พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8399/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการใช้ทางร่วมและการได้มาซึ่งภารจำยอมโดยผลของสัญญาและอายุการครอบครอง
โจทก์ทั้งสิบเอ็ด โจทก์ร่วม จำเลย และผู้ร่วมซื้อที่ดินทุกคนตกลงกันว่ายอมให้จำเลยเลือกเอาที่ดินด้านที่ติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 941 ของจำเลยตลอดแนวเป็นเนื้อที่ 2,400 ส่วนโดยไม่ต้องจับสลาก และจำเลยยอมให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ด โจทก์ร่วมและผู้ร่วมซื้อคนอื่น ๆ ผ่านเข้าออกที่ดินโฉนดเลขที่ 941 ของจำเลยไปสู่ถนนสามัคคีได้ เมื่อมีการทำแผนที่แบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อยและถนนแล้วให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ด โจทก์ร่วม และผู้ซื้อทุกคนตรวจดูเห็นว่าถูกต้องจึงได้จับสลากเป็นของแต่ละคน จำเลยได้จัดการถมดินในที่ดินแปลงย่อยทั้งสองของจำเลยและทำถนนต่อจากถนนที่ใช้ร่วมกันในที่ดินโฉนดเลขที่ 875 ผ่านที่ดินโฉนดเลขที่ 941 ไปสู่ถนนสามัคคี ซึ่งเป็นถนนสาธารณะโจทก์ที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ได้ใช้ประโยชน์จากถนนดังกล่าวเข้าออกสู่ถนนสาธารณะตลอดมาตั้งแต่ปี 2520 โจทก์ที่ 3 ได้เข้าไปปลูกต้นไม้ และโจทก์ที่ 4 ได้เข้าไปปลูกบ้านและขุดบ่อเลี้ยงปลา ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้ถนนดังกล่าวตามสิทธิตลอดมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว โจทก์จึงได้ภารจำยอมมีสิทธิขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนภารจำยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8399/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภาระจำยอมเกิดขึ้นจากการใช้ทางต่อเนื่องเกิน 10 ปี แม้มีการตกลงร่วมกันก่อนหน้า
โจทก์ทั้งสิบเอ็ด โจทก์ร่วม จำเลย และผู้ร่วมซื้อที่ดินทุกคนตกลงกันว่ายอมให้จำเลยเลือกเอาที่ดินด้านที่ติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 941 ของจำเลยตลอดแนวเป็นเนื้อที่ 2,400 ส่วน โดยไม่ต้องจับสลาก และจำเลยยอมให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ด โจทก์ร่วม และผู้ร่วมซื้อคนอื่น ๆ ผ่านเข้าออกที่ดินโฉนดเลขที่ 941ของจำเลยไปสู่ถนนสามัคคีได้ เมื่อมีการทำแผนที่แบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อยและถนนแล้วให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ด โจทก์ร่วม และผู้ซื้อทุกคนตรวจดูเห็นว่าถูกต้องจึงได้จับสลากเป็นของแต่ละคน จำเลยได้จัดการถมดินในที่ดินแปลงย่อยทั้งสองของจำเลยและทำถนนต่อจากถนนที่ใช้ร่วมกันในที่ดินโฉนดเลขที่ 875 ผ่านที่ดินโฉนดเลขที่ 941ไปสู่ถนนสามัคคี ซึ่งเป็นถนนสาธารณะ โจทก์ที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ได้ใช้ประโยชน์จากถนนดังกล่าวเข้าออกสู่ถนนสาธารณะตลอดมาตั้งแต่ปี 2520 โจทก์ที่ 3 ได้เข้าไปปลูกต้นไม้ และโจทก์ที่ 4 ได้เข้าไปปลูกบ้านและขุดบ่อเลี้ยงปลา ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้ถนนดังกล่าวตามสิทธิตลอดมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว โจทก์จึงได้ภาระจำยอมมีสิทธิขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนภาระจำยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7637/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภาระจำยอมและการใช้ประโยชน์ที่ดินรถไฟ: ที่ดินรถไฟไม่อาจตกเป็นภาระจำยอม แม้มีการใช้ประโยชน์ต่อเนื่อง
ข้อตกลงที่หม่อมหลวง ด.ยอมให้บริษัทรถไฟสร้างถนนผ่านที่ดินของหม่อมหลวง ด.เป็นทางเข้าออกจากสถานีรถไฟคลองสานสู่ถนนสมเด็จเจ้าพระยาเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยของบริษัทรถไฟโดยบริษัทรถไฟ มิได้ตกลงให้หม่อมหลวง ด.มีสิทธิใช้ที่ดินของบริษัทรถไฟ อันจะเป็นเหตุให้ถือได้ว่าหม่อมหลวง ด.มีสิทธิภาระจำยอมในที่ดินของบริษัทรถไฟ ดังนั้นไม่ว่าข้อตกลงนั้นจะยังคงมีผลผูกพันโจทก์ทั้งสองผู้รับโอนที่ดินของหม่อมหลวง ด. กับการรถไฟแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 2 ผู้รับโอนกิจการและทรัพย์สินของบริษัทรถไฟหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุให้ที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2 เป็นภาระจำยอมของที่ดินของโจทก์ทั้งสอง
การรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินจากโจทก์ทั้งสองและจากบุคคลอื่น โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้คำมั่นหรือรับรองว่าจะซื้อมาทำเป็นถนนหรือทางสาธารณะ แต่ทำถนนพิพาทขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการของจำเลยที่ 2ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ถนนสาธารณะ แต่ถือได้ว่าเป็นที่ดินรถไฟตาม พ.ร.บ.จัดวางการรถไฟแลทางหลวง พ.ศ.2464 มาตรา 3(2) และเป็นที่ดินที่ห้ามมิให้บุคคลใดยกกำหนดอายุความขึ้นต่อสู้เหนือที่ดินรถไฟดังกล่าว ตามมาตรา 6(1) ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 จึงยังมีผลใช้บังคับได้ตาม พ.ร.บ. การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 3และ 16 ดังนั้น ไม่ว่าโจทก์ทั้งสองและบริวารจะใช้ถนนพิพาทมาแล้วนานเพียงใดถนนพิพาทซึ่งเป็นที่ดินรถไฟก็ไม่อาจตกเป็นภาระจำยอมของที่ดินของโจทก์ทั้งสอง
การรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินจากโจทก์ทั้งสองและจากบุคคลอื่น โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้คำมั่นหรือรับรองว่าจะซื้อมาทำเป็นถนนหรือทางสาธารณะ แต่ทำถนนพิพาทขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการของจำเลยที่ 2ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ถนนสาธารณะ แต่ถือได้ว่าเป็นที่ดินรถไฟตาม พ.ร.บ.จัดวางการรถไฟแลทางหลวง พ.ศ.2464 มาตรา 3(2) และเป็นที่ดินที่ห้ามมิให้บุคคลใดยกกำหนดอายุความขึ้นต่อสู้เหนือที่ดินรถไฟดังกล่าว ตามมาตรา 6(1) ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 จึงยังมีผลใช้บังคับได้ตาม พ.ร.บ. การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 3และ 16 ดังนั้น ไม่ว่าโจทก์ทั้งสองและบริวารจะใช้ถนนพิพาทมาแล้วนานเพียงใดถนนพิพาทซึ่งเป็นที่ดินรถไฟก็ไม่อาจตกเป็นภาระจำยอมของที่ดินของโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6596/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย, ทางจำเป็น, การผิดสัญญา, สิทธิในการใช้ทาง, การจัดการสินสมรส
การจัดการทรัพย์สินที่จะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะต้องเป็นการจัดการสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480หากเป็นการจัดการเกี่ยวกับสินส่วนตัวคู่สมรสฝ่ายนั้นย่อมจัดการได้เองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1473คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าโจทก์ไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสจึงไม่มีอำนาจฟ้องเท่านั้นไม่ได้ให้การเลยว่าที่ดินโจทก์ทั้งสองแปลงเป็นสินสมรสและการฟ้องคดีของโจทก์เป็นการจัดการสินสมรสแต่อย่างใดคำให้การจำเลยจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสอง โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินแปลงใดระบุเขตติดต่อระหว่างที่ดินของโจทก์กับจำเลยโจทก์จำเลยทำสัญญากันว่าอย่างไรมูลเหตุที่มีการทำสัญญาโดยแนบสำเนาสัญญาดังกล่าวแผนที่พิพาททั้งยังมีภาพถ่ายสภาพถนนที่ถูกจำเลยปิดกั้นมาท้ายฟ้องด้วยกับมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยครบถ้วนถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันโดยจำเลยเป็นผู้จะซื้อที่ดินของโจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญากับโจทก์โดยยอมตกลงทำถนนกว้าง6เมตรเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์และยอมให้โจทก์ใช้ถนนดังกล่าวเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์ทั้งจำเลยได้สัญญาว่าจะทำถนนเชื่อมจดทางเข้าบ้านโจทก์มีขนาดความกว้าง6เมตรด้วยสัญญาดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งกันและกันเมื่อโจทก์ได้โอนขายที่ดินแก่จำเลยแล้วจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นโดยต้องทำถนนเป็นทางเชื่อมติดต่อมาจนถึงประตูบ้านโจทก์มีขนาดกว้าง6เมตรและต้องยอมให้โจทก์ใช้ถนนทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์ตามสัญญาจำเลยจึงไม่มีสิทธิเลิกสัญญาดังกล่าวกับโจทก์และไม่มีสิทธิที่จะปิดทางพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6596/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการสินสมรส, สัญญาจะซื้อจะขาย, สิทธิใช้ทาง, การบังคับตามสัญญา
