลก็มีอำนาจที่จะฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ ก่อนออกคำสั่งในเรื่องนั้น ๆ ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6749/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งห้ามกรีดยางชั่วคราวเกี่ยวข้องกับการฟ้องละเมิดหรือไม่? ศาลพิจารณาจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยเข้ากรีดยางพาราในที่พิพาทด้วย ดังนั้นการขอให้ห้ามจำเลยกรีดยางพาราในที่พิพาทก่อนศาลมีคำพิพากษาจึงเป็นการห้ามมิให้จำเลยกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลระหว่างพิจารณาคดี และผลของคำสั่งยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
คำสั่งให้งดการไต่สวนพยานจำเลยที่ 1 ในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา หากคู่ความฝ่ายใดไม่เห็นด้วยและประสงค์จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นในภายหลัง จะต้องโต้แย้งคำสั่งให้ศาลจดลงไว้ในรายงาน คู่ความฝ่ายที่โต้แย้งจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 แต่ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นสั่งงดไต่สวนเมื่อวันที่ 21กุมภาพันธ์ 2534 และนัดฟังคำสั่งในวันรุ่งขึ้นเวลา 9 นาฬิกาทนายโจทก์ได้ทราบคำสั่งในวันนั้นแล้ว ดังนั้น ในช่วงเวลาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะอ่านคำสั่ง ย่อมมีเวลาเพียงพอที่โจทก์จะโต้แย้งคัดค้านได้ แต่ก็หาได้มีการโต้แย้งคัดค้านไม่ โจทก์จึงหมดสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว อีกทั้งไม่อาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นเป็นข้อฎีกาได้ เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์จึงต้องห้ามฎีกาตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก (เดิม) แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาข้อนี้ของโจทก์ขึ้นมาด้วย ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องคดีพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ศาลนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้ โดยยื่นคำร้องขอในกรณีมีเหตุฉุกเฉินรวมเข้ามาด้วยกรณีจึงเป็นไปตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 267 ปรากฏว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นำวิธีการชั่วคราวในกรณีมีเหตุฉุกเฉินมาใช้บังคับตามคำขอของโจทก์แล้วจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอโดยพลันให้ศาลชั้นต้นยกเลิกคำสั่งดังกล่าวเสีย ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วได้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งเดิมตามคำขอของจำเลยที่ 1 คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด ทั้งนี้โดยมิพักต้องคำนึงถึงว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือพิจารณาฝ่ายเดียวหรือสองฝ่ายหรือไม่เพราะแม้จะได้ความว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1 ในกรณีธรรมดาเพราะไม่มีเหตุฉุกเฉิน หรือพิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1ชนิดสองฝ่ายก็ตาม คำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมของศาลชั้นต้นก็เป็นการสั่งตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267วรรคสอง ที่บัญญัติว่า คำสั่งดังกล่าวให้เป็นที่สุดอยู่นั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาถูกยกเลิกโดยศาลอุทธรณ์ ถือเป็นคำสั่งถึงที่สุด โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา
โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาต่อศาลชั้นต้นในกรณีฉุกเฉิน ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งอนุญาต จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาดังกล่าวเป็นกรณีฉุกเฉินเช่นกัน ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งให้ยกคำร้องของ จำเลย จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้นเสีย คำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวย่อมถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 วรรคสอง โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแย้งจำกัดเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม และการเรียกร้องค่าเสียหายจากกระบวนการชั่วคราวก่อนพิพากษาต้องฟ้องเป็นคดีต่างหาก
