คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1387

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3482/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอมตกติดกับที่ดิน แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์ คำพิพากษาผูกพันผู้รับโอน
โจทก์ ได้ สิทธิ ภารจำยอม โดย อายุความ ตาม คำพิพากษา ของ ศาล โจทก์ บอกกล่าว ให้ จำเลย เจ้าของ ภารยทรัพย์ ไป ดำเนินการ จดทะเบียน สิทธิ ภารจำยอม ที่ โจทก์ ได้ มา แต่ จำเลย เพิกเฉย ถือได้ว่า เป็น การ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ โจทก์ ซึ่ง เป็น เจ้าของ สามยทรัพย์ จึง ฟ้อง จำเลย ใน ฐานะ เจ้าของ ภารยทรัพย์ ให้ จดทะเบียน สิทธิ ภารจำยอม ให้ แก่ โจทก์ ได้ คดี ก่อน โจทก์ ฟ้อง ส . เจ้าของ ภารยทรัพย์ ที่ จำเลย รับโอน ต่อมา โดย จำเลย มิได้ เป็น คู่ความ ใน คดี นั้น ก็ ตาม แต่เมื่อ คดี ก่อน ศาล มี คำพิพากษา ว่า โจทก์ ได้ สิทธิ ภารจำยอม ใน ทางพิพาท ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ประกอบ มาตรา 1382 จึง เป็น กรณี ที่ โจทก์ ได้ สิทธิ ภารจำยอม อันเป็น ทรัพย์ สิทธิ อัน เกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ โดย ทาง อื่น นอกจาก ทาง นิติกรรม ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง เป็น ทรัพย์ สิทธิ คน ละ ประเภท กับ กรรมสิทธิ์ ที่ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ มีอำนาจ ใน อสังหาริมทรัพย์ ของ ตนเอง และ ภารจำยอม เป็น ทรัพย์ ที่ กฎหมาย บัญญัติ เพื่อ ประโยชน์ แก่ อสังหาริมทรัพย์ มิได้ มุ่ง เพื่อ ประโยชน์ ของ บุคคล หนึ่ง บุคคล ใด โดยเฉพาะ ภารจำยอม จึง ย่อม ตก ติด ไป กับ อสังหาริมทรัพย์ ที่ เป็น สามยทรัพย์ และ ภารยทรัพย์ แม้ จะ มี การ โอน อสังหาริมทรัพย์ ดังกล่าว ไป ให้ แก่ บุคคลอื่น ภารจำยอม ก็ หา ได้ หมดสิ้น ไป ไม่ เว้นแต่ กรณี จะ ต้อง ตาม บทบัญญัติ ของ กฎหมาย เท่านั้น ดังนั้น ไม่ว่า จำเลย จะ รับโอน ที่พิพาท มา โดยสุจริต หรือไม่ ก็ ตาม ก็ ไม่อาจ จะ ยกขึ้น ต่อสู้ กับ สิทธิ ภารจำยอม ของ โจทก์ ได้ คำพิพากษา ศาล ดังกล่าว จึง ผูกพัน จำเลย ด้วย ใน ฐานะ ที่ เป็น เจ้าของ ภารยทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอมตกติดไปกับที่ดิน แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์ คำพิพากษาผูกพันผู้รับโอน
โจทก์ได้สิทธิภารจำยอมโดยอายุความตามคำพิพากษาของศาล โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยเจ้าของภารยทรัพย์ไปดำเนินการจดทะเบียนสิทธิภารจำยอมที่โจทก์ได้มา แต่จำเลย เพิกเฉย ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์จึงฟ้องจำเลยในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์ให้จดทะเบียนสิทธิภารจำยอมให้แก่โจทก์ได้ คดีก่อนโจทก์ฟ้อง ส. เจ้าของภารยทรัพย์ที่จำเลยรับโอนต่อมาโดยจำเลยมิได้เป็นคู่ความในคดีนั้นก็ตามแต่เมื่อคดีก่อนศาลมีคำพิพากษาว่า โจทก์ได้สิทธิภารจำยอมในทางพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401ประกอบมาตรา 1382 จึงเป็นกรณีที่โจทก์ได้สิทธิภารจำยอมอันเป็นทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากทางนิติกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคสอง เป็นทรัพย์สิทธิคนละประเภทกับกรรมสิทธิ์ ที่เจ้าของกรรมสิทธิ์มีอำนาจในอสังหาริมทรัพย์ของตนเอง และภารจำยอมเป็นทรัพย์ที่กฎหมายบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่ อสังหาริมทรัพย์มิได้มุ่งเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใด โดยเฉพาะ ภารจำยอมจึงย่อมตกติดไปกับอสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นสามยทรัพย์และภารยทรัพย์ แม้จะมีการโอน อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไปให้แก่บุคคลอื่น ภารจำยอมก็ หาได้หมดสิ้นไปไม่ เว้นแต่กรณีจะต้องตามบทบัญญัติของ กฎหมายเท่านั้น ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะรับโอนที่พิพาทมา โดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่อาจจะยกขึ้นต่อสู้กับสิทธิ ภารจำยอมของโจทก์ได้ คำพิพากษาศาลดังกล่าวจึงผูกพันจำเลย ด้วยในฐานะที่เป็นเจ้าของภารยทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องบังคับภารจำยอม: เจ้าของสามยทรัพย์เท่านั้นที่มีสิทธิฟ้อง แม้มีสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก
ภารจำยอมย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์เท่านั้น โดยอสังหาริมทรัพย์ที่ได้สิทธิภารจำยอมนั้นเรียกสามยทรัพย์ ส่วนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกอยู่ในภารจำยอมนั้นเรียกภารยทรัพย์ ผู้ที่จะฟ้องบังคับภารจำยอมได้จึงต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เมื่อปรากฏว่าขณะฟ้องคดีนี้โจทก์ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินสามยทรัพย์ให้บุคคลอื่นไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยผู้เป็นเจ้าของภารยทรัพย์ แม้ตามสัญญาให้ทางผ่านที่ดินระบุว่าหากที่ดินของโจทก์ได้โอนไปยังบุคคลหนึ่งบุคคลใด จ.ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทเดิมยินยอมให้ใช้ทางนั้นเป็นทางผ่านสัญจรไปมาได้ก็ตาม และบุคคลภายนอกผู้รับโอนที่ดินจากโจทก์ไปจะมีสิทธิอย่างไรก็เป็นเรื่องที่บุคคลภายนอกผู้รับโอนที่ดินจากโจทก์ไปจะไปใช้สิทธินั้นเองเมื่อยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่ามีการไม่ชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกนั้นโจทก์ที่ 1 ย่อมไม่มีอำนาจใช้สิทธิดังกล่าวนั้นแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องบังคับภาระจำยอมสงวนเฉพาะเจ้าของสามยทรัพย์ การโอนสิทธิทำให้ขาดอำนาจฟ้อง
ภาระจำยอมย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์เท่านั้น โดยอสังหาริมทรัพย์ที่ได้สิทธิภาระจำยอมนั้นเรียกสามยทรัพย์ ส่วนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกอยู่ในภาระจำยอมนั้นเรียกภารยทรัพย์ ผู้ที่จะฟ้องบังคับภาระจำยอมได้จึงต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เมื่อปรากฏว่าขณะฟ้องคดีนี้โจทก์ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินสามยทรัพย์ให้บุคคลอื่นไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยผู้เป็นเจ้าของภารยทรัพย์ แม้ตามสัญญาให้ทางผ่านที่ดินระบุว่า หากที่ดินของโจทก์ได้โอนไปยังบุคคลหนึ่งบุคคลใด จ.ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทเดิมยินยอมให้ใช้ทางนั้นเป็นทางผ่านสัญจรไปมาได้ก็ตาม และบุคคลภายนอกผู้รับโอนที่ดินจากโจทก์ไปจะมีสิทธิอย่างไรก็เป็นเรื่องที่บุคคลภายนอกผู้รับโอนที่ดินจากโจทก์ไปจะไปใช้สิทธินั้นเองเมื่อยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่ามีการไม่ชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกนั้น โจทก์ที่ 1 ย่อมไม่มีอำนาจใช้สิทธิดังกล่าวนั้นแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตภาระจำยอมต้องสอดคล้องกับคำฟ้องและข้อเท็จจริงที่ได้มีการอ้างถึง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินของจำเลยตกอยู่ในภาระจำยอมจำเลยไม่อุทธรณ์ ปัญหาว่าที่ดินจำเลยตกอยู่ในภาระจำยอมหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเฉพาะด้านหลังตึกแถวเท่านั้นว่าทางภาระจำยอมเป็นทางเดินด้วย ส่วนทางด้านข้างของตึกแถวทางทิศตะวันตกนั้น โจทก์มิได้กล่าวอ้างว่ามีทางภาระจำยอมที่เป็นทางเดิน คงอ้างแต่เพียงว่ากันสาดของของด้านข้างตึกแถวทางทิศตะวันตกยื่นล้ำเข้ามาในที่ดินจำเลยที่ 1เพื่อใช้บังแดดบังฝนโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเพื่อเป็นกันสาดบังแดดบังฝนติดต่อกันมาเกิน 10 ปี โจทก์จึงได้สิทธิแนวเขตกันสาดเป็นภาระ-จำยอมโดยกฎหมาย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับภาระจำยอมทางด้านข้างตึกแถวทิศตะวันตกจึงควรมีความกว้างเท่ากับแนวกันสาดทางด้านข้างตึกแถวทิศตะวันตกเท่านั้น และเมื่อกันสาดด้านนี้กว้างเพียง 59 เซ็นติเมตร การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดว่าที่ดินจำเลยที่ 1 ทางด้านข้างตึกทิศตะวันตกตกเป็นภาระจำยอม โดยมีความกว้าง 1 เมตร จึงเกินไปจากความกว้างของกันสาดตามคำฟ้อง ศาลฎีกาจึงสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง คือ 59 เซ็นติเมตร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8405/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการรวมและแบ่งแยกที่ดินที่กระทบต่อภาระจำยอมสาธารณูปโภค และความรับผิดทางอาญาต่อเจ้าหน้าที่