การจัดการทรัพย์สินที่จะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งนั้น จะต้องเป็นการจัดการสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480หากเป็นการจัดการเกี่ยวกับสินส่วนตัวคู่สมรสฝ่ายนั้นย่อมจัดการได้เองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1473 คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าโจทก์ไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส จึงไม่มีอำนาจฟ้องเท่านั้น ไม่ได้ให้การเลยว่าที่ดินโจทก์ทั้งสองแปลงเป็นสินสมรสและการฟ้องคดีของโจทก์เป็นการจัดการสินสมรสแต่อย่างใดคำให้การจำเลยจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177วรรคสอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินแปลงใด ระบุเขตติดต่อระหว่างที่ดินของโจทก์กับจำเลย โจทก์จำเลยทำสัญญากันว่าอย่างไรมูลเหตุที่มีการทำสัญญาโดยแนบสำเนาสัญญาดังกล่าวแผนที่พิพาท ทั้งยังมีภาพถ่ายสภาพถนนที่ถูกจำเลยปิดกั้นมาท้ายฟ้องด้วย กับมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยครบถ้วน ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกัน โดยจำเลยเป็นผู้จะซื้อที่ดินของโจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญากับโจทก์โดยยอมตกลงทำถนนกว้าง 6 เมตร เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์ และยอมให้โจทก์ใช้ถนนดังกล่าวเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์ ทั้งจำเลยได้สัญญาว่าจะทำถนนเชื่อมจดทางเข้าบ้านโจทก์มีขนาดความกว้าง 6 เมตร ด้วย สัญญาดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน เมื่อโจทก์ได้โอนขายที่ดินแก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญานั้น โดยต้องทำถนนเป็นทางเชื่อมติดต่อมาจนถึงประตูบ้านโจทก์มีขนาดกว้าง 6 เมตร และต้องยอมให้โจทก์ใช้ถนนทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์ตามสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิเลิกสัญญาดังกล่าวกับโจทก์และไม่มีสิทธิที่จะปิดทางพิพาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินแปลงใด ระบุเขตติดต่อระหว่างที่ดินของโจทก์กับจำเลย โจทก์จำเลยทำสัญญากันว่าอย่างไรมูลเหตุที่มีการทำสัญญาโดยแนบสำเนาสัญญาดังกล่าวแผนที่พิพาท ทั้งยังมีภาพถ่ายสภาพถนนที่ถูกจำเลยปิดกั้นมาท้ายฟ้องด้วย กับมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยครบถ้วน ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกัน โดยจำเลยเป็นผู้จะซื้อที่ดินของโจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญากับโจทก์โดยยอมตกลงทำถนนกว้าง 6 เมตร เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์ และยอมให้โจทก์ใช้ถนนดังกล่าวเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์ ทั้งจำเลยได้สัญญาว่าจะทำถนนเชื่อมจดทางเข้าบ้านโจทก์มีขนาดความกว้าง 6 เมตร ด้วย สัญญาดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน เมื่อโจทก์ได้โอนขายที่ดินแก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญานั้น โดยต้องทำถนนเป็นทางเชื่อมติดต่อมาจนถึงประตูบ้านโจทก์มีขนาดกว้าง 6 เมตร และต้องยอมให้โจทก์ใช้ถนนทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์ตามสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิเลิกสัญญาดังกล่าวกับโจทก์และไม่มีสิทธิที่จะปิดทางพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6575/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมในโครงการจัดสรร: ที่ดินสาธารณูปโภคต้องตกอยู่ภายใต้ภาระจำยอมเพื่อประโยชน์ที่ดินแปลงอื่น แม้เจ้าของกรรมสิทธิ์คือผู้จัดสรร