ฎีกาของโจทก์ที่ว่าฟ้องแย้งเป็นฟ้องซ้ำกับคดีอื่นเป็นฎีกาข้อที่โจทก์มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้งจึงไม่มีประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบมาตรา 246, และ 247 ฎีกาของโจทก์ที่ว่าฟ้องแย้งไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมแม้โจทก์จะมิได้ให้การแก้ฟ้องแย้งในข้อดังกล่าวไว้ แต่ข้อฎีกานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคสอง ปัญหาว่าที่พิพาทโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิครอบครอง โจทก์และจำเลยยังโต้เถียงกันอยู่ในขณะจำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายที่ขาดกำไรสุทธิจากการทำเหมืองแร่ในที่พิพาท ทั้งสิทธิทำเหมืองแร่ในที่พิพาทของจำเลยก็ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของทางราชการจำเลยยังไม่มีสิทธิโดยสมบูรณ์ที่จะเข้าทำเหมืองแร่ในที่พิพาทการที่โจทก์ไปร้องคัดค้านการขอออกประทานบัตรของจำเลย ฟ้องคดีนี้และนำสำเนาคำฟ้องไปยื่นร้องคัดค้านต่อกรมทรัพยากรธรณีจึงยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยซึ่งยังไม่มีอยู่ในขณะฟ้องแย้งฟ้องแย้งดังกล่าวเป็นฟ้องที่มิชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งในส่วนนี้ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่แก้ไขขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทตามที่จำเลยที่ 2 ได้รับประทานบัตรห้ามมิให้โจทก์และบริวารเข้าเกี่ยวข้อง ให้โจทก์รื้อถอนเรือนแถวที่พักของคนงาน และทำให้ที่ดินมีสภาพเหมือนเดิมและให้โจทก์ทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยวันละ 15,000 บาท นับแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน2521 เป็นต้นไป จนกว่าจำเลยทั้งสองจะได้เข้าทำเหมืองแร่ตามประทานบัตรนั้น แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 ปรากฏว่าจำเลยที่ 2ได้รับประทานบัตรทำเหมืองแร่ในที่พิพาทตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน2521 จำเลยขอแก้ไขฟ้องแย้งและได้รับอนุญาตจากศาลเมื่อวันที่13 ธันวาคม 2521 ซึ่งเป็นภายหลังจากที่จำเลยที่ 2 ได้รับประทานบัตรดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิในที่พิพาทในขณะที่ขอแก้ไขฟ้องแย้งการที่โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองเข้าเกี่ยวข้องรบกวนสิทธิครอบครองของโจทก์ในที่พิพาทจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยแล้ว ทั้งการที่จำเลยแก้ไขฟ้องแย้งดังกล่าวถือได้ว่าเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม จำเลยจึงมีอำนาจฟ้องแย้งในส่วนดังกล่าว แต่ที่จำเลยขอให้โจทก์ทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยวันละ15,000 บาท นั้น ปรากฏว่า มูลหนี้ตามฟ้องแย้งของจำเลยเกิดจากกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่เรียกว่าวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา อันเป็นกรณีที่เกิดขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมาย คือ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งต่างหากจากคำฟ้องเดิม ฟ้องแย้งของจำเลยเรียกค่าเสียหายดังกล่าวจากโจทก์จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ชอบที่จะฟ้องโจทก์เป็นคดีต่างหากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5978-5979/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำฟ้องระหว่างพิจารณาคดี & เหตุคุ้มครองชั่วคราว: การโอนที่ดินพิพาทขัดขวางบังคับคดี
ศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานและนัดสืบพยานโจทก์ ก่อนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 2ที่ 3 ได้จดทะเบียนโอนขายที่นาพิพาทคืนให้แก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์เพิ่งทราบหลังจากการชี้สองสถาน จึงขอแก้ไขคำฟ้องตามข้อเท็จจริงดังกล่าว เพื่อบังคับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ซื้อที่นาพิพาทอีก ทอด หนึ่ง ให้โอนขายแก่โจทก์ด้วย เห็นได้ชัดว่าข้อเท็จจริงดังกล่าว เพิ่งเกิดขึ้นหลังวันชี้สองสถาน โจทก์จึงไม่อาจยื่นคำร้องได้ ก่อนวันชี้สองสถาน ตามคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องจำเลยที่ 1 ขายที่นาพิพาทให้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่แจ้งและเสนอขายให้โจทก์ในฐานะผู้เช่า ก่อนโจทก์จึงฟ้องขอบังคับซื้อที่ดินนาพิพาทจากจำเลยทั้งสาม ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ขณะคดีอยู่ ในระหว่าง พิจารณาจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ได้จดทะเบียนโอนขาย ที่นาพิพาทคืนให้จำเลยที่ 1 โจทก์จึงได้แก้ไขคำฟ้องเพื่อบังคับ จำเลยที่ 1 ตามข้อเท็จจริงที่เพิ่งเกิดขึ้นด้วย เป็นการแก้ไข คำฟ้องเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179(2) มีความเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม โจทก์มีสิทธิ ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 182 ตามคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวกล่าวว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่ยอมส่งโฉนดที่พิพาทตามคำสั่งศาลเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐาน เพราะจำเลยทั้งสามตั้งใจโอนที่นาพิพาทเพื่อไม่ให้โจทก์บังคับคดี ต่อมาจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้โอนที่นาพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 กำลังบอกขายที่นาพิพาทเพื่อให้พ้นจากการบังคับคดี ของ โจทก์จึงขอให้ศาลอายัดที่นาก่อนศาลมีคำพิพากษา คำร้องของโจทก์ เป็น การขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอนขาย ยักย้าย หรือ จำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทจนกว่าคดีจะถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254(2) แม้โจทก์จะใช้คำว่าขอให้อายัด