พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6524/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมยังไม่ระงับสิ้นแม้เจ้าของภารยทรัพย์ถูกบังคับให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง การพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายที่ไม่กำหนดประเด็นไว้ ถือไม่ชอบ
โจทก์บรรยายเรื่องค่าเสียหายมาในฟ้องแล้ว แต่ศาลชั้นต้น มิได้กำหนดเป็นประเด็นไว้และคู่ความไม่ได้โต้แย้งย่อมถือว่าคู่ความได้สละประเด็นดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะนอกประเด็น เดิมที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นโฉนดเดียวกันครั้นเจ้าของเดิมแบ่งแยกออกเป็นโฉนดเลขที่ 11887 และเลขที่ 1521 แล้ว ได้มีการโอนกันต่อมาหลายทอดจนถึงโจทก์ และจำเลย โดยโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 11887ส่วนจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 1521 ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 1521 ซึ่งได้จดทะเบียนภาระจำยอมเป็นภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11887 ซึ่งเป็นสามยทรัพย์ เมื่อภารจำยอมนี้ยังไม่ระงับสิ้นไป จึงมีผลผูกพันจำเลยให้ต้องยอมให้โจทก์มีสิทธิใช้ต่อไป ดังนี้ เมื่อรูปคดีมิใช่เป็นเรื่องจำเลยผู้เป็นเจ้าของ ภารยทรัพย์เรียกให้พ้นจากภารจำยอมอันเกี่ยวกับทรัพย์ ในกรณีที่ภารยทรัพย์ไม่ใช้หรือใช้ไม่ได้ตามรูปการเพื่อ ประโยชน์แก่ทรัพย์ส่วนใดจึงชอบที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสอง รื้อถอนแผงลอยและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ออกจากที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นภารยทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5595/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางภารจำยอมเกิดจากการใช้ประโยชน์ต่อเนื่อง แม้ใช้เฉพาะช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ก็ถือเป็นภารจำยอมได้
การที่โจทก์ใช้ทางพิพาทเฉพาะในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวเข้าออกจากที่ดินโจทก์สู่ทางสาธารณะเป็นเวลาเกินกว่า10 ปีนั้น ย่อมทำให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมเฉพาะแต่ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวเท่านั้น มิใช่ตกเป็นภารจำยอมตลอดทั้งปี เมื่อจำเลยทั้งสามทำคันดินกั้นทางพิพาทกับนำท่อนไม้มาขวางไว้ ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยทั้งสามมีหน้าที่ต้องรื้อถอนคันดินกับท่อนไม้เปิดทางพิพาทห้ามเกี่ยวข้องและต้องชดใช้ค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5527/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม การจัดสรรที่ดิน และสิทธิในการรื้อถอนสิ่งกีดขวาง
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาให้ฟ้องและดำเนินคดีแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องและดำเนินคดีแทนได้หาจำต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาอีกครั้งไม่