จำเลยที่ 1 และที่ 2 จัดสรรที่ดินโดยมีเจตนาจะจัดให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 เป็นถนนอันเป็นสาธารณูปโภค จึงเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 มาแต่ต้น ที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 ก่อนมีการรังวัดเพื่อรวมและแบ่งแยกโฉนดจึงเป็นถนนที่เป็นทางภาระจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ข้อ 30 เมื่อการรวมกรรมสิทธิ์และการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดดังกล่าวมีผลทำให้เนื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 ส่วนที่เป็นถนนอยู่เดิมขาดหายไปเป็นการทำให้ภาระจำยอมเปลี่ยนแปลงไปและเป็นการกระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการรวมที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 เข้ากับที่ดินแปลงอื่น และขอให้เพิกถอนการแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่6534 เฉพาะส่วนที่นำมารวมกับที่ดินแปลงย่อย 7 แปลง และกลายเป็นที่ดินแปลงใหม่โฉนดเลขที่ 106708 ได้
ในคดีส่วนอาญา โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีนี้ว่าร่วมกับจำเลยที่ 3 ในคดีดังกล่าวสนับสนุนจำเลยอื่นในคดีนั้นอีก 6 คน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 157 ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีนั้นจึงมีว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกับจำเลยที่ 3 ในคดีดังกล่าวสนับสนุนให้จำเลยอื่นกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157 หรือไม่ ข้อเท็จจริงที่นำไปสู่การวินิจฉัยว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 ที่เป็นถนนเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่นั้นจึงไม่ใช่ประเด็นโดยตรงในคดีดังกล่าว การพิพากษาคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งไม่จำต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8405/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมและแบ่งแยกโฉนดที่ดินกระทบภารจำยอมสาธารณูปโภค โจทก์มีสิทธิฟ้องเพิกถอน
จำเลยที่ 1 และที่ 2 จัดสรรที่ดินโดยมีเจตนาจะจัดให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 เป็นถนนอันเป็นสาธารณูปโภคจึงเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286มาแต่ต้น ที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 ก่อนมีการรังวัดเพื่อรวมและแบ่งแยกโฉนดจึงเป็นถนนที่เป็นทางภารจำยอมตามประกาศ ของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ข้อ 30 เมื่อการรวมกรรมสิทธิ์ และการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดดังกล่าวมีผลทำให้ เนื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 ส่วนที่เป็นถนนอยู่เดิมขาดหายไป เป็นการทำให้ภารจำยอมเปลี่ยนแปลงไปและเป็นการ กระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการรวมที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 เข้ากับที่ดินแปลงอื่น และขอให้เพิกถอนการแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 เฉพาะส่วนที่นำมารวมกับที่ดินแปลงย่อย 7 แปลง และกลายเป็นที่ดินแปลงใหม่โฉนดเลขที่ 106708 ได้ ในคดีส่วนอาญา โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีนี้ว่าร่วมกับจำเลยที่ 3 ในคดีดังกล่าวสนับสนุนจำเลยอื่นในคดีนั้นอีก 6 คน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประเด็นที่จะต้อง วินิจฉัยในคดีนั้นจึงมีว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกับจำเลยที่ 3 ในคดีดังกล่าวสนับสนุนให้จำเลยอื่นกระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 หรือไม่ ข้อเท็จจริง ที่นำไปสู่การวินิจฉัยว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 ที่เป็นถนน เป็นทางภารจำยอมหรือไม่นั้นจึงไม่ใช่ประเด็นโดยตรง ในคดีดังกล่าว การพิพากษาคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งไม่จำต้อง ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีดังกล่าว ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7600/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็นและทางภารจำยอม: การใช้ทางผ่านที่ดินผู้อื่นเมื่อที่ดินตนถูกล้อมรอบ
เดิมโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยผ่านที่ดินของ น.และบ.ไปออกถนนสาธารณะเพื่อขนส่งผลิตผลการเกษตร แต่ที่ดินของ น.และ บ. เป็นนาลึกฤดูฝนน้ำท่วมถึงอก ส่วนหน้าแล้งสามารถเดินด้วยเท้า รถยนต์ไม่สามารถผ่านได้เพราะเป็นที่นานอกจากทางพิพาทนี้แล้วโจทก์ไม่มีทางอื่นที่จะออกสู่ทางสาธารณะดังนี้ เมื่อที่ดินของโจทก์มีที่ดินของผู้อื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้และเส้นทางพิพาทซึ่งผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1มีระยะทางสั้นเพียง 40 เมตร การใช้ทางพิพาทดังกล่าวผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการใช้ที่ดินส่วนน้อยไม่ทำให้จำเลยที่ 1รับภาระเกินไป และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ปลูกสร้างสิ่งใดในบริเวณนั้น อีกทั้งเป็นบริเวณที่โจทก์เคยใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 โจทก์ได้ใช้เส้นทางพิพาทเข้าออกมาประมาณ 30 ปีแล้วโดยใช้มาก่อนมีการสร้างผนัง กั้นน้ำเค็ม ซึ่งได้ทำขึ้นทับเส้นทางเดิม หลังจากสร้างผนังกั้นน้ำเค็ม แล้วก็ได้ใช้ทางพิพาทบนผนังกั้นน้ำเค็ม ตลอดมา เมื่อโจทก์ใช้ทางพิพาทมาเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาท จึงเป็นภารจำยอมด้วย ซึ่งทางพิพาทนี้เป็นทั้งทางจำเป็นและเป็นทางภารจำยอมในขณะเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7600/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางผ่าน (ทางจำเป็น/ภาระจำยอม) กรณีที่ดินไม่มีทางออก
เดิมโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยผ่านที่ดินของ น.และ บ.ไปออกถนนสาธารณะเพื่อขนส่งผลิตผลการเกษตร แต่ที่ดินของ น.และ บ.เป็นนาลึกฤดูฝนน้ำท่วมถึงอก ส่วนหน้าแล้งสามารถเดินด้วยเท้า รถยนต์ไม่สามารถผ่านได้เพราะเป็นที่นา นอกจากทางพิพาทนี้แล้วโจทก์ไม่มีทางอื่นที่จะออกสู่ทางสาธารณะดังนี้ เมื่อที่ดินของโจทก์มีที่ดินของผู้อื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้และเส้นทางพิพาทซึ่งผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 มีระยะทางสั้นเพียง 40 เมตรการใช้ทางพิพาทดังกล่าวผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการใช้ที่ดินส่วนน้อยไม่ทำให้จำเลยที่ 1 รับภาระเกินไป และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ปลูกสร้างสิ่งใดในบริเวณนั้น อีกทั้งเป็นบริเวณที่โจทก์เคยใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349
โจทก์ได้ใช้เส้นทางพิพาทเข้าออกมาประมาณ 30 ปีแล้วโดยใช้มาก่อนมีการสร้างพนังกั้นนำเค็มซึ่งได้ทำขึ้นทับเส้นทางเดิม หลังจากสร้างพนังกั้นน้ำเค็มแล้วก็ได้ใช้ทางพิพาทบนผนังกั้นน้ำเค็มตลอดมา เมื่อโจทก์ใช้ทางพิพาทมาเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทจึงเป็นภาระจำยอมด้วย ซึ่งทางพิพาทนี้เป็นทั้งทางจำเป็นและเป็นทางภาระจำยอมในขณะเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7403/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาทางจำเป็นและทางภารจำยอม: ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยตามประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์ และข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยยุติตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมกว้าง 1 เมตร จึงไม่เป็นทางจำเป็น และให้ย้ายทางภารจำยอมตามที่จำเลยทั้งสองเสนอ โจทก์อุทธรณ์ว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมและเป็นทางจำเป็นด้วยศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็น และเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยต่อไปว่า ทางพิพาทไม่เป็นทางภารจำยอมจึงเป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์หาเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบไม่
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมทุกด้าน คงมีเฉพาะทางพิพาทที่โจทก์และครอบครัวใช้เป็นทางเข้าออกที่ดินของโจทก์เท่านั้น จำเลยไม่ได้อุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจะฎีกาว่า โจทก์มีทางอื่นออกสู่ทางสาธารณะนอกเหนือจากทางพิพาทอีกไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เปิดทางจำเป็นกว้างตามแนวที่โจทก์ขอ แต่ไม่ระบุความกว้างให้ชัดเจน จึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาจึงระบุให้จำเลยทั้งสองเปิดทางจำเป็นเสียให้ชัดแจ้งและไม่เกินกว่าที่โจทก์ขอมาในชั้นอุทธรณ์
of 52