ก็แปลได้ว่าเป็นการ ขอให้ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนนั่นเอง เมื่อตามคำร้องปรากฏว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้โอนที่นาพิพาทให้จำเลยที่ 1 ในระหว่าง การพิจารณา และจำเลยที่ 1 กำลังบอกขายให้บุคคลอื่นต่อไป พอชี้ ให้เห็นความตั้งใจของจำเลยทั้งสามว่าจะจำหน่ายจ่ายโอนเพื่อ ขัดขวางแก่การบังคับตามคำบังคับคดี ซึ่งอาจจะออกบังคับเอาแก่จำเลย ทั้งสามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 255 แล้วคดีนี้โจทก์ฟ้องขอบังคับซื้อ ที่นาพิพาท หากจำเลยที่ 1 จะขายที่นาพิพาทต้องแจ้งให้โจทก์ทราบ ตามสิทธิที่จะซื้อก่อน ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 54 และหากขายที่นาพิพาทไปแล้วผู้ซื้อก็ต้อง รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามมาตรา 28ซึ่งโจทก์ได้รับความคุ้มครอง อยู่แล้วก็ตาม แต่ถ้าปล่อยให้จำเลยโอนที่นาพิพาทไปยังบุคคลภายนอก แม้โจทก์ชนะคดีก็ไม่อาจบังคับคดีแก่จำเลยเพื่อให้ได้มาซึ่ง ที่นาพิพาท โจทก์ต้องไปดำเนินการ เพื่อ บังคับซื้อจากบุคคลภายนอก ผู้รับโอนตามมาตรา 54 ใหม่ ทำให้เกิด ภาระ แก่โจทก์ไม่มีที่สิ้นสุด โจทก์จึงมีสิทธิขอคุ้มครองชั่วคราวได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 254(2) ศาลชั้นต้นต้องรับ คำร้อง ของโจทก์ไว้ไต่สวน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4017/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีมรดก: สิทธิรอคอยจนคดีถึงที่สุด
การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีให้ตามที่โจทก์ขอแต่สั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนจนกว่าจะสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์และจำเลยมิได้ขอให้ทุเลาการบังคับคดีนั้น แม้จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นอันมีผลให้คำสั่งที่ให้งดการบังคับคดีดังกล่าวสิ้นสุดลง แต่เมื่อโจทก์ได้ขอหมายบังคับคดีภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 260 (2) คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ความคุ้มครองชั่วคราวแก่โจทก์ก่อนพิพากษาตามมาตรา 254 (2) โดยการห้ามโอน ขาย ยักย้ายทรัพย์มรดกพิพาทนั้นย่อมมีผลอยู่ต่อไป
การบังคับคดีนั้นเป็นอำนาจของคู่ความที่ชนะคดีจะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุดเพราะโจทก์อุทธรณ์และโจทก์ไม่อาจทราบได้ว่าจะได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์พิพาทเป็นจำนวนเงินเท่าใด โจทก์ย่อมมีสิทธิรอให้คดีถึงที่สุดเสียก่อนจึงดำเนินการบังคับคดีต่อไป ทั้งการที่โจทก์ขอให้ห้ามโอนขาย ยักย้ายทรัพย์มรดกพิพาททั้งหมดก็เพราะโจทก์อ้างว่ามีสิทธิได้รับมรดก 1 ใน 3 ส่วนทุกรายการจึงไม่เป็นการห้ามเกินความจำเป็น
คำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลสั่งจำหน่ายและแบ่งทรัพย์มรดกพิพาทซึ่งศาลได้มีคำสั่งห้ามโอน ขาย ยักย้าย ดังกล่าวอันพออนุโลมได้ว่าเป็นการร้องขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 นั้น เมื่อไม่มีเหตุผลเพียงพอ ศาลย่อมสั่งยกคำร้องโดยไม่จำต้องไต่สวน.
การบังคับคดีนั้นเป็นอำนาจของคู่ความที่ชนะคดีจะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุดเพราะโจทก์อุทธรณ์และโจทก์ไม่อาจทราบได้ว่าจะได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์พิพาทเป็นจำนวนเงินเท่าใด โจทก์ย่อมมีสิทธิรอให้คดีถึงที่สุดเสียก่อนจึงดำเนินการบังคับคดีต่อไป ทั้งการที่โจทก์ขอให้ห้ามโอนขาย ยักย้ายทรัพย์มรดกพิพาททั้งหมดก็เพราะโจทก์อ้างว่ามีสิทธิได้รับมรดก 1 ใน 3 ส่วนทุกรายการจึงไม่เป็นการห้ามเกินความจำเป็น
คำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลสั่งจำหน่ายและแบ่งทรัพย์มรดกพิพาทซึ่งศาลได้มีคำสั่งห้ามโอน ขาย ยักย้าย ดังกล่าวอันพออนุโลมได้ว่าเป็นการร้องขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 นั้น เมื่อไม่มีเหตุผลเพียงพอ ศาลย่อมสั่งยกคำร้องโดยไม่จำต้องไต่สวน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4017/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการคุ้มครองชั่วคราวหลังศาลพิพากษาคดีมรดก การยึดทรัพย์เพื่อรอการบังคับคดีไม่เกินความจำเป็น
ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์ แต่สั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนจนกว่าจะสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์ เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น คำสั่งที่ให้งดการบังคับคดีย่อมสิ้นสุดลง แต่โจทก์ได้ขอหมายบังคับคดีภายในกำหนดสิบห้าวันตามป.วิ.พ. มาตรา 260(2) แล้ว คำสั่ง ศาลชั้นต้น ที่ให้ความคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามมาตรา 254(2) ย่อมมีผลอยู่ต่อไป การบังคับคดีเป็นอำนาจของคู่ความที่ชนะคดีจะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุดเพราะโจทก์อุทธรณ์ และการที่โจทก์ขอให้ห้ามโอนขายยักย้ายทรัพย์มรดกพิพาททั้งหมดก็เพราะโจทก์อ้างว่ามีสิทธิได้รับมรดก 1 ใน 3 ส่วนทุกรายการ จึงไม่เป็นการห้ามเกินความจำเป็น.