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินไว้ในข้อ 1 ว่า การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อย มีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไปไม่ว่าด้วยวิธีใด เมื่อปรากฏว่า ป.และ ย.ได้ร่วมกันแบ่งแยกที่ดินของตนออกเป็นแปลงย่อย รวม 27 แปลง แล้วประกาศขายให้แก่ประชาชนทั่วไปโดยได้ระบุที่ดินพิพาทอันเป็นรูปตัวทีในหนังสือโฆษณาจัดทำเป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ซื้อที่ดิน การกระทำของ ป.และ ย.จึงเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่า บุคคลทั้งสองได้จัดให้มีสาธารณูปโภคคือที่ดินพิพาทเป็นทางเข้าออกอันถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ตามข้อ 1ดังกล่าวประกอบด้วย ข้อ 30 วรรคหนึ่ง และข้อ 32 ส่วนการที่ ป.และ ย.จะได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่เป็นอีกเรื่องต่างหาก หากบุคคลทั้งสองนั้นจะดำเนินการฝ่าฝืนโดยไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ไม่ทำให้การดำเนินการขายที่ดินของบุคคลทั้งสองดังกล่าวไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย ที่ดินพิพาทจึงเป็นทางภาระจำยอมตามกฎหมายแก่ที่ดินจัดสรรและที่ดินโจทก์ที่ได้รับจาก ส.ซึ่งซื้อที่ดินดังกล่าวมาจาก ป.และ ย. จำเลยจะอ้างว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอกรับโอนโดยสุจริตและจดทะเบียนโดยสุจริตหาได้ไม่
เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ จำเลยเป็นผู้ก่อสร้างสิ่งของลงบนที่ดินพิพาทเพื่อกีดขวางทางภาระจำยอม อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและเครื่องกั้นกีดขวางให้ออกไปจากทางภาระจำยอมได้
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินไว้ในข้อ 1 ว่า การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อย มีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไปไม่ว่าด้วยวิธีใด เมื่อปรากฏว่า ป.และ ย.ได้ร่วมกันแบ่งแยกที่ดินของตนออกเป็นแปลงย่อย รวม 27 แปลง แล้วประกาศขายให้แก่ประชาชนทั่วไปโดยได้ระบุที่ดินพิพาทอันเป็นรูปตัวทีในหนังสือโฆษณาจัดทำเป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ซื้อที่ดิน การกระทำของ ป.และ ย.จึงเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่า บุคคลทั้งสองได้จัดให้มีสาธารณูปโภคคือที่ดินพิพาทเป็นทางเข้าออกอันถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ตามข้อ 1ดังกล่าวประกอบด้วย ข้อ 30 วรรคหนึ่ง และข้อ 32 ส่วนการที่ ป.และ ย.จะได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่เป็นอีกเรื่องต่างหาก หากบุคคลทั้งสองนั้นจะดำเนินการฝ่าฝืนโดยไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ไม่ทำให้การดำเนินการขายที่ดินของบุคคลทั้งสองดังกล่าวไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย ที่ดินพิพาทจึงเป็นทางภาระจำยอมตามกฎหมายแก่ที่ดินจัดสรรและที่ดินโจทก์ที่ได้รับจาก ส.ซึ่งซื้อที่ดินดังกล่าวมาจาก ป.และ ย. จำเลยจะอ้างว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอกรับโอนโดยสุจริตและจดทะเบียนโดยสุจริตหาได้ไม่
เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ จำเลยเป็นผู้ก่อสร้างสิ่งของลงบนที่ดินพิพาทเพื่อกีดขวางทางภาระจำยอม อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและเครื่องกั้นกีดขวางให้ออกไปจากทางภาระจำยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5527/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมจากการจัดสรรที่ดินและการมีอำนาจฟ้องของผู้เยาว์
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาให้ฟ้องและดำเนินคดีแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องและดำเนินคดีแทนได้หาจำต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาอีกครั้งไม่ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินไว้ในข้อ 1 ว่า การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อย มีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไปไม่ว่าด้วยวิธีใด เมื่อปรากฏว่า ป. และ ย. ได้ร่วมกันแบ่งแยกที่ดินของตนออกเป็นแปลงย่อย รวม 27 แปลงแล้วประกาศขายให้แก่ประชาชนทั่วไปโดยได้ระบุที่ดินพิพาทอันเป็นรูปตัวทีในหนังสือโฆษณาจัดทำเป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะ ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ซื้อที่ดิน การกระทำของ ป. และ ย. จึงเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่า บุคคลทั้งสองได้จัดให้มีสาธารณูปโภคคือที่ดินพิพาทเป็นทางเข้าออก อันถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ตามข้อ 1 ดังกล่าวประกอบด้วย ข้อ 30 วรรคหนึ่งและข้อ 32 ส่วนการที่ ป. และ ย. จะได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่เป็นอีกเรื่องต่างหาก หากบุคคลทั้งสองนั้นจะดำเนินการฝ่าฝืนโดยไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ไม่ทำให้การดำเนินการขายที่ดินของบุคคลทั้งสองดังกล่าวไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย ที่ดินพิพาท จึงเป็นทางภารจำยอมตามกฎหมายแก่ที่ดินจัดสรรและที่ดินโจทก์ที่ได้รับจาก ส.ซึ่งซื้อที่ดินดังกล่าวมาจากป.และย.จำเลยจะอ้างว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอกรับโอนโดยสุจริตและจดทะเบียนโดยสุจริตหาได้ไม่ เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์จำเลยเป็นผู้ก่อสร้างสิ่งของลงบนที่ดินพิพาทเพื่อกีดขวางทางภารจำยอม อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและเครื่องกั้นกีดขวางให้ออกไปจากทางภารจำยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4510/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัย แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ และการกำหนดค่าทดแทน
ฎีกาโจทก์มิได้บรรยายถึงคำฟ้องและคำให้การอันมีมาแต่แรก แต่โจทก์ได้บรรยายมาในฎีกาว่าศาลชั้นต้นพิพากษาว่าอย่างไร คู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าอย่างไร นอกจากนี้ฎีกาโจทก์ยังได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นโต้แย้งคำพิพากษา ว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ชอบหรือผิดพลาดในข้อใดอย่างไร และเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ส่วนคำขอท้ายฎีกาโจทก์ก็ขอให้ศาลฎีกา แก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยให้พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้โจทก์ฎีกาจะไม่ได้บรรยายถึงคำฟ้องและคำให้การอันมีมาแต่ศาลชั้นต้นว่าเป็นอย่างไร ฎีกาโจทก์ก็ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แล้ว โจทก์ฟ้องตั้งรูปว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมและทางจำเป็น ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นทางภารจำยอมโดยมิได้วินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ แต่หากศาลอุทธรณ์เห็นว่า ทางพิพาท ไม่ใช่ทางภารจำยอมและข้อเท็จจริงในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยในเรื่องทางจำเป็น ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยว่าเป็นทางจำเป็นได้ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและมีบ้านปลูกอยู่ในที่ดินทางด้านทิศใต้ติดต่อกับที่ดินของจำเลยซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือที่ดินของโจทก์ถูกล้อมโดยที่ดินแปลงอื่นไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ได้ โดยที่ดินของจำเลยเป็นที่ดินแปลงหนึ่งที่ล้อมที่ดินของโจทก์ และติดทางสาธารณประโยชน์ หากโจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินจำเลยออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ก็จะเป็นทางตรง มีระยะสั้น และสะดวกกว่า ไปใช้ทางอื่น ถือได้ว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 เมื่อโจทก์ผู้มีสิทธิจะผ่านทางพิพาทซึ่งเป็นทางจำเป็นโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1349 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4510/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกล้อม – หน้าที่ชดใช้ค่าทดแทน
ฎีกาโจทก์มิได้บรรยายถึงคำฟ้องและคำให้การอันมีมาแต่แรกแต่โจทก์ได้บรรยายมาในฎีกาว่าศาลชั้นต้นพิพากษาว่าอย่างไร คู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าอย่างไร นอกจากนี้ฎีกาโจทก์ยังได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ชอบหรือผิดพลาดในข้อใดอย่างไรและเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ส่วนคำขอท้ายฎีกาโจทก์ก็ขอให้ศาลฎีกาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยให้พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ฎีกาโจทก์จะไม่ได้บรรยายถึงคำฟ้องและคำให้การอันมีมาแต่ศาลชั้นต้นว่าเป็นอย่างไร ฎีกาโจทก์ก็ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แล้ว
โจทก์ฟ้องตั้งรูปว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและทางจำเป็นศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นทางภาระจำยอม โดยมิได้มิได้วินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ แต่หากศาลอุทธรณ์เห็นว่า ทางพิพาทไม่ใช่ทางภาระจำยอมและข้อเท็จจริงในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยในเรื่องทางจำเป็นศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยว่าเป็นทางจำเป็นได้ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและมีบ้านปลูกอยู่ในที่ดินทางด้านทิศใต้ติดต่อกับที่ดินของจำเลยซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือ ที่ดินของโจทก์ถูกล้อมโดยที่ดินแปลงอื่นไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ได้ โดยที่ดินของจำเลยเป็นที่ดินแปลงหนึ่งที่ล้อมที่ดินของโจทก์ และติดทางสาธารณประโยชน์ หากโจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินจำเลยออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ก็จะเป็นทางตรง มีระยะสั้น และสะดวกกว่าไปใช้ทางอื่น ถือได้ว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349
เมื่อโจทก์ผู้มีสิทธิจะผ่านทางพิพาทซึ่งเป็นทางจำเป็น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องตั้งรูปว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและทางจำเป็นศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นทางภาระจำยอม โดยมิได้มิได้วินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ แต่หากศาลอุทธรณ์เห็นว่า ทางพิพาทไม่ใช่ทางภาระจำยอมและข้อเท็จจริงในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยในเรื่องทางจำเป็นศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยว่าเป็นทางจำเป็นได้ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและมีบ้านปลูกอยู่ในที่ดินทางด้านทิศใต้ติดต่อกับที่ดินของจำเลยซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือ ที่ดินของโจทก์ถูกล้อมโดยที่ดินแปลงอื่นไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ได้ โดยที่ดินของจำเลยเป็นที่ดินแปลงหนึ่งที่ล้อมที่ดินของโจทก์ และติดทางสาธารณประโยชน์ หากโจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินจำเลยออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ก็จะเป็นทางตรง มีระยะสั้น และสะดวกกว่าไปใช้ทางอื่น ถือได้ว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349
