พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13199/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนเวนคืนที่ดิน: การฟ้องเรียกค่าทดแทนซ้ำกับคดีที่ยังไม่ถึงที่สุด และการไม่กระทบสิทธิจากความล่าช้าของรัฐ
คดีก่อนที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มพร้อมทั้งดอกเบี้ย เป็นเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนที่ดินส่วนที่เหลือที่มีราคาลดลง สิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้ยืนต้น ค่าเสียหายเนื่องจากต้องรื้อถอนสาธารณูปโภคและขนย้ายสิ่งของเครื่องใช้ออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ได้ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มในรายการและจำนวนเงินเดียวกันกับคดีก่อนพร้อมด้วยดอกเบี้ยจึงเป็นเรื่องเดียวกันกับฟ้องโจทก์ในคดีก่อน เมื่อปรากฏว่าคดีก่อนซึ่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนั้น จำเลยทั้งสองในคดีก่อนได้ยื่นอุทธรณ์และคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มพร้อมด้วยดอกเบี้ยจึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
แม้คดีซึ่งโจทก์ฟ้องเป็นคดีก่อนโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดพร้อมด้วยดอกเบี้ย ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 รับผิดชำระค่าเสียหายเป็นส่วนตัวก็ตาม แต่ฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดก็มีมูลเหตุมาจากการที่โจทก์อ้างว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนให้โจทก์ในอัตราที่เป็นธรรมและในเวลาอันรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ จึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยเป็นประเด็นเดียวกันว่าเงินค่าทดแทนซึ่งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดให้แก่โจทก์เป็นอัตราที่เป็นธรรมแล้วหรือไม่ ซึ่งถึงแม้โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดเป็นส่วนตัวแยกต่างหากจากจำเลยที่ 1 แต่ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ก็เป็นเรื่องเดียวกันกับคดีก่อนเพราะมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 25 กำหนดให้ผู้ที่ไม่พอใจในจำนวนเงิน ค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนด มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ และให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่รัฐมนตรีแต่งตั้งพิจารณาเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรี และให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ แต่ตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าว มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว แล้วแต่กรณี การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ ไม่ได้พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์และรัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ไม่เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ จึงไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องเงินค่าทดแทนเพิ่มโดยการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้รับความกระทบกระเทือนหรือล่าช้าไปกว่าระยะเวลาหกสิบวันตามที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย และไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
แม้คดีซึ่งโจทก์ฟ้องเป็นคดีก่อนโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดพร้อมด้วยดอกเบี้ย ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 รับผิดชำระค่าเสียหายเป็นส่วนตัวก็ตาม แต่ฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดก็มีมูลเหตุมาจากการที่โจทก์อ้างว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนให้โจทก์ในอัตราที่เป็นธรรมและในเวลาอันรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ จึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยเป็นประเด็นเดียวกันว่าเงินค่าทดแทนซึ่งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดให้แก่โจทก์เป็นอัตราที่เป็นธรรมแล้วหรือไม่ ซึ่งถึงแม้โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดเป็นส่วนตัวแยกต่างหากจากจำเลยที่ 1 แต่ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ก็เป็นเรื่องเดียวกันกับคดีก่อนเพราะมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 25 กำหนดให้ผู้ที่ไม่พอใจในจำนวนเงิน ค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนด มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ และให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่รัฐมนตรีแต่งตั้งพิจารณาเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรี และให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ แต่ตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าว มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว แล้วแต่กรณี การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ ไม่ได้พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์และรัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ไม่เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ จึงไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องเงินค่าทดแทนเพิ่มโดยการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้รับความกระทบกระเทือนหรือล่าช้าไปกว่าระยะเวลาหกสิบวันตามที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย และไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7890/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินค่าทดแทนเวนคืน กรณีจำเลยจ่ายเงินให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของ
โจทก์มิได้โต้แย้งจำนวนเงินค่าทดแทนโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่ถูกเวนคืน หากแต่โต้แย้งว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง มิใช่บุคคลที่จำเลยทั้งสองได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้ไป จึงไม่ใช่กรณีตามมาตรา 25 และ 26 ของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และกรณีนี้ไม่มี บทบัญญัติกฎหมายใดที่ให้โจทก์ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ก่อนจึงจะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ เมื่อการกระทำของ จำเลยทั้งสองเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18 (2) ให้กำหนดเงินค่าทดแทนแก่เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่รื้อถอนไม่ได้ ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงต้องจ่ายเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่เป็นของโจทก์ให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของ ที่จำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่ ม. ซึ่งไม่ใช่ เจ้าของจึงไม่ชอบ
โจทก์ฎีกาว่า จำเลยทั้งสองประวิงคดี การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสองไม่มีความสุจริต ขอให้จำเลยทั้งสอง ชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (6) นั้น เห็นว่าปัญหานี้โจทก์เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18 (2) ให้กำหนดเงินค่าทดแทนแก่เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่รื้อถอนไม่ได้ ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงต้องจ่ายเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่เป็นของโจทก์ให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของ ที่จำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่ ม. ซึ่งไม่ใช่ เจ้าของจึงไม่ชอบ
โจทก์ฎีกาว่า จำเลยทั้งสองประวิงคดี การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสองไม่มีความสุจริต ขอให้จำเลยทั้งสอง ชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (6) นั้น เห็นว่าปัญหานี้โจทก์เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 274/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน ค่าทดแทน การสร้างทางออก และสิทธิเรียกร้องของเจ้าของที่ดิน
จำเลยไม่ได้ร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายว่าการที่เจ้าหน้าที่วินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ทำการวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในกำหนด 60 วัน เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่และโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยจัดทางเข้าออกที่ดินให้แก่โจทก์หรือไม่แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัยศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 และมาตรา 142(5)
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 วรรคหนึ่งบัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนนำคดีมาฟ้องต่อศาลภายในเวลาที่กำหนดไว้เป็น 2 กรณี กรณีแรกเป็นกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี กรณีที่สองเมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวัน มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีเมื่อล่วงพ้นหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์โจทก์ยื่นอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2540 แต่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ซึ่งครบกำหนดวันสุดท้ายในวันที่ 6พฤษภาคม 2540 โจทก์จึงต้องฟ้องขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันดังกล่าวคือภายในวันที่ 6 พฤษภาคม 2541
โจทก์ยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกล่าวถึงที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนว่า ที่ดินแปลงดังกล่าวของข้าพเจ้าผู้อุทธรณ์ทั้งเจ็ดมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 35 ไร่ 3 งาน 64 ตารางวา แต่ถูกเวนคืนไป 6 ไร่ 1 งาน 13 ตารางวา ทำให้ที่ดินที่ไม่ถูกเวนคืนเหลืออยู่อีก 29 ไร่ 2 งาน 51ตารางวา จะต้องเสียหายเป็นอย่างมาก ที่ดินแปลงดังกล่าวเปรียบเสมือนเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินทั้งหกแปลงที่อยู่ด้านหน้าติดถนนหมายเลข 346 ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของข้าพเจ้า ซึ่งได้ถูกเวนคืนไปแล้วพร้อม ๆ กัน จึงเป็นเหตุให้ที่ดินแปลงที่เหลือไม่สามารถออกสู่ถนนสาธารณะได้ จึงใคร่ขอความกรุณาต่อฯพณฯ เพื่อเปิดทางให้แก่ที่ดินแปลงที่เหลือดังกล่าว อุทธรณ์ของโจทก์ไม่มีข้อความส่วนใดที่ขอให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงและราคาลดลงเป็นจำนวนเงินเท่าใด จึงถือไม่ได้ว่ามีการอุทธรณ์ขอให้กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยจ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนนำคดีมาฟ้องต่อศาลภายในเวลาที่กำหนดไว้ 2 กรณี เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ โจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องคดีต่อศาลขอเงินค่าทดแทนเพิ่มภายในหนึ่งปีนับแต่วันพ้นหกสิบวันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์ของโจทก์ หาจำเป็นต้องรอให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ก่อนไม่ โจทก์ปล่อยให้ล่วงเลยกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วค่อยมาฟ้องอันเป็นเหตุให้โจทก์สิ้นสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มซึ่งเป็นการกระทำของโจทก์เอง มิใช่เกิดจากการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันรับคำอุทธรณ์ของโจทก์ จึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ถูกเวนคืน โจทก์จะมีสิทธิได้รับค่าทดแทนเพียงใดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 กำหนดไว้ ซึ่งพระราชบัญญัตินี้บัญญัติเรื่องค่าทดแทนไว้ในหมวด 2 เงินค่าทดแทน ไม่มีบทบัญญัติที่บังคับให้จำเลยต้องสร้างทางออกให้โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้จำเลยสร้างทางซึ่งจะต้องสร้างขึ้นในเขตทางพิเศษเพื่อให้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีทางออกสู่ถนนสาธารณะ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 วรรคหนึ่งบัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนนำคดีมาฟ้องต่อศาลภายในเวลาที่กำหนดไว้เป็น 2 กรณี กรณีแรกเป็นกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี กรณีที่สองเมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวัน มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีเมื่อล่วงพ้นหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์โจทก์ยื่นอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2540 แต่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ซึ่งครบกำหนดวันสุดท้ายในวันที่ 6พฤษภาคม 2540 โจทก์จึงต้องฟ้องขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันดังกล่าวคือภายในวันที่ 6 พฤษภาคม 2541
โจทก์ยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกล่าวถึงที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนว่า ที่ดินแปลงดังกล่าวของข้าพเจ้าผู้อุทธรณ์ทั้งเจ็ดมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 35 ไร่ 3 งาน 64 ตารางวา แต่ถูกเวนคืนไป 6 ไร่ 1 งาน 13 ตารางวา ทำให้ที่ดินที่ไม่ถูกเวนคืนเหลืออยู่อีก 29 ไร่ 2 งาน 51ตารางวา จะต้องเสียหายเป็นอย่างมาก ที่ดินแปลงดังกล่าวเปรียบเสมือนเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินทั้งหกแปลงที่อยู่ด้านหน้าติดถนนหมายเลข 346 ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของข้าพเจ้า ซึ่งได้ถูกเวนคืนไปแล้วพร้อม ๆ กัน จึงเป็นเหตุให้ที่ดินแปลงที่เหลือไม่สามารถออกสู่ถนนสาธารณะได้ จึงใคร่ขอความกรุณาต่อฯพณฯ เพื่อเปิดทางให้แก่ที่ดินแปลงที่เหลือดังกล่าว อุทธรณ์ของโจทก์ไม่มีข้อความส่วนใดที่ขอให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงและราคาลดลงเป็นจำนวนเงินเท่าใด จึงถือไม่ได้ว่ามีการอุทธรณ์ขอให้กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยจ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนนำคดีมาฟ้องต่อศาลภายในเวลาที่กำหนดไว้ 2 กรณี เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ โจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องคดีต่อศาลขอเงินค่าทดแทนเพิ่มภายในหนึ่งปีนับแต่วันพ้นหกสิบวันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์ของโจทก์ หาจำเป็นต้องรอให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ก่อนไม่ โจทก์ปล่อยให้ล่วงเลยกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วค่อยมาฟ้องอันเป็นเหตุให้โจทก์สิ้นสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มซึ่งเป็นการกระทำของโจทก์เอง มิใช่เกิดจากการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันรับคำอุทธรณ์ของโจทก์ จึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ถูกเวนคืน โจทก์จะมีสิทธิได้รับค่าทดแทนเพียงใดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 กำหนดไว้ ซึ่งพระราชบัญญัตินี้บัญญัติเรื่องค่าทดแทนไว้ในหมวด 2 เงินค่าทดแทน ไม่มีบทบัญญัติที่บังคับให้จำเลยต้องสร้างทางออกให้โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้จำเลยสร้างทางซึ่งจะต้องสร้างขึ้นในเขตทางพิเศษเพื่อให้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีทางออกสู่ถนนสาธารณะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6398/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องซื้อที่ดินเวนคืน: ต้องเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมายก่อนฟ้อง
จำเลยที่ 1 ได้อนุมัติให้จัดซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนตามคำร้องขอของโจทก์แล้ว อันเป็นการจัดซื้อที่ดินตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง ซึ่งวรรคสองให้นำบทบัญญัติมาตรา 10 มาตรา 11 และมาตรา 33 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจัดซื้อที่ดินของโจทก์ทั้งที่เจ้าหน้าที่เวนคืนไม่ได้ปฏิเสธคำร้องขอของโจทก์ และยังไม่มีการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง การฟ้องคดีของโจทก์ไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจัดซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนในราคาตามฟ้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3710/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเพิ่มเติมและการซื้อที่ดินส่วนที่เหลือต้องดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินจากตารางวาละ 8,000 บาท เป็นตารางวาละ 16,000 บาท โจทก์พอใจไม่อุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 12,000 บาท โจทก์ก็ชอบที่จะฎีกาขอให้ศาลฎีกาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 16,000 บาท เท่านั้น จะขอแก้ทุนทรัพย์ชั้นฎีกาให้เพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 24,000 บาท ซึ่งเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้แก่โจทก์และโจทก์พอใจแล้วไม่ได้ ศาลฎีกาไม่อนุญาตให้แก้ โจทก์จึงฎีกาขอให้ศาลฎีกาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 24,000 บาท ไม่ได้ด้วย
ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้วินิจฉัยให้โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 24,000 บาท โจทก์จึงมีสิทธิที่จะไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นในส่วนนี้จากฝ่ายจำเลยซึ่งมากกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้แก่โจทก์และโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้ง ถือได้ว่าโจทก์พอใจคำวินิจฉัยส่วนนี้ของรัฐมนตรีแล้ว ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนที่ดินตามฟ้องของโจทก์จึงหมดสิ้นไปแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาส่วนนี้ของจำเลย
โจทก์ไม่ได้ร้องขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนที่ดินหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ส่วนที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีขอให้เพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนและขอให้ซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนนั้น เป็นการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละขั้นตอนกับการขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนตามมาตรา 20 เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าว จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องให้บังคับจำเลยจ่ายเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืน แต่การยกฟ้องโจทก์ในส่วนนี้เป็นการยกฟ้องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ยังมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายแล้วนำคดีในส่วนนี้มาฟ้องใหม่
ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้วินิจฉัยให้โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 24,000 บาท โจทก์จึงมีสิทธิที่จะไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นในส่วนนี้จากฝ่ายจำเลยซึ่งมากกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้แก่โจทก์และโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้ง ถือได้ว่าโจทก์พอใจคำวินิจฉัยส่วนนี้ของรัฐมนตรีแล้ว ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนที่ดินตามฟ้องของโจทก์จึงหมดสิ้นไปแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาส่วนนี้ของจำเลย
โจทก์ไม่ได้ร้องขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนที่ดินหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ส่วนที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีขอให้เพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนและขอให้ซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนนั้น เป็นการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละขั้นตอนกับการขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนตามมาตรา 20 เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าว จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องให้บังคับจำเลยจ่ายเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืน แต่การยกฟ้องโจทก์ในส่วนนี้เป็นการยกฟ้องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ยังมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายแล้วนำคดีในส่วนนี้มาฟ้องใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8176/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีเวนคืนที่ดิน: นับแต่วันพ้น 60 วันจากรับคำอุทธรณ์ หรือแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี
แม้ตามคำให้การของจำเลยที่ 1 ใช้ถ้อยคำว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความด้วย แต่ก็ให้การต่อสู้โดยอ้างถึงบทบัญญัติของมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับวันที่รัฐมนตรีฯ ได้รับคำอุทธรณ์ของโจทก์และต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีเสียภายในหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันตามกฎหมายดังกล่าว อันเป็นคำให้การที่ยกข้อต่อสู้ในเรื่องโจทก์ฟ้องคดีเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ที่จำเลยที่ 1 ใช้ถ้อยคำว่า คดีของโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้นเป็นเพียงการใช้ถ้อยคำที่ผิดพลาดไปเท่านั้น ไม่ถึงกับทำให้คำให้การของจำเลยที่ 1 ไม่มีประเด็นเรื่องโจทก์ฟ้องคดีเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นแห่งคดีแล้ว มิได้วินิจฉัยนอกประเด็นหรือนอกประเด็นข้อต่อสู้
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ได้วางหลักเกณฑ์ในการดำเนินคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนไว้เป็น 2 กรณี กรณีแรก รัฐมนตรีได้วินิจฉัยเสร็จสิ้นภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่ได้รับคำอุทธรณ์ตามมาตรา 25 วรรคสอง ซึ่งผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี ส่วนในกรณีที่สอง เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง กำหนดเวลาฟ้องคดีภายในหนึ่งปีจะเริ่มนับแต่วันพ้นหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์ไม่ได้นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีอย่างกรณีแรก กรณีที่สองนี้หากเริ่มนับกำหนดเวลาฟ้องคดีนับแต่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีแล้ววันเริ่มต้นนับกำหนดเวลาฟ้องคดีก็จะเหลือเพียงกรณีเดียว และจะเป็นเหตุให้กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลทอดยาวนานออกไปตามแต่เวลาที่รัฐมนตรีจะใช้วินิจฉัยอุทธรณ์โดยไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน ซึ่งไม่สอดคล้องกับถ้อยคำของมาตรา 25 วรรคสอง และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ทั้งขัดกับเหตุผลและเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่ประสงค์ให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เป็นไปโดยรวดเร็ว
กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดเวลาใช้สิทธิฟ้องคดี มิใช่อายุความอันเป็นเหตุให้กำหนดเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นนับใหม่ได้
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ได้วางหลักเกณฑ์ในการดำเนินคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนไว้เป็น 2 กรณี กรณีแรก รัฐมนตรีได้วินิจฉัยเสร็จสิ้นภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่ได้รับคำอุทธรณ์ตามมาตรา 25 วรรคสอง ซึ่งผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี ส่วนในกรณีที่สอง เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง กำหนดเวลาฟ้องคดีภายในหนึ่งปีจะเริ่มนับแต่วันพ้นหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์ไม่ได้นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีอย่างกรณีแรก กรณีที่สองนี้หากเริ่มนับกำหนดเวลาฟ้องคดีนับแต่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีแล้ววันเริ่มต้นนับกำหนดเวลาฟ้องคดีก็จะเหลือเพียงกรณีเดียว และจะเป็นเหตุให้กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลทอดยาวนานออกไปตามแต่เวลาที่รัฐมนตรีจะใช้วินิจฉัยอุทธรณ์โดยไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน ซึ่งไม่สอดคล้องกับถ้อยคำของมาตรา 25 วรรคสอง และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ทั้งขัดกับเหตุผลและเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่ประสงค์ให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เป็นไปโดยรวดเร็ว
กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดเวลาใช้สิทธิฟ้องคดี มิใช่อายุความอันเป็นเหตุให้กำหนดเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นนับใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6435/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดเงินค่าทดแทนเวนคืนที่ดินตาม พ.ร.บ.เวนคืนฯ และการพิจารณาผลกระทบจากความล่าช้า
ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มีนาคม 2534 ได้แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 9 วรรคสี่ คือแก้ไขหลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดิน จากเดิมที่ให้กำหนดโดยถือราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ หรือราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่าเป็นเกณฑ์ มาเป็นกำหนดโดยคำนึงถึงมาตรา 21 ทั้งมาตรา คือต้องกำหนดโดยเอาราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น และเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 21 (1) (4) และ (5) มาพิจารณาประกอบกับหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 (2) และ (3) ด้วย และบทบัญญัติมาตรา 9 ที่แก้ไขนี้ ข้อ 5 ของประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อ การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ซึ่งเป็นวันเวลาก่อนที่โจทก์อุทธรณ์ราคาของอสังหาริมทรัพย์และเงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ต้องเวนคืนในโครงการนี้ไว้เป็นพิเศษใน พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนั้น การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 642 จึงต้องกำหนดโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ในมาตรา 21 (1) ถึง (5) ประกอบกัน ซึ่งตามมาตรา 21 (1) ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดนั้นต้องเป็นวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ หาใช่เป็นวันภายหลังใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ ก็ได้ไม่
จำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือถึง น. มารดาโจทก์แจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนแล้วก็ได้ส่งหนังสือดังกล่าวไป แต่ส่งให้ไม่ได้เพราะ น. ได้ถึงแก่กรรมไปนานแล้ว และในขณะนั้นยังไม่มีผู้ใดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก น. จำเลยที่ 1 จึงนำเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 642 ไปฝากไว้ในชื่อของ น. ดังนั้นดอกเบี้ยหรือดอกผลที่เกิดขึ้นจากการฝากเงินนี้จึงตกเป็นสิทธิแก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 642 ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 31
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทน การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์และการฟ้องคดีของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไว้ โดยให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 เป็นผู้กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนก่อน เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนแล้ว ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนด ก็ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นลำดับต่อมา เพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัย แล้วจึงจะถึงขั้นตอนการฟ้องคดีตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง คือ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว แล้วแต่กรณี เงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเป็นคนละส่วนคนละกรณีกันกับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง สิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนไม่ว่าเป็นกรณีที่ดินที่ถูกเวนคืนหรือกรณีที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง ก็ต้องดำเนินการผ่านขั้นตอนดังกล่าวมาแล้วจึงจะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้.
จำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือถึง น. มารดาโจทก์แจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนแล้วก็ได้ส่งหนังสือดังกล่าวไป แต่ส่งให้ไม่ได้เพราะ น. ได้ถึงแก่กรรมไปนานแล้ว และในขณะนั้นยังไม่มีผู้ใดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก น. จำเลยที่ 1 จึงนำเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 642 ไปฝากไว้ในชื่อของ น. ดังนั้นดอกเบี้ยหรือดอกผลที่เกิดขึ้นจากการฝากเงินนี้จึงตกเป็นสิทธิแก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 642 ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 31
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทน การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์และการฟ้องคดีของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไว้ โดยให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 เป็นผู้กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนก่อน เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนแล้ว ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนด ก็ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นลำดับต่อมา เพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัย แล้วจึงจะถึงขั้นตอนการฟ้องคดีตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง คือ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว แล้วแต่กรณี เงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเป็นคนละส่วนคนละกรณีกันกับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง สิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนไม่ว่าเป็นกรณีที่ดินที่ถูกเวนคืนหรือกรณีที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง ก็ต้องดำเนินการผ่านขั้นตอนดังกล่าวมาแล้วจึงจะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องค่าเวนคืน และการคืนค่าขึ้นศาลเกินจำนวนที่กำหนด
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา25 วรรคสอง และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนใช้สิทธิฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทนต่อศาลได้ภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีในกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นไปภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ แต่หากรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นไปภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวหรือวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลานั้นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์ ดังนั้น การที่จำเลยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นไปภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันรับคำอุทธรณ์ โจทก์จึงต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำอุทธรณ์
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา26 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องกำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดี มิใช่อายุความฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 6 จึงนำเอา ป.พ.พ.มาตรา 193/14 ในเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความ ขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ต่อไป จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาแต่ละชั้นศาลเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาส่วนที่เกินกว่า 200 บาท ให้แก่โจทก์
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา26 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องกำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดี มิใช่อายุความฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 6 จึงนำเอา ป.พ.พ.มาตรา 193/14 ในเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความ ขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ต่อไป จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาแต่ละชั้นศาลเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาส่วนที่เกินกว่า 200 บาท ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: กำหนดเวลาอุทธรณ์ค่าทดแทนและการมีอำนาจฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนการขนย้าย
ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหนังสือถึงโจทก์เรื่องขอเชิญไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนโดยการทำสัญญา แต่ส่งให้แก่โจทก์ไม่ได้ จำเลยจึงออกประกาศ เพื่อแจ้งความเรื่องขอเชิญไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนโดยการทำสัญญา โดยวิธีปิดประกาศแจ้งความไว้ ณ ที่ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ที่ถูกเวนคืนตั้งอยู่ให้โจทก์ทราบ ตามมาตรา 13 วรรคสี่ และวรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ประกาศดังกล่าวจึงไม่ใช่หนังสือแจ้งจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แต่เป็นประกาศแจ้งความเกี่ยวกับหนังสือเรื่องขอเชิญไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนอันเป็นหนังสือที่ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์แจ้งให้โจทก์มาทำสัญญาซื้อขายกันตามมาตรา 10 ส่วนกรณีของโจทก์คดีนี้ หนังสือที่ถือได้ว่าเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่แจ้งให้โจทก์มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง คือ หนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทนที่ฝ่ายจำเลยได้ปิดประกาศหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทน ณ ที่ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ที่ถูกเวนคืนตั้งอยู่ให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2536 เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทนดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยฉบับแรกวันที่ 15 พฤศจิกายน 2536 และฉบับที่สองวันที่ 6 ธันวาคม 2536 จึงเป็นการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 วรรคหนึ่งแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
แม้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18 (5) โจทก์มีสิทธิจะได้รับเงินค่าทดแทนการขนย้ายออกจากอสังหาริมทรัพย์ด้วยก็ตาม แต่โจทก์จะมีอำนาจฟ้องเรียกร้องเงินค่าทดแทนส่วนนี้ได้ โจทก์จะต้องดำเนินการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ตามหนังสืออุทธรณ์ของโจทก์ที่อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อขอเงินค่าทดแทนเกี่ยวกับการเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ในคดีนั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนการขนย้ายทรัพย์สินออกจากอสังหาริมทรัพย์ เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอเงินส่วนนี้ต่อรัฐมนตรีฯ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกร้องเงินค่าทดแทนส่วนนี้
แม้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18 (5) โจทก์มีสิทธิจะได้รับเงินค่าทดแทนการขนย้ายออกจากอสังหาริมทรัพย์ด้วยก็ตาม แต่โจทก์จะมีอำนาจฟ้องเรียกร้องเงินค่าทดแทนส่วนนี้ได้ โจทก์จะต้องดำเนินการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ตามหนังสืออุทธรณ์ของโจทก์ที่อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อขอเงินค่าทดแทนเกี่ยวกับการเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ในคดีนั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนการขนย้ายทรัพย์สินออกจากอสังหาริมทรัพย์ เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอเงินส่วนนี้ต่อรัฐมนตรีฯ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกร้องเงินค่าทดแทนส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7169/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ศาลพิจารณามูลค่าที่ดินส่วนที่เหลือเพิ่มได้ หากการเวนคืนทำให้ราคาสูงขึ้น และโจทก์ต้องอุทธรณ์ความเสียหายให้ชัดเจน
การเวนคืนที่ดินของโจทก์ส่งผลให้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นมาก โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากการถูกเวนคืน แม้ฝ่ายจำเลยมิได้นำเอาราคาที่ดินส่วนที่เหลือซึ่งมีราคาสูงขึ้นมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน ศาลฎีกาก็มีอำนาจนำเอามูลค่าของที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือที่มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนมาคำนึงประกอบว่าสมควรกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์หรือไม่ ดังนั้น ที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ตารางวาละ 22,000 บาท โดยมิได้เอาราคาที่ดินส่วนที่เหลือที่สูงขึ้นเนื่องจากการเวนคืนมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนนับว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์อย่างมากอยู่แล้ว หากกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มให้แก่โจทก์อีกย่อมไม่เป็นธรรมแก่สังคม
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์และการฟ้องคดีของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไว้โดยให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 เป็นผู้กำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนก่อน เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนแล้ว หากผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในราคาอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนด ก็ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นลำดับต่อมา เพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัยก่อนต่อจากนั้นจึงถึงขั้นตอนของการฟ้องคดีต่อศาล ตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง แต่ตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อรัฐมนตรีฯ นั้นไม่ได้กล่าวอ้างว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการจำต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนเป็นเงินจำนวนเท่าใดและขอให้รัฐมนตรีฯ เพิ่มเงินค่าทดแทนความเสียหายในส่วนนี้จำนวนเท่าใดจึงจะเป็นที่พอใจของโจทก์ นอกจากนี้ในตอนท้ายอุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำขอให้รัฐมนตรีฯ พิจารณาเพิ่มเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ก็มีข้อความว่า ขอให้พิจารณาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ต้องเวนคืนเพียงอย่างเดียว จากตารางวาละ 21,000 บาท เป็นตารางวาละไม่ต่ำกว่า 150,000 บาท จึงถือไม่ได้ว่า เป็นการอุทธรณ์ขอให้กำหนดเงินค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนในส่วนนี้เพิ่มขึ้นต่อรัฐมนตรีฯโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในส่วนนี้เพิ่มขึ้น จากจำเลย
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์และการฟ้องคดีของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไว้โดยให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 เป็นผู้กำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนก่อน เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนแล้ว หากผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในราคาอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนด ก็ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นลำดับต่อมา เพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัยก่อนต่อจากนั้นจึงถึงขั้นตอนของการฟ้องคดีต่อศาล ตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง แต่ตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อรัฐมนตรีฯ นั้นไม่ได้กล่าวอ้างว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการจำต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนเป็นเงินจำนวนเท่าใดและขอให้รัฐมนตรีฯ เพิ่มเงินค่าทดแทนความเสียหายในส่วนนี้จำนวนเท่าใดจึงจะเป็นที่พอใจของโจทก์ นอกจากนี้ในตอนท้ายอุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำขอให้รัฐมนตรีฯ พิจารณาเพิ่มเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ก็มีข้อความว่า ขอให้พิจารณาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ต้องเวนคืนเพียงอย่างเดียว จากตารางวาละ 21,000 บาท เป็นตารางวาละไม่ต่ำกว่า 150,000 บาท จึงถือไม่ได้ว่า เป็นการอุทธรณ์ขอให้กำหนดเงินค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนในส่วนนี้เพิ่มขึ้นต่อรัฐมนตรีฯโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในส่วนนี้เพิ่มขึ้น จากจำเลย