จำเลยได้รับอนุญาตให้จัดสรรที่ดินหลังวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 มีผลใช้บังคับแล้ว จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อทางพิพาทเป็นสาธารณูปโภคที่จำเลยก่อสร้างขึ้นภายในโครงการจัดสรรที่จำเลยได้รับอนุญาต จึงต้องตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรทุกแปลง ตามข้อ 30 วรรคแรก แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว แม้ทางพิพาทมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6575/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอัตโนมัติตามประกาศ คปฎ. 286 สำหรับสาธารณูปโภคในโครงการจัดสรร แม้เจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นอื่น
จำเลยได้รับอนุญาตให้จัดสรรที่ดินหลังวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286มีผลใช้บังคับแล้วจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าวเมื่อทางพิพาทเป็นสาธารณูปโภคที่จำเลยก่อสร้างขึ้นภายในโครงการจัดสรรที่จำเลยได้รับอนุญาตจึงต้องตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรทุกแปลงตามข้อ30วรรคแรกแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวแม้ทางพิพาทมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5697/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบข้อเท็จจริงนอกคำฟ้องในคดีทางพิพาท: ข้ออ้างใหม่ที่ไม่ใช่ประเด็นเดิม
ปัญหาที่ว่า โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยครอบครองต่อจากเจ้าของเดิมตลอดมานั้น แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องไว้ก็เป็นข้อเท็จจริงในประเด็นข้ออ้างของโจทก์ที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเป็นรายละเอียดของการใช้ทางพิพาทที่โจทก์มีสิทธินำสืบได้ในชั้นพิจารณา มิใช่ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
โจทก์นำสืบว่าทางพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินแปลงอื่นที่โจทก์ซื้อมาจาก ล. มิใช่โจทก์ใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินตามฟ้อง จึงเป็นการนำสืบนอกคำฟ้อง
โจทก์นำสืบว่าทางพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินแปลงอื่นที่โจทก์ซื้อมาจาก ล. มิใช่โจทก์ใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินตามฟ้อง จึงเป็นการนำสืบนอกคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5697/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ทางพิพาทและภารจำยอม: การนำสืบขยายผลเกินคำฟ้อง
ปัญหาที่ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยครอบครองต่อจากเจ้าของเดิมตลอดมานั้นแม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องไว้ก็เป็นข้อเท็จจริงในประเด็นข้ออ้างของโจทก์ที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเป็นรายละเอียดของการใช้ทางพิพาทที่โจทก์มีสิทธินำสืบได้ในชั้นพิจารณามิใช่ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น โจทก์นำสืบว่าทางพิพาทตกเป็นทางภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินแปลงอื่นที่โจทก์ซื้อมาจากล. มิใช่โจทก์ใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินตามฟ้องจึงเป็นการนำสืบนอกคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5273/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางภาระจำยอมโดยอายุความและการถมดินเพื่อรักษาทาง
ที่ดินแปลงหนึ่งแม้มีทางออกสู่ถนนสาธารณะแล้ว ก็อาจก่อให้เกิดทางภาระจำยอมทางอื่นโดยอายุความอีกได้
การที่เจ้าของสามยทรัพย์ถมทางภาระจำยอมให้สูงเท่ากับทางสาธารณะเพื่อเป็นการรักษาและใช้ทางภาระจำยอม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1391ไม่เป็นการละเมิดต่อเจ้าของภารยทรัพย์
การที่เจ้าของสามยทรัพย์ถมทางภาระจำยอมให้สูงเท่ากับทางสาธารณะเพื่อเป็นการรักษาและใช้ทางภาระจำยอม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1391ไม่เป็นการละเมิดต่อเจ้าของภารยทรัพย์