เมื่อโจทก์ผู้มีสิทธิจะผ่านทางพิพาทซึ่งเป็นทางจำเป็น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4041/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรที่ดินสร้างภารจำยอม แม้ไม่ขออนุญาตจัดสรรก็ถือเป็นการจัดสรรตามกฎหมายได้
การที่ ป.ได้แบ่งแยกที่ดินของตนออกเป็นแปลงย่อยประมาณ300 แปลงเพื่อขาย และได้สร้างโรงภาพยนตร์โดยมีทางพิพาท อยู่ด้านข้างทั้งสองด้านของโรงภาพยนตร์และอยู่หน้าอาคาร ของโจทก์ทั้งสิบสี่แสดงโดยชัดแจ้งว่า ป.จัดทำทางพิพาทเพื่อใช้เป็นทางเข้าออกสู่ถนนเพชรเกษมอันเป็นทางสาธารณะเป็นการแสดงออกโดยปริยายแล้วว่า ป.เจตนาจัดให้มีสาธารณูปโภค คือทางพิพาท ถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515ข้อ 30 แม้ ป. จะมิได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ก็ไม่ทำให้การดำเนินการ ของ ป. กลับไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมายไปแต่อย่างใดไม่ ส่วนการจัดสรรที่ดินอันฝ่าฝืนต่อประกาศของ คณะปฏิวัติดังกล่าวจะมีผลตามกฎหมายเป็นประการอื่นอย่างไรบ้าง เป็นอีกกรณีหนึ่ง ฉะนั้นทางพิพาทจึงเป็นภารจำยอมแก่ที่ดิน ของโจทก์ทั้งสิบสี่โดยผลของกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3926/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอม: การสร้างโครงเหล็กพาดสายไฟบนที่ดินภารยทรัพย์ ไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก
ที่ดินของโจทก์ร่วมตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของจำเลยเพื่อใช้เป็นทางเดินให้รถยนต์เข้าออกได้ ปักเสาพาดสายไฟฟ้าท่อประปา ท่อระบายน้ำ โทรศัพท์และอื่น ๆ อีกผ่านโดยตลอดตามบันทึกข้อตกลงเรื่องภารจำยอม การที่จำเลยที่ว่าจ้างให้ทำ โครงเหล็กวางพาดสายไฟและติดหลอดไฟฟ้าเพื่อให้มีแสงสว่างแบบถาวร แม้จะเกินความจำเป็นไปบ้างแต่ก็เป็นการใช้สิทธิของเจ้าของสามทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387ส่วนจะเป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์หรือไม่นั้นต้องไปว่ากล่าวกันในทางแพ่ง กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาเข้าไปรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์หรือเข้าไปเพื่อถือครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วมทั้งหมดหรือบางส่วน การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3505/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นและภาระจำยอม: การพิจารณาความสะดวก, ความเสียหาย และแหล่งน้ำทางเลือก
แม้ทางด้านทิศเหนือของที่ดินโจทก์จะเคยมีทางสาธารณะอยู่แต่ได้ขุดเป็นลำเหมืองสำหรับปล่อยน้ำทิ้งมานานประมาณ 20 ปีแล้ว ปัจจุบันมีสภาพตื้นเขิน ไม่มีน้ำตลอดทั้งปี ไม่สามารถใช้เรือสัญจรไปมาได้ ทางดังกล่าวจึงไม่เป็นทางสาธารณะตามของ ป.พ.พ.มาตรา 1349 ส่วนทางที่โจทก์จะสามารถใช้ออกสู่ทางสาธารณะใช้อีกทางหนึ่งคือ คันคลองส่งน้ำด้านทิศตะวันตกของที่ดินโจทก์ แต่ทางดังกล่าวต้องผ่านที่ดินของผู้อื่นจำนวนหลายแปลงด้วยกัน และมีระยะทางยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ทั้งโจทก์ไม่เคยใช้เป็นเส้นทางเดินออกสู่ทางสาธารณะเป็นปกติมาก่อนเลย เมื่อเปรียบเทียบกับทางพิพาทซึ่งเป็นทางตรงมีระยะทางเพียง 18เมตร ทางพิพาทย่อมสะดวกและมีความเหมาะสมมากกว่า ทั้งทำให้เกิดความเสียหายแก่ที่ดินที่ล้อมอยู่น้อยที่สุด เพราะทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยเพียงแปลงเดียวจำเลยจะเกี่ยงให้โจทก์ไปใช้เส้นทางอื่นในที่ดินคนอื่นที่โจทก์ไม่ได้ใช้เป็นปกติมาก่อนเป็นทางเข้าออกไม่ได้ และเมื่อคำนึงถึงอนาคต โจทก์อาจใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเข้าออกทางพิพาท เห็นสมควรกำหนดให้ทางพิพาทมีขนาดความกว้าง 2.50 เมตรซึ่งไม่เกินคำขอของโจทก์ได้
โจทก์อ้างความจำเป็นที่จะต้องนำน้ำจากคลองชลประทานเข้าไปใช้ในที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่ติดต่อกับที่ดินของจำเลยโดยวางท่อระบายน้ำผ่านที่ดินของจำเลย พร้อมทั้งเสนอให้ค่าทดแทนเป็นรายปี แต่เมื่อปรากฏว่าทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินโจทก์มีคลองส่งน้ำ และทางด้านทิศเหนือก็มีลำเหมืองสาธารณะอยู่และคลองส่งน้ำนั้นมีน้ำบริบูรณ์ ส่วนลำเหมืองสาธารณะนั้น แม้จะมีสภาพตื้นเขินอยู่บ้างแต่ยังก็มีน้ำมากพอสมควร ประกอบกับจะมีน้ำที่ปล่อยจากบ่อเลี้ยงกุ้งของผู้อื่นหลายรายลงมาในลำเหมืองอยู่เสมอ ๆ โจทก์จึงสามารถใช้น้ำจากแหล่งน้ำทั้งสองแห่งนี้ได้อย่างเพียงพอแล้ว จึงไม่ควรที่จะให้จำเลยจำต้องยอมรับภาระจำยอมในอันที่จะให้โจทก์วางท่อระบายน้ำและตั้งเครื่องสูบน้ำบนที่ดินของจำเลยอีก
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็น และให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายที่มาตักดินบริเวณที่จอดรถยนต์ที่โจทก์ทำไว้เป็นเงิน 15,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยเปิดทางจำเป็น ส่วนคำขอในเรื่องค่าเสียหายให้ยก ดังนี้ เมื่อค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาในชั้นอุทธรณ์ เป็นค่าเสียหายในมูลละเมิด และมิใช่เป็นคำขอต่อเนื่องในเรื่องเดียวกันกับเรื่องทางจำเป็น จึงเป็นคนละมูลกรณีกัน สิทธิในการอุทธรณ์ของโจทก์ย่อมต้องแยกพิจารณา เมื่อคดีในส่วนค่าเสียหายมีทุนทรัพย์ไม่เกิน50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา224 วรรคหนึ่ง
โจทก์อ้างความจำเป็นที่จะต้องนำน้ำจากคลองชลประทานเข้าไปใช้ในที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่ติดต่อกับที่ดินของจำเลยโดยวางท่อระบายน้ำผ่านที่ดินของจำเลย พร้อมทั้งเสนอให้ค่าทดแทนเป็นรายปี แต่เมื่อปรากฏว่าทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินโจทก์มีคลองส่งน้ำ และทางด้านทิศเหนือก็มีลำเหมืองสาธารณะอยู่และคลองส่งน้ำนั้นมีน้ำบริบูรณ์ ส่วนลำเหมืองสาธารณะนั้น แม้จะมีสภาพตื้นเขินอยู่บ้างแต่ยังก็มีน้ำมากพอสมควร ประกอบกับจะมีน้ำที่ปล่อยจากบ่อเลี้ยงกุ้งของผู้อื่นหลายรายลงมาในลำเหมืองอยู่เสมอ ๆ โจทก์จึงสามารถใช้น้ำจากแหล่งน้ำทั้งสองแห่งนี้ได้อย่างเพียงพอแล้ว จึงไม่ควรที่จะให้จำเลยจำต้องยอมรับภาระจำยอมในอันที่จะให้โจทก์วางท่อระบายน้ำและตั้งเครื่องสูบน้ำบนที่ดินของจำเลยอีก
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็น และให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายที่มาตักดินบริเวณที่จอดรถยนต์ที่โจทก์ทำไว้เป็นเงิน 15,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยเปิดทางจำเป็น ส่วนคำขอในเรื่องค่าเสียหายให้ยก ดังนี้ เมื่อค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาในชั้นอุทธรณ์ เป็นค่าเสียหายในมูลละเมิด และมิใช่เป็นคำขอต่อเนื่องในเรื่องเดียวกันกับเรื่องทางจำเป็น จึงเป็นคนละมูลกรณีกัน สิทธิในการอุทธรณ์ของโจทก์ย่อมต้องแยกพิจารณา เมื่อคดีในส่วนค่าเสียหายมีทุนทรัพย์ไม่เกิน50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3505/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: ศาลฎีกาตัดสินให้ใช้ทางผ่านในที่ดินของผู้อื่นได้ หากเป็นทางสะดวกและเหมาะสมที่สุด
แม้ทางด้านทิศเหนือของที่ดินโจทก์จะเคยมีทางสาธารณะ อยู่แต่ได้ขุดเป็นลำเหมืองสำหรับปล่อยน้ำทิ้งมานาน ประมาณ 20 ปีแล้ว ปัจจุบันมีสภาพตื้นเขิน ไม่มีน้ำตลอดทั้งปี ไม่สามารถใช้เรือสัญจรไปมาได้ ทางดังกล่าวจึงไม่เป็น ทางสาธารณะตามของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 ส่วนทางที่โจทก์จะสามารถใช้ออกสู่ทางสาธารณะใช้อีกทางหนึ่ง คือ คันคลองส่งน้ำด้านทิศตะวันตกของที่ดินโจทก์แต่ทางดังกล่าวต้องผ่านที่ดินของผู้อื่นจำนวนหลายแปลงด้วยกันและมีระยะทางยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ทั้งโจทก์ไม่เคยใช้เป็น เส้นทางเดินออกสู่ทางสาธารณะเป็นปกติมาก่อนเลยเมื่อเปรียบเทียบกับทางพิพาทซึ่งเป็นทางตรงมีระยะทางเพียง 18 เมตร ทางพิพาทย่อมสะดวกและมีความเหมาะสมมากกว่า ทั้งทำให้เกิดความเสียหายแก่ที่ดินที่ล้อมอยู่น้อยที่สุดเพราะทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยเพียงแปลงเดียว จำเลยจะเกี่ยงให้โจทก์ไปใช้เส้นทางอื่นในที่ดินคนอื่นที่โจทก์ไม่ได้ใช้เป็นปกติมาก่อนเป็นทางเข้าออกไม่ได้ และเมื่อคำนึงถึงอนาคต โจทก์อาจใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเข้าออกทางพิพาท เห็นสมควรกำหนดให้ทางพิพาทมีขนาดความกว้าง 2.50 เมตร ซึ่งไม่เกินคำขอของโจทก์ได้ โจทก์อ้างความจำเป็นที่จะต้องนำน้ำจากคลองชลประทาน เข้าไปใช้ในที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่ติดต่อกับที่ดินของจำเลย โดยวางท่อระบายน้ำผ่านที่ดินของจำเลย พร้อมทั้งเสนอ ให้ค่าทดแทนเป็นรายปี แต่เมื่อปรากฏว่าทางด้านทิศตะวันตก ของที่ดินโจทก์มีคลองส่งน้ำ และทางด้านทิศเหนือก็มี ลำเหมืองสาธารณะอยู่และคลองส่งน้ำนั้นมีน้ำบริบูรณ์ ส่วนลำเหมืองสาธารณะนั้น แม้จะมีสภาพตื้นเขินอยู่บ้าง แต่ยังก็มีน้ำมากพอสมควร ประกอบกับจะมีน้ำที่ปล่อยจาก บ่อเลี้ยงกุ้งของผู้อื่นหลายรายลงมาในลำเหมืองอยู่เสมอ ๆ โจทก์จึงสามารถใช้น้ำจากแหล่งน้ำทั้งสองแห่งนี้ได้ อย่างเพียงพอแล้ว จึงไม่ควรที่จะให้จำเลยจำต้องยอมรับ ภารจำยอมในอันที่จะให้โจทก์วางท่อระบายน้ำและตั้ง เครื่องสูบน้ำบนที่ดินของจำเลยอีก โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็น และให้จำเลยทั้งสอง ชดใช้ค่าเสียหายที่มาตักดินบริเวณที่ จอดรถยนต์ที่โจทก์ ทำไว้เป็นเงิน 15,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่ง ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้จำเลยเปิดทางจำเป็น ส่วนคำขอในเรื่องค่าเสียหายให้ยก ดังนี้ เมื่อค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาในชั้นอุทธรณ์ เป็นค่าเสียหายในมูลละเมิด และมิใช่เป็นคำขอต่อเนื่อง ในเรื่องเดียวกันกับเรื่องทางจำเป็น จึงเป็นคนละมูลกรณีกัน สิทธิในการอุทธรณ์ของโจทก์ย่อมต้องแยกพิจารณา เมื่อคดี ในส่วนค่าเสียหายมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้าม มิให้โจทก